รายงานสถานการณ์การค้า แคนาดา ณ นครแวนคูเวอร์ เดือนพฤษภาคม 2565

1. เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจแคนาดา

  • สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์กังหันไอพ่น อัญมณีและทองคำยังไม่ขึ้นรูป เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ เป็นต้น
  • สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ านยนต์และส่วนประกอบ เครื่องประมวลผลข้อมูล น้ำมันดิบ อุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ อัญมณีและทองคำ เป็นต้น
  • ตลาดส่งออกสำคัญ 5 ประเทศแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และเม็กซิโก
  • แหล่งนำเข้าสำคัญ 5 ประเทศแรก คือ สหรัฐอเมริกา จีน เม็กชิโก เยอรมนี และญี่ปุ่น

2. สรุปภาวะเศรษฐกิจแคนาดา

เศรษฐกิจแคนาดายังได้แรงหนุนจากภาคการส่งออกสินค้าและบริการ ขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศเริ่มชะลอตัว โดยผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 และภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน จนธนาคารแห่งประเทศแคนาดาได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.50 สู่ระดับร้อยละ 1.0 เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเกินคาด อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจแคนาดาตลอดทั้งปี 2565 ที่ร้อยละ 4.25 จากแรงหนุนของการลงทุนภาคเอกชนและตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวดี แต่ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2566-2567 ที่ระดับร้อยละ 3.25 และ 2.25 ตามลำดับ เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจกระทบต่อราคาพลังงาน ตลาดการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน รวมไปถึงการปรับลดลงของความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจที่ตามมาได้

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจแคนาดา มีดังนี้

– ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ ดัชนีราคาผู้บริโภค (อัตราเงินเฟ้อ เดือนเมษายน 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 6.8 (YoY) ถือเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 6.7 (YoY โดปัจจัยอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เป็นผลจากราคาสินค้าอาหาร ที่พักอาศัย และต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเป็นสำคัญ โดยราคาสินค้ากลุ่มพลังงาน (น้ำมันดิบ) สูงขึ้นร้อยละ 36.3 ส่งผลให้สินค้าในหมวดพาหนะการขนส่ง/การเดินทาง สูงขึ้นร้อยละ 11.2 สำหรับหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 7.4 จากการสูงขึ้นของค่าก๊าซธรรมชาติสำหรับสร้างความอบอุ่นในที่พักอาศัย ขณะที่ราคาสินค้าหมวดอาหารสูงขึ้นร้อยละ .7 จากการสูงขึ้นของอาหารเกือบทุกรายการ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (เมื่อหักอาหารและพลังงานออก) สูงขึ้นร้อยละ 4.6 (YOY)

– การบริโภคภาคเอกชน เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและสินค้าแพงขึ้นในประเทศส่งผลให้กำลังในการใช้จ่ายของชาวแคนาดามีน้อยลง สอดคล้องกับมูลค่าค้าปลีกในประเทศเดือนล่าสุด (มีนาคม 2565) ไม่มีการขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะยอดจำหน่ายสินค้งคงทนประเภทรถยนต์ที่ลดลงชัดเจนร้อยละ 6.4 จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ยอดค้าปลีกในสินค้าหมวดอื่นยังขยายตัวได้บ้างเล็กน้อย แต่เป็นผลจากปัจจัยด้านราคาสินค้า

– ตลาดแรงงงาน เดือนเมษายน 2565 มีการจ้างงานอยู่ในเกณฑ์ทรงตัว หลังจากที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง 2 เดือนติดกัน อัตราการว่างงงานในประเทศปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.2 การจ้างงานในประเทศล่าสุดอยู่ในสาขาผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพด้านต่างๆ (professional) สาขาวิทยาศาสตร์และช่างเทคนิค และสาขาการบริหารรัฐกิจเป็นสำคัญขณะที่การจ้างงานสาขาการก่อสร้างและค้าปลีกลดลง อย่างไรก็ดี ความต้องการแรงงานที่อยู่ในระดับสูงยังช่วยหนุนให้ค่าจ้างต่อชั่วโมงโดยเฉลี่ย (average hourly wages) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 (YoY เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า อยู่ที่ 31.06 ดอลลาร์แคนาดาต่อชั่วโมง

– สถานการณ์ส่งออกสินค้าของแคนาดา เดือนมีนาคม 2565 ขยายตัวร้อยละ 6.3 มีมูลค่านำเข้า 63,628.4 ล้านดอลลาร์แคนาดา จากการส่งออกเพิ่มสินค้าเกือบทุกหมวด โดยมาจากปัจจัยทางด้านราคามากกว่าปริมาณ โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่มีการขยายตัวชัดเจน ได้แก่ หมวดพลังงาน ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 28.2 ของมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 ตามราคาน้ำมันดิบและก๊ซธรรมชาติในตลาดโลกที่ขยายตัว ตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเชียและยูเครน ตลอดจนการคว่ำบาตรต่างๆ ต่อรัสเชียที่ยังไม่มีความไม่แน่นอนสูง นอกจากนั้น การส่งออกสินค้าหมวดอื่นที่ยังขยายตัวได้ดี อาทิ หมวดยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 7.9 หมวดแร่โลหะและอโลหะ ขยายตัวร้อยะ 19.4 ตามอุปสงค์โลกเพิ่มขึ้น รวมถึงโรงงานผลิตสินค้าในประเทศสามารถดำเนินการผลิตได้ตามปกติมากขึ้น

– สถานการณ์นำเข้าสินค้าของแคนาดา เดือนมีนาคม 2565 ขยายตัวร้อยละ 7.7 โดยมีมูลค่านำเข้า 61,142.7 ล้านดอลลาร์แคนาดา จากกรนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะหมวดพลังงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.3 จากการนำเข้าน้ำมันดิบและบิทูเมน เพิ่มขึ้น 39.9 เนื่องจากความไม่แน่นอนด้านอุปทานจากความขัดแย้งรัสเชียและยูเครน เป็นผลให้ต้องมีการนำเข้ามากกว่าปกติ นอกจากนั้น สินค้าหมวดอุปโภคบริโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 จากการนำเข้าสินค้าเสื้อผ้า รองเท้าและเครื่องประดับอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 รถยนต์และส่วนประกอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 สำหรับสินค้าหมวดอุตสาหกรรม อาทิ เครื่องจักรและส่วนประกอบเคมีภัณฑ์ พลาสติกและผลิตภัณฑ์จากยาง พบการนำเข้าขยายตัวตามความต้องการในกิจกรรมการผลิตในประเทศที่กำลังขยายตัว ทั้งนี้ หากพิจารณาเป็นรายประเทศ การนำเข้าจากจีนขยายตัวได้สูงสุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4 โดยมีสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นหลายรายการ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องจักรกล สินค้าอุปโภคบริโภค รองลงมาคือ การนำเข้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5

– สถานการณ์การลงทุน มีแนวโน้มที่ดีขึ้น สอดคล้องกับผลประกอบการของธนาคารชั้นนำในประเทศแสดงถึงมูลค่าการกู้ยืมเงินของธุรกิจเพื่อการลงทุนที่กำลังขยายตัว ตามดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับเพิ่มขึ้น จากผู้ประกอบการภาคการผลิตที่ได้รับคำสั่งสินค้าเพิ่มขึ้น ตามอุปสงค์ที่ฟื้นตัวในประเทศและจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจจำนวนมากยังมีความกังวลต่อปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ และผลกระทบจากปัญหา supply disruption ที่อาจเข้ามาชะลอด้านการลงทุนระยะยาวได้

– บริษัทไทยไปลงทุนในแคนาดา ได้แก่ บริษัท ปต.สผ. (แคนาดา) บริษัท CPF (ธุรกิจสุกรครบวงจร) บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด (ตัวแทน)

3. สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศไทยกับแคนาดา

4. สินค้าส่งออกหลักจากไทยไปแคนาดา (มกราคม – มีนาคม 2565)

5. สินค้านำเข้าหลักจากแคนาดามาไทย (มกราคม – มีนาคม 2565)

6. ยุทธศาสตร์/กิจกรรมของสำนักงานฯ

ㆍโครงการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าอาหารไทยและธุรกิจบริการอาหารไทยในภูมิภาคอเมริกาเหนือ

ㆍโครงการส่งเสริมการขายร่วมกับผู้นำเข้า/ซูเปอร์มาร์เก็ตฝั่งตะวันตกของแคนาดา

ㆍ โครงการประชาสัมพันธ์สินค้าอาหารไทยในซูเปอร์มาร์เก็ตผ่านสื่อ Social Media

ㆍการสำรวจร้านอาหารไทยในเขตอาณาที่ได้มาตรฐานเพื่อให้การรับรองและมอบตราสัญลักษณ์ Thai SELECT

ㆍการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์และร้านอาหาร Thai SELECT ในสื่อโซเชียลมิเดียโดย Influencer ที่มีชื่อเสียง

ㆍการพบปะและสร้างความสัมพันธ์กับผู้นำเข้า ผู้ประกอบธุรกิจ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจและการค้า

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW