รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ณ เมืองดูไบ เดือนกรกฎาคม 2565

ยูเออีและอินโดนีเซียลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (CEPA)

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) และอินโดนีเซีย ได้ลงนามข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม (Comprehensive Economic Partnership Agreement: CEPA) เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ ซึ่งคาดว่าความตกลงดังกล่าวจะเพิ่มมูลค่าการค้า (สินค้าที่ไม่ใช้น้ำมัน) ระหว่างกันจากปัจจุบัน 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้เพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใน 5 ปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าความตกลงจะมีผลบังคับใช้ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2565

ข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุมในหลายด้าน อาทิ การค้าสินค้าและบริการ การลงทุน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตราการท้างด้านศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กาค้าดิจิทัล เป็นต้น

กระทรวงการค้าอินโดนีเซียคาดว่าข้อตกลงดังกล่าวจะสามารถเพิ่มการส่งออกของอินโดนีเซียไปยูเออีในอีก 10 ปีข้างหน้า และคาดว่าอินโดนีเซียจะนำเข้าจากยูเออีเพิ่มขึ้น 307.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณร้อยละ 18.26 ข้อตกลงนี้จะสามารถใช้เพื่อลดการขาดดุลการค้ากับยูเออีได้ ซึ่งข้อตกลงเป็นข้อตกลงการค้าเสรีฉบับแรกที่อินโดนีเซียมีร่วมกับประเทศในกลุ่มความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) ปัจจุบันยูเออีเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซียในภูมิภาคนี้ ข้อตกลงนี้แสดงให้เห็นว่ายูเออีเป็นพันธมิตรที่สำคัญสำหรับอินโดนีเซีย เป็นการขยายความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนที่แน่นแฟ้นระหว่างสองประเทศ

จากข้อมูลสถิติ Trade Map ของ ITC แสดงข้อมูลการค้าระหว่างยูเออีและอินโดนีเซียอยู่ที่ประมาณ 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 โดยยูเออีส่งออกข้อมูล 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (+27.3%) ไปยังอินโดนีเซีย ได้แก่ น้ำมัน เหล็ก อลูมิเนียมและพลาสติก ในขณะีท่อินโดนีเซียส่งออกไปยูเออี ฒุลค่า 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (45.2%) ได้แก่ น้ำมันปาล์ม เครื่องประดับอัญมณี รถยนต์และอะไหล่ เครื่องใช้ไฟฟ้า กระดาษ เสื้อผ้าและผ้าผืน

การแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำระดับสุงระหว่างกันได้กระชับความสัมพันธ์อนผดดนีเซีย-ยูเออีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นตลอดมา โดยเฉพาะการเดินทางเยือนอนโดนีเซียของประธานาธิบดียูเออี Sheikh Mohamed Al Nahyan เมื่อเดือน ก.ค.2562 ในขณะที่ประธานาธิบดี Joko Widodo ของอินโดนีเซียเคยเยือนยูเออีเมื่อเดือน พ.ย. 2564 พร้อมหน่วยงานรัฐบาลและภาคเอกชน และได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนมิติใหม่ระหว่าง 2 ประเทศในหลายด้าน

ทั้งนี้ ยูเออีเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของภูมิภาคตะวันออกกลาง สามารถฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว การส่งออกของประเทศคาดว่าจะขยายตัวในออัตราเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 6 ต่อปี หรือมูลค่า 299 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 รัฐบาลส่งเสริมความหลากหลายทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ประเทศไม่ได้พึ่งพารายได้จากน้ำมันเพียงอย่างเดียว รวมทั้งยังสร้างงานใหม่ๆ ซึ่งจะปฏิรูปประเทศไปสู่ทิศทางใหม่ในหลายๆ ด้าน

ความคิดเห็นของ สคต. ณ เมืองดูไบ

ขณะนี้ยูเออีอยู่ระหว่างเดินหน้าจัดทำความตกลงการค้ากับหลายประเทศ ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ยูเออีให้ความสนใจต้องการทำความตกลงการค้า (CEPA) ด้วย โดยหนึ่งในนโยบายด้านการค้าของยูเออีในปัจจุบันคือการจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ให้มากที่สุด เพื่อพัฒนาให้ประเทศกลายเป็นฐายการผลิตและการส่งออกต่อของสินค้าจากประเทศต่างๆทั่วโลก จึงเป็นโอกาศดีของไทยในการพิจารณาจัดทำความตกลง CEPA เพื่อขยายมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างกันต่อไป โดยสินค้าและบริการของยูเออีและของไทยมีลักษณะที่เอื้อประโยชน์ต่อกันมากกว่าแข่งขันกัน การจัดทำความตกลง CEPA ระหว่างกันจึงน่าจะเป็นประโยชน์กับทั้งสองประเทศ

ในปี 2565 (ม.ค.-พ.ค.) ยูเออีเป็นคู่ค้าอันดับที่ 6 ของไทยในตลาดโลก และอันดับ 1 ในตะวันออกกลาง โดยการค้าระหว่างไทยกับยูเออีมูลค่ารวม 283,385 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 124.5 จากช่วงเดียวกันของปี 2564 โดยไทยส่งออกไปยูเออีมูลค่า 44,319 ล้านบาท สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ เครื่องประดับอัญมณี ไม้และผลิตภัณฑ์ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ในขณะที่ไทยนำเข้าจากยูเออีมูลค่า 239,066 ล้านบาท สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์โลหะ เป็นต้น

ที่มา : The National online

OMD KM

FREE
VIEW