ภูมิภาคอาเซียน

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนธันวาคม 2565

ชาวฟิลิปปินส์ 4 ใน 10 คาดหวังชีวิตที่ดีขึ้นในปีหน้า หน่วยงาน Social Weather Stations (SWS) เปิดเผยผลการสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับความคาดหวังคุณภาพชีวิตของชาวฟิลิปปินส์ ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 29 กันยายน-2 ตุลาคม 2565 จากชาวฟิลิปปินส์ 1,500 คน พบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ ร้อยละ 45 ของผู้ตอบแบบสอบถาม หรือประมาณ 4 ใน 10 คาดหวังว่าคุณภาพชีวิตจะดีขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้าหรือภายใน 1 ปีข้างหน้า ใกล้เคียงกับผลการสำรวจก่อนหน้านี้ในเดือนมิถุนายน 2565 ที่ร้อยละ 46 ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าคุณภาพชีวิตจะดีขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า ในขณะที่ร้อยละ 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่าคุณภาพชีวิตจะแย่ลงในอีก 12 เดือนข้างหน้า นอกจากนี้ ร้อยละ 39 ระบุว่าคุณภาพชีวิตจะคงเดิม และร้อยละ 12 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ไม่ได้ให้คำตอบ ผลการสำรวจล่าสุดส่งผลให้คะแนน “Net …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนธันวาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนธันวาคม 2565

ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าลดลงต่ำสุดในรอบ 17 เดือน เหตุนำเข้าชะลอตัวลง สำนักงานสถิติแห่งฟิลิปปินส์ (PSA) รายการข้อมูลสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศในเดือนตุลาคม 2565 มีมูลค่าการค้ารวม 1.870 หมื่นเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.3 ลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 13.8 ในเดือนตุลาคม 2565 แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.5 จากเดือนกันยายน 2565 โดยการส่งออกมีมูลค่า 7.70 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 20 นับเป็นอัตราขยายตัวเร็วที่สุดในรอบ 17 เดือนหรือจากร้อยละ 30.8 ในเดือนพฤษภาคม 2564 ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 สิ้นสุดการขยายตัวเป็นตัวเลขสองหลักติดต่อกัน 19 เดือน และนับเป็นการเติบโตของการนำเข้าที่ช้าที่สุดในรอบ 21 เดือน หรือนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 สำหรับดุลการค้าซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างการส่งออกและการนำเข้าพบว่าขาดดุลอยู่ที่ 3.31 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนตุลาคม 2565 ลดลงจากการขาดดุล 3.82 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนตุลาคม 2564 …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนธันวาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนธันวาคม 2565

อัตราการว่างงานฟิลิปปินส์ส่งสัญญาณดี ลดลงสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (Philippine Statistic Authority: PSA) รายงานข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร (LFS) ในเดือนตุลาคม 2565 พบว่าอัตราการว่างงานลดลงเหลือร้อยละ 4.5 กลับสู่ระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเป็นระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ นาย Nicholas Antonio T. Mapa นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ ING Bank NV ระบุว่าจำนวนผู้ว่างงานชาวฟิลิปปินส์ที่ลดลงเป็นผลมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเมื่อเศรษฐกิจกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจำนวนแรงงานที่ต้องการมองหางานเพิ่มหรือเพิ่มชั่วโมงการทำงานกลับลดลงซึ่งชี้ให้เห็นว่าส่วนหนึ่งของอัตราการว่างงานที่ลดลงอาจเชื่อมโยงไปถึงแรงงานที่กำลังมองหางานน้อยลง นอกจากนี้ นาย Josua T. Mata เลขาธิการ Sentro ng mga Nagkaisa กล่าวว่าตัวเลขการจ้างงานมักจะเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่สี่ เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นก่อนช่วงเทศกาลวันหยุด ทั้งนี้ แม้คุณภาพของงานจะมีการปรับปรุงที่เป็นไปได้บางประการ แต่การใช้แรงงานต่ำกว่ามาตรฐานยังคงมีอยู่เกือบร้อยละ 20 ของกำลังแรงงาน ซึ่งหมายถึงแรงงานชาวฟิลิปปินส์เกือบหนึ่งในห้าว่างงานและ/หรือมีการจ้างงานต่ำ อย่างไรก็ตาม นาย Josue T. Mata ตั้งข้อสังเกตว่าการเติบโตของงานอาจชะลอตัวลงในปี 2566 ในขณะที่นาย John Paolo …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนธันวาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนธันวาคม 2565

ฟิลิปปินส์เร่งใช้จ่ายโครงการก่อสร้างพื้นฐาน กระทรวงงบประมาณและการจัดการ (Department of Budget and Management) เปิดเผยรายงานการเบิกจ่ายของรัฐบาลแห่งชาติ (National Government) ในเดือนกันยายน 2565 พบว่าค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานและการใช้จ่ายด้านทุนอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 มีมูลค่า 9.91 หมื่นล้านเปโซ เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2564 ที่มีมูลค่า 7.12 หมื่นล้านเปโซ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.6 จากเดือนสิงหาคม 2565 ที่มีมูลค่า7.37 หมื่นล้านเปโซ เนื่องจากรัฐบาลเร่งดำเนินโครงการต่างๆ ให้เสร็จสิ้น โดยการเติบโตส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเบิกจ่ายจำนวนมากของกระทรวงโยธาธิการและทางหลวง (Department of Public Works and Highways) สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานทางถนนที่เสร็จสิ้นแล้วและในบางส่วน นอกจากนี้ การเปิดตัวโครงการ Active Transport Bike Share System และ Safe Pathways Program ของกระทรวงคมนาคม (Department of Transportation : …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนธันวาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนธันวาคม 2565

เงินเฟ้อฟิลิปปินส์ พ.ย. 65 พุ่งร้อยละ 8 สูงสุดในรอบ 14 ปี ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ กล่าวว่า แม้ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งแต่อัตราเงินเฟ้อยังไม่สามารถควบคุมไม่ได้และฟิลิปปินส์จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้น การผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้ายังคงเป็นความคิดที่ดี ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ แต่เพื่อให้สามารถรักษาอัตราเงินเฟ้อของประเทศให้ลดต่ำลง ในขณะที่นาย Arsenio M. Balisacan เลขาธิการ NEDA กล่าวว่ารัฐบาลกำลังดำเนินมาตรการอุดหนุนตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคาสินค้าจำเป็นพื้นฐานที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับภาคส่วนที่เปราะบางและกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อย ข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นของ สคต. ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังเผชิญกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อทั่วไปล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่พุ่งขึ้นถึงร้อยละ 8 แตะระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี โดยสาเหตุหลักมาจากราคาสินค้าอาหารพื้นฐานหลายหมวดหมู่ยังคงปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นที่พัดถล่มฟิลิปปินส์ได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อพืชผลทางการเกษตร ทั้งนี้ ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าวอาจส่งผลให้อุปสงค์ในฟิลิปปินส์ชะลอตัวลงได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรติดตามสถานการณ์ตลาดฟิลิปปินส์อย่างใกล้ชิด แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์จะฟื้นตัวดีขึ้น แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญด้านอัตราเงินเฟ้อที่อาจส่งผลกระทบต่อใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ในระยะต่อไป รวมถึงการส่งออกสินค้าไทยมายังตลาดฟิลิปปินส์ตามไปด้วย นอกจากนี้ ประเทศไทยเองก็ประสบกับภาวะเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกัน ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าอาจเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้นำเข้าอาจชะลอการสั่งซื้อสินค้าได้

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนธันวาคม 2565

เม็ดเงินโอนกลับประเทศของแรงงานพลัดถิ่นตากาล็อกขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี ตามรายงานการอพยพและการพัฒนาล่าสุดของธนาคารโลก (World Bank) คาดการณ์ว่าฟิลิปปินส์จะเป็นหนึ่งในประเทศผู้รับการโอนเงินกลับประเทศจากแรงงานที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดในปี 2565 โดยอินเดียจะเป็นประเทศผู้รับโอนเงินสูงสุดในปี 2565 มีมูลค่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาได้แก่ เม็กซิโก มูลค่า 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ (แซงหน้าประเทศจีนที่ครองอันดับ 2 ในปี 2564) จีน มูลค่า 5.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ มูลค่า 3.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ และสาธารณรัฐอียิปต์ มูลค่า 3.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับประเทศฟิลิปปินส์มูลค่าการโอนเงินกลับประเทศในปี 2565 ดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากปี 2564 ที่มีมูลค่า 3.67 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นประมาณร้อยละ 9.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ทั้งนี้ ธนาคารโลกระบุว่าการส่งเงินกลับที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นของแรงงานชาวฟิลิปปินส์ในปีนี้ เนื่องจากได้รับประโยชน์จากข้อตกลงกับรัฐบาลปลายทาง ซึ่งรวมถึงประเทศซาอุดีอาระเบียที่ได้ให้การปฏิบัติที่ดีขึ้นต่อแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ ทำให้การสั่งห้ามอพยพไปยังประเทศซาอุดีอาระเบียจากการปฏิบัติต่อแรงงานฟิลิปปินส์อย่างไม่เหมาะสมถูกยกเลิกในปี 2565 รวมทั้งมีความต้องการแรงงานฟิลิปปินส์ที่มีทักษะในภาคสุขภาพและการบริการจากประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนธันวาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนธันวาคม 2565

ยอดขายรถยนต์ฟิลิปปินส์เดือนตุลาคม 65 โตต่อเนื่องขยายตัว 42.4% หอการค้าผู้ผลิตยานยนต์แห่งฟิลิปปินส์ (Chamber of Automotive Manufacturers of the Philippines, Inc : CAMPI) และสมาคมผู้ผลิตรถบรรทุก (Truck Manufacturers Association: TMA) รายงานยอดขายรถยนต์ล่าสุดในเดือนตุลาม 2565 มีจํานวน 32,146 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.4 จากเดือนตุลาคม 2564 ที่มีจำนวน 22,581 คัน แบ่งเป็นยอดขายรถยนต์รถยนต์เชิงพาณิชย์ (Commercial vehicles) มีจำนวน 23,852 เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.5 คิดเป็นร้อยละ 74.20 ของยอดขายรถยนต์รวมทั้งหมดในเดือนตุลาคม 2565 โดยยอดขายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขนาดเล็ก (LCV) มีจำนวน 18,184 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.5 และรถยนต์เอนกประสงค์ในเอเชีย (Asian Utility Vehicles: AUVs) …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนธันวาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนธันวาคม 2565

กลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์เดินหน้าลงทุนในฟิลิปปินส์เพิ่มเติม ทำเนียบประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เปิดเผยว่า ในระหว่างการประชุมระหว่างประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ กับกลุ่มผู้บริหารบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จํากัด (เครือซีพี) หรือ Charoen Pokphand Foods Public Co. Ltd. (CPF) ในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค หรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 29 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย กลุ่มเครือซีพีได้แสดงความสนใจที่จะลงทุนเพิ่มเติมในธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการผลิตสุกรในฟิลิปปินส์ยังแสดงความสนใจในโครงการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของฟิลิปปินส์เพื่อเชื่อมโยงการผลิตอาหารกับผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ เครือซีพีถือเป็นนักลงทุนเอกขนรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทยและสำคัญที่สุดในภาคการเกษตรของฟิลิปปินส์ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใต้การลงทุนบริษัทในเครือชื่อCharoen Pokphand Foods Philippines Corporation (CPFPC) ซึ่งเริ่มดำเนินการในประเทศฟิลิปปินส์ในปี 2553 จากการเช่าโรงงานผลิตอาหารสัตว์ในเมือง Guiguinto จังหวัด Bulacan สำหรับธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํานอกจากโรงเพาะฟักลูกกุ้งและปลาแล้ว บริษัท CPFPC ยังได้สร้างโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศฟิลิปปินส์อีกด้วย โดยมีการผลิตอาหารสำหรับปลานิล ปลาดุก ปลานวลจันทร์ทะเลและกุ้ง ต่อมาบริษัท CPFPC ยังได้ลงทุนเพิ่มเติมในปี 2555   ทำเนียบประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ยังได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนธันวาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนพฤศจิกายน 2565

GDP ไตรมาสที่ 3/2565 ฟิลิปปินส์ โตเกินคาด 7.6% สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (PSA) รายงานตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่ 3/2565 ขยายตัวร้อยละ 7.6 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3/2564 ที่ขยายตัวร้อยละ 7 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2/2565 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 ทั้งนี้ ตัวเลขการเติบโตของ GDP ในไตรมาสที่ 3/2565 ของฟิลิปปินส์ดังกล่าวสูงเป็นอันดับสอง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศเวียดนามที่ GDP เติบโตร้อยละ 13.7 สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 การเติบโตของ GDP ของฟิลิปปินส์เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 7.7 นอกจากนี้ตามรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ ได้ระบุเกี่ยวกับตัวเลขการใช้จ่ายภาคครัวเรือนซึ่งคิดเป็นประมาณ 3 ใน 4 ของ GDP พบว่าในไตรมาสที่ 3/2565 ขยายตัวร้อยละ 8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3/2564 ที่ขยายตัวร้อยละ …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนพฤศจิกายน 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนพฤศจิกายน 2565

ปธน. มาร์กอส จูเนียร์ มุ่งมั่นจะให้สัตยาบันเข้าร่วมข้อตกลง RCEP นาย Alfredo Pascual รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า ประธานาธิบดี   เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ มีความมุ่งมั่นที่จะให้สัตยาบันการเข้าร่วมความข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic : RCEP) และเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการให้สัตยาบันข้อตกลง RCEP โดยระบุว่านักลงทุนต่างชาติและรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ มักสอบถามเสมอว่า ฟิลิปปินส์จะให้สัตยาบันข้อตกลงการค้าดังกล่าวเมื่อใด และนักลงทุนต่างชาติต่างตั้งคำถามเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกใน RCEP ของฟิลิปปินส์ เนื่องจากหากตัดสินใจเข้ามาตั้งโรงงานและผลิตสินค้าเพื่อส่งออก สินค้าดังกล่าวจะถูกส่งไปยังประเทศสมาชิกของ RCEP ดังนั้น หากฟิลิปปินส์ไม่ได้เป็นสมาชิก RCEP ก็จะไม่ได้รับการลดภาษีในการส่งออกไปยังประเทศสมาชิก RCEP อื่น ๆ และไม่สามารถแข่งขันในตลาดส่งออกได้นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าฯ ยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของข้อตกลง RCEP ต่อนักลงทุนท้องถิ่นด้วยเช่นกันที่จะสามารถขยายตลาดส่งออกและแข่งขันได้ในประเทศอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะได้รับทราบถึงข้อกังวลของภาคการเกษตรเกี่ยวกับข้อตกลง RCEP แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าฯ กล่าวว่าอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าสำคัญในภาคการเกษตรจะไม่ถูกแตะต้องทั้งนี้ ก่อนหน้านี้กลุ่มภาคการเกษตรกว่า 101 กลุ่มออกมาระบุว่าภาคการเกษตรของประเทศยังไม่พร้อมสำหรับการเข้าร่วมข้อตกลง RCEP และขาดความพร้อมสำหรับการค้าเสรีในตลาดโลก …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนพฤศจิกายน 2565 Read More »

OMD KM

FREE
VIEW