ภูมิภาคยุโรป

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอิตาลี ณ เมืองมิลาน เดือนสิงหาคม 2565

แนวโน้มสินค้าอาหารและเคร่องดื่มในอิตาลี สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 ได้เปลี่ยนความคิดและนิสัยการใช้ชีวิตประจำวันของชาวอิตาเลียน รวมถึงพฤติกรรมการจ่ายตลาด การซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร และการบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างโภชนาการกับสุขภาพ และผลกระทบของระบบการบริโภคอาหารที่มีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า อิตาลีเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดมากที่สุด ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม รูปแบบการบริโภคและวิถีชีวิตของชาวอิตาเลียน (อย่าง radically) กอรปกับแนวคิดเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมของมนุษย์จากวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาวอิตาเลียนตระหนักในการเลือกซื้อสินค้าที่จะส่งผลกระทบต่อโลกมากขึ้น ดังนั้น การเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคจะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจในแนวโน้มสินค้าและกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาตลาดสินค้าอาหารในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. แนวโน้มสินค้าอาหารและพฤติกรรมการบริโภค 1.1 การบริโภคอย่างยั่งยืนและมีจริยธรรมความยั่งยืนเป็นสิ่งที่ได้รับการกล่าวถึงในทุกกลุ่มสินค้ามาตั้งแต่ก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 จากความกังวลเกี่ยวกับสภาวะวิกฤตของสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยสหภาพยุโรปได้มีการกำหนดแผนนโยบาย Green Deal ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสังคมที่ไร้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี พ.ศ. 2593 อีกทั้งยุโรปจะต้องเป็นผู้นําในเวทีโลกในด้านอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสะอาด ช่วยเพิ่มบทบาทความสำคัญของแนวคิดด้านความยั่งยืนในการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคชาวอิตาเลียน กอรปกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 ที่ช่วยผลักดันการบริโภคอย่างยั่งยืนและมีจริยธรรมแก่ชาวอิตาเลียน ซึ่งเชื่อว่าสาเหตุหลักประการหนึ่งของการแพร่ระบาดอยู่ที่ความไม่ยั่งยืนของรูปแบบเกษตรกรรมทั่วโลก การขยายตัวของรูปแบบการเกษตรและปศุสัตว์ที่มากเกินไปกำลังทำลายธรรมชาติ ลดพื้นที่ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ต่างๆ ทำให้เกิดการติดต่อที่เพิ่มขึ้น ความไม่ยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมทำให้ผลลัพธ์ของการแพร่ระบาดรุนแรงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจในเรื่องคุณภาพและความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยชาวอิตาเลียนมองว่าการเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มด้วยการกระทำสิ่งเล็กๆ และการปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้นอกจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคส่วนบุคคล โดยแนวโน้มที่สำคัญ ได้แก่ สินค้ารูปแบบ green ในช่วง 5 ปีก่อนการเกิดการแพร่ระบาด การจำหน่ายสินค้าที่ผลิตด้วยวิธีที่ยั่งยืนในอิตาลีเติบโตขึ้น 84% และเป็นที่คาดการณ์ว่าในอีก 5 …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอิตาลี ณ เมืองมิลาน เดือนสิงหาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอิตาลี ณ เมืองมิลาน เดือนสิงหาคม 2565

ถอดบทเรียนจากอิตาลี ผู้นำแห่งสินค้าบ่งชี้ภูมิศาสตร์ อิตาลีเป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์อาหารเกษตรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ G.I.) ของสหภาพยูโรปจำนวนมากที่สุด รวมทั้งสิ้น 843 รายการ (แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเกษตร 317 รายการ และไวน์ 526 รายการ) หรือสัดส่วนกว่า 200 ของสินค้าบ่งขี้ทางภูมิศาสตร์ทั้งหมด ถือเป็นสินค้าที่มี บทบาทสำคัญของห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรอาหาร ยืนยันคุณภาพและความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้า Made in Italy ในระดับโลก และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นของความเป็นเลิศของสินค้าอาหารเกษตรของอิตาลีกับแหล่งกำเนิดอย่างแท้จริง ระบบสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของสหภาพยุโรป (ตามกฎระเบียบ EU 1151/2012) เป็นระบบการกำหนดและขึ้นทะเยี่ยนสินค้าคุณภาพที่ได้รับการรับรองโดยสหภาพยุโรป ซึ่งออกโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบที่กำหนดโดยกระทรวงนโยบายเกษตรและป่าไม้ มีเป้าหมายเพื่อปกป้องคุณภาพ ส่งเสริมระบบการผลิตสินค้าอาหารเกษตร สนับสนุนเศรษฐกิจและความสามัคคีในพื้นที่ และการปกป้องสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ผลิตดูแลรักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้าและในการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่อาจประสบปัญหาในการแข่งขันกับสินค้ำที่ผลิตจากโรงงานครั้งละมากๆ ขณะเดียวกัน การรับรองจากสหภาพยุโรปยังเป็นหลักประกันสำหรับผู้บริโภคในด้านคุณภาพ มูลค่าของสินค้า การตรวจสอบย้อนกลับความปลอดภัยของอาหาร และให้ข้อมูลที่ชัดเจนแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ว่ากระบวนการผลิตทั้งหมดดำเนินตามวิธีที่เชื่อมโยงกับคุณลักษณะเฉพาะของพื้นที่และเป็นไปตามระเบียบ ทั้งนี้ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของสหภาพยุโรปแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ PGI (Protected Geographical Indication), …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอิตาลี ณ เมืองมิลาน เดือนสิงหาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต เดือนกรกฎาคม 2565

เยอรมนีเตรียมยกเลิกการสนับสนุนการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) หลังจากที่เกิดคำวิจารณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณในการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเยอรมนี ในที่สุดรัฐบาลเยอรมันได้ร่างแผนการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าขึ้นใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่การสิ้นสุดของการอุดหนุนราคารถยนต์ไฟฟ้าประเภท Plug-In Hybrid (PHEV) ในปี 2023 ยืนยันโดยนาย Robert Habeck รัฐมนตรีว่ากระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ในปัจจุบัน ตลาดรถยนต์ในประเทศเยอรมนีนั้นมีรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ 3 ประเภทหลัก ได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด หรือ Hybrid Electric Vehicle ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายในและมอเตอร์ไฟฟ้า โดยเครื่องยนต์สันดาปภายในนั้น อาศัยพลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน ส่วนมอเตอร์ไฟฟ้านั้นขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่จะผลิตจากการขับเคลื่อนของรถยนต์ ส่วนรถยนต์ไฟฟ้าประเภทปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) ที่มีหลักการในขับเคลื่อนเหมือนกันกับรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด เพียงจะแตกต่างกันที่ PHEV นั้น สามารถชาร์จไฟฟ้าจากสถานีชาร์จไฟฟ้าและเสียบชาร์จไฟจากไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือนได้โดยตรง ซึ่งมีความสะดวกในการใช้งานและประหยัดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงกว่ารถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดกว่ามาก เพราะรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดแบบดั้งเดิมนั้น จะชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ได้ก็ต่อเมื่อมีการขับเคลื่อนของรถเท่านั้น และประเภทสุดท้าย รถยนต์ไฟฟ้าประเภท BEV หรือ Battery Electric Vehicle  นั้น สามารถขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่อาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ตามสถานีชาร์จไฟฟ้า และด้วยไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือน  แต่คำวิจารณ์ที่มีต่อนโยบายสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้านั้น มีจุดเริ่มต้นมาจากรถยนต์ไฟฟ้า PHEV ที่สามารถเติมได้ทั้งน้ำมันและยังสามาชาร์จไฟฟ้าจากภายนอกได้ด้วยนั้น ที่ยังต้องพึ่งพาการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนอยู่ ทั้งยังทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ …

รายงานสถานการณ์การค้าสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต เดือนกรกฎาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าราชอาณาจักรฮังการี ณ กรุงบูดาเปสต์ เดือนกรกฎาคม 2565

รัฐบาลฮังการีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเนื่องจากวิกฤตขาดแคลนพลังงาน เตรียมขึ้นค่าสาธารณูปโภค เสี่ยงกระทบเศรษฐกิจปีนี้ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 นาย Gergely Gulyás รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีฮังการีแถลงว่า รัฐบาลฮังการีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อันเนื่องมาจากวิกฤติขาดแคลนพลังงาน ซึ่งเป็นผลจากสงครามรัสเซียและยูเครนที่ส่งผลให้เกิดการขาดตอนของห่วงโซ่อุปทานและราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น รัฐบาลฮังการีจึงวางแนวทาง 7 ข้อเพื่อรับมือกับวิกฤติพลังงาน ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้เป็นต้นไป ประกอบด้วย เพิ่มกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติภายในประเทศจาก 1.5 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 2 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรอง ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 44% จากความจุทั้งหมด 6.33 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการการบริโภคภายในประเทศเพียงแค่ 3 เดือน ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Hungarian Energy & Utilities Regulatory Agency (MEKH) รายงานว่าปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองของฮังการี ณ กลางเดือนกรกฎาคม ต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี โดยอยู่ที่ 2.74 ล้านลูกบาศก์เมตร ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศและการค้าได้รับมอบหมายให้เร่งเจรจาขอซื้อก๊าซธรรมชาติกับคู่ค้าทั่วโลกที่มีศักยภาพ แม้ว่าปัจจุบันสหภาพยุโรปได้ตั้งเป้าหมาย …

รายงานสถานการณ์การค้าราชอาณาจักรฮังการี ณ กรุงบูดาเปสต์ เดือนกรกฎาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าราชอาณาจักรโรมาเนีย ณ กรุงบูดาเปสต์ เดือนกรกฎาคม 2565

รัฐบาลโรมาเนียเตรียมขึ้นภาษีบุหรี่ เครื่องดื่มผสมน้ำตาล วิสาหกิจรายย่อย และบริการ HoReCa ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ มีผล 1 ม.ค. 66 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2565 คณะรัฐมนตรีโรมาเนียมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการปรับปรุงอัตราภาษีสรรพสามิตและมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าและบริการต่างๆ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป 1. ปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตของบุหรี่ ตามที่สหภาพยุโรปกำหนดอัตราภาษีขั้นต่ำ เพื่อลดความแตกต่างของราคาขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในตลาด EU (Directive 2011/64/EU) ปัจจุบัน อัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับบุหรี่ในโรมาเนีย ณ เดือนกรกฎาคม 2565 อยู่ที่ 54.0745% (ยังไม่รวม VAT) ของราคาขายปลีกหน้าร้านถัวเฉลี่ยถ่วงนํ้าหนัก (Weighted Average Retail Selling Price หรือ WAP) แต่กฎหมาย EU กำหนดให้อัตราภาษีสรรพสามิตของบุหรี่ที่ในประเทศสมาชิกอยู่ที่อย่างน้อย 60% ของ WAP เฉพาะรายการนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 สิงหาคม …

รายงานสถานการณ์การค้าราชอาณาจักรโรมาเนีย ณ กรุงบูดาเปสต์ เดือนกรกฎาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐบัลแกเรีย ณ กรุงบูดาเปสต์ เดือนกรกฎาคม 2565

กรีซเชื่อมท่อส่งก๊าซกับบัลแกเรียสำเร็จ เตรียมเปิดใช้สิงหาคมนี้ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 นายกรัฐมนตรีกรีซ นาย Kyriakos Mitsotakis และนายกรัฐมนตรีบัลแกเรีย นาย Kiril Petkov แถลงความสำเร็จร่วมกันในโครงการก่อสร้างท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติระหว่างกรีซและบัลแกเรีย (The Interconnector Greece-Bulgaria-IGB) และคาดว่าจะเริ่มเปิดใช้งานได้ภายในต้นเดือนสิงหาคมนี้ IGB จะขนส่งก๊าซธรรมชาติจากอาเซอร์ไบจานสู่ทวีปยุโรปผ่านกรีซ ผ่านเมือง Komotini ไปสู่เมือง Stara Zagora ในบัลแกเรีย หรือคิดเป็นระยะทาง 182 กิโลเมตร โดยสามารถขนส่งก๊าซธรรมชาติได้ 3 พันล้านลูกบาศก์เมตร/ปี อีกทั้งยังคาดการณ์ว่าภายใน 3-4 ปี ท่อส่งก๊าซนี้จะเพิ่มปริมาตรการขนส่งไปสู่ 5 พันล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ตามความต้องการใช้งานก๊าซธรรมชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้ โครงการฯ ยังได้ออกแบบให้ท่อส่งก๊าซสามารถลำเลียงก๊าซธรรมชาติ ส่งกลับจากบัลแกเรียสู่กรีซได้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและความสามารถของระบบขนส่งก๊าซในแต่ละประเทศที่อาจเปลี่ยนไปในอนาคต โครงการ IGB ริเริ่มขึ้นภายใต้การทำบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างรัฐบาลบัลแกเรียและกรีซในปี 2552 และเมื่อปี 2554 ต่อมาบริษัทซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งในบัลแกเรีย ภายใต้ชื่อ …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐบัลแกเรีย ณ กรุงบูดาเปสต์ เดือนกรกฎาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ณ กรุงเบอร์ลิน เดือนกรกฎาคม 2565

เยอรมนีเสียอาการ … ประสบภาวะขาดดุลการค้าครั้งแรกในรอบ 14 ปี เยอรมนีถึงจุดที่ขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 14 ปี (นับตั้งแต่ปี 2008) โดยจากข้อมูลของสำนักงานสถิติประจำประเทศเยอรมนี (Statistische Bundesamt) เปิดเผยว่า เดือนพฤษภาคม 2565 เยอรมนีนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกเป็นมูลค่ากว่า 126.7 พันล้านยูโร โดยขาดดุลการค้าถึง 1 พันล้านยูโรโดยประมาณ ซึ่งเรื่องนี้กลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งในรอบ 14 ปี จากที่เดิมเยอรมนีมักจะฝ่ายได้ดุลการค้ามาโดยตลอด แต่ปัญหาจริง ๆ แล้ว มิได้อยู่ที่ว่าเยอรมนีขาดดุลหรือได้ดุลการค้า แต่ประเด็นสำคัญ คือ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เยอรมนีกลับมาขาดดุลการค้าครั้งแรกในรอบ 14 จริง ๆ แล้วปัจจัยนั้น คือ ผลพวงจากสงครามในยูเครน หรือเป็นที่ปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศเองกันแน่ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลาย ๆ ฝ่าย ยกตัวอย่างเช่น คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (EU) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF – international Monetary Fund) และนาย Donal …

รายงานสถานการณ์การค้าสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ณ กรุงเบอร์ลิน เดือนกรกฎาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าราชอาณาจักรเบลเยียม ณ กรุงบรัสเซลส์ เดือนกรกฎาคม 2565

กฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับกัญชาหรือกัญชงของเบลเยียม บริษัท CMS” ได้จัดทำสรุปกฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับกัญชา/กัญชงของเบลเยียม ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ 1. การใช้ทางการแพทย์ 1.1 โดยหลักการแล้ว กฎหมายเบลเยียมไม่อนุญาตให้มีการเพาะปลูก นำเข้า จำหน่าย และครอบครองกัญชา/กัญชง (cannabis) (ที่ใช้ในทางการแพทย์หรือสันทนาการ) อย่างไรก็ดี มีข้อยกเว้นกรณีเป็นการเพาะปลูกกัญชา/กัญชง (hemp) ที่ได้รับอนุญาตให้เพาะปลูกได้โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในระดับภูมิภาคที่มีระดับสารออกฤทธิ์ delta-9-tetrahydrocannabinol ไม่เกินกว่า 0.6% 1.2 ห้ามการจำหน่ายกัญชา/กัญชงทางการแพทย์ (medical cannabis) ในตลาดเบลเยียม ยกเว้นผลิตภัณฑ์ยาที่ใช้กัญชา/กัญชงที่ได้รับอนุญาตให้วางจำหน่ายในตลาดได้ภายใต้ใบสั่งแพทย์ ซึ่งปัจจุบันมีเพียง Sativex 1.3 เภสัชกรสามารถเตรียมจ่ายผลิตภัณฑ์ยาจากสารออกฤทธิ์ cannabidiol (CBD) ได้ หากดำเนินการตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1) การใช้วัตถุดิบ อาทิ CBD ที่มีสาร THC เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ยาได้หากผู้ป่วยได้รับสาร THC ในปริมาณมากสุดไม่เกิน 0.2 ไมโครกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน ทั้งนี้ ปัจจุบันมีบริษัทของเบลเยียมเพียงแห่งเดียวที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายผง CBD ให้กับเภสัชกรเพื่อการดำเนินการดังกล่าว 2) การจ่ายผลิตภัณฑ์ยาที่ใช้สาร CBD ต้องเป็นไปตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น …

รายงานสถานการณ์การค้าราชอาณาจักรเบลเยียม ณ กรุงบรัสเซลส์ เดือนกรกฎาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ณ กรุงเฮก เดือนกรกฎาคม 2565

ราคาอาหารในเนเธอร์แลนด์เพิ่มขึ้น 11% สูงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ผู้บริโภคในเนเธอร์แลนด์มีค่าใช้จ่ายครัวเรือนในการซื้อสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ในเดือนมิถุนายนเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า แสดงให้เห็นว่าราคาสินค้าอาหารมีการปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าอัตราเงินเฟ้อโดยรวมที่ร้อยละ 8.6 สถานการณ์ที่ราคาสินค้าอาหารจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก สำนักงานสถิติแห่งชาติเนเธอร์แลนด์ (Central Bureau van Statistiek : CBS) รายงานว่าสถานการณ์ที่ราคาสินค้าอาหารในเนเธอร์แลนด์มีการปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 โดยเฉลี่ยตลอดทั้งปีเช่นนี้เกิดขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อปี 2519 ในเดือนมิถุนายน 2565 ราคาสินค้าอาหารมีการปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวด โดยราคาสินค้าเนื้อสัตว์และปลามีการปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุดประมาณร้อยละ 15 โดยเนื้อสัตว์มีราคาเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 16 และปลามีราคาเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนปีก่อนหน้า ราคาผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม (Dairy Products) เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 14 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 25551 และในบรรดาผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมเนยเป็นสินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดและรวดเร็วที่สุด จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเนเธอร์แลนด์ (CBS) พบว่าราคาสินค้าอาหารที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมักมีสาเหตุมาจากการปรับราคาตามผู้ผลิต ซึ่งราคาผู้ผลิตมีความเชื่อมโยงอย่างมากกับราคาอาหารในตลาดโลกราคาต้นทุนในการผลิตสินค้าอาหารมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว และเพิ่มสูงขึ้นเกือบร้อยละ 23 ในเดือนพฤษภาคม 2565 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคมปีก่อนหน้า ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลให้ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง บทวิเคราะห์และความเห็นสคต. ความผันผวนของราคาในห่วงโซ่อาหารที่มักมีจุดเริ่มต้นจากราคาวัตถุดิบและถูกส่งผ่านไปยังผู้ผลิต ผู้แปรรูป ผู้ค้า และในที่สุดถึงผู้บริโภค สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ไม่เพียงส่งผลกระทบเรื่องราคาพลังงานที่ส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น …

รายงานสถานการณ์การค้าราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ณ กรุงเฮก เดือนกรกฎาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ณ กรุงเบอร์ลิน เดือนกรกฎาคม 2565

ข่าวภายในประเทศ และข่าวเศรษฐกิจ 5 ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อเศรษฐกิจของเยอรมัน          สถาบันชั้นนำหลายแห่งได้ออกมาประเมินว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะรุ่งหรือร่วง น่าจะขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยง 5 ตัวนี้ ได้แก่ (1) อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่สามารถควบคุมได้ (2) ค่าใช้จ่ายในหมวดสินค้าพลังงานที่เพิ่มขึ้นสูงมาก (3) วิกฤติค่าเงินยูโรกลับมาอีกครั้ง (4) ถ้ารัสเซียไม่ส่งแก๊สให้เยอรมันในที่สุด และ (5) โควิด-19 อาจจะกลับมาระบาดอย่างหนักอีกครั้ง หากปัญหาอัตราเงินเฟ้อและราคาพลังงานยังคงสูงไม่เลิก ประกอบกับสถานการณ์ค่าเงินยูโรที่อ่อนค่า เหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข จึงทำให้หลาย ๆ ฝ่ายทั้งจากภาคการเมืองและเศรษฐศาสตร์ต่างก็ออกมาแสดงความกังวลว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของเยอรมนีอาจเข้าสู่ภาวะวิกฤตในช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่กำลังจะมาถึงนี้ โดยนาย Robert Habeck รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการปฏิบัติการทางสภาพภูมิอากาศสหพันธ์ฯ ในสังกัดพรรค Bündnis 90/Die Grünen (พรรคยุค 90 พันธมิตรสีเขียว) เปิดเผยว่า “ฤดูใบไม้ร่วงของปี 2022 อาจเป็นช่วงเวลาที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของเยอรมนีมีปัญหาหนักกว่าในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19” ในขณะที่ นาย Christian Lindner รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในสังกัดพรรค เพื่ออิสรภาพและประชาธิปไตย (FDP – Freie …

รายงานสถานการณ์การค้าสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ณ กรุงเบอร์ลิน เดือนกรกฎาคม 2565 Read More »

OMD KM

FREE
VIEW