รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ณ เมืองดูไบ เดือนกรกฎาคม 2565

เศรษฐกิจประเทศบาห์เรน : การค้ากับไทย

1. ข้อมูลทั่วไป

  • พื้นที่ : รวม 712 ตารางกิโลเมตร ไม่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับประเทศใด เป็นเกาะในอ่าวอาหรับ มีชายฝั่งทะเลยาวทั้งสิ้น 161 กม. อยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลทางตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย 24 กม. (มี King Fahd Causeway ซึ่งเป็นสะพานเชื่อมบาห์เรน-ซาอุดีอาระเบีย) และห่างจากชายฝั่งทะเลตะวันตกของกาตาร์ 27 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบทะเลทรายจึงมีพื้นที่สำหรับทำการเพาะปลูกเพียง 2.1%
  • เมืองหลวง : มานามา (Manama)
  • ภูมิอากาศ : แห้งแล้งแบบทะเลทราย ช่วงเดือน พ..-ต.ค. อากาศร้อน ช่วงเดือน พ.ย.เม.ย. อากาศเย็น
  • ประชากร : 1.58 ล้านคน (2021 est.) ร้อยละ 53 หรือราว 8 แสนคนเป็นชาวต่างชาติ
  • ภาษาราชการ : ภาษาอาระบิก และภาษาอังกฤษ
  • ศาสนา : อิสลาม (70% Shia และ 30% Sunni)
  • ระบอบการปกครอง :ราชาธิปไตยกึ่งรัฐสภามีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นไปตามผลการลงประชามติของชาวบาห์เรนเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2545 กษัตริย์องค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดี ฮามัด บิน อิซา อัล คอลิฟะห์ (His Majesty King Hamad Bin Isa Al Khalifa)ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2542

2. ข้อมูลทางเศรษฐกิจ

รัฐบาลบาห์เรนมีนโยบายสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ (economic diversifcation) เพื่อลดการพึ่งพาน้ำมันและลดผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมันโลก โดยส่งเสริมอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน และ อุตสาหกรรมอะลูมิเนียม ตั้งโรงงานผลิตอคูมิเนียม (ALBA) ซึ่งเป็นโรงหลอมอลูมิเนียมที่ใหญ่แห่งหนึ่งของโลก รวมทั้งพัฒนาประเทศให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และเป็นศูนย์กลางด้านการเงินการธนาคารของภูมิภาค

จากรายงานสถานการณ์เศรษฐกิบาห์เรนของ MF ระบุการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังโควิดจะยังค่อยเป็นค่อยไป นโยบายการคลังและนโยบายการเงินเริ่มดำเนินการอย่างตรงจุดเพื่อฟื้นฟูควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างปกเศรษฐกิจ ประกอบกับราคาน้ำมันโลกที่สูงขึ้นช่วยบรรเทาความเปราะบางทางการคลังและหนี้ต่างประเทศ เมื่อปี 2564 เศรษฐกิจบาห์เรนขยายตัวร้อยละ 2.2 เครื่องชี้วัดการบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ประกอบกับแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การใช้จ่ายปรับตัวดีขึ้นในทุกหมวด

นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นว่าด้วยระดับยอดหนี้ของบาห์เรนมีมากกว่าร้อยละ 100 ของ GDP และการออมต่ำ การกู้เพื่อการชดเชยการขาดดุลงบประมาณ อาจจะต้องพึ่งเงินช่วยเหลือก้อนใหม่จากประเทศเพื่อนบ้านอีกครั้ง และจากการดำเนินนโยบายการคลังที่ใช้เงินเกินรายได้และต้องพึ่งเงินกู้จำนวนมาก ทำให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง Moody’s และ S8P จัดให้บาห์เรนคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศ (Outlook) เป็นแบบ “เชิงลบ”(Negative) เมื่อปี 2564 นอกจากนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้แนะนำสนับสนุนแผนการสร้างสินทรัพย์สำรองของบาห์เรนโดยการกู้ยืมจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อการชดเชยการขาดดุลงบประมาณจากการที่รัฐบาลออกมาตรการสนับสนุนทางการเงินเพื่อพยุงเศรษฐกิจ

IMF คาดเศรษฐกิจบาห์เรนปี 2565 จะขยายตัวขึ้นเป็นร้อยละ 3.4 โดย GDP สินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เพราะได้แรงหนุนจากภาคการผลิตที่แข็งแกร่งขึ้นและการเปิดกิจกรรมเศรษฐกิจอีกครั้งอย่างเต็มรูปแบบหลังจากนั้นคาดว่าการเติบโตจะทรงตัวที่ประมาณร้อยละ 3 ในระยะกลาง อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และอาหารในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในปีนี้จะลดลง และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของบาห์เรน

3. มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับบาห์เรน

การค้ารวมของไทยกับบาห์เรนในเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2565 มีมูลค่า 8,016.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 170.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.10 ของการค้าไทยไปทั่วโลก โดยไทยส่งออกไปบาห์เรนช่วงดังกล่าวมูลค่า 1,621.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.24 และนำเข้า 6,395.62 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 331.45 โดยไทยขาดดุลการค้ากับบาห์เรนมูลค่า 4,774.41 ล้านบาท

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปบาห์เรน ได้เก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ตู้เย็น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องจักรกล และส่วนประกอบ เครื่องคอมเพรสเซอร์ทำความเย็น ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องซักผ้า เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี เป็นต้น โดยมีมูลค่าและการขยายตัว ดังนี้

สินค้านำเข้าที่สำคัญของไทยจากบาห์เรน ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป สินแรโลหะ เคมีภัณฑ์ ปุ๊ยและยากำจัดศัตรูพืช สัตว์น้ำสดแช่เย็นแช่แข็ง เหล็กและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก เป็นต้น โดยมีมูลค่าและการขยายตัว ดังนี้

โครงการและกิจกรรมสำคัญเพื่อผลักดันการค้าระหว่างไทย-บาห์เรน

  1. จัดเชิญผู้นำเข้าบาห์เรนเข้าร่วมกิจกรรมเจรจาการค้าออนไลน์ (Online Business Matching: OBM) สินค้ากลุ่มต่างๆ ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
  2. การเชิญผู้นำเข้าบาห์เรนเดินทางเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศไทย เช่น Thaifex Anuga Asia 2022 เพื่อแสวงหาสินค้าที่มีศักยภาพและเพิ่มโอกาสในการนำเข้าสินค้าไทยไปยังบาห์เรนให้มากขึ้นการมอบตรา Thai SELECT ให้แก่ร้านอาหารไทยในประเทศบาห์เรน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมและ
  3. ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับร้านที่ได้รับตรา Thai SELECT เพื่อให้เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดขายของร้าน และนำไปสู่การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบจากไทยเพิ่มขึ้นด้วย
  4. ส่งเสริมการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย โดยสนับสนุนผู้ส่งออกเข้าร่วมงาน Jewellery Arabia ซึ่งจัดขึ้นในประเทศบาห์เรน ผ่นโครงการส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Pro-active)
  5. ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์โครงการ Thai Mart ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงมานามา ประเทศบาห์เรนเพื่อเป็นช่องทางในการจำหน่ายสินค้าไทยไปยังกลุ่มผู้บริโภคในบาห์เรนและซาอุดิอาระเบียฝั่งตะวันออก
OMD KM

FREE
VIEW