รายงานสถานการณ์การค้าชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือนพฤษภาคม 2565

การขยายตัวของ E-Commerce ในชิลี

จากรายงาน “พฤติกรรมของผู้บริโภคในชิลี” ของ BlackSip เสื้อผ้า รองเท้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคมีความต้องการมากที่สุด และประมาณร้อยละ 68 ของผู้ใช้/ผู้บริโภคมีการหาข้อมูลเชิงลึกทางออนไลน์ก่อนซื้อสินค้านั้น ทั้งนี้ การขยายตัวของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce: E-Commerce) ในชิลีมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของประชากรทั้งประเทศ (ประชากรชิลีรวม 19 ล้านคน) โดยในส่วนของมูลค่าตลาดรวมของ E-Commerce คิดเป็นมูลค่า 7 เหรียญสหรัฐ ในปี 2564 อยู่ในอันดับที่ 31 ของโลก รองจากประเทศฟินแลนด์ที่อยู่ในอันดับที่ 30

บริษัทให้คำปรึกษาชั้นนำของโลกเห็นพ้องว่า E-Commerce ในชิลี จะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 อัตราการขยายตัวของ E-Commerce คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยจากแผนภูมิที่ 1 ร้อยละ 46.2 ของประชากรชิลี ในปี 2560 (2017) มีการซื้อสินค้าผ่าน E-Commerce และคาดว่าในปี 2568 (2025) ผู้บริโภคกว่าร้อยละ 69 ของประชากรชิลีจะมีการซื้อสินค้าผ่าน E-Commerce

แผนภูมิที่ 1 : แนวโน้มการขยายตัวของ E-Commerce ในชิลี

Chile´s E-commerce Penetration rate

Chile´s buyer profile

จากข้อมูลของ BlackSip and eComerce DB ช่องทางการซื้อทาง E-Commerce ที่ผู้บริโภคเลือกใช้มากที่สุด ได้แก่ smartphones (57.98%) คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและแบบพกพา (41%) และแท็ปเล็ต (1,2%) โดยในส่วนของสินค้าอื่นที่ได้รับความนิยมสำหรับการซื้อผ่าน E-Commerce เรียงตามลำดับ ได้แก่ เสื้อผ้า (75%) รองเท้า (73%) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (65%) อาหารและเครื่องดื่ม (58%) ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในบ้าน (55%) เครื่องสำอาง (54%) หนังสือ ภาพยนตร์ เพลงและวีดิโอเกม (52%) เฟอร์นิเจอร์ (45%) ยาและเวชภัณฑ์ (44%) การท่องเที่ยว (43%)

Online purchases

จากแผนภาพที่ 1 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ผู้บริโภคชาวชิลีประมาณ 12.05 ล้านคน มีการซื้อสินค้าทาง E-Commerce เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.5 เมื่อปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยคิดเป็นมูลค่า 7.64 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคมีมูลค่าประมาณ 634 เหรียญสหรัฐต่อปี และการซื้อ สินค้าผ่านโทรศัพท์เคลื่อนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.2 ของการช่องทางการซื้อสินค้าทาง E-Commerce

แผนภาพที่ 1: การซื้อสินค้าทาง E-Commerce ของผู้บริโภคชาวชิลีในเดือนกุมภาพันธ์ 2565

ปัจจัยที่มีส่วนสนับสนุนการขยายตัวของ E-Commerce
• การหลอมรวมของโลกทางกายภาพและดิจิทัล (Phygital) ทำให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ
• ผู้ประกอบการหรือบริษัทจะต้องเข้าใจความสำคัญของ Marketplaces ที่เป็นส่วนหนึ่งของ digital platforms เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเพิ่มยอดการขายสินค้า
• สื่อสังคมออนไลน์ อาทิ Facebook, Instagram, TikTok มีความสำคัญต่อการเชื่อมโยงการค้า E-Commerce โดยเป็นการเพิ่มช่องทางให้ผู้บริโภคได้รับรู้ข้อมูลของสินค้า
• การสร้างความตระหนักถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ผู้ประกอบการ
• การสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ อาทิ การให้บริการจัดส่งภายในวันเดียวกันกับที่สั่งซื้อสินค้า การติดตามสถานะของสินค้าที่อยู่ระหว่างการจัดส่ง เป็นต้น

แนวโน้ม E-Commerce ในภูมิภาคลาตินอเมริกา

จำนวนผู้ซื้อสินค้าทาง E-Commerce ในลาตินอเมริกามีจำนวนประมาณ 300 ล้านคน และจากการคาดการณ์ของ Euromonitor จำนวนผู้ใช้ E-Commerce ในภูมิภาคลาตินอเมริกาจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11 (ประมาณ 13 ล้านคน) ของจำนวนประชากรทั้งหมดในภูมิภาคฯ ภายในปี 2568 (2025) และจำนวนผู้ใช้ประมาณร้อยละ 37 เป็นผู้บริโภคที่มีรายได้สูง อย่างไรดี แม้ว่า E-Commerce ในภูมิภาคลาตินอเมริกาจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ยังถือว่าอัตราการขยายตัวที่ต่ำกว่ามาก

แผนภูมิที่ 2: ประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกาที่มีแนวโน้มการขยายตัวของ E-Commerce สูงสุด

ชิลีเป็นประเทศหนึ่งทีมีศักยภาพในการขยายตัวของ E-Commerce รองจากบราซิล และเม็กซิโก โดยเฉพาะในสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าและรองเท้า และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ภายในบ้าน

แผนภูมิที่ 3: โอกาสการขยายตัวของ E-Commerce ในสินค้าต่าง ๆ ของประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา

แผนภูมิที่ 4: ยอดขายสินค้าทาง E-Commerce ของภูมิภาคลาตินอเมริกา

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคและการซื้อสินค้าของผู้บริโภค โดยผู้บริโภคจำนวนมากหันมาซื้อสาค้าทาง E-Commerce เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากแผนภูมิที่ 4 ยอดขายสินค้าทาง E-Commerce ของภูมิภาคลาตินอเมริกาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงปี 2563 (2020) – 2564 (2021) ที่ยอดขายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 31 และร้อยละ 37 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 (2019) และปี 2563 (2020) ในขณะที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวโดยเพิ่มการลงทุนเพื่อเพิ่มช่องทาง การขายสินค้าทาง E-Commerce รวมทั้งมีการพัฒนาและปรับปรุงสินค้าให้เหมาะสมกับการขายผ่านช่องทาง E-Commerce และความสะดวกในการจัดส่ง

แผนภูมิที่ 5: การจัดจำหน่ายสินค้าทาง E-Commerce ในภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียนในปี 2564

จากข้อมูลในแผนภูมิที่ 5 บราซิลเป็นประเทศที่มีมีขนาดตลาด E-Commerce ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา หรือมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 30 ของตลาด E-Commerce ในลาตินอเมริกาและแคริบเบียน ในปี 2564 ตามมาด้วยเม็กซิโก ที่มีส่วนแบ่งตลาด E-Commerce ในภูมิภาคฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.3

บทวิเคราะห์และผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

การขยายตัวของ E-Commerce ในภูมิภาคลาตินอเมริกา มีทิศทางเดียวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้ สถานการณ์โควิด-19 เป็นปัจจัยเร่งให้การขยายตัวของ E-Commerce เร็วขึ้น โดยผู้บริโภคเริ่มคุ้นชินและหันมาใช้ E-Commerce ในการซื้อสินค้าต่าง ๆ มากขึ้น รวมทั้งสินค้าที่ในอดีตไม่มีการสั่งซื้อทางออนไลน์ (อาทิ ยา เวชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์นม) นอกจากนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในชิลี ช่วยสนับสนุนให้ของประชาชนมีการเชื่อมต่อข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้สะดวกรวดเร็วและครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยในปี 2565 ประชากรรวมของชิลีมีจำนวน 19.23 ล้านคน และประชากรที่สามารถเข้าถึงหรือสามารถใช้อินเทอร์เน็ตมีจำนวนกว่า 17.7 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 92 ของประชากรทั้งประเทศ

การเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศของชาวชิลีในระดับสูง ส่งผลดีให้กับผู้ประกอบการ E-Commerce ทั้งในและต่างประเทศ ให้สามารถขยายตลาดมายังภูมิภาคลาตินอเมริกา โดยผู้บริโภคชิลีนิยมสืบค้นข้อมูลสินค้าจากทางเว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้านั้น และสื่อสังคมออนไลน์ที่ชาวชิลีนิยมใช้ อาทิ Facebook, Instagram และ YouTube ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการไทยต้องการเจาะตลาดในชิลี จะต้องจัดทำเว็บไซต์ให้รองรับภาษาสเปนด้วย และให้ความสำคัญต่อการกำหนดคำสำคัญ (Keyword) สำหรับการค้นหาสินค้าของผู้บริโภค ถึงแม้ว่าภูมิภาคลาตินอเมริกาจะใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ แต่ความหมายของการใช้คำของภาษาสเปนในแต่ละประเทศอาจมีความแตกต่างกัน ผู้ประกอบการไทยจึงควรพิจารณาประเด็นนี้เป็นสำคัญด้วย

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW