รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตห์ ณ เมืองดูไบ เดือนเมษายน 2565

ตลาดข้าวในตะวันออกกลางและการส่งออกของไทย

จากรายงานสถิติของสำนักสารสนเทศและการบริการการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ระยุไทยส่งออกข้าวไปตลาดตะวันออกกลาง 15 ประเทศ ในช่วงปี 2563 – 2565 (ม.ค.มี.ค.) มีมูลค่าและปริมาณขยายตัวขึ้น กล่าวคือ ปี 2563 มูลค่า 5,511 ล้านบาท (-26.4%) บริมาณ 307,350 ตัน เนื่องจากปัญหาเงินบาทที่แข็งค่า ภัยแล้ง ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ล้วนเป็นปัจจัยซ้ำเติมให้ยอดการส่งออกข้าวไทยในปี 2563 ลดลงปี 2564 มูลค่า 9,179 ล้านบาท (+ 66.5%) ปริมาณ 556,040 ตัน ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากกระทรวงการค้าอิรักแต่งตั้งให้บริษัท AI Owias นำเข้าข้าวจากไทยเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ขี หลังจากที่อิรักได้ระงับการนำเข้าข้าวจากไทยปี 2565 (ม.ค.-มี.ค.) มูลค่า 6,017 ล้านบาท (+351.0%) ปริมาณ 430,220 ตัน โดยมีประเทศอิรัก ตุรกีและยูเออีที่นำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ตลาดหลัก

จากสถิติการส่งออกข้าวไทยไปตะวันออกกลางล่าสุดเดือน ม.ค.-มี.ค. 2565 ตลาดอิรัก เยเมน สหรัฐ
อาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) อิสราเอล และตุรกี มีสัดส่วนการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 95 ของการส่งออกรวมมา
ตะวันออกกลางประเทศต่างๆ ที่ไทยส่งออกข้าวมีมูลค่า อัตราการขยายตัว และสัตส่วนการส่งออก สรุปได้ดังนี้

ประเภทข้าวที่ส่งออก

ไทยส่งออกข้าวประเภทต่างๆไปตะวันออกกลางดังนี้

1. ข้าวขาว มูลค่า 5,251 ล้านบาท ปริมาณ 384,590 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 87.3 ที่ส่งไปตะวันออกกลาง อิรักนำเข้ามูลค่าสูงสุด รองลงไปได้แก่ ยูเออี เยเมน อิสราเอล ตุรกี จอร์แดน และซาอุคิอาระเบีย ข้าวขาว 100% รัฐบาลอิรักนำเข้าปริมาณมากเพื่อใช้สำหรับแจกจ่ายให้กับชระชาชน (Public Distribution System: PDS) คาดว่าปีนี้ ผู้ส่งออกไทยจะสามารถส่งออกข้าวไทยไปยังอิรักขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

2. ข้าวนึ่ง มูลค่า 447.4 ล้านบาท ปริมาณ 33,810 ตัน หรือสัดส่วนร้อยละ 7,44 ประเทศเยเมน ยูเออีเลบานอน จอร์แดน และอิสราเอล

3. ข้าวหอมมะลิ มูลค่า 295.6 ล้านบาท ปริมาณ 10,860 ตัน สัดส่วนร้อยละ 5.0 ตลาดสำคัญ ได้แก่ อิหร่าน อิสราเอล ซาอุติอาระเบีย คูเวต และยูเออี

4. ข้าวเหนียว มูลค่า 18.8 ล้านบาท ปริมาณ 850 ตัน สัดส่วนร้อยละ 0.3 ส่งออกไปประเทศอิสราเอลซาอุดิอาระเบีย ยูเออี กาตาร์ และบาห์เรน

5. ข้าวกล้อง มูลค่า 4 ล้านบาห ปริมาณ 100 ตัน สัดส่วนร้อยละ 0.1 ส่วนใหญ่ส่งออกไปอิสราเอล และมูลค่าเล็กน้อยไปยูเออี
คู่แข่งขัน & ความนิยมของผู้บริโภคข้าวคุณภาพดี ได้แก่ อินเดีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เวียดนาม คุณภาพกลาง ได้แก่ เวียดนาม จีนปากีสถาน เมียนมา อาร์เจนติน่า บราซิล และอุรุกวัย

1. ข้าวยัสมาติ (Basmati) ปัจจุบันผู้บริโภคต่างประเทศหันมาบริโภคข้าวพันธุ์พื้นนุ่มมากขึ้น ข้าวบัสมาติคุณภาพดีมาจากอินเคีย ส่วนคุณภาพรองมาจากปากิสถาน คุณภาพของข้าวที่ดีต้องเม็ดยาวใส หุงขึ้นหม้อ ร่วนไม่เหนียวติดกัน มีทั้งสีน้ำตาลและสีขาว ข้าวชนิดนี้จะไม่มียางเหมือนกับข้าวหอมมะลิ เป็นข้าวที่นิยมบริโภคสูงสุดในตะวันออกกลาง

2. ข้าวขาว (White rice 5% broken) ซึ่งเป็นข้าวพื้นแข็งราคาถูก มีเมล็ดสั้นกว่าข้าวบัสมาติ นำเข้าจากไทย ปากีสถาน และเวียดนาม ราคาจำหน่ายปลีกต่อหน่วยจะต่ำกว่าข้าวบัสมาติ ซื้อหาบริโภคโดยคนงานและผู้มีรายได้น้อย ข้าวประเภทนี้มักนำเข้าเพื่อใช้สำหรับแจกจ่ายให้ประชาชน ขณะนี้ข้วของเวียดนามมีต้นทุนและราคาที่ต่ำกว่าในขณะที่มีการพัฒนาคุณภาพมากขึ้น ส่งผลต่อการแช่งขันของข้าวไทยในตะวันออกกลาง

3. ข้าวนึ่ง (parboiled rice) ไทยเป็นผู้นำในตลาดข้าวนึ่งคุณภาพสูง อินเดียเป็นผู้นำราคาในตลาดข้าวนึ่งเกรดปานกลาง นอกจากนั้นนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา บราชิล อุรุกวัย เวียดนาม นิยมบริโภคโดยคนแอฟริกัน กลุ่มแรงงานจากเอเซียใต้

4. ข้าวหอมมะลิ นำเข้าจากประเทศไทย มีราคาอยู่ในระดับที่ถูกกว่าข้าวบัสมาติ และเป็นที่นิยมบริโภคของชาวเอเชีย โดยเฉพาะชาวฟิลิปยินส์ แต่ในระยะหลังเวียดนามได้พัฒนาข้าวพันธุ์พื้นนุ่มที่มีคุณภาพและมาตรฐานดีขึ้น สามารถเข้าไปแบ่งส่วนตลาดข้าวหอมมะลีไทยได้เพิ่มขึ้น

5. ข้าวเมล็ดกลาง medium grain Camolino หรือข้าวอียิปต์ เมล็ดกลมขนาดกลาง และข้าว Calrose rice ของอเมริกาเป็นข้าว Japonica ขนาดเมล็ดปานกลางที่ถูกพัฒนาขึ้นในแคสิฟอร์เนีย เมื่อสุกข้าวชนิดนี้จะมีกลิ่นหอมคล้ายถั่วลิสงคลุกเนยร้อนๆ และมีความนุ่มเหนียวเล็กน้อย เป็นข้าวที่ขาวอาหรับส่วนเหนือ เช่น เลบานอนซีเรีย อียิปต์ไปจนถึงตุรกี นิยมบริโภค วิธีการปรุงด้วยการผสมข้าวกับเนื้อสัตว์ยัดไส้ผัก หรือห่อด้วยในองุ่น ทุงเป็นข้าวสวยมักใส่น้ำมันเกลือ คนเลบานอนนิยมผสมกับเส้นหมี่และถั่วลันเตา ในอิยิปต์หุงข้าวนี้ผสมกับถั่ว lentilsเรียกข้าว Mujadara

การผลิตในภูมิภาค

ประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางมีการผลิตข้าวได้น้อยแต่มีการบริโภคมาก โดยผลิตข้าวได้ประมาณ 2 ล้านตันข้าวสาร ประเทศอิยิปต์ปลูกข้าวเมล็ตกลาง หรือ medium grain Camolino มากแถบลุ่มปากแม่น้ำไนล์ของอียิปต์ผลผลิตข้าวของอิรัก ปี 2565/66 คาดว่าจะมีประมาณ 357,000 ตัน จากพื้นที่เก็บเกี่ยวประมาณ 800,000 เฮกตาร์ (5 ล้านไร่) เนื่องจากกระทรวงเกษตรได้ลดการเพาะปลูกข้าว ข้าวโพด และธัญพืชอื่นๆ ซึ่งต้องใช้น้ำปริมาณมาก ฤดูกาลปลูกข้าวประจำปีจะเริ่มในเดือน พ.ค. ขึ้นอยู่กับทรัพยากน้ำและปริมาณฝน

แนวโน้มข้าวไทยในตะวันออกกลาง

1. ข้าวเป็นอาหารหลักของชาวอาหรับในตะวันออกกลาง หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศกลุ่มอ่าวอาหรับ (GCC) อาศัยการนำเข้าแทบทั้งสิ้น ตลาดข้าวในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ยังมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาข้าวไทยในตลาดโลกขณะนี้มีราคาแข่งขันได้มากขึ้น สำหรับยูเออีเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าและบริการ จึงให้ความสำคัญด้านราคาสินค้าเป็นหลัก

2. ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาด เช่น อิรักและอิหร่าน และในซาอุติอาระเบียที่กลับมาฟื้นความสัมพันธ์ใหม่กับไทย จะสร้างโอกาสใหม่แก่สินค้าอาหารและข้าวไทยด้วย

3. อิรักเป็นตลาดส่งออกสำคัญในตะวันออกกลาง เนื่องจากภาวะภัยแล้ง ฝนตกน้อย ทำให้รัฐบาลอิรักอาศัยการนำเข้าข้าว อ้างรายงาน Grain and Feed Annual เดือนเมษายน 2564 คาดว่าปี 2565/2566 อิรักต้องการนำเข้าข้าวประมาณ 1.4 ล้านตัน

4. เยเมนเป็นผู้นำเข้าข้าวนึ่งที่สำคัญของไทย แต่เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ ผู้นำเข้าไม่สามารถเปิด /C จ่ายเงินซื้อสินค้านำเข้าที่จำเป็นได้ ทำให้การนำข้าวในช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ลดลง

สถานการณ์ข้าวในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประเทศที่ส่งออกต่อ (re-exporter) ข้าวมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง เป็นประเทศที่มีศักยภาพมากในการกระจายของการค้าข้าวทางอ้อมไปกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับ GCC และกลุ่มประเทศแอฟริกา นอกจากนี้ยังสามารถเสนอราคาข้าว FOB ส่งออกต่อไปตลาดสำคัญหลายแห่ง อาทิ โซมาเลีย เคนย่า โอมาน และเยเมน ทำให้ขณะนี้เออีเป็นแหล่งสำคัญในการกระจายข้าวบัสมาติของอินเดียอีกด้วย

การนำเข้าของยูเออีประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 9.6 ล้านคน มีสัดส่วนที่เป็นชาวอาหรับพื้นเมืองประมาณร้อยละ 11 ที่เหลือเป็นชาวต่างชาติจากอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเหศ อิหร่าน อียิปต์ อาหรับ อื่นๆ ฟิลิปปินส์ และจีนยูเออีนำเข้าสินค้าอาหารจากต่างประเทศร้อยละ 90 ของความต้องการบริโภคทั้งประเทศ ทั้งนี้นำเข้า
สินค้าธัญพืชเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.7 นอกจากการนำเข้าเพื่อบริโภคในประเทศแล้ว สินค้าบางส่วนใช้สำหรับส่งออกต่อ ดังนั้นตลาดข้าวในยูเออียังมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสถิติล่าสุดของ International Trade Centre UN แสดงมูลค่าการนำเข้าข้าวและแหล่งนำเข้าของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ระหว่างปี 2561-2563 ดังต่อไปนี้

การส่งออกของไทย

การส่งออกข้าวไทยไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไนช่วง 3 ปี มีมูลค่าและปริมาณเปลี่ยนแปลงดังนี้
ปี 2563 มูลค่า 449.93 ล้านเหรียญสหรัฐ (-1.28) ปริมาณ 25,220 ตัน (-12.69) ปี 2564 มูลค่า 555.1 1 ล้านเหรียญสหรัฐ (+23.4%) ปริมาณ 37,470 ตัน (+48.6%) ปี 2565 (ม.ค.-มี.ค.) มูลค่า 553.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (+984.9%) ปริมาณ 39,700 ตัน (+1320.8%)

ผู้บริโภค

ชาวอาหรับพื้นเมืองได้รับอิทธิพลการบริโภคข้าวจากชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานอยู่ในประเทศ ซึ่งแต่ละชาติมีรสนิยมและวิธีการยริโภคข้าวแตกต่างกันไป พอสรุปได้ดังนี้

1. ชาวอาหรับพื้นเมืองในแถบอ่าวอาหรับ หรือ GCC ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย ยูเออี คูเวต บาห์เรน กาตาร์ และโอมาน ได้รับอิทธิพลการบริโภคข้าวจากชาวอิหร่าน อินเดีย และปากีสถาน นิยมรับประทานข้าวบัสมาติซึ่งมีเมล็ดเล็ก-ยาว ซึ่งเหมาะกับการหุงข้าวหมกต่างๆ หรือหุงข้าวสวยที่ปรุงรสด้วยเนย น้ำมันทีข ข้าวจะสวยร่วนซุยไม่เหนียวติดกัน

2. ชาวอาหรับส่วนเหนื่อ เช่น เลบานอน ซีเรีย อียิปต์ ตุรกี นิยมข้าว mediumn grain Camolino หรือข้าวอียิปต์ ข้าวอเมริกา Cal rose rice ที่หุงแล้วมีความนุ่มเหนียวเล็กน้อย

3. ชาวอิหร่านยังคงวัฒนธรรมการบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก การปรุงอาหารด้วยข้าวเป็นอาหารนานาชนิดชาวอิหร่านนิยมข้าวบัสมาติหรือข้าวไม่มียาง

4. ชาวต่างชาติจากเอเชียใต้ อาทิ อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ นิยมข้าวบัสมาติ หากเป็นชาวอินเดียทางใต้ศรีลังกานิยมข้าว Sambar

5. ชาวฟิลิปบินส์ซึ่งเป็นต่างชาติกลุ่มใหญ่ทำงานภาคบริการในประเทศนิยมรับประทานข้าวหอม แต่เนื่องจากข้าวหอมมะลิมีราคาสูง ทำให้ผู้นำเข้ายูเออีลดปริมาณการนำข้าวหอมมะลิไทย แต่นำเข้าข้าวหอมปทุมซึ่งมีคุณสมบัติ มีกลิ่นหอมและเมล็ดข้าวคล้ายกับข้าวหอมมะลิไทย ที่สำคัญมีราคาถูกกว่าข้าวหอมมะสิ

6. ชาวจีน ปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้นเป็นผู้นิยมบริโภภข้าวหอมมะลิคุณภาหดีของไทย

ประเภทข้าวไทยและบรรจุภัณฑ์

จากการสุ่มสำรวจผลิตภัณฑ์ข้าวถุงที่จำหน่ายในประเทศยูเออี สามารถจำแนกชนิดยองข้าวไทยออกได้ 3 ประเภทใหญ่ดังนี้

  • ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมบทุม บรรจุถุง 1 กก. 2 กก. 5 กก. 10 กก.
  • ข้าวขาว 5% บรรจุถุง 5 กก. 10 กก. 20 กก.
  • ข้าวนึ่ง บรรจุถุง 5 กก. 10 กก และ 20 กก.

มีการใช้บรรจุภัณฑ์หลากหลายแต่โดยทั่วไปนิยมใช้ถุงพลาสติก กระสอบพลาสติก บางบริษัทที่บรรจุข้าวในถุงกระดาษและกล่องกระดาษมีการระบุวิธีการหุงข้าว สูตรการปรุงข้าวหมก ไวตามินและสารอาหารที่ได้จากข้าว ข้าวไทยที่วางขายปลีกส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมปทุม บรรจุในถุงพลาสติกใส (Poly bag) ข้าวไทยคุณภาพรอง (ข้าวขาว 5 %) ที่ขายปลีกในซุปเปอร์มาร์เกตหรือในตลาดนิยมใช้การตวง/ชั่งกิโลตามความต้องการของผู้ซื้อข้าวนึ่งบรรจุขนาด 5,1 0 และในกระสอบพลาสติกน้ำหนัก 25 กก. ข้าวไทยที่นำเข้าเพื่อส่งออกต่อนิยมหบรรจุด้วยกระสอบพลาสติก (P/P double bags) น้ำหนัก 45 กก. หากเป็นข้าวบาสมาติจากอินเดียและปากีสถานนิยมบรรจุกระสอบ HDPE น้ำหนัก 90 กก.

ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกข้าวไทย

1. ราคามีความสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค หากราคาข้าวไทยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญจะทำให้สามารถแข่งขันได้ดีขึ้น

2. อินเดียมีมาตรการกระตุ้นการส่งออก โดยการให้เงินอุดหนุนเป็นแรงจูงใจผู้ส่งออก 5% ทำให้ผู้ส่งออกกำหนดราคาขายต่ำกว่าประเทศอื่นได้

3. คู่แข่งของไทยโดยเฉพาะเวียดนามมีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพดีและรสชาติใกล้เคียงกับข้าวไทยในขณะที่ราคาถูกกว่า

4. ประเทศในตะวันออกกลางไม่สามารถเพาะปลูกทำการเกษตรได้พอพียงต่อการบริโภค จำเป็นต้องอาศัยการนำเข้า

สรุป :

1. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีตลาดส่งออกต่อสำหรับสินค้าข้าวที่สำคัญ คือ อิหร่านและอิรัก ซึ่งเป็นชาวตะวันออกกลางที่นิยมบริโภคข้าวจากไทยอย่างสม่ำเสมอ โดยมากมักจะนำเข้าข้าวชนิด 5% และนำเข้าครั้งละเป็นจำนวนมาก ผู้นำเข้าจะขายส่งให้กับผู้ค้า ที่นำเข้าไปยังตลาดอิหร่านเพื่อจำหน่ายต่อไป โดยมีผู้นำเข้าหลักๆรายใหญ่อยู่ประมาณ 10 ราย นอกจากนั้นมีผู้นำเข้าจำนวนไม่มากนักที่นำเข้าไม่สม่ำเสมออีกประมาณ 30 ราย

2. ข้าวหอมมะลิของไทยเป็นข้าวได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพดี โดยคู่แข่งในตลาดระดับเดียวกับข้าวหอมคือ ข้าวบาสมาติของอินเดีย แต่ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวของทั้งข้าวหอมและบาสมาติ รวมทั้งราคาของข้าวบาสมาติอินเตียก็อยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าข้าวหอมมะลิของไทย ทำให้ผู้บริโภคจะเป็นคนละกลุ่มเป้าหมายกัน

3. ผู้บริโภคข้าวหอมมะลิของไทยในตะวันออกกลางส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติที่มีจำนวนมาก เช่น ชาวฟิลิปบินส์ประมาณ 1 ล้านคน และผู้บริโภคชาวจีนประมาณ 200,000 ตน ที่เข้าไปทำงานอยู่ในยูเออี่มากขึ้น ส่งผลให้ข้าวหอมมะลิไทยมีจำหน่ายหลายยี่ท้อมากขึ้น แต่จากการสำรวจตลาดพยว่าขณะนี้ข้าวหอมของไทยเผชิญปัญหาการปลอมปนโดยการใช้ข้าวขาว 5% หรือใช้ข้าวหอมปทุมฯ ปนด้วย

4. สคต. ณ เมืองดูไบ ได้ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ตราข้าวหอมมะลิอย่างต่อเนื่องในทุกโอกาสให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในหมู่ผู้บริโภค วาทิ การประชาสัมพันธ์ร่วมกับร้านอาหารไทยในตะวันออกกลาง เผยแพร่ผ่าน Social Media ทั้ง Facebook, Instagram,Twitter ภายใต้ชื่อ Thai Trade Center-MENA และการประชาสัมพันธ์ในงานแสดงสินค้า Gulfood ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอาหารที่ใหญ่ที่สุดในโลกงานหนึ่ง ทั้งนี้ ในการประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิไทยจะเน้นตรารับรองข้าวหอมมะสิไทยของกรมการค้าต่างประเทศด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถแยกข้าวหอมมะลิที่แท้ออกจากข้าวอื่นที่มาแอบอ้าง รวมทั้งร่วมกับกรมการค้าต่างประเทศในการตรวจสอบข้าวหอมมะลิไทยในตลาด หากพบว่าเป็นการแอบอ้างใช้ตราโดยไม่ถูกต้องก็จะตักเดือนทั้งผู้ส่งออกไทยและผู้นำเข้า ทั้งนี้เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของข้าวหอมมะลิไทยในตลาดนี้

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW