รายงานสถานการณ์การค้าชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือนเมษายน 2565

ภาพรวมอุตสาหกรรม 

ปัจจุบัน โคลอมเบียมีจำนวนยานพาหนะรวม 17,020,461 คัน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ (1) รถยนต์ ปิกอัพ รถบรรทุกขนาดเล็ก รถบัส มีจำนวน 6.8 ล้าน คัน (2) รถบรรทุกขนาดใหญ่ มีจำนวน 188,888 คัน และ (3) รถจักรยานยนต์ มีจำนวน 10,136,593 คัน ซึ่งรถจักรยานยนต์คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 60 ของจำนวนยานพาหนะทั้งหมดในประเทศ นอกจากนี้ โคลอมเบียยังเป็นฐานการผลิตรถยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์เพื่อการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคละตินอเมริกา โดยโคลอมเบียมีโรงงานผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์รวม 12 แห่ง มีจุดให้บริการด้านการขายกว่า 16,000 แห่งทั่วประเทศ และมีการจ้างงานประมาณ 100,000 ตำแหน่ง ดังนั้น อุตสาหกรรมยานยนต์จึงถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่นำรายได้เข้าประเทศโคลอมเบียกว่า 1.8 ล้านล้านโคลอมเบียเปโซ หรือประมาณหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2563 

ภาพรวมตลาด

ที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์ของโคลอมเบียมีการปรับตัวขึ้นลงตามสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ และปัจจัยด้านความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยโคลอมเบียมีการผลิตรถยนต์สูงสุดในช่วงปี 2557 ที่จำนวน 316,482 คัน และมีแนวโน้มการผลิตลดลงต่อเนื่องหลังจากนั้น และเริ่มมีทิศทางการผลิตที่สดใสอีกครั้งในช่วงปี 2561 – 2562 ที่มียอดจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 และ 2.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในปี 2563 ส่งผลกระทบให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 28.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 

แผนภูมิที่ 1: ยอดจำหน่ายรถยนต์ของโคลอมเบียรายไตรมาสในปี 2564 (หน่วย: ร้อยละ)

Gráfico, Gráfico de barras, Gráfico en cascada

Descripción generada automáticamente

จากแผนภูมิที่ 1 ในปี 2564 ถือเป็นช่วงฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของโคลอมเบีย และยอดจำหน่ายรถยนต์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 11.1 เฉพาะในไตรมาสที่ 1 / 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไตรมาสที่ 2 / 2564 และ 3 / 2564 ที่ร้อยละ 156.5 (หรือคิดเป็นจำนวน 54,198 คัน) และร้อยละ 45.3 (หรือคิดเป็นจำนวน 67,063 คัน) ตามลำดับ ส่วนในไตรมาสที่ 4 แม้การขยายตัวของยอดจำหน่ายจะชะลอตัวลง โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.1 (หรือคิดเป็นจำนวน 72,265 คัน) แต่ทิศทางของยอดจำหน่ายรถยนต์โดยรวมยังคงมีทิศทางเป็นบวก ทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์รวมในปี 2564 มีการขยายตัวร้อยละ 32.8 (หรือคิดเป็นจำนวน 250,497 คัน) เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า

แบรนด์ที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในปี 2564 ได้แก่ โตโยต้า มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.4 มาสดา มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.8  นิสสัน มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.4 เรโนล์ ซึ่งมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 และเชฟโรเล็ต มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ตามลำดับ

ทั้งนี้ แบรนด์เกียร์จากเกาหลี มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.9 แต่เสียส่วนแบ่งทางการตลาดจากอันดับที่ 1 ในปี 2563 ส่วนแบรนด์อื่น ๆ ได้แก่ ซูซูกิ มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 95.7 โฟล์คสวาเกน มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 46 ฟอร์ด มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 และฮุนได มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 119.7

ตารางที่ 1: ประเภทรถยนต์ที่มีการจดทะเบียนในปี 2564

  • รถยต์นั่งส่วนบุคคลระดับพรีเมี่ยม มีจำนวน 9,060 คัน (ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า)
  • รถยนต์ไฟฟ้า มีจำนวน  17,702 คัน  (ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 194 จากช่ฏวงเดียวกันของปีก่อนหน้า)
  • 14,604 hybrids (HEV) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 247
  • 1,712 plug-in hybrids (PHEV) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 272
  • 1,296 battery electric (BEV) หดตัวลดลงร้อยละ 1.9

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่ายอดจำหน่ายรถยนต์โดยรวมของโคลอมเบียมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ รถยนต์ที่ชาวโคลอมเบียนิยมใช้ส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ขนาดเล็ก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคลาตินอเมริกา และจากข้อมูลของ OECD ค่าเฉลี่ยโดยรวมของโลกของจำนวนยานพาหนะอยู่ที่ 435.6 คันต่อประชากร 1,000 คน ในขณะที่ โคลอมเบียมีค่าเฉลี่ยเพียง 126.5 คันต่อประชากร 1,000 คน 

ตารางที่ 2: ดัชนียานยนต์ของโลก (Motorization Index: MI) ช่วงปี 2563 – 2564

จากข้อมูลในตารางที่ 2 พบว่า ดัชนียานยนต์ของโคลอมเบียมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับแนวโน้มของประเทศต่าง ๆ  โดยมีการขยายตัวจาก 3.7 ในปี 2563 เป็น 4.9 ในปี 2564 และแนวโน้มยอดจำหน่ายรถยนต์มีทิศทางบวก ยกเว้นในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ในปี 2563 ที่ยอดจำหน่ายรถยนต์ในหลายประเทศ รวมทั้งโคลอมเบียมีการหดตัวลดลง และมีการขยายตัวอีกครั้งในปี 2564 เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ตารางที่ 3: ดัชนียานยนต์ของภูมิภาคลาตินอเมริกา (Motorization Index: MI) ช่วงปี 2563 – 2564

จากข้อมูลในตารางที่ 3 พบว่า ดัชนียานยนต์ของโคลอมเบียมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับแนวโน้มของประเทศต่าง ๆ  ในภูมิภาคลาตินอเมริกา และอยู่ในอันดับที่ 8 โดยชิลีมีค่า MI ขยายตัวสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 จาก 13.5 ในปี 2563 เป็น 21.6 ในปี 2564

การนำเข้ารถยนต์

ตารางที่ 4: พิกัดศุลกากรของรถยนต์ที่มีการนำเข้า 

ตารางที่ 5: การนำเข้ารถยนต์ตามพิกัดศุลกากรในช่วงปี 2562 – 2564 (มูลค่า CIF เหรียญสหรัฐ)

จากข้อมูลตามตารางที่ 5 ในปี 2563 ซึ่งอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การนำเข้ารถยนต์ของโคลอมเบียยังคงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพิกัดศุลกากร (HS code) 8702 ที่มีการนำเข้าในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.29, 53.04 และ 32 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ผลกระทบของการกำหนดมาตรการปิดพรมแดนและการห้ามการท่องเที่ยวของโคลอมเบีย ส่งผลกระทบให้ความต้องการรถยนต์สำหรับขนส่งผู้โดยสารตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป มีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ความต้องการรถยนต์ส่วนบุคคลและสำหรับการขนส่งสินค้า มีเพิ่มขึ้น เนื่องจากการประชาชนต้องการรักษาระยะห่างทางสังคม มาตรการทำงานที่บ้าน และปริมาณการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น 

ตารางที่ 6: อันดับประเทศที่โคลอมเบียมีการนำเข้ารถยนต์พิกัดศุลกากร (8702) สูงที่สุดในปี 2564

จากตารางที่ 6 จีนมีส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ในโคลอมเบียคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59.13 โดยโคลอมเบียนำเข้ารถยนต์ในพิกัดศุลกากร (8702) จำนวน 452 คัน โดยบราซิล เยอรมนี ญี่ปุ่น และอิตาลีมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 18.87, 1.35, 0.61 และ 0.24 ตามลำดับ 

ตารางที่ 7: อันดับประเทศที่โคลอมเบียมีการนำเข้ารถยนต์พิกัดศุลกากร (8703) สูงที่สุดในปี 2564

จากตารางที่ 7 โคลอมเบียนำเข้ารถยนต์พิกัดศุลการ (8703) จาก 36 ประเทศทั่วโลก โดยนำเข้าสูงสุดจากบราซิล เม็กซิโก ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ตามลำดับ และมีส่วนแบ่งตลาดรถยนต์คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.15, 22.10, 12.41 และ 8.9 ตามลำดับ โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 19 คิดเป็นมูลค่านำเข้ารถยนต์จากไทยรวม 8,413,401 เหรียญสหรัฐ (มูลค่า CIF) (326 คัน) ส่วนแบ่งตลาดที่ร้อยละ 0.36

ตารางที่ 8: อันดับประเทศที่โคลอมเบียมีการนำเข้ารถยนต์พิกัดศุลกากร (8704) สูงที่สุดในปี 2564

จากตารางที่ 8 โคลอมเบียนำเข้ารถยนต์พิกัดศุลการ (8704) จาก 21ประเทศทั่วโลก โดยนำเข้าสูงสุดจากเม็กซิโก และอาร์เจนตินา มีส่วนแบ่งตลาดรถยนต์คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.77 และ21.33 ตามลำดับ โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่7มีส่วนแบ่งตลาดที่ร้อยละ 1.58ตามด้วยเนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ที่ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ1.24, 1.18และ 0.59ตามลำดับ

การส่งออกรถยนต์ 

จากการที่โคลอมเบียมีโรงงานประกอบรถยนต์ภายในประเทศ ทำให้โคลอมเบียสามารถส่งออกรถยนต์ไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกา 

แผนภูมิที่ 2: การส่งออกรถยนต์ของโคลอมเบียไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกา

ตลาดส่งออกรถยนต์ของโคลอมเบียในภูมิภาคลาตินอเมริกา อันดับที่ 1 คือ เอกวาดอร์ มีสัดส่วนร้อยละ 71.3 ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือ เม็กซิโก อาร์เจนตินา ชิลี และโบลิเวีย ด้วยสัดส่วนร้อยละ 8.9, 4.6, 3.6 และ 3.2 ตามลำดับ 

แผนภูมิที่ 3: ช่องทางการจัดจำหน่ายรถยนต์ในโคลอมเบีย 

โคลอมเบียมีจำนวนรถยนต์มากเป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคลาตินอเมริกา รองจาก บราซิล เม็กซิโก และอาร์เจนตินา โดยมีผู้ประกอบการและผู้แทนจัดจำหน่ายมีจำนวนกว่า 750 ราย ทั่วประเทศ ทั้งนี้ สัดส่วนของรถยนต์กว่าร้อยละ 15 ของรถยนต์ทั้งหมดในโคลอมเบีย (6.8 ล้านคัน) เป็นรถยนต์ของสำนักงานและธุรกิจต่าง ๆ นอกจากนี้ บริษัทข้ามชาติที่เข้าไปลงทุนในโคลอมเบียคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 60 มีการเสนอให้พนักงานสามารถใช้รถยนต์ของบริษัทฯ ได้ 

บริษัทรถยนต์ที่มีโรงงานผลิตในโคลอมเบียมี 3 บริษัทหลัก ได้แก่ (1) GM Colmotores  (2) Hino Motors Manufacturing Colonbia S.A และ (3) Renault – Sofasa

GM Colmotores

ประกอบกิจการผลิตรถยนต์ในโคลอมเบียตั้งแต่ปี 2499 โดยเริ่มต้นจากการเป็นโรงงานประกอบรถยนต์แห่งแรกในโคลอมเบีย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ของโคลอมเบียอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคม หนึ่งในความสำเร็จของบริษัทฯ คือการร่วมกับรัฐบาลโคลอมเบียจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมเสรี ภายใต้ชื่อ “Zoficol” ที่เปิดดำเนินการในปี 2558 และมีการจัดตั้งโรงงานผลิตรถยนต์แบรนด์เชฟโรเล็ตแห่งชาติของโคลอมเบีย

รุ่นรถยนต์ในปัจจุบันที่มีการผลิต ได้แก่

  • รถยนต์: · Spark GT · Spark GT Activ · Beat 
  • ยานพาหนะเชิงพาณิชย์: · NHR · NPR · NQR · NKR 
  • รถบรรทุกหนัก: · FR · FVR · FV · LV · FVZ

Hino Motors Manufacturing Colonbia S.A

ฮีโน่ (Hino) ถือเป็นแบรนด์ชั้นนำของญี่ปุ่นในเชิงการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับรถบรรทุกและรถโดยสาร เริ่มประกอบธุรกิจในโคลอมเบียตั้งแต่ปี 2538 และก่อตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ของฮีโน่แห่งแรกในโคลอมเบีย (และในลาตินอเมริกา) ในปี 2551 โดยมีการประกอบ chassis สำหรับรถขนส่งสินค้าและรถยนต์ส่วนบุคคล 

รุ่นรถยนต์ในปัจจุบันที่มีการผลิต คือ

  • ยานพาหนะเชิงพาณิชย์: · 300 Series · 500 Series

Renault – Sofasa

RENAULT – Sofasa เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการรถยนต์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานในโคลอมเบีย เริ่มดำเนินธุรกิจในปี 2512 มีการผลิตและขายรถยนต์ต่าง ๆ รวมกว่า 1.5 ล้านคัน ปัจจุบัน บริษัทฯ มุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ รวมถึงการขยายตลาดการส่งออกและการลงทุนด้านการพัฒนากระบวนการผลิต 

รุ่นรถยนต์ในปัจจุบันที่มีการผลิต คือ

  • รถยนต์โดยสาร: · Renault Sandero · Renault Stepway · Renault Logan · Renault Duster

นอกจากนี้ บริษัทเกียร์ของเกาหลีกำหนดจะเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ในโคลอมเบียภายในสิ้นไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 โดยจะผลิตรถยนต์รุ่น Soluto (เครื่องยนต์ 1.4 ลิตร) รุ่น Sophia Taxi (เครื่องยนต์ 1.6 ลิตร) และรุ่น Seltos (เครื่องยนต์ 1.6 ลิตร) รวมทั้ง รุ่น Sonet โดยบริษัทฯ จะมีการลงทุนรวมกว่า 1.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการก่อสร้างโรงงาน  

นอกจากการจัดตั้งโรงงานผลิตรถยนต์แล้ว ยังมีโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ ในโคลอมเบียจากแบรนด์ต่าง ๆ อาทิ AKT Motos, Hero, Honda และ SYM. เนื่องจากการความต้องการรถจักรยานยนต์มีการขยายตัวตามจำนวนประชากรของโคลอมเบียที่เพิ่มขึ้น โดยในปี 2564 ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 2 ล้อและ 3 ล้อ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.3 หรือคิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 740,933 คัน 

การเก็บภาษี กฎระเบียบ และกระบวนการนำเข้า

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) 

มีอัตราร้อยละ 19 ในขณะที่ VAT สำหรับการบริการและสินค้าจะจัดเก็บที่ร้อยละ 5 และร้อยละ 0

ภาษีนำเข้า

มีอัตราร้อยละ 35 และสำหรับยานพาหนะเพื่อการขนส่งและโดยสาร มีการจัดเก็บที่อัตราร้อยละ 15 ยกเว้น การนำเข้าภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีที่มีการจัดเก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 0 

กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม

รัฐบาลโคลอมเบีย ได้ออกกฎหมายการนำเข้าที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 โดยลดอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเหลือร้อยละ 5 จากเดิมที่ร้อยละ 35 และยกเว้นการเก็บภาษีรถยนต์ไฟฟ้า โดยระบบรถบัสโดยสาร Transmilenio ในกรุงโบโกตา ได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งใช้การติดตั้งระบบรถไฟฟ้าของจีน

รถยนต์ไฟฟ้า

การจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และรถไฮบริด (HEV) ในโคลอมเบียมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 200 ในปี 2564 หรือคิดเป็นจำนวน 18,000 คัน ในจำนวนนี้ รถ EV มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 หรือมีจำนวน 1,200 คัน โดยมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 5 รวมถึงภาษีท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทางเทคนิค การปล่อยมลพิษ  และการประกันอุบัติเหตุ ที่รวมกันแล้วต้องไม่เกินกว่าอัตราร้อยละ 1 ของมูลค่ารถยนต์

ข้อจำกัดการนำเข้า

โคลอมเบียห้ามการนำเข้ารถยนต์ใช้แล้ว ตามความตกลง Andean Automotive Agreement (1993) ที่ร่วมลงนามโดย โบลิเวีย โคลอมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู อย่างไรก็ดี มีข้อยกเว้นการนำเข้าสำหรับรถยนต์คลาสสิคสำหรับการสะสมและยานพาหนะของนักการทูต

การจดทะเบียนนำเข้ารถยนต์ใหม่ 

ผู้นำเข้าจะต้องดำเนินการจดทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งท้องถิ่น และยื่นเอกสารประกอบการพิจารณา ได้แก่ บัญชีราคาสินค้า (purchase invoice)  ใบขนสินค้าขาเข้า ใบรับรองการจดทะเบียนกับสมาคมผู้นำเข้า (RUNT) ใบรับรองการซื้อขาย  ใบสำคัญการจ่ายภาษีในปีนั้น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีค่าธรรมเนียมรถยนต์ (ราคาสูงกว่ารถจักรยานยนต์) โดยป้ายทะเบียนรถยนต์ใหม่และใบรับรองการจดทะเบียนจะได้รับภายใน 24 ชั่วโมง

กระบวนการนำเข้า

  • ดาวน์โหลดใบรับรองหรือลายเซ็นต์อิเล็กทรอนิกส์จากหน่วยงาน Certicamara หรือ the Gestion de Seguridad Electrónica
  • ลงทะเบียนบนเว็บไซต์ VUCE website และรับรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
  • เข้าระบบบัญชีและลิงค์ Ayuda/Importaciones (วิธีการใช้/นำเข้า) และดาวน์โหลดคู่มือสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
  • คลิกที่ส่วนนำเข้าของเว็บไซต์และชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

แนวโน้มของรถยนต์ไฟฟ้า

รัฐบาลโคลอมเบียมีการส่งเสริมให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยการออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิต การนำเข้า และการใช้ รวมถึงการให้แรงจูงใจด้านการลดค่าประกัน การบำรุงรักษา นอกจากนี้ รัฐบาลยังกำหนดเป้าหมายให้ระบบขนส่งสาธารณะอย่างน้อยร้อยละ 30 จะต้องมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ภายในปี 2568 และในเมืองต่าง ๆ จะต้องมีการใช้รถไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะอย่างน้อยร้อยละ 10 ภายในปี 2568 และร้อยละ 100 ภายในปี 2578 ทั้งนี้ กรุงโบโกตา เป็นเมืองที่มีการใช้รถโดยสารสาธารณะไฟฟ้ามากที่สุดในลาตินอเมริกา นอกจากนี้ โคลอมเบีย กำหนดเป้าหมายให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 600,000 คัน ภายในปี 2573 และจำนวน 6,600 คัน ภายในปี 2565 ทั้งนี้ รัฐบาลโคลอมเบียโดยสำนักงานเหมืองแร่และการวางแผนพลังงานได้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับประเภทของยานพาหนะและรูปแบบการขนส่งที่มีศักยภาพ เพื่อออกแบบ/ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการลดมลพิษจากการใช้ยานพาหนะ

โอกาสทางการตลาดของไทย

โคลอมเบียถือเป็นประเทศที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19 มีการขยายตัวด้านการผลิตและความต้องการยานยนต์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลให้การส่งเสริมการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น โคลอมเบียจึงมีจุดเด่นสำหรับการเป็นฐานการผลิตรถไฟฟ้า รวมทั้งการเป็นผู้นำในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคลาตินอเมริกา ตามตารางที่ 9 

ตารางที่ 9: จำนวนรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกา ในช่วงปี 2563-2564 (ค.ศ. 2020-2021)

จากข้อมูลการค้าการค้าไทย-โคลอมเบีย ในปี 2564 สินค้าสำคัญของไทยที่ส่งออกไปโคลอมเบีย 10 อันดับแรก ได้แก่ (1) ผลิตภัณฑ์ยาง (2) ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ (3) ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม (4) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (5) เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ (6) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (7) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล (8) เม็ดพลาสติก (9) เครื่องรับส่งวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (10) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ 

ทั้งนี้ สินค้าส่งออกของไทยที่คาดว่าจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากนโยบายส่งเสริมการเป็นฐานการผลิตรถยนต์และรถยนต์ไฟฟ้าของโคลอมเบียจะอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยาง  รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ เนื่องจากการเติบโตของการใช้รถไฟฟ้า ส่งผลประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอื่นด้วย อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมพลังงาน และอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ดังนั้น การที่รัฐบาลโคลอมเบียสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า และมีการยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งวัตถุดิบสำหรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและส่วนประกอบจากต่างประเทศ รวมถึงไทยที่สามารถใช้ประโยชน์การยกเว้นการเก็บภาษี ในการส่งออกวัตถุดิบเพื่อผลิตรถไฟฟ้าในโคลอมเบีย

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW