ภูมิภาคอาเซียน

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนพฤศจิกายน 2565

อัตราเข้าพักโรงแรมฟิลิปปินส์พุ่งร้อยละ 60-80 คาดปี 67 จะฟื้นตัวเต็มที่ นาย Benito C. Bengzon, Jr. กรรมการบริหารของสมาคม Philippine Hotel Owners Association, Inc. (PHOA) เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการโรงแรมต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ ได้รายงานอัตราการเข้าพักโรงแรมในฟิลิปปินส์ในปัจจุบันอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 60 – 80 แม้ว่าจะยังคงห่างไกลจากอัตราการเข้าพักในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่คาดว่าจะสามารถกลับสู่ระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ เหมือนเช่นในปี 2562 ได้เร็วที่สุดในปี 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ล่าสุดอุตสาหกรรมคาดหวังว่าจะได้รับแรงหนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาว ช่วงวันหยุดสุดท้ายของเดือนตุลาคม 2565 จนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 แม้นักเดินทางจำนวนมากจะมีการยกเลิก เนื่องจากความกังวลต่อพายุโซนร้อน Paeng ก็ตาม โดยนาย Bengzon ยังระบุเพิ่มเติมว่าตามรายงานที่ได้รับจากสมาชิกสมาคมฯ พบว่ามีบางส่วนที่รายงานอัตราการเข้าพักสูงถึงร้อยละ 90 และมีบางส่วนที่รายงานการเข้าพักเพียงร้อยละ 50 ซึ่งโดยภาพรวมอัตราการเข้าน่าจะดีกว่านี้ แต่ถือเป็นโชคร้ายที่ฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นหลายลูก อย่างไรก็ตาม สมาคมฯ ยังคงมั่นใจว่าสถานการณ์จะดีขึ้น …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนพฤศจิกายน 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนพฤศจิกายน 2565

ฟิลิปปินส์เจรจาสหภาพยุโรปขอต่ออายุโครงการ GSP+ นาย Alfredo E. Pascual รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมฟิลิปปินส์กล่าวว่า ฟิลิปปินส์พยายามเจรจาเพื่อขอต่ออายุโครงการการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรของสหภาพยุโรปหรือ Generalized Scheme of Preferences Plus (GSP+) รวมทั้งการเจรจาการค้าเสรี FTA โดยในระหว่างการประชุมนําเสนอต่อคณะกรรมการรัฐสภาสหภาพยุโรปด้านการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าฯ กล่าวในที่ประชุมว่า โครงการ GSP+ ได้ช่วยปรับปรุงพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์อยู่ในระหว่างช่วงเดือนสุดท้ายของกระบวนการติดตามและตรวจสอบเพื่อขอต่ออายุโครงการ GSP+ ซึ่งจะหมดอายุ ในปลายปี 2566 โดยเมื่อเดือนกันยายน 2564 คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอแผน Revised Scheme เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศต่างๆ ภายใต้โครงการให้ดียิ่งขึ้น ตั้งแต่ฟิลิปปินส์ได้รับสิทธิ์GSP+ ในปี 2557 ทำให้ฟิลิปปินส์ได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดในสหภาพยุโรปที่เพิ่มขึ้น ทำให้การส่งออกของฟิลิปปินส์ไปยังสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นจากมูลค่า 5.3 พันล้านยูโรในปี 2557 ภายใต้ GSP Standard เป็นมูลค่า 7.77 พันล้านยูโรในปี …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนพฤศจิกายน 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนพฤศจิกายน 2565

ยอดขายธุรกิจบริการอาหารในฟิลิปปินส์ปี 64 ขยายตัวร้อยละ 12 ตามรายงานของหน่วยงาน Foreign Agricultural Service in Manila ภายใต้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA-FAS Manila) ระบุว่า ยอดขายของธุรกิจบริการอาหารของฟิลิปปินส์ในปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 9.36 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 12 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปี ในขณะที่ยอดขายธุรกิจบริการอาหารในปี2564 พบว่ามีมูลค่าอยู่ที่ 8.373 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 7.973 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยได้รับแรงหนุนจากการเปิดบริการของร้านอาหารเต็มรูปแบบอีกครั้ง หลังจากการผ่อนคลายข้อจำกัดต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ยอดขายของธุรกิจบริการด้านอาหารดังกล่าวจะยังคงต่ำกว่าระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ มาก โดยในปี 2562 ยอดขายของธุรกิจบริการด้านอาหารเคยแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.458 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หนึ่งปีก่อนการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ตามรายงานของUSDA-FAS Manila เมื่อพิจารณาตามประเภทของร้านอาหารพบว่า ร้านอาหารแบบ Limited-service restaurants มีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของยอดขายบริการอาหารของฟิลิปปินส์ในปี 2564 โดยมีมูลค่ายอดขายที่ 4.704 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนพฤศจิกายน 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนพฤศจิกายน 2565

คาดฟิลิปปินส์นำเข้าผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้น ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น ตามรายงานของหน่วยงาน Foreign Agricultural Service in Manila ภายใต้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA-FAS Manila) ระบุว่า การนำเข้าผลิตภัณฑ์นมของฟิลิปปินส์จะฟื้นตัวหลังจากความต้องการเพิ่มขึ้นท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยคาดการณ์ว่าความต้องการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมในปี 2565 และในปี 2566 จะสูงถึงเกือบ 3 ล้านเมตริกตันเทียบเท่านมเหลว (LME) ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่จำเป็นต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์นมคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 99 ของความต้องการผลิตภัณฑ์นมทั้งหมดภายในประเทศ เนื่องจากการผลิตภายในประเทศไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ นอกจากนี้ในรายงานของ USDA-FAS Manila ยังระบุเกี่ยวกับสถานการณ์อุตสาหกรรมนมของประเทศฟิลิปปินส์โดยตั้งข้อสังเกตว่า การบริโภคผลิตภัณฑ์นมของประเทศฟิลิปปินส์ในปีที่แล้วแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3 ล้านเมตริกตัน ในขณะที่การผลิตนมในท้องถิ่นต้องเผชิญกับความท้าทาย และคาดว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์นมทั้งหมดจะยังคงอยู่ที่ระดับ 3 ล้านเมตริกตันในปีนี้และปีหน้า เนื่องจากการเติบโตของชนชั้นกลางและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ฟิลิปปินส์เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และกําลังขยายตัวสำหรับผลิตภัณฑ์นมโดยปัจจุบันมีการบริโภคต่อหัวต่อปีอยู่ที่ 27 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับการบริโภคผลิตภัณฑ์นมในประเทศสหรัฐอเมริกาที่สูงถึง 287 กิโลกรัมต่อคนต่อปีแสดงให้เห็นว่ายังมีโอกาสอีกมากสําหรับผู้ผลิตอาหารที่จะนําเสนอผลิตภัณฑ์นมที่บรรจุหีบห่อเข้าสู่ตลาดฟิลิปปินส์มากขึ้น ฟิลิปปินส์ถือเป็นตลาดที่ “แข่งขันได้” สำหรับผลิตภัณฑ์นมนําเข้า เนื่องจากแนวโน้มการบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การผลิตนมของฟิลิปปินส์ค่อนข้างจำกัดและอยู่ในระดับต่ำจากภาวะการบริหารจัดการที่ไม่ดี ขาดโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ และมีต้นทุนการผลิตสูง ทำให้สามารถผลิตนมในประเทศได้เพียงร้อยละ 1 ของความต้องการใช้ทั้งหมด และจากอุปทานในท้องถิ่นที่จำกัดดังกล่าว …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนพฤศจิกายน 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนตุลาคม 2565

ไต้หวันนำเทคโนโลยี AIoT มาใช้แบบเต็มพิกัดในสถานดูแลผู้สูงอายุเป็นครั้งแรก สภาพัฒนาแห่งไต้หวันประมาณการว่า ภายในปี 2568 จะมีจำนวนประชากรไต้หวันที่มีอายุมากกว่า 65 ปี 4.7 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.1 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้ไต้หวันก้าวสู่ภาวะสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super-aged Society) แบบเต็มตัว ทำให้ทั้งภาครัฐและเอกชนของไต้หวันต่างเร่งผลักดันแผนการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565 กลุ่มบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ของไต้หวันคือ COMPAL ได้ร่วมกับเมืองไถหนานซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของไต้หวัน ประกาศเปิดตัวนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และระบบรวบรวมถ่ายโอนข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย (AIoT) มาประยุกต์ใช้ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวเป่ยเหมินที่อยู่ในสังกัดของเมืองไถหนานเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรที่มีบริการดูแลช่วงกลางวัน ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และดูแลระยะยาว จากสถิติของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุขไต้หวันชี้ว่า ชาวไต้หวันมีอายุเฉลี่ย 81.3 ปี โดยในช่วง 8.04 ปีสุดท้ายจะเป็นช่วงอายุที่ล้มป่วยและต้องมีผู้ดูแล ซึ่งร้อยละ 40 ของตัวผู้ดูแลเองต่างก็มีอายุมากกว่า 65 ปี ทำให้ความต้องการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวเพิ่มสูงขึ้น ในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดของไต้หวันทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่ดูแลผู้สูงอายุ (เบื้องต้นคาดว่าภายในเวลา 3-5 ปีข้างหน้า จะขาดแคลนประมาณ 7 หมื่นคน) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด COMPAL …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนตุลาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนตุลาคม 2565

กระทรวงการค้าฯ ฟิลิปปินส์คาดมีจำนวนผู้ขายอีคอมเมิร์ซ 2 ล้านราย โตเกินเป้าที่ตั้งไว้ นาง Ann Claire C. Cabochan ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมฟิลิปปินส์ (DTI) เปิดเผยข้อมูลว่า จำนวนผู้ประกอบการธุรกิจในฐานะผู้ขายออนไลน์ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านรายมากกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก โดยตามแผนยุทธศาสตร์ (Roadmap) ปี 2564 ของกระทรวงฯ ได้ประมาณการว่าจะมีจำนวนธุรกิจที่เข้าร่วมอีคอมเมิร์ซ 750,000 รายภายในปี 2565 แต่ขณะนี้มีธุรกิจเข้าร่วมอีคอมเมิร์ซแล้วถึง 2 ล้านราย ทั้งนี้ ทางกระทรวงฯ ได้เฝ้าติดตามควบคุมต่อเนื่องให้ผู้ขายออนไลน์ดังกล่าวปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติผู้บริโภคที่ไม่ได้ระบุถึงความแตกต่างระหว่างผู้ขายออนไลน์กับผู้ขายที่มีหน้าร้านค้าจริง ดังนั้น ผู้ขายทั้งหมดต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบเดียวกัน นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำเกี่ยวกับความรับผิดชอบของร้านค้าออนไลน์โดยขณะนี้กำลังติดตามอย่างใกล้ชิด กระทรวงการค้าฯ ได้เตือนให้ผู้ขายละเว้นจากพฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งกระทรวงการค้าฯ มีกฎหมายที่อนุญาตให้ดำเนินการได้กับผู้ที่ฉกฉวยประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าว โดยที่ผ่านมาพบปัญหาผู้ขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์และด้วยความช่วยเหลือของหน่วยงาน National Privacy Commission ทำให้กระทรวงฯ สามารถขอข้อมูลรายละเอียดของผู้ขายและแพลตฟอร์มได้ทั้งนี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในช่วง 9 เดือนของปีนี้ (เดือนมกราคม-กันยายน) การร้องเรียนที่เกิดจากการทำธุรกรรมออนไลน์มีจํานวนทั้งสิ้นประมาณ 8,000 ครั้ง …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนตุลาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนตุลาคม 2565

คาดฟิลิปปินส์จะนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น ผลพวงจากซุปเปอร์พายุไต้ฝุ่นโนรู ตามรายงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) โดยหน่วยงาน Foreign Agricultural Service ได้ปรับประมาณการการนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์สำหรับปีการตลาด 2565/2566 (เดือนกรกฎาคม 2565 – มิถุนายน 2566) เพิ่มขึ้นเป็น 3.40 ล้านตัน จากการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ 3.30 ล้านตัน เพื่อชดเชยการขาดแคลนอุปทานข้าวในประเทศ เนื่องจากราคาปุ๋ยที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรชาวนาต้องปลูกข้าวน้อยลงรวมถึงผลกระทบร้ายแรงจากซุปเปอร์ไต้ฝุ่น Karding หรือ Noru ที่พัดถล่มฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดแผ่นดินถล่มและทําลายผลผลิตข้าวที่พร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยวในพื้นที่เกาะลูซอนตอนกลาง โดยเฉพาะในจังหวัดนูเอบาเอซิจา (Nueva Ecija) ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวสำคัญและถือเป็นยุ้งฉางข้าวของประเทศ (The country’s rice granary) นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักงานปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืช (The Fertilizer and Pesticides Authority) ของฟิลิปปินส์ แสดงให้เห็นว่าราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าราคาปุ๋ยยูเรียจะลดลงเล็กน้อยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 โดยตัวเลขราคาปุ๋ยยูเรียล่าสุด ณ วันที่ …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนตุลาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนตุลาคม 2565

ธุรกิจบริการอาหารในฟิลิปปินส์รุ่ง..จะพุ่งแตะ 1 ล้านล้านเปโซภายในปี 2569 GlobalData บริษัทผู้ให้บริการข้อมูลและการวิเคราะห์ชั้นนําระดับโลกเปิดเผยข้อมูลว่าภายในปี 2569 คาดว่าภาคบริการด้านอาหารของประเทศฟิลิปปินส์จะมีมูลค่าแตะ 1 ล้านล้านเปโซ จากมูลค่า4.511 แสนล้านเปโซ ในปี 2564 เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคฟื้นตัวและร้านอาหารกลับสู่การดำเนินงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยจะมีอัตราการเติบโตแบบทบต้น (The Compound Annual Growth Rate : CAGR) ต่อปีที่ร้อยละ 17.5 ทั้งนี้ ในช่วงปี 2559 ถึง 2564 ที่ผ่านมาพบว่า รายได้ของภาคบริการอาหารหดตัวลงโดยมีอัตรา CAGR ติดลบร้อยละ 9.2 เนื่องจากจำนวนธุรกรรมและร้านอาหารลดลง และพบว่าช่องทางภาคบริการอาหารทั้งหมดที่ลงทะเบียนมีจำนวนธุรกรรมลดลงในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ซึ่งนำไปสู่ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและขัดขวางการใช้จ่ายการบริโภค ทั้งนี้ ในบรรดาช่องทางภาคบริการอาหารต่างๆพบว่าการเดินทาง (Travel) มีจำนวนธุรกรรมลดลงอย่างมากโดยมีอัตรา CAGR ติดลบร้อยละ 19.9 ตามด้วยช่องทางสถานที่ทำงาน (Workplace) มีอัตรา CAGR ติดลบร้อยละ 15.6 ในขณะที่ช่องทางร้านอาหารบริการด่วน (Quick Service Restaurant …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนตุลาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนตุลาคม 2565

ฟิลิปปินส์ไม่ต่ออายุมาตรการเชฟการ์ดสินค้าปูนซีเมนต์หลังผลการไต่สวนฯ ไม่พบความเสียหาย ตามรายงานขั้นสุดท้าย (Final Report) ของการไต่สวนอย่างเป็นการทางการเพื่อพิจารณาการต่ออายุ/ขยายระยะเวลาการบังคับใช้มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard) สินค้าปูนซีเมนต์จากประเทศต่างๆ ประกอบด้วย 2 ประเภท ได้แก่ Ordinary Portland Cement Type 1 และ Blended Cement Type 1P ของคณะกรรมาธิการด้านภาษีของฟิลิปปินส์ (Tariff Commission) ระบุว่า ไม่พบความเสียหายอย่างร้ายแรงที่คุกคามต่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ภายในประเทศ จึงไม่ควรขยายการบังคับใช้มาตรการ Safeguard สําหรับการนำเข้าสินค้าปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างมากในฟิลิปปินส์ เนื่องจากความต้องการปูนซีเมนต์เพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่จํานวนมากไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างถนนทางยกระดับ ท่าเรือ รางรถไฟ สนามบิน อาคารสํานักงาน รวมถึงโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยต่างๆ ส่งผลให้ความต้องการปูนซีเมนต์ในฟิลิปปินส์เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากโดยในปี 2558 ความต้องการปูนซีเมนต์ อยู่ที่ 24.4 ล้านตันและเพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านตันในปี 2561 ทำให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศฟิลิปปินส์เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมาก และคาดว่าจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ผู้นำประเทศคนใหม่ของฟิลิปปินส์ได้ประกาศสานต่อนโยบายก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน Build Build Build …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนตุลาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนตุลาคม 2565

ซุปเปอร์พายุไต้ฝุ่นโนรู ทำผลผลิตข้าวฟิลิปปินส์เสียหาย กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์รายงานว่า ซุปเปอร์ไต้ฝุ่น Karding หรือ NORU ที่พัดถล่มฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา ได้ทำลายล้างพื้นที่เกษตรกรรม 16,229 เฮกตาร์ในเขตเกาะลูซอนตอนกลาง ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นชามข้าวของฟิลิปปินส์ (Rice Bowl of the Philippines) โดยภัยพิบัติดังกล่าวอาจคุกคามอุปทานข้าวของประเทศ ทั้งนี้ พื้นที่ทางการเกษตรในเขตปกครอง Cordillera (CAR) เขต Ilocos เขตลูซอนตอนกลาง และคาลาบาร์ซอน มีความเสียหายเบื้องต้นคิดเป็นมูลค่าประมาณ 141.38 ล้านเปโซ นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ได้ประมาณการว่า พื้นที่เพาะปลูกข้าวที่อาจได้รับผลกระทบจากซุปเปอร์ไต้ฝุ่นโนรูจะสูงถึง 1,469,037 เฮกตาร์หรือคิดเป็นร้อยละ 75.83 ของการเพาะปลูกข้าวของประเทศ  เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นได้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เขตลูซอนกลางซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวสำคัญของประเทศ โดยพื้นที่เกาะลูซอนกลางประกอบด้วยจังหวัดต่างๆ ได้แก่ จังหวัด Aurora จังหวัด Bataan จังหวัด Bulacan จังหวัด Nueva Ecija จังหวัดPampanga จังหวัด Tarlac …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เดือนตุลาคม 2565 Read More »

OMD KM

FREE
VIEW