ภูมิภาคละติน

รายงานสถานการณ์การค้าชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือนสิงหาคม 2565

อุตสาหกรรมประมงในประเทศเปรู กับโอกาสการส่งออกอาหารกระป๋องของไทย ภาพรวมเชิงเศรษฐกิจของเปรู เปรู เป็นประเทศที่มีขนาดทางเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ในภูมิภาคลาตินอเมริกาประจำปี 2564 (รองจากบราซิล เม็กซิโก อาร์เจนตินา ชิลี และโคลอมเบีย) และมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงสุดเป็นอันดับที่ 1 ในภูมิภาคฯ ที่อัตราร้อยละ 13.3 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคบริการและภาคการผลิตเป็นหลัก  ซึ่งภาคการค้าบริการได้รับแรงขับเคลื่อนสำคัญจากสาขาธุรกิจสื่อสารและโทรคมนาคม และธุรกิจการเงินการธนาคาร ในขณะที่ภาคการผลิต ได้รับแรงขับเคลื่อนหลักมาจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมประมง           สำหรับสินค้าที่มาจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมทางการเกษตร และอุตสาหกรรมประมงที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศเปรู ได้แก่ แร่เงิน (เปรู ผลิตได้มากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากเม็กซิโก) อาโวคาโด คีนัว (Quinua) หน่อไม้ฝรั่ง และปลาแอนโชวี (Anchovy)  เป็นต้น       อุตสาหกรรมประมงของเปรู           เปรู เป็นหนึ่งในประเทศผู้นำในภาคการประมงของโลก โดยข้อมูลจากมูลนิธิ Minderoo ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่ก่อตั้งเพื่อศึกษาถึงผลกระทบจากการจับปลาและสัตว์น้ำในท้องทะเล ระบุว่าเปรูเป็นผู้ผลิตสินค้าทางการประมงที่จับได้ตามธรรมชาติ (wild-caught fisheries) รายใหญ่อันดับที่ 6 …

รายงานสถานการณ์การค้าชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือนสิงหาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือนสิงหาคม 2565

สถานการณ์ตลาดปุ๋ยในชิลี สมาคมเกษตรแห่งชาติของชิลี (The Chile´s National Agriculture Society: SNA) แสดงความกังวลต่อราคาปุ๋ยยูเรียและโพแทสเซียมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยปุ๋ยยูเรียมีราคาเพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 282 และปุ๋ยโพแทสเซียม เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 278 อย่างไรก็ดี รัฐบาลชิลีมีข้อจำกัดในการบริหารจัดการปริมาณและราคาปุ๋ยในประเทศ เนื่องจากปุ๋ยที่ใช้ภายในประเทศชิลีเกือบทั้งหมดมีการนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ชิลีมีการใช้ปุ๋ยยูเรียและโพแทสเซียมมากที่สุดสำหรับการเพาะปลูกข้าวสาลีและข้าวโพด ในขณะที่ผลผลิตทางการเกษตรอื่น อาทิ ประเภทพืชผักมีการใช้ปุ๋ยชนิดอื่นที่มีการซื้อล่วงหน้า 6-8 เดือน โดยคาดว่าปริมาณปุ๋ยจะมีไม่มีเพียงพอต่อการเพราะปลูกในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่กำลังจะมาถึง ตลาดปุ๋ยในชิลี ชิลีนำเข้าปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และยูเรียจากต่างประเทศ โดยนำเข้าปุ๋ยไนโตรเจนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของปริมาณปุ๋ยที่นำเข้าทั้งหมด และแหล่งนำเข้าปุ๋ยยูเรียของชิลี ได้แก่ รัสเซีย จีน ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน และอียิปต์  ในขณะที่ชิลีนำเข้าปุ๋ยฟอสฟอรัสคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของปริมาณปุ๋ยที่นำเข้าทั้งหมด และแหล่งนำเข้าปุ๋ยฟอสฟอรัสของชิลี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก  จีน  โดยการนำเข้าปุ๋ยส่วนใหญ่ของชิลีใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากความตกลงเขตการค้าเสรีที่ชิลีจัดทำกับประเทศดังกล่าว ทั้งนี้ ชิลีนำเข้าปุ๋ยจากจีนเป็นอันดับที่ 1 นอกจากนี้ …

รายงานสถานการณ์การค้าชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือนสิงหาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐเม็กซิโก ณ กรุงเม็กซิโก เดือนมิถุนายน 2565

Nearshoring ส่งเสริมอุตสาหกรรมยางในเม็กซิโก การย้ายที่ตั้งของบริษัทอันเป็นผลมาจากสนธิสัญญา USMCA ทําให้อุตสาหกรรมยางในเม็กซิโกเพิ่มการผลิตขึ้น 20% ในปีที่แล้ว และในกรณีของยางรถยนต์สูงถึง 50% โดยได้รับแรงหนุนหลักจากคําสั่งซื้อจากภาคยานยนต์ นอกเหนือจากอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมยางขึ้นอยู่กับวัตถุดิบนําเข้า 70% แต่ที่ตั้งของบริษัทซัพพลายเออร์จะเปิดโอกาสให้ผลิตและแข่งขันในตลาดอเมริกาเหนือได้อย่างดีเยี่ยม ตามคํากล่าวของ Carlos González ซีอีโอของ Hultek บริษัทเม็กซิกันที่จําหน่ายยางตามแบบ – ทําชิ้นส่วนยางให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ ในปี 2563 บริษัทชิ้นส่วนยานยนต์มีการย้ายที่ตั้งที่เรียกว่า nearshoring คิดเป็นง 12% ของสถิติภายในปี 2564 บริษัทชิ้นส่วนยานยนต์คิดเป็น 50% ของการ nearshoring ทั่วประเทศ ตามสถิติของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์แห่งชาติ (INA) เม็กซิโกผลิตผลิตภัณฑ์ยางสําหรับรถยนต์มูลค่า 1,434 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2563 และในปีต่อไป เม็กซิโกได้เพิ่มการผลิตขึ้น 19.3% เป็น 1,710 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในกรณีของล้อและยาง การผลิตเพิ่มขึ้น 55% ในหนึ่งปี จากมูลค่าการผลิต 1,021 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ …

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐเม็กซิโก ณ กรุงเม็กซิโก เดือนมิถุนายน 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐเม็กซิโก ณ เมืองปานามาซิตี้ เดือนมิถุนายน 2565

ปานามาจะนําเข้าข้าวเพื่อประกันอุปทานให้กับประชากร เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2565 รัฐบาลปานามาได้ประกาศการตัดสินใจนําเข้าข้าว 60,000 ตัน;โดยสําหรับประชากรปานามา ข้าวเป็นอาหารที่บริโภคมากที่สุดชนิดหนึ่ง จากการตัดสินใจล่าสุดของเครือข่ายข้าวเกษตร-อาหาร การเข้าซื้อกิจการของปริมาณธัญพืชดังกล่าวจะรับประกันการจัดหาให้กับประชากจนกว่าจะมีการควบคุมการส่งมอบการเก็บเกี่ยวในปัจจุบัน มาตรการดังกล่าวถูกนํามาใช้หลังจากมีการโต้วาทีกันนานกว่าห้าชั่วโมงระหว่างตัวแทนของสหภาพ ผู้ผลิต โรงสี ผู้จัดจําหน่ายอาหาร หน่วยงานกํากับดูแล และผู้บริโภค นายออกุสโต วัลเดอรามา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาการเกษตร กล่าวว่า การตัดสินใจเกิดขึ้นหลังจากรายงานที่นําเสนอเกี่ยวกับการคํานวณอุปทานซึ่งจัดทําโดยเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคและป้องกันการแข่งขัน (ACODECO) ตามความเห็นของ ACODECO ข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยรับประกันความมั่นคงด้านอาหารของชาวปานามา ท่ามกลางปัญหาอันเนื่องมาจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ในส่วนของนาย อเล็กซานเดอร์ อาเราซ์ ประธานกลุ่มข้าวไรซ์เชน อธิบายว่าหลังจากวิเคราะห์สถิติแล้ว เช่นเดียวกับความคืบหน้าในการปลูก ก็เป็นไปได้ที่จะรู้ว่าจะมีข้าวเพียงพอสําหรับอุปสงค์ในท้องถิ่นจนถึงเดือนกันยายนปีหน้าเมื่อผู้ปลูกในท้องถิ่นจะเก็บเกี่ยว เขาเสริมว่าการนําเข้า 60,000 ตันเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของอุปทานธัญพืชและการนําเข้าจะเริ่มในวันที่ 1 สิงหาคม และกล่าวว่าขณะนี้มีการปลูกข้าวเกือบ 20,000 เฮกตาร์ซึ่งจะเริ่มเก็บเกี่ยวในต้นเดือนสิงหาคม ในระหว่างการประชุม นายเรย์นัลโด โซลิส ผู้อํานวยการด้านการเกษตรแห่งชาติของกระทรวงการพัฒนาการเกษตร รายงานว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2565 พื้นที่ปลูกข้าว 19,639.4 เฮกตาร์เพิ่มขึ้นสองพัน 316 …

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐเม็กซิโก ณ เมืองปานามาซิตี้ เดือนมิถุนายน 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือนเมษายน 2565

ภาพรวมอุตสาหกรรม  ปัจจุบัน โคลอมเบียมีจำนวนยานพาหนะรวม 17,020,461 คัน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ (1) รถยนต์ ปิกอัพ รถบรรทุกขนาดเล็ก รถบัส มีจำนวน 6.8 ล้าน คัน (2) รถบรรทุกขนาดใหญ่ มีจำนวน 188,888 คัน และ (3) รถจักรยานยนต์ มีจำนวน 10,136,593 คัน ซึ่งรถจักรยานยนต์คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 60 ของจำนวนยานพาหนะทั้งหมดในประเทศ นอกจากนี้ โคลอมเบียยังเป็นฐานการผลิตรถยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์เพื่อการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคละตินอเมริกา โดยโคลอมเบียมีโรงงานผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์รวม 12 แห่ง มีจุดให้บริการด้านการขายกว่า 16,000 แห่งทั่วประเทศ และมีการจ้างงานประมาณ 100,000 ตำแหน่ง ดังนั้น อุตสาหกรรมยานยนต์จึงถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่นำรายได้เข้าประเทศโคลอมเบียกว่า 1.8 ล้านล้านโคลอมเบียเปโซ หรือประมาณหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2563  ภาพรวมตลาด ที่ผ่านมา …

รายงานสถานการณ์การค้าชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือนเมษายน 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือนพฤษภาคม 2565

การขยายตัวของ E-Commerce ในชิลี จากรายงาน “พฤติกรรมของผู้บริโภคในชิลี” ของ BlackSip เสื้อผ้า รองเท้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคมีความต้องการมากที่สุด และประมาณร้อยละ 68 ของผู้ใช้/ผู้บริโภคมีการหาข้อมูลเชิงลึกทางออนไลน์ก่อนซื้อสินค้านั้น ทั้งนี้ การขยายตัวของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce: E-Commerce) ในชิลีมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของประชากรทั้งประเทศ (ประชากรชิลีรวม 19 ล้านคน) โดยในส่วนของมูลค่าตลาดรวมของ E-Commerce คิดเป็นมูลค่า 7 เหรียญสหรัฐ ในปี 2564 อยู่ในอันดับที่ 31 ของโลก รองจากประเทศฟินแลนด์ที่อยู่ในอันดับที่ 30 บริษัทให้คำปรึกษาชั้นนำของโลกเห็นพ้องว่า E-Commerce ในชิลี จะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 อัตราการขยายตัวของ E-Commerce คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยจากแผนภูมิที่ 1 ร้อยละ 46.2 ของประชากรชิลี ในปี …

รายงานสถานการณ์การค้าชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือนพฤษภาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือนพฤษภาคม 2565

ภาพรวมเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของประเทศชิลีประจำเดือนมีนาคม 2565 มีการขยายตัวที่ 7.2% โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคบริการและภาคการค้า ที่มีการขยายตัวร้อยละ 12.2 และ 8.6 ตามลำดับ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ซึ่งเป็นแหล่งสร้างรายได้หลักของชิลีมีการหดตัวลดลงร้อยละ -2.4 ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อ พบว่ายังคงมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนปรับระดับลดลงอีกครั้ง อย่างไรก็ดี แม้ว่าเศรษฐกิจของชิลีจะเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว แต่ในภาพรวมยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและยังคงเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจในภูมิภาคลาตินอเมริกา โดยเฉพาะภายใต้สภาวะที่ต้องเผชิญกับความท้าทายจากปัจจัยภายนอกประเทศ (ผลกระทบจากเศรษกิจโลกและผลกระทบจากสงครามของรัสเชีย-ยูเครน) 1. การบริโภคภาคเอกชน การบริโภคภาคเอกชนของชิในเดือนมีนาคม 2565 มีการชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยตัวเลขการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่มีการขยายตัวเพียง 5.19 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าคงทนขยายตัว 4.4% สืบเนื่องจากปริมาณการจำหน่ายยานพาหนะใหม่ (รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ที่เพิ่มขึ้น 9.5% ในขณะที่การจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านลดลง -0.4% ในส่วนของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของชิลีพบว่ามีการปรับระดับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่สาม (นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2565) โดยตัวเลขในเดือนมีนาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 42.6 ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์โคโรนาไวรัส โควิด-19 ที่กลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง ประกอบกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค 2. การลงทุนในภาคเอกชนและภาครัฐ บรรยากาศการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชนของชิลีในเดือนมีนาคม 2565 ส่งสัญญาณทรงตัวโดยสะท้อนจากตัวเลขการจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อใช้ในการก่อสร้างลดลง …

รายงานสถานการณ์การค้าชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือนพฤษภาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือนพฤษภาคม 2565

อุตสาหกรรมอาหารทานเล่นในชิลี บทสรุปผู้บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคชาวชิลีหันมาให้ความใส่ใจต่อสุขภาพมากขึ้น โดยเลือกบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งรวมถึงการเลือกรับประทานอาหารทานเล่นที่ประโยชน์ด้วย นอกจากนี้ การบังคับใช้กฎหมายการติดฉลากอาหารและการโฆษณาของชิลี ที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2559 ประสบผลสำเร็จในการให้ข้อมูล และกระตุ้นเตือนให้ประชาชนระมัดระวังการรับประทานอาหารมากขึ้น รวมทั้ง เป็นการสร้างความตระหนักให้แก่ผู้ผลิตสินค้าอาหาร มิให้ผลิตสินค้าที่ปริมาณโซเดียม น้ำตาล ไขมันอิ่มตัว เกินค่ามาตรฐานที่ภาครัฐของชิลีกำหนด ส่งผลให้ตลาดอาหารทานเล่นเพื่อสุขภาพของชิลีมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การที่ชิลีมีการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) ที่มีผลใช้บังคับแล้วจำนวน 30 ฉบับ กับ 67 ประเทศทำให้สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่ของชิลี ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีจากการจัดทำความตกลงดังกล่าว โดยชิลีมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหาร (พิกัดศุลกากร 20059990) จาก 27 ประเทศ ซึ่งนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2มีส่วนแบ่งตลาดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.81 และผลิตภัณฑ์อาหาร (พิกัดศุลกากร 20060090) จาก 16 ประเทศ ซึ่งนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1มีส่วนแบ่งตลาดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 42.35 จากข้อมูล Euromonitor …

รายงานสถานการณ์การค้าชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือนพฤษภาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือนพฤษภาคม 2565

ตลาดเครื่องประดับและอัญมณีในชิลี (ไทยครองตำแหน่งอันดับ 1 ที่ชิลีมีการนำเข้าสินค้าเครื่องประดับอัญมณีสูงสุด) ภาพรวมตลาด “เครื่องประดับและอัญมณี” จัดเป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย (Luxury Products) ซึ่งภาพรวมของตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยในประเทศชิลีมีการเติบโตต่อเนื่อง โดยบริษัทวิจัย Statista ระบุว่าเป็นผลมาจากความต้องการยกระดับของการบริโภค (Consumption Upgrade) โดยมูลค่าตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยระหว่างปี 2557-2564 ของประเทศชิลีเฉลี่ยอยู่ที่ 545 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 17,500 ล้านบาท ทั้งนี้ สินค้าเครื่องประดับและอัญมณีมีส่วนแบ่งตลาดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.2 ของตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยทั้งหมด อย่างไรก็ดี แม้ว่าตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยของชิลีจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ในช่วงปี 2562-2563 สินค้าในหมวดเครื่องประดับและอัญมณีในชิลีมีการหดตัว โดยพิจารณาจากมูลค่าการนำเข้าที่ลดลงจาก 89.48 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 เป็น 68.05 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (แผนภูมิที่ 1)   แผนภูมิที่ 1 มูลค่าการนำเข้าสินค้าเครื่องประดับและอัญมณีของชิลีระหว่างปี 2557-2564 (ล้านเหรียญสหรัฐ) แหล่งวัตถุดิบสำคัญ           ชิลี เป็นประเทศที่มีทรัพยกรธรรมชาติที่สำคัญที่ใช้เป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ …

รายงานสถานการณ์การค้าชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือนพฤษภาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าอาร์เจนตินา ณ กรุงบัวโนสไอเรส เดือนเมษายน 2565

ตลาดถั่วเหลืองในอาร์เจนตินา ข้อมูลอาร์เจนตินาประชากร: 42.4 ล้านคนจีดีพี (PPP): 915.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ 22,537 เหรียญสหรัฐฯ ต่อหัวอัตราเงินเฟ้อ (CPI): 36.1%FDI Inflow: 12.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดถั่วเหลืองในอาร์เจนตินา ในปี 2564 เศรษฐกิจอาร์เจนตินาเติบโตถึงร้อยละ 10 ซึ่งเติบโตมากเป็นสองเท่าเมื่อเทียบจากการคาดการณ์ไว้โดยที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจในช่วงต้นปี 2564 ตลอดจนองค์กรนานาชาติต่างๆ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลกได้คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจอาร์เจนตินาในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 โดยในเดือนกรกฎาคม 2564 IMF ยืนยันว่าเศรษฐกิจอาร์เจนตินาจะขยายตัวร้อยละ 6.4 ในเดือนตุลาคม 2564 ร้อยละ 7.5 ทั้งนี้ จากรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกล่าสุด ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเกี่ยวกับการประเมินเศรษฐกิจอาร์เจนตินาในช่วงปี 2565 คาดการณ์การเติบโตว่าจะเติบโตร้อยละ 3 ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนตุลาคมปี 2564 อยู่ที่ 0.5 จุด สำหรับปี 2566 คาดการณ์ว่าจะเติบโตอีกร้อยละ 2.5 ซึ่งหมายถึงการปรับตัวดีขึ้นร้อยละ …

รายงานสถานการณ์การค้าอาร์เจนตินา ณ กรุงบัวโนสไอเรส เดือนเมษายน 2565 Read More »

OMD KM

FREE
VIEW