ภูมิภาคอเมริกาเหนือ

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอเมริกา ณ นครลอสแอนเจลิส เดือนสิงหาคม 2565

สหรัฐฯ จัดทำกฎหมายสำคัญส่งเสริมการผลิต Semiconductor ในสหรัฐฯ กฎหมาย CHIPS and Science Act of 2022 หรือ CHIPS Act 2022 ได้รับการลงนามจากประธานาธิบดี Biden เป็นกฎหมายสมบูรณ์ในวันที่ 9 สิงหาคม 2022 เป้าหมายหลักคือการสร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรม semiconductors สหรัฐฯ ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการเติบโตเศรษฐกิจ ความมั่นคงของประเทศ ลดการพึ่งพาประเทศผู้ผลิตรายอื่น และสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะจากจีนที่ปัจจุบันครองตลาดการผลิตของโลกในส่วนแบ่งร้อยละ 24 รองลงมาคือไต้หวันร้อยละ 21 เกาหลีใต้ร้อยละ 19 และสหรัฐฯ ที่มีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 10 และต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตในเอเชียตะวันออก กฎหมาย CHIPS Act 2022 จัดสรรงบประมาณกว่า 200,000 ล้านเหรียญฯ ส่งเสริมการผลิต semiconductor ในประเทศสหรัฐฯ รวมถึงจัดสรรงบประมาณไม่ต่ำกว่า 52,700 ล้านเหรียญฯ สำหรับการวิจัย การพัฒนา การผลิตสินค้า และการพัฒนาแรงงานในสหรัฐฯ …

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอเมริกา ณ นครลอสแอนเจลิส เดือนสิงหาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าแคนาดา ณ นครแวนคูเวอร์ เดือนกรกฎาคม 2565

เงินเฟ้อแคนาดาแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีที่ 8.1% เชื่อใกล้ถึงจุดพีคสุด ธนาคารกลางแห่งประเทศแคนาดา (Bank of Canada) รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิถุนายน 2565 พุ่งแตะระดับร้อยละ 8.1 (YoY) เป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี โดยสูงกว่าเมื่อเดือนพฤษภาคม 65 ที่มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 (YoY) และคาดว่าเงินเฟ้ออาจพุ่งขึ้นไปที่ระดับร้อยละ 8.4 ภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า จากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งหากหักราคาพลังงานออก เงินเฟ้อในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 สำหรับอัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2565 มาจากราคาพลังงานปรับตัวขึ้นร้อยละ 6.2 (MoM) จากเดือนก่อหน้า และร้อยละ 55 (YoY) เทียบกับมิถุนายน 2564 ขณะที่ราคาอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 (YoY) โดยสินค้าที่มีราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ได้แก่ น้ำมันพืชและไขมันที่รับประทานได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.8 หอมหัวใหญ่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เนื้อไก่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 …

รายงานสถานการณ์การค้าแคนาดา ณ นครแวนคูเวอร์ เดือนกรกฎาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าแคนาดา ณ นครโทรอนโต เดือนมิถุนายน 2565

วัตถุดิบท้องถิ่น สิ่งจำเป็นสำหรับร้านอาหารในแคนาดาท่ามกลางปัญหาห่วงโซ่อุปทาน การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อหลากหลายธุรกิจ และหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ถูกกระทบรุนแรงที่สุดคือธุรกิจร้านอาหารซึ่งได้ปิดตัวลงเกือบ 10,000 แห่งในแคนาดา หลายร้านต้องเปลี่ยนวิธีดำเนินธุรกิจเพื่อความอยู่รอด โดยหลังจากผ่านพ้นช่วงที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤติการณ์นี้และร้านต่างๆ ได้เปิดรับลูกค้าเข้าร้านอีกครั้ง อุปสรรคใหม่ที่อุตสาหกรรมอาหารกำลังเผชิญคือปัญหาการขาดเเคลนวัตถุดิบอาหารซึ่งสืบเนื่องมาจากห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ที่ยังคงไม่ฟื้นตัวเต็มที่  โดยรายงานปี 2022 พบว่าการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานการขนส่งวัตถุดิบได้ส่งผลกระทบต่อ 96% ของร้านอาหารในแคนาดาทำให้การจัดหาและวางแผนวัตถุดิบเป็นไปได้ยาก ร้านอาหารหลายแห่งจึงมีปัญหาการขาดเเคลนวัตถุดิบและมีการปรับขึ้นราคาในเมนูโดยเฉลี่ย 5.3% เพื่อสะท้อนกับค่าใช่จ่ายที่เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน บางร้านได้ใช้โอกาสนี้เพื่อหาและสร้างความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ใหม่ๆ ที่อยู่ในพื้นที่เพื่อให้การเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบมีความแน่นอนแม้ราคาจะสูงกว่า โดยผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นนั้นมักจะมีราคาแพงกว่าของต่างประเทศเล็กน้อย ซึ่งถึงแม้ว่าร้านอาหารอาจไม่สามารถซื้อวัตถุดิบเดิมในปริมาณหรือราคาที่เท่าเดิมได้ แต่นี่ถือเป็นอีกทางเลือกที่ร้านอาหารยอมแลกเพื่อให้ได้รับวัตถุดิบที่สม่ำเสมอและแก้ปัญหาการขาดเเคลน ยิ่งไปกว่านั้น การซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ท้องถิ่นทำให้ร้านอาหารได้ติดต่อกับผู้ที่เป็นคนปลูกโดยตรง เห็นที่มาของวัตถุดิบ และช่วยให้การวางแผนเมนูและวัตถุดิบเป็นไปได้ง่ายขึ้น การหันมามองหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ทำให้ร้านอาหารได้ค้นพบซัพพลายเออร์ในพื้นที่มากขึ้นและได้สร้างความสัมพันธ์ใหม่ที่อาจไม่เกิดขึ้นหากไม่มีปัญหาเรื่องห่วงโซ่อุปทาน และบางครั้งปัญหาห่วงโซ่อุปทานสามารถเกิดขึ้นได้อย่างกะทันหัน การสื่อสารและการพัฒนาระดับความไว้วางใจกับซัพพลายเออร์จึงได้ช่วยบรรเทาปัญหาเหล่านั้น  การหันมาใช้วัตถุดิบท้องถิ่นทำให้ร้านอาหารต้องพยายามใช้ผลผลิตตามฤดูกาลที่มีอยู่มากในช่วงเวลาและพื้นที่นั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด และใช้วัตถุดิบเหล่านั้นมาทดแทนหรือรังสรรค์เมนูใหม่ๆ ขึ้นมาซึ่งวัตถุดิบที่หาได้ตามฤดูกาลจะเป็นตัวกำหนดสิ่งที่อยู่ในเมนู โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นคุณภาพดีสามารถทำให้ผู้มารับประทานอาหารเข้าใจและยอมรับกับการขึ้นราคาเมนูอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อวัตถุดิบเหล่านั้นมีเรื่องราวเบื้องหลังก่อนที่จะถูกต่อเติมเสริมแต่งออกมาเป็นอาหารหนึ่งจาน ความคิดเห็นสำนักงาน เนื่องจากผลกระทบที่ตามมาของโควิด-19 ร้านอาหารหลายแห่งในหลายประเทศรวมถึงแคนาดาต้องหันมาพึ่งพาผู้ผลิตที่อยู่ภายในพื้นที่มากขึ้นเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีความมั่นคงเมื่อไม่สามารถพึ่งการขนส่งจากสถานที่ห่างไกลได้ในภาวะเช่นนี้ โดยธุรกิจร้านอาหารอาจจำเป็นต้องคิดค้นและสร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ มากขึ้นเพื่อรองรับวัตถุดิบที่แตกต่างกันในแต่ละฤดูกาล การหันมาใช้แหล่งวัตถุดิบในพื้นที้นี้ถือเป็นทางออกที่ทำให้ร้านอาหารในแคนาดาบางส่วนนั้นสามารถประคองธุรกิจเอาไว้ได้ในช่วงที่วัตถุดิบนั้นหาได้ยาก ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยทั้งในหรือนอกแคนาดาที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารสามารถนำกลยุทธ์นี้ไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาประเภทเดียวกัน โดยผู้ประกอบการสามารถปรับใช้แนวทางการเล่าเรื่องและบอกที่มาของวัตถุดิบที่ใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างความเเปลกใหม่ให้กับร้านของตน  แหล่งที่มา: The Globe and Mail, The …

รายงานสถานการณ์การค้าแคนาดา ณ นครโทรอนโต เดือนมิถุนายน 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอเมริกา ณ นครนิวยอร์ก เดือนพฤษภาคม 2565

“Sport Drink Alternative” สำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ในสหรัฐฯ ตลาดเครื่องดื่ม Sport Drink หรือเครื่องดื่มที่ไม่อัดลม ซึ่งมีส่วนประกอบของวิตะมินและเกลือแร่ เป็นเครื่องดื่มที่ทำให้นักกีฬามีพลังงานและสามารถฟื้นฟูร่างกายหลังจากการออกกำลังกาย โดยยอดการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวในตลาดสหรัฐอเมริกาในปี 2564 มีมูลค่าจำหน่ายประมาณ 287 พันล้านบาท (8.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ : 1 เหรียญสหรัฐเท่ากับ 35 บาท) เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 15.2% ตลาดเครื่องดื่ม Sport Drink ในปีที่ผ่านมามีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยมีแบรนด์ชั้นนำอย่างแบรนด์ Gatorade (แบรนด์สัญชาติอเมริกันและเป็นบริษัทในเครือของบริษัท PepsiCo ซึ่งตั้งอยู่ในเมือง Chicago รัฐ Illinois) ซึ่งแบรนด์ Gatorade เน้นนโยบายการลดน้ำตาลในเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และแบรนด์ Body Armor (แบรนด์สัญชาติอเมริกันและเป็นบริษัทในเครือของบริษัท The Coca-Cola Company ซึ่งตั้งอยู่ในเมือง Queens รัฐ New York) ซึ่งแบรนด์ Body Armor เน้นการนำเสนอเครื่องดื่ม …

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอเมริกา ณ นครนิวยอร์ก เดือนพฤษภาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้า แคนาดา ณ นครแวนคูเวอร์ เดือนพฤษภาคม 2565

1. เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจแคนาดา สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์กังหันไอพ่น อัญมณีและทองคำยังไม่ขึ้นรูป เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ เป็นต้น สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ านยนต์และส่วนประกอบ เครื่องประมวลผลข้อมูล น้ำมันดิบ อุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ อัญมณีและทองคำ เป็นต้น ตลาดส่งออกสำคัญ 5 ประเทศแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และเม็กซิโก แหล่งนำเข้าสำคัญ 5 ประเทศแรก คือ สหรัฐอเมริกา จีน เม็กชิโก เยอรมนี และญี่ปุ่น 2. สรุปภาวะเศรษฐกิจแคนาดา เศรษฐกิจแคนาดายังได้แรงหนุนจากภาคการส่งออกสินค้าและบริการ ขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศเริ่มชะลอตัว โดยผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 และภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน จนธนาคารแห่งประเทศแคนาดาได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.50 สู่ระดับร้อยละ 1.0 เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเกินคาด อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจแคนาดาตลอดทั้งปี 2565 ที่ร้อยละ 4.25 จากแรงหนุนของการลงทุนภาคเอกชนและตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวดี แต่ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจปี …

รายงานสถานการณ์การค้า แคนาดา ณ นครแวนคูเวอร์ เดือนพฤษภาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอเมริกา ณ นครชิคาโก เดือนเมษายน 2565

โอกาสการขยายตลาดสินค้าอาหารแช่แข็งพร้อมทานในสหรัฐอเมริกา การระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นพาดหัวข่าวสำคัญของปี 2563 ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต รอบครัว สังคมและชีวิตการทำงานแบบถอนรากถอนโคนต่อชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลงโฟกัสต่อสินค้าอาหาร และมุ่งประเด็นไปที่อายุการเก็บรักษาของอาหารและปรุงรับประทานที่บ้าน อาหารแช่แข็ง (Frozen Fo๐d) เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ผู้บริโภคอเมริกันให้ความไว้วางใจจึงเป็นแรงหนุนให้ยอดขายของอาหารแช่แข็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 ในปี 2563 และเป็นสินค้าที่เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสวนกระแสกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ไม่สดใสนัก ข้อเท็จจริงของอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งในสหรัฐฯ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารแช่แข็งของสหรัฐฯ มีผลผลิตมูลค่าประมาณ 36.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 มีโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอาหารแช่แข็งทุกชนิดจำนวน 726 แห่งและมีการจ้างงานจำนวน 97,500 คน ผู้นำตลาดอาหารแช่แข็งรายสำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ ConAgra Foods, Tyson Foods, General Mills, Nestle’, Schwan Food, Kraft Heinz, Lamb Weston เป็นต้น ผู้บริโภคสหรัฐฯ ใช้จ่ายเพื่อการบริโภคสินค้าอาหารแช่แข็งโดยเฉลี่ยคิดเป็น 595 เหรียญสหรัฐฯ/คน/ ในปี 2563 หรือ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ …

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอเมริกา ณ นครชิคาโก เดือนเมษายน 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอเมริกา เดือนเมษายน 2565

รายงานสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านในตลาดสหรัฐอเมริกา ภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้คนทั่วโลกต้องใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากขึ้นส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เลือกซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านเพื่อสร้างความสะดวกสบายและผ่อนคลายในช่วงที่ต้องใช้บริเวณบ้านเป็นทั้งที่พักอาศัยและที่ทำงานทางไกลเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีส่วนสำคัญต่อการขยายตัวของตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านทั่วโลกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 6.37 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 อีกทั้งยังคาดว่ามูลค่าตลาดจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 9.45 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2573 หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ย (Compound Average Growth Rate หรือ CAGR) ร้อยละ 4.5 ต่อปีด้วยโดยมูลค่าตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นส่วนมากอยู่ในเขตภูมิภาคอเมริกาเหนือ คิดเป็นร้อยละ 30.27 ของมูลค่าตลาดทั่วโลก รองลงมา ได้แก่ภูมิภาคเอเชีย ร้อยละ 29.62 ภูมิภาคยุโรปตะวันตกร้อยละ 27.83 ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา ร้อยละ 3.59 ภูมิภาคลาตินอเมริกา ร้อยละ 3.58 ภูมิภาคยุโรปตะวันออก ร้อยละ 3.44 และภูมิภาคออสเตรเลีย ร้อยละ 1.68 ตามลำดับ ในปี 2564 จีนเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านรายใหญ่ที่สุดของโลก คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1.40 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ 23.27) รองลงมา ได้แก่ เยอรมนี เป็นมูลค่าทั้งสิ้น …

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอเมริกา เดือนเมษายน 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอเมริกา ณ นครลอสแอนเจลิส เดือนพฤษภาคม 2565

Online Food Delivery ยังคงเติบโต ส่งผลดีต่อความต้องการบรรจุภัณฑ์อาหาร ธุรกิจ Food Delivery หรือบริการส่งอาหารถึงบ้านยังคงได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในสหรัฐอเมริกา เป็นผลจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปโดยผู้บริโภคเริ่มหันมาสั่งอาหารให้มาส่งและรับประทานที่บ้านหรือที่ทำงานมากกว่าที่จะออกไปนั่งรับประทานในร้าน นอกจากนี้ ในช่วงการระบาดของ Covid-19 ส่งผลให้รัฐบาลท้องถิ่น ต้องออกมาตรการระงับการดำเนินธุรกิจ ส่งผลกระทบให้ร้านอาหารจำนวนมากต้องปรับตัวมาให้บริการ Food Delivery หรือ To-Go มากขึ้น เพื่อเป็นช่องทางในการหารายได้ ปัจจุบันร้านอาหารในสหรัฐฯ จึงมองเห็นโอกาสของการให้บริการ Food Delivery หรือ To-Go เพิ่มมากขึ้น และไม่เน้นหนักไปที่การขายอาหารที่เหมาะกับการนั่งรับประทานในร้านเพียงอย่างเดียวเช่นในอดีต Statista คาดการณ์ว่า ธุรกิจส่งอาหารออนไลน์ (Online Food Delivery) ของสหรัฐฯ ในปี 2565 จะมีมูลค่าสูงถึง 66.56 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะสูงถึง 96.37 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2569 โดยจะเติบโตในอัตราประมาณ 9.69% ต่อปี นอกจากร้านอาหารที่ปรับตัวมาให้บริการ Online Food Delivery หรือ To-Go …

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอเมริกา ณ นครลอสแอนเจลิส เดือนพฤษภาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอเมริกา ณ นครลอสแอนเจลิส เดือนเมษายน 2565

สถานการณ์การนำเข้าทุเรียนในตลาดสหรัฐอเมริกา 1. สถิติการนำเข้าของสหรัฐฯ 1.1 ทุเรียนสด ไทยครองตลาดอันดับ 1 ต่อเนื่องหลายปี ตามด้วยมาเลเซียและเวียดนาม เป็นที่น่าสังเกตว่าในปี 2021 มูลค่าการนำเข้าทุเรียนจากเวียดตามเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ Products: 081060 (Durians, Fresh) 1.2 ทุเรียนแช่แข็ง (ไม่มีข้อมูลสถิติแยกเฉพาะ) Products: 081190(Fruit, Nesoi, And Nuts, Uncooked Or Cooked By Steaming Or Boiling In Water, Whether Or Not Containing Added Sweetening, Frozen) 2. สถานการณ์ปัจจุบัน ตลาดหลักของผู้บริโภคทุเรียนคือชาวเวียดนาม จีนและไทย ผู้นำเข้าให้ข้อมูลว่าปัจจุบันทุเรียนจากเวียดนามเข้ามาตีตลาดทุเรียนจากไทย ทั้งในรูปแบบทุเรียนสด   แช่แข็ง และแกะเปลือก เนื่องจากปัจจัยด้านราคา (ถูกกว่าทุเรียนไทย 25%) และช่องทางการกระจายสินค้าที่ผู้นำเข้าชาวเวียดนามมีเครือข่ายกับผู้ส่งออกทุเรียนในเวียดนามและมีเครือข่ายกระจายสินค้าที่ใหญ่และครอบคลุมหลายพื้นที่ 3. ช่องทางการจำหน่าย Asian …

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอเมริกา ณ นครลอสแอนเจลิส เดือนเมษายน 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอเมริกา ณ นครนิวยอร์ก เดือนมีนาคม 2565

ธุรกิจสัตว์เลี้ยงยังคงไปได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ Ron Coughin ผู้บริหารของ Petco ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงรายใหญ่ของสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลว่าชาวอเมริกันยังคงช้จ่ายกับสัตว์เลี้ยงแม้จะอยู่ในภาวะเศรษฐกิจที่มีความมีความนำกังวลก็ตาม ซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจสัตว์เลี้ยงในปัจจุบัน โดยสินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจขาลงและภาวะเงินเฟ้อมากนัก ในช่วงระหว่างสถานการณ์โควิด-19 ชาวอเมริกันจำนวนมากได้หันมาเริ่มเลี้ยงสัตว์เลี้ยง ขณะที่บางส่วนได้ย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านหลังใหญ่ที่มีสนามหญ้า และใช้เวลาทำงานจากที่บ้านมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลต่อความต้องการอาหารสัตว์ การบริการด้านสุขภาพ รมทั้งความต้องการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยอุปสงค์ดังกล่าวจะยังคงอยู่ต่อไปแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลายลงไปแล้วก็ตาม Petco ต้องการที่จะแย่งชิงส่วนแบ่งทางกรตลาดของตลาดสัตว์เลี้ยงที่กำลังเติบโต โดยมีรายงานว่าปริมาณความต้องการด้านอาหารและอุปกรณ์ต่งๆในอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงมีมูลค่าสูงถึง 72 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564 และคาดว่าจะเติบโตอีก 79 ภายในปี 2568 ทางด้านคู่แช่งรายใหญ่ในตลาดอย่าง Chewy และ Walmart ยังได้เพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงในรูปแบบอื่นๆเพิ่มเติมโดยมีการเปิดตัวบริการรูปแบบใหม่ตั้งแต่การให้บริการด้านสัตวแพทย์เสมือนจริง ไปจนถึงธุรกิจประกันสัตว์เลี้ยง Petco ได้พัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบต่างๆเพื่อสร้างความโดดเด่นของตนเองในตลาดที่มีการแข่งขันที่สูง อาทิ การขยายการให้บริการด้านสุขภาพสัตว์เลี้ยง และบริการอื่นๆ รวมถึงเสื้อผ้าแฟชั่นไปจนถึงอาหารออรแกนิกซ์ เพื่อกระตุ้นการจับจ่ยของเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่รักสัตว์เลี้ยงของตนเสมือนสมาชิกในครอบครัว นอกจากนี้ยังได้มีการทดลองการให้บริการร้านค้าปลีกขนาดเล็กภายในห้างเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ในปัจจุบัน petco มีโรงพยาบาลสัตว์เต็มรูปแบบเกือบ 200 แห่ง และมีแผนที่จะเพิ่มเป็น 900 แห่ง นอกจากนี้ยังมีการผลักดันให้ลูกค้าซื้ออุปกรณ์และบริการสำหรับสัตว์เลี้ยงผ่านบริการแบบสมาชิ กรายเตือนที่เรียกว่า Vital Care ซึ่งให้บริการตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยงอย่างไม่จำกัดจำนวนครั้ง รวมไปถึงส่วนลดค่อาหารและการตัดแต่งขน …

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอเมริกา ณ นครนิวยอร์ก เดือนมีนาคม 2565 Read More »

OMD KM

FREE
VIEW