ภูมิภาคตะวันออกกลาง

รายงานสถานการณ์การค้าซาอุดีอาระเบีย ณ เมืองเจดดาห์ เดือนสิงหาคม 2565

ซาอุดิอารเบียเปิดตัวโครงการเมือง The Line เมืองแห่งอนาคต มงกุฎราชกุมาร Mohammed bin Salman Al-Saud เปิดตัวโครงการใหม่ เมืองแห่งอนาคตในชื่อ The Line ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ภายใต้โครงการ Neom โครงการเมือง The Line จะถูกสร้างขึ้นบนทะเลทรายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของซาอุดิอาระเบียใกล้กับทะเลแดง โดย The Line เริ่มมีการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2021 และเป็นเมืองที่ถูกขับเคลื่อนโดย AI และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติไว้ 95% ระยะทางยาวต่อกันถึง 170 กม. กว้าง 200 เมตรและสูงจากระดับน้ำทะเล 500 เมตร รองรับผู้คนได้ถึง 9 ล้านคน นอกจากนี้ The Line จะเป็นเมืองที่ไม่มีรถยนต์ และที่สำคัญจะใช้พลังสะอาด 100% ทำให้ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนแก่บรรยากาศ THE LINE จะเป็นเมืองที่สำคัญทางเศรษฐกิจในอนาคตตาม Vision 2030 ของซาอุดิอาระเบีย ซึ่งจะมีการจ้างงานใหม่กว่า 380,000 …

รายงานสถานการณ์การค้าซาอุดีอาระเบีย ณ เมืองเจดดาห์ เดือนสิงหาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ณ กรุงเตหะราน เดือนกรกฎาคม 2565

อิหร่านพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะมาเข้าชมฟุตบอลโลก “กาตาร์ 2022” การจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2022 ที่กาตาร์เป็นเจ้าภาพถือเป็นโอกาสทองสำหรับอิหร่านในการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและผู้เข้าชมฟุตบอลโลกเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศอิหร่าน เนื่องจากอิหร่านมีศักยภาพทางภูมิประเทศที่หลากหลายจากทะเลทรายที่กว้างใหญ่ไปจนถึงสกีรีสอร์ทที่สวยงามไม่แพ้ชาติใดในยุโรป รวมไปถึงความหลากหลายทางนิเวศน์วิทยาและธรรมชาติที่สวยงาม โบราณสถานทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และศิลปกรรม เป็นต้น นอกจากนี้อิหร่านยังมีสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ มากมาย พร้อมทั้งเป็นที่ตั้งอนุสรณ์สถานทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและประกาศเป็นมรดกโลกขององค์กรยูเนสโกถึง 19 แห่ง และที่สำคัญที่สุดคือ อิหร่านเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ถูกที่สุดในบรรดากลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค และอาจถูกที่สุดในลำดับต้นๆ ของโลกอีกด้วย โดยพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่เงินสกุลเรียลอิหร่านอ่อนค่ามากที่สุดเมื่อเทียบสกุลเงินอื่น จากสถิติของกระทรวงมรดกวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และหัตถกรรมอิหร่าน (Ministry of Cultural Heritage Handicrafts and Tourism) พบว่า ในปี 2018 มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศอิหร่านรวมทั้งสิ้นจำนวน 7.3 ล้านคน มีอัตราการใช้เงินในการท่องเที่ยวโดยเฉลี่ยคนละประมาณ 730 เหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นรายได้เข้าประเทศสูงถึง 5.3 พันล้านเหรียญฯ ในฤดูกาลแข่งขันฟุตบอลโลก FIFA World Cup Qatar 2022 ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน – …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ณ กรุงเตหะราน เดือนกรกฎาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าซาอุดีอาระเบีย ณ เมืองเจดดาห์ เดือนสิงหาคม 2565

Saudi Aramco รายได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 90 แตะระดับ 48.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ไตรมาส 2/2022 Saudi Aramco บริษัทผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันยักษ์ใหญ่ของซาอุดีอาระเบีย ประกาศผลประกอบการทางการเงินสำหรับไตรมาสที่สองปี 2022 รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 90 เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) มูลค่า 48.4พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับไตรมาสเดียวกันปี 2021 มูลค่า 25.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 22.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ถือเป็นสถิติรายไตรมาสครั้งใหม่ของบริษัทนับตั้งแต่เริ่มเสนอขายหุ้นให้แก่ประซาชนครั้งแรก (IPO) เมื่อปี 2019 รายได้รวมในครึ่งปีแรก 2022 มูลค่า 87.9 พันล้านดอลลาร์ เทียบกับครึ่งปีแรกปี 2021 มูลค่า 47.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำรายได้เพิ่มขึ้นถึง 40. 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นจากราคาน้ำมันและปริมาณการจำหน่ายที่และอัตรากำไรจากการกลั่นที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน Saudi Ararnco ประกาศแผนการจ่ายเงินปันผลจำนวน 18.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในไตรมาสสาม …

รายงานสถานการณ์การค้าซาอุดีอาระเบีย ณ เมืองเจดดาห์ เดือนสิงหาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ณ เมืองดูไบ เดือนสิงหาคม 2565

คูเวตสนใจลงทุนด้านอาหารในต่างประเทศ กระทรวงการค้และอุตสาหกรรมแห่งคูเวตแนะรัฐบาลคูเวตลงทุนด้านกสิกรรมในต่งประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่มีพื้นที่อุดมสมบรูณ์ รวมทั้งกระจายแหล่งนำเข้าอาหารให้หลากหลายมากขึ้น หนังสือพิมพ์ Al- Cabas daily ของคูเวต รายงานข่าวกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมแห่งคูเวต (Ministy of Commerce and Industry: Mc) เสนอเอกสารรายงานเกี่ยวกับผลกระทบของราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรประหว่างยูเครน – รัสเซีย ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงต้นอาหารของดูเวตต่อสภาคณะรัฐมนตรี รวมถึงข้อเสนอแนะหลายประการที่ต้องใช้มาตรการเร่งต่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจาก สถานการณ์ราคาอาหารที่สูงขึ้น ซึ่งต้องมีการดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพราะอาจส่งผลให้เกิดผลเสียและส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพในประเทศระยะยาว โดยเน้นถึงความจำเป็นต้องพัฒนากลยุทธด้านความมั่นคงด้านอาหาร (Food Security) ในประเทศ ให้ทันสมัยแบบครบวงจรและยั่งยืน เพราะความมั่นคงต้นอาหารในระยะยาวและการพึ่งพาตนเองมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ในรายงานเสนอให้เงินอุดหนุนบริษัทผลิตอาหารที่รัฐบาลร่วมถือหุ้น อาทิ บริษัท Kuwait Catering Company รับทำอาหารส่งสายการบิน บริษัท Kuwait Flour Mills and Bakeries Company นำเข้าแป้งและผลิตขนมปัง และบริษัท Kuwait Livestock Transport and Trading Company ผู้นำเข้าและส่งออกปศุสัตว์ ซึ่งบริษัทเหล่านี้ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลผลิตอาหารและรัฐบาลแบกรับราคาในกรณีที่มีราคาสูง ขณะที่จำหน่ายให้กับประชาชนและผู้บริโภคในราคาคงที่ที่ยอมรับได้ …

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ณ เมืองดูไบ เดือนสิงหาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ณ กรุงเตหะราน เดือนกรกฎาคม 2565

อิหร่านจับมือพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับรัสเซีย ปัจจุบันประเทศที่อิหร่านให้ความสำคัญในฐานะพันธมิตรทางยุทธศาสตร์มากที่สุดได้แก่ จีนและรัสเซีย โดยทั้งสองประเทศนี้อิหร่านจะพึ่งพาในด้านความร่วมมือทางทหาร เศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนเป็นหลัก ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจีนและรัสเซียจะเป็น 2 ตลาดใหญ่ที่จะเข้ามามีบทบาททางการค้าและการลงทุนกับอิหร่านในอนาคต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมพลังงาน เช่น น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งอิหร่านเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ในปริมาณสูงเป็นลำดับต้นๆของโลก นอกจากเหนือไปจากนี้ การดำเนินนโยบายด้านการค้าระหว่างประเทศของอิหร่านหลังการเข้ามาบริหารงานของประธานาธิบดีอิบรอฮิม ไรซี่ ถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยในปัจุบันอิหร่านมีตลาดประเทศเพื่อนบ้าน 15 ประเทศเป็นตลาดส่งออกหลักซึ่งทำให้อิหร่านสามารถระบายสินค้าเกษตรหลายรายการที่มีศักยภาพในการผลิตและมีผลผลิตล้นตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้การดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศดังกล่าวจะมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อเป็นการรับมือกับการคว่ำบาตรที่เข้มข้นของสหรัฐฯ และเพื่อให้สอดคลัองกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ถดถอยของอิหร่านหลังปี 2018 เป็นต้นมาก็ตาม เมื่อเร็วๆนี้ สื่อท้องถิ่นอิหร่านต่างรายงานว่าการเดินทางเยือนกรุงเตหะรานของประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน ของรัสเซีย เมื่อวันที่ 19 กรกฏาคม 2565 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นอีกก้าวที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ระหว่างอิหร่านและรัสเซีย โดยประธานาธิบดีปูตินได้หารือกับประธานาธิบดีอิหร่านเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ด้านพลังงาน (ลงนามความร่วมมือในการลงทุนด้านพลังงานมูลค่า 4 หมื่นล้านเหรียญฯ) การขนส่ง (ทางรางและทางถนนผ่านอาร์เมเนียไปยังรัสเซียตามเส้นทาง the International North-South Transport Corridor และทางเรือผ่านทะเลสาบแคสเปี้ยนเพื่อขนส่งสินค้าระหว่างกันและข้ามแดนไปยังตลาดเอเชียใต้ โดยรัสเซียสนใจลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มตามเส้นทางดังกล่าว) และด้านการค้า โดยทั้งสองประเทศได้ลงนามความร่วมมือการใช้ใกลไกการชำระเงินเป็นสกุลเงินท้องถิ่นเรียล-รูเบิล หรือเงินสกุลอื่นที่ไม่ใช่เหรียญสหรัฐฯ รวมถึงทำการค้าแบบชำระบัญชีและ Barter Trade เป็นต้น …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ณ กรุงเตหะราน เดือนกรกฎาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ณ เมืองดูไบ เดือนกรกฎาคม 2565

ยูเออีลงทุนในอินเดียสร้าง Aagricultural Food Parks เพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีแผนจะลงทุน 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในโครงการอุทยานอาหารเกษตร (Aagricultural Food Parks)ในประเทศอินเดีย เพื่อสร้างความมั่นคงทงอาหารให้ประชากรในเอเยใต้และตะวันออกกลางที่กำลังเผชิญกับความท้าทายและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจากการประชุมสุดยอดครั้งแรกของกลุ่ม I2U2 ประกอบด้วย อินเดีย อิสราเอล สหรัฐอเมริกา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งมีประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายกรัฐมนตรีอินเดีย นายกรัฐมนตรีอิสราเอล และประธานาธิบตี Sheikh Mohamed Bin Zaed Al Nahya แห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เข้าร่วมประชุมในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งผู้นำทั้ง 4 ชาติได้หารือเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้กรอบของกลุ่ม I2U2 ขณะที่วิกฤตการณ์อาหารและพลังงานทั่วโลกกลายเป็นวาระที่สำคัญของการประชุม อุทยานอาหารเกษตร (Aagricultural FoodParks) ในประเทศอินเดีย เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมการยกระดับอุตสาหกรรมอาหาร สร้างโซชั่นอิงวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มความมั่นคงต้านอาหารและระบบอาหารที่ยั่งยืน ผ่านความร่วมมืออันแข็งแกร่งระหว่างประเทศสมาชิกที่ได้รับการยอมรับในระตับสากส โดยอิสราเอลและสหรัฐฯ จะนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยตลอดจนความเชี่ยวชาญมาใช้สร้างระบบแบบบูรณาการด้วยการจัดหาที่ดินและช่วยให้กษตรกรเข้าร่วมกับโครงการ โดยมีจุดมุ่งหมายคือ “ลดขยะอาหารและการเน่าเสีย อนุรักษ์น้ำจืด และใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน” เพื่อเพิ่มผลผลิตพืชให้สูงสุดและช่วยจัดการกับความไม่มั่นคงต้านอาหารในเอเชียใต้และการรวมกลุ่มของ 4 ประเทศดังกล่าว …

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ณ เมืองดูไบ เดือนกรกฎาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสหพันธ์สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ณ กรุงมอสโก เดือนกรกฎาคม 2565

อิหร่านเร่งสร้างเส้นทางขนส่งทางราง ตามที่ อิหร่าน อินเดีย และรัสเซียได้ลงนามในข้อตกลงระหว่างรัฐบาลในการสร้างทางเดินขนส่งเหนือ-ใต้แบบผสมผสานหลายรูปแบบเมื่อปี พ.ศ. 2543 (International North-South Transport Corridor: INSTC) ต่อมามีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นรวมเป็น 14 ประเทศ โดยเป้าหมายของโครงการคือการดึงดูดการขนส่งสินค้าจากอินเดีย อิหร่าน และประเทศอ่าวเปอร์เซียผ่านดินแดนรัสเซียไปยังยุโรป (เมื่อเทียบกับเส้นทางทะเลผ่านคลองสุเอซสามารถร่นระยะทางได้มากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง) ในขณะนี้โครงการได้รวมระบบขนส่งต่างๆ ของแต่ละประเทศไว้ด้วยกัน ส่วนของอินเดียลงทุนไปประมาณ 2.1 พันล้านดอลลาร์ เอกอัครราชทูตอิหร่านประจำกรุงมอสโก Kazem Jalali กล่าวว่า อิหร่านกำลังดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟในส่วน Rasht-Astara ให้เสร็จสิ้น เนื่องจากส่วนที่ขาดหายไปของทางเดินรถไฟเหนือ-ใต้ รวมถึงเส้นทางรถไฟที่ใช้กำลังไฟฟ้าระหว่าง Garmsar-Inche Burun เส้นทางรถไฟ Rasht-Astara ที่วิ่งระหว่างท่าเรืออิหร่านทางตอนใต้ที่ Shahid Rajaee (ส่วนหนึ่งของเมืองท่า Bandar Abbas) ขึ้นเหนือไปยังท่าเรือ Rasht ในทะเลแคสเปียนจะทำให้การเชื่อมต่อทางรถไฟเต็มรูปแบบระหว่างอ่าวเปอร์เซียและยุโรป ที่มา: Iran takes steps to complete missing section of …

รายงานสถานการณ์การค้าสหพันธ์สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ณ กรุงมอสโก เดือนกรกฎาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ณ เมืองดูไบ เดือนกรกฎาคม 2565

เศรษฐกิจประเทศบาห์เรน : การค้ากับไทย 1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ : รวม 712 ตารางกิโลเมตร ไม่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับประเทศใด เป็นเกาะในอ่าวอาหรับ มีชายฝั่งทะเลยาวทั้งสิ้น 161 กม. อยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลทางตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย 24 กม. (มี King Fahd Causeway ซึ่งเป็นสะพานเชื่อมบาห์เรน-ซาอุดีอาระเบีย) และห่างจากชายฝั่งทะเลตะวันตกของกาตาร์ 27 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบทะเลทรายจึงมีพื้นที่สำหรับทำการเพาะปลูกเพียง 2.1% เมืองหลวง : มานามา (Manama) ภูมิอากาศ : แห้งแล้งแบบทะเลทราย ช่วงเดือน พ..-ต.ค. อากาศร้อน ช่วงเดือน พ.ย.เม.ย. อากาศเย็น ประชากร : 1.58 ล้านคน (2021 est.) ร้อยละ 53 หรือราว 8 แสนคนเป็นชาวต่างชาติ ภาษาราชการ : ภาษาอาระบิก …

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ณ เมืองดูไบ เดือนกรกฎาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ณ กรุงเตหะราน เดือนกรกฎาคม 2565

ข้าวหอมมะลิไทยกำลังหวนคืนสู่ตลาดอิหร่านอีกครั้งหลังเวลาผ่านไป 7 ปี  ปัจจุบัน สถานการณ์ตลาดข้าวในประเทศอิหร่านยังคงอยู่ในภาวะผันผวนซึ่งเกิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา โดยพบว่าราคาข้าวในตลาดอิหร่านยังคงขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบรายเดือน แม้ว่ารัฐบาลจะเข้ามาแซกแซงราคาแล้วก็ตาม แต่ในทางปฎิบัติพบว่ารัฐบาลยังไม่สามารถเข้ามาควบคุมราคาได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากปริมาณข้าวในตลาดค่อนข้างน้อย ประกอบกับรัฐบาลประสบปัญหาด้านการนำเข้าข้าว ส่งผลให้มีความจำเป็นต้องนำข้าวที่เหลือในคลังสำรองออกมาจำหน่ายในราคาถูกเพื่อพยุงราคาข้าวในประเทศและบรรเทาความเดือนร้อนให้กับผู้มีรายได้น้อย  ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนข้าวและข้าวราคาสูง หลังวันขึ้นปีใหม่ในเดือนมีนาคม 2022 ที่ผ่านมารัฐบาลอิหร่านจึงได้เปิดไฟเขียวให้ภาคเอกชนเป็นผู้จัดหาและนำเข้าข้าวจากต่างประเทศโดยเร่งด่วน เพื่อให้ทันกับเทศกาลมะฮะรัม (พิธีกรรมไว้อาลัยให้กับบุคคลสำคัญทางศาสนาตามความเชื่อทางวัฒนธรรมที่ใช้เวลานานประมาณ 2 เดือน ระหว่างกรกฎาคมถึงสิงหาคมของทุกปี) โดยช่วงดังกล่าวจะเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาของปีที่มีการทำบุญบริจาคทานให้กับผู้ยากไร้และผู้ล่วงลับ ส่งผลให้ตลาดผู้บริโภคมีความต้องการข้าวในปริมาณสูง นาย Masih Keshavarz เลขาธิการสมาคมผู้นำเข้าข้าวอิหร่าน (Iranian Rice Importers Association) ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวท้องถิ่นอิหร่าน Tejarat News Agency ว่า ข้าวที่ภาคเอกชนอิหร่านอยู่ระหว่างขั้นตอนการนำเข้านี้จะเป็นข้าวหอมชั้นหนึ่งและมีคุณภาพสูง เป็นข้าวพันธ์ Jasmine และ Homali ที่มีคุณสมบัติในแง่ของกลิ่นและรสชาติที่ใกล้เคียงกับข้าวหอมพันธ์ Tarom ของอิหร่าน ที่ได้รับความนิยมสูงและขึ้นชื่อ โดยข้าวหอมมะลินี้จะจัดส่งมาถึงอิหร่านในอีกประมาณ 1 เดือนข้างหน้า มีแหล่งนำเข้าสำคัญมาจากประเทศไทย อินเดีย และปากีสถาน นำเข้าในราคากิโลกรัมละประมาณ 1 …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ณ กรุงเตหะราน เดือนกรกฎาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ณ เมืองดูไบ เดือนกรกฎาคม 2565

ยูเออีและอินโดนีเซียลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (CEPA) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) และอินโดนีเซีย ได้ลงนามข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม (Comprehensive Economic Partnership Agreement: CEPA) เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ ซึ่งคาดว่าความตกลงดังกล่าวจะเพิ่มมูลค่าการค้า (สินค้าที่ไม่ใช้น้ำมัน) ระหว่างกันจากปัจจุบัน 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้เพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใน 5 ปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าความตกลงจะมีผลบังคับใช้ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุมในหลายด้าน อาทิ การค้าสินค้าและบริการ การลงทุน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตราการท้างด้านศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กาค้าดิจิทัล เป็นต้น กระทรวงการค้าอินโดนีเซียคาดว่าข้อตกลงดังกล่าวจะสามารถเพิ่มการส่งออกของอินโดนีเซียไปยูเออีในอีก 10 ปีข้างหน้า และคาดว่าอินโดนีเซียจะนำเข้าจากยูเออีเพิ่มขึ้น 307.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณร้อยละ 18.26 ข้อตกลงนี้จะสามารถใช้เพื่อลดการขาดดุลการค้ากับยูเออีได้ ซึ่งข้อตกลงเป็นข้อตกลงการค้าเสรีฉบับแรกที่อินโดนีเซียมีร่วมกับประเทศในกลุ่มความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) ปัจจุบันยูเออีเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซียในภูมิภาคนี้ …

รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ณ เมืองดูไบ เดือนกรกฎาคม 2565 Read More »

OMD KM

FREE
VIEW