รายงานสถานการณ์การค้าอิตาลี ณ เมืองมิลาน เดือนพฤษภาคม 2565

1. สถานการณ์เศรษฐกิจอิตาลีโดยรวม

สภาอุตสาหกรรมของอิตาลี (Confindustria) แสดงรายงนสถานการณ์เศรษฐกิจของอิตาลี พบว่า ในไตรมาสที่สองของปี 2565 สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศยังคงยากลำบาก (หลังจากที่ GDP ในไตรมาสแรกชะลอตัวลงที่ -0.2%) จากปัจจัยความขัดแย้งระหว่างรัสเชีย-ยูเครน นอกจากนี้ อิตาลียังคงต้องเผชิญกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น การขาดแคลนวัตถุดิบ และความไม่แน่นอนสูง ในทางกลับกันแม้ว่าวิกฤตด้านสาธารณสุขจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ค่อยๆ คลาย ช่วยสนับสนุนการบริโภคในประเทศ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มกรบริโภคโดยรวมยังคงอยู่ในเชิงลบ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ได้ออกโรงเตือนอิตาลีเกี่ยวกับการสกัดกั้นการนำเข้าก๊ซจากรัสเซียจะส่งผลกระทบอย่างสาหัสต่อสินค้าพลังงาน โดยเฉพาะการขาดแคลนพลังงานสำหรับอุตสาหกรรมและบริการ และค่ใช้จ่ายด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงผลกระทบโดยรวมต่อเศรษฐกิจของอิตาลีที่อ่อนแออยู่แล้วในปี 2565-2566 ที่จะมีแนวโน้มลดลงเฉลี่ย 0.2% ต่อปี

ขณะเดียวกัน หนังสือพิมพ์ The Financial Times ได้แสดงรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจของอิตาลีว่าอยู่ในสถานะที่น่ากังวล อิตาลีเป็นประเทศที่มีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงที่สุดรองจากกรีซ การขาดดุลงบประมาณสาธารณะสูงที่สุดในบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลักของยูโรโซน ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปคาดว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคม 2565 นี้ นอกจากนี้ ค่า spread (ความแตกต่างของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรแบบ 10 ปี) ของอิตาลีและเยอมัน ซึ่งถือเป็นเครื่องวัดความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจของยูโรโชน ได้เพิ่มขึ้นถึง 2% ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา นับว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 การชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วอาจส่งผลต่อการเติบโตทางการเงิน ซึ่งเป็นที่คาดการณ์ว่า การขาดดุลงบประมาณสาธารณะสูงของอิตาลีจะลดลงมาอยู่ที่ 5.6% ในปีนี้ เมื่อเทียบกับ 7.2% ในปีที่แล้ว แม้ว่าอิตาลีจะกำลังดำเนินการปฏิรูปทางโครงสร้างและอยู่บนเส้นทางของการเติบโตอย่างยั่งยืนตามแผนฟื้นฟูประเทศ (PNRR) จากการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 อย่างไรก็ตาม The Financial Times ชี้ให้เห็นว่า อิตาลีพึ่งพารัสเซียอย่างมากในด้านพลังงาน ซึ่งทำให้อาจเกิดความเสี่ยงต่อความขัดแย้งในยูเครนและสำหรับผู้บริโภคแล้วจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้ หาก GDP อ่อนตัวลงอย่างมาก อาจทำให้เศรษฐกิจอิตาลีเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้งในปี 2565

ขณะที่บริษัทจัดอันดับความน่เชื่อถือ Fitch ยังคงจัดให้อิตาลีอยู่ในระดับ BBB โดยระบุว่า การเติบโตของเศรษฐกิจอิตาลีกลับมาชะลอตัวลงหลังการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในปี 2564 และคาดการณ์การเติบโตของ GDP ที่ 2.7% ในปีนี้ และ 2.3% ในปี 2566

2. ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ

2.1 อัชนีการบริโกค จากข้อมูลของสมาพันธ์การค้าของอิตาลี (Confcommercio) แสดงให้เห็นว่า ในเดือนเมษายน 2565 ดัชนีการบริโภคเพิ่มขึ้น 13.1% หากเทียบกับปีก่อนหน้า โดยการใช้จ่ายของครัวเรือนอิตาลีในสินค้าเพิ่มขึ้น 0.7% และการใช้จ่ายในส่วนของบริการเพิ่มขึ้น 68.3% โดยเฉพาะการใช้จ่ายการบริการด้านการท่องเที่ยวขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง แต่ยังคงอยู่นระดับต่ำกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับแนวโน้มของการใช้จ่ายสำหรับสินค้าเครื่องนุ่งห่ม (-19.4%) นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนและความล่าช้าของนโยบายเงินช่วยเหลือสำหรับการซื้อรถยนต์ใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมส่งผลให้การใช้จ่ายสำหรับสินค้ารถยนต์ลดลง (-40.1%) เช่นเดียวกับการใช้จ่ายสำหรับบริการด้านโรงแรมและกรทานอาหารนอกบ้านที่หดตัวลดลง (-23.3%) สำหรับการใช้จ่ายที่ขยายตัวขึ้น ได้แก่ และสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม และใบยาสูบ (+1.1%) และสินค้าและบริการสำหรับที่อยู่อาศัย (+2.0%) เป็นต้น

2.2 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจ สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงการคาดการณ์ว่า ในเดือนพฤษภาคม 2565 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้นหากเทียบกับเดือนเมษายน 2565 (จาก 100.0 มาอยู่ที่ 102.7) ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเชื่อมั่นในด้านต่าง ๆ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ (จาก 97.3 มาอยู่ที่ 103.6) ความเชื่อมั่นส่วนบุคคล (จาก 101.7 มาอยู่ที่ 100.9) ความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ปัจจุบัน (จาก 100.8 มาอยู่ที่ 104.6) และความเชื่อมั่นต่ออนาคต (จาก 98.9 มาอยู่ที่ 99.89) ขณะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพิ่มขึ้นจาก 108.4 มาอยู่ที่ 110.9 เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของภาคต่างๆ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาคธุรกิจบริการ (จาก 97.2 มาอยู่ที่ 103.6) ภาคธุรกิจค้าปลีก (จาก 103.6 มาอยู่ที่ 105.5) ในทางตรงกันข้าม ภาคอุตสาหกรรมการผลิตลดลง (109.9 มาอยู่ที่ 109.3) และภาคธุรกิจก่อสร้าง (จาก 160.6 มาอยู่ที่ 158.7)

2.3 อัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงตัวเลขคาดกรณ์ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนเมษายน 2565 ชนีราคาผู้บริโภคหดตัว 0.1% หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า เป็นผลมาจากราคาสินค้าด้านพลังงานที่ปรับตัวลดลง แบ่งเป็นค่ไฟฟ้าในตลาดที่ได้รับการคุ้มครองและก๊าซสำหรับใช้ภายในครัวเรือน (-12.5% และราคาเชื้อเพลิงยานยนต์ น้ำมันหล่อลื่น เชื้อเพลิงในครัวเรือน และไฟฟ้าในตลาดเสรี (-3.9%) ขณะที่ราคากรบริการด้านการขนส่ง (+2.8% ราคาอาหารที่แปรรูปแล้ว (+1.69) ราคาอาหารที่ยังไม่แปรรูป (+1.69) และสินค้าที่ไม่คงทน (+0.68) ปรับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ หากเทียบกับเดือนเมษายน 2564 ดัชนีราคาผู้บริโภคยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 6.0% (โดยเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ +6.5%) ซึ่งมีผลมาจากราคาสินค้าด้านพลังงานที่ยังคงมีราคาเพิ่มสูงขึ้น (+39.5%) แบ่งเป็นค่ไฟฟ้าในตลาดที่ได้รับกรคุ้มครองและก๊ซสำหรับใช้ภายในครัวเรือน (+64.3%) และราคาเชื้อเพลิงยานยนต์ น้ำมันหล่อลื่นเชื้อเพลิงในครัวเรือน และไฟฟ้าในตลาดเสรี (+29.89) ราคาการบริการด้านสันทนาการและการดูแลส่วนบุคคล (+2.4%) ราคาบริการด้านการเดินทาง (+5.1%) ราคาอาหารที่แปรรูป (+5.0%) สินค้าคงทน (+2.2%) และสินค้าไม่คงทน (+1.9%)

2.4 อัชนีราคาผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Producer Price) ตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงให้เห็นว่า ดัชนีราคาผู้ผลิตด้านอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2565 หากเทียบกับเดือนก่อนหน้าขยายตัวเพิ่มขึ้น +0.2% โดยราคาตลาดในประเทศลดลง -0.3% และตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น +1.7% (+1.9% ในยูโรโซนและ +1.7 นอกยูโรโชน) ขณะที่หากเทียบกับเดือนเมษายน 2564 ดัชนีราคาผู้ผลิตด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น +35.3% โดยราคาตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น +94.1% และตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น 13.39 (+14.19 ในยูโรโซน และ +12.7% นอกยูโรโซน)

2.5 ดัชนีการผลิตภาคอตสาหกรรม (Industrial Production) สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงตัวเลขคาดกรณ์ว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 กรผลิตภาคอุตสาหกรรมคงที่หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยมีผลมาจากสินค้าพลังงาน (+2.7%) สินค้าบริโภคอุปโภค (+1.0%) สินค้าทุน (+0.4%) ที่เพิ่มขึ้นและสินค้าขั้นกลาง -0.79) ที่ลดลง ขณะที่หากเทียบกับเดือนมีนาคม 2564 การผลิตด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 3.0% โดยมีผลมาจากสินค้าอุปโภคบริโภค (+8.1%) สินค้าพลังงาน (5.2%) สินค้าทุน (+3.0%) และสินค้าขั้นกลาง (-0.4%) โดยภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มเครื่องหนัง และเครื่องประดับ (+15.0%) กรผลิตสินค้าคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ (+7.5%) และสินค้าเครื่องจักรกล (7.4%) ขณะที่การผลิตสินค้าลดลง ได้แก่ สินค้าพาหนะยานยนต์ (-3.)%) และหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก (-1.8%)

2.6 การค้าระหว่างประเทศ สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงตัวเลขคาดการณ์ในเดือนมีนาคม 2565 การนำเข้าของอิตาลีทั้งหมดขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.3% (เทียบกับเดือนก่อนหน้า) เช่นเดียวการส่งออกของอิตาลีทั้งหมดไปยังตลาดต่างประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.79 (เทียบกับเดือนก่อนหน้า) ซึ่งมีปัจจัยมาจากการส่งออกสินค้าไปยังประเทศในสหภาพยุโรปและประเทศนอกสหภาพยุโรปขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.3% และ 2.1% ตามลำดับ ในขณะที่เทียบกับเดือนมีนาคม 2564 พบว่า อิตาลีนำเข้าสินค้าจากตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น 38.89 โดยเฉพาะการนำเข้าจากประเทศนอกสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 61.0% และจากประเทศในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 23.7% ในขณะที่การส่งออกของอิตาลีไปยังตลาดต่งประเทศเพิ่มขึ้น 22.9% โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 23.5% และประเทศนอกสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 22.2% โดยสินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เคมีภัณฑ์ (+37.69) สินค้าโลหะ ผลิตภัณฑ์โลห: (ยกเว้นเครื่องจักร) (+34.9%) และยานพาหนะ ยกเว้นรถยนต์ (+31.8%) โดยตลาดส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (+40%) ฝรั่งเศส (+21.0%) เยอรมนี (+14.8%) และสวิตเซอร์แลนด์ (+32.2%) ขณะที่การส่งออกไปยังรัสเซียลดลง 50.9%

2.7 การค้าปลีก สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) คาดการณ์ข้อมูลว่า ในเดือนมีนาคม 2565 การค้าปลีกขยายตัวลดลง 0.5% ในด้นมูลค่า และ 0.6% ในด้นปริมาณ เทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการค้าปลีกสินค้าอุปโภคที่ลดลง (-0.8% ด้านมูลค่ และ -0.7% ด้านปริมาณ) และการค้าปลีกสินค้าอุปโภคที่คงที่ในด้านมูลค่า และลดลงด้านปริมาณ (-0.6%) ขณะที่หากเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าการค้าปลีกขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.6% ในด้านมูลค่า และ 2.5% ในด้านปริมาณ โดยมีปัจจัยมาจากการค้าปลีกสินค้าอุปโภคที่เพิ่มขึ้น (+ 11.69 ด้านมูลค่า และ +10.4%6 ด้านปริมาณ) ในทางตรงกันข้าม สินค้าบริโภคลดลง (-0.5% ด้านมูลค่าและ 6.0% ด้านปริมาณ) ทั้งนี้ การค้าปลีกสินค้าอุปโภคเติบโตในทุกประเภท (ยกเว้นสินค้าในกลุ่มไอที การสื่อสาร และโทรศัพท์ โดยเฉพาะรองเท้า เครื่องหนัง และสินค้าสำหรับการเดินทาง (+24.6%) เฟอร์นิเจอร์ สิ่งทอ และของตกแต่งบ้าน (+20.99) และเครื่องนุ่งห่ม (+20.5%)

ในขณะที่หากพิจารณาจากช่องทางการจำหน่ายพบว่า การค้าปลีกเพิ่มขึ้นในทุกช่องทาง ได้แก่ ซุปเปอร์มาร์เก็ต/ไฮเปอร์มาร์เก็ต (+9.6%) ร้านค้าปลีกขนาดย่อย (+7.79) ตลาดนัด ขายตรง และตู้จำหน่ายสินค้า (+7.0%) และส่วนการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ลดลง (-3.9%)

3. สถานการณ์การค้าไทย – อิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน 2565 ไทยส่งออกสินค้าไปทั่วโลกมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 97,122.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น +1368% ในขณะที่เดือนเมษายน 2565 ไทยส่งออกสินค้าไปทั่วโลกมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 23,521.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น +9.909 โดยระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน 2565 มูลค่าการค้าของไทย – อิตาลี มีมูลค่า 1,656.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็น การส่งออกมูลค่า 740.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น + 10.579 และการนำเข้ามูลค่า 916.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น +13.47% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

3.1 การค้าไทย – อิตาลี

3.2 การส่งออกของไทยไปอิตา ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน 2565 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 740.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 10.57% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งการส่งออกมีมูลค่า 669.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 อันดับแรก ดังนี้

3.3 การนำเข้าของไทยจากอิตาลี ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน 2565 ไทยนำเข้าสินค้าจากอิตาลีมีมูลค่าทั้งสิ้น 916.29 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 13.47% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งการนำเข้ามีมูลค่า 807.53 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีสินค้านำเข้าที่สำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่

3.4 การนำเข้าของอิตาลีจากทั่วโลก ข้อมูลจาก Global Trade Atlas แสดงให้เห็นว่า ระหว่างเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2565 อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกมีมูลค่า 108,052.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 35.51% เทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งการนำเข้ามีมูลค่า 79, 736.06 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่อิตาลีนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมนี มูลค่า 15,424.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (+18.63%) จีน มูลค่า 10,380.47 ล้านเหรียญสหรัฐ (+48.14%) ฝรั่งเศส มูลค่า 8,124.71 ล้านเหรียญสหรัฐ (+17.29%) เนเธอร์แลนด์ มูลค่า 6,352 ล้านเหรียญสหรัฐ (+33.82%) และรัสเชีย มูลค่า 5,341.53 ล้านเหรียญสหรัฐ (+139.62%) ซึ่งแหล่งนำเข้าที่สำคัญของอิตาลีส่วนใหญ่เป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป

โดยประเทศคู่แข่งของไทยที่สำคัญในวีปเอเชีย ได้แก่ อินเดีย (อันดับที่ 15) มูลค่า 1,590.62 ล้านเหรียญสหรัฐ (+64.36%) เกาหลีใต้ (อันดับที่ 24) มูลค่า 1,014.29 ล้านเหรียญสหรัฐ (+54.69%) ญี่ปุ่น (อันดับที่ 26 มูลค่า 9 14.04 ล้านเหรียญสหรัฐ (+ 15.28%) เวียดนาม (อันดับที่ 30) มูลค่า 776.33 ล้านเหรียญสหรัฐ (+17.22% อินโดนีเชีย (อันดับที่ 35) มูลค่า 613.79 ล้านเหรียญสหรัฐ (+55.61%) ไต้หวัน (อันดับที่ 36) มูลค่า 604.43 ล้านเหรียญสหรัฐ (+ 74.1 9% และไทย อยู่ในอันดับที่ 45 มูลค่า 370.85 ล้านเหรียญสหรัฐ (+16.59%)

โดยสินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรกของไทยที่อิตาลีนำเข้าจากประเทศคู่แข่งในทวีปเอเชีย ในเดือนมกราคม 2565 ได้แก่

– ญี่ปุ่น สินค้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ มูลค่า 9,402.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (+4.10%) สินค้าเหล็กและเหล็กกล้า มูลค่า 65.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (+796.818) และยางและผลิตภัณฑ์จากยาง 29.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (+106.27%)

– อินเดีย สินค้าเหล็กและเหล็กกล้า มูลค่า 375.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+141.56%) สินค้ายานบกมูลค่า 53.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับอัญมณี มูลค่า 45.62 ล้านเหรียญสหรัฐญ (+104.99%)

– เกาหลีใต้ สินค้ายานบก มูลค่า 1 10.28 ล้านเหรียญสหรัฐ (+14.01%) และยางและผลิตภัณฑ์จากยาง มูลค่า 33.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (+54.71%)

– เวียดนาม สินค้าเหล็กและเหล็กกล้า มูลค่า 110.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (220.86%) สินค้ายานบกมูลค่า 32.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+13.14%) และปลาและอาหารทะเล มูลค่า 15.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (42.4%)

– อินโดนีเซีย สินค้าเหล็กและเหล็กกล้า มูลค่า 171.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+350.38%) ปลาและอาหารทะเล มูลค่า 12.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+218.38% และยางและผลิตภัณฑ์จากยาง มูลค่า 17.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-19.91%)

4. การคาดการณ์ของสินค้า

จากการสำรวจของศูนย์วิจัย FINDOMESTIC ร่วมกับ Eumetra พบว่า ในเดือนเมษายน 2565 ความตั้งใจซื้อของชาวอิตาเลียนมีแนวโน้มลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง หลังจากที่เติบโตขึ้นมาเป็นระยะเวลาสี่เดือน โดยภาวะเงินเฟ้อและสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนส่งผลกระทบต่อทุกกลุ่มสินค้า (แนวโน้มการซื้อลดลง 2-25%) ยกเว้นสินค้า/บริการสำหรับการเดินทางเที่ยวและการพักผ่อน (+1.1%) อย่างไรก็ตาม ความตั้งใจซื้อโดยรวมยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าก่อนหน้าการเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 โดยผู้บริโภคยังคงระมัดระวังในการใช้จ่ายในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเช่นนี้ (75% ของครัวเรือนพิจารณาว่าขณะนี้ไมใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการซื้อสินค้า ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 12 เดือน) ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับแนวโน้มสินค้าที่สำคัญแบ่งได้ ดังนี้

– พาหนะยานยนต์: ความตั้งใจซื้อในทุกกลุ่มสินค้ามีแนวโน้มลดลง โดยความตั้งซื้อรถยนต์ใหม่ลดลง 8.1% (และลดลงถึง 17.2% สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์มือสอง และรถจักรยานยนต์ลดลง (-13.8% และ 22.4% ตามลำดับ) เช่นเดียวกับความตั้งใจซื้อรถจักรยานไฟฟ้าและสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าที่ลดลง (-2.2% และ -5.5% ตามลำดับ) โดยส่วนหนึ่งเป็นปัจจัยมาจากการรอเงินสนับสนุนครั้งใหม่จากรัฐบาลในการซื้อพาหนะยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

– ด้านเทคโนโลยี: การตั้งใจซื้อสินค้าด้านเทคโนโลยีโดยรวมลดลง หลังจากที่มีแนวโน้มอยู่ในเชิงบวกตลอดระยะเวลาของการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 ที่ส่งผลให้ชาวอิตาเลียนซื้อสินค้าด้านเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการทำงานจากที่บ้านและการเรียนการสอนทางไกล โดยแนวโน้มการซื้อสินค้าแท็บเล็ต/e-book ลดลง (-25.2%) สินค้าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (-17.9%) กล้องถ่ายรูป/กล้องวิดีโอ (-15.6%) และโทรศัพท์ (-8.8%)

– ที่อยู่อาศัย: ในช่วงเดือนเมษายน 2565 พบว่า แนวโน้มความตั้งใจซื้อที่อยู่อาศัย/สินค้าสำหรับที่อยู่อาศัยหดตัวลง หลังจากที่อยู่ในเชิงบวกติดต่อกันมาหลายเดือน โดยส่วนหนึ่งมีปัจจัยมาจากการตรวจสอบด้านภาษีจากการให้เงินโบนัสช่วยเหลือของรัฐบาล หลังจากการค้นพบการปลอมแปลงเอกสารเพื่อขอรับเงินจำนวนมาก โดยความตั้งใจซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยลดลง (-10.19) การปรับปรุง/ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย (-9.1%) และการซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่ลดลง (-1 1.9x) อย่างไรก็ตาม 33% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีแนวโน้มซื้อเฟอร์นิเจอร์ในอีกสามเดือนข้างหน้า ซึ่งสัดส่วนสูงกว่าก่อนการเกิดการแพร่ระบาดของ Covid-19 เกือบ 8%

– เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน: เช่นเดียวกับสินค้าประเภทอื่นๆ แนวโน้มการซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนทุกประเภทลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ (-11.8%) เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก (-2.6%) และโทรทัศน์/HI-F (-14.6% โดยราคาใช้จ่ายเฉลี่ยเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่อยู่ที่ 1,056 ยูโร เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กอยู่ที่ 268 ยูโร และโทรทัศน์/Hi-Fi อยู่ที่ 833 ยูโร

5. ข้อคิดเห็นของ สคต.

สถานการณ์เศรษฐกิจอิตาลียังคงต้องเผชิญกับความท้าท้ายอย่างต่อเนื่องมาตลอดช่วงสองสามปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 และความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งสหภาพยุโรปได้เดินหน้าพิจารณามาตรการคว่ำบาตรน้ำมันจากรัสเซีย โดยสำหรับอิตาลีซึ่งเป็นประเทศพึ่งพาการนำเข้าสินค้าด้านพลังงาน ได้รับผลกระทบโดยตรงจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ขณะที่อุปทานมีแนวโน้มลดลงปัจจัยดังกล่าวทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำลังการซื้อของภาคครัวเรือนและต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 แม้ว่าสถานการณ์โดยทั่วไป ชาวอิตาเลียนจะสามารถอดออมได้ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัวอีกครั้งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่ปัจจัยสงครามและภาวะเงินเฟ้อได้ทำให้เศรษฐกิจอิตาลีกลับมาชะลอตัว และแนวโน้มการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาและติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อสามารถวางแผนรับมือด้านการค้าและปรับสินค้าให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคปัจจุบันที่จะช่วยขยายการส่งออกในตลาดอิตาลีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW