รายงานสถานการณ์การค้าอิตาลี ณ เมืองมิลาน เดือนเมษายน 2565

1. สถานการณ์เศรษฐกิจอิตาลีโดยรวม

สภาอุตสาหกรรมของอิตาลี (Confindustria) แสดงรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจของอิตาลีประจำเดือนมีนาคม 2565 พบว่า สถานการณ์ความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่างรัสเชีย-ยูเครนกำลังฉุดให้เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปชะลอตัว โดยเฉพาะผลกระทบต่ออิตาลี จากราคาพลังงานและวัตถุดิบอื่นๆ ที่พุ่งสูงขึ้นขณะที่การแทรกแซงของภาครัฐยังคงไม่เพียงพอ ทำให้ดัชนีตัวชี้วัดทางด้านเศรษฐกิจต่างๆ ถดถอยลง รวมถึงการบริการที่หยุดชะงัก และการส่งออกที่จะอ่อนตัวลง สรุปรายละเอียดดังนี้

– ความขัดแย้งระหว่างรัสเชีย-ยูเครนที่ยังคงดำเนินความรุนแรงที่ส่งผลให้ราคาสินค้าด้านพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ขยายตัว รวมถึงความไม่แน่นอนของสต็อกวัตถุดิบสำหรับการผลิต กอรปกับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้ GDP ในไตรมาสแรกของปัลดลง -2.996 หากเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนหน้า

– ราคาค่าสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้ายังคงได้รับผลกระทบอย่างสาหัส (+523% เทียบกับเดือนมีนาคม2564) เช่นเดียวกับราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ โลหะ (+8696) และธัญพืช (+77%) ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อต้นทุนธุรกิจและการลงทุนของบริษัท และการใช้จ่ายในครัวเรือน

– การช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณสำหรับหกเดือนแรกของปี 2565 โดยไม่ต้องใช้งบขาดดุลเพิ่มเติม ประมาณ 1.4 หมื่นล้นยูโร แบ่งเป็น 1.1 หมื่นล้นยูโรเพื่อสนับสนุนครัวเรือนและธุรกิจ (1.2 พันล้านสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ในไตรมาสแรก) และ 3 หมื่นล้านยูโรสำหรับการปรับ/พัฒนาโครงสร้างก๊าซ พลังงานหมุนเวียน และสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานสินค้ายานยนต์และไมโครโพรเซสเซอร์

– ด้านอุตสาหกรรม ดัชนีตัวชี้วัดทุกด้านแย่ลง ได้แก่ ความเชื่อมั่นของบริษัทผู้ผลิตที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปลายปี 2564 โดยดัซนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ลดลงมากขึ้นอีก (จาก 55.8 มาอยู่ที่ 58.3)และคำสั่งซื้อทั้งหมดสำหรับการผลิตยังคงลดลงเล็กน้อย

– ด้านการบริการ ในเดือนมีนาคม 2565 ซะลอตัว (จาก 52.8 มาอยู่ที่ 52.1) โดยความเชื่อมั่นของบริษัทในภาคบริการลดลง (จาก 100.4 มาอยู่ที่ 99.0) นอกจากนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และความไม่แน่นอนทำให้ชาวอิตาเลียนยังคงหลีกเสี่ยงเดินทาง ซึ่งส่งผลต่อความต้องการของภาคบริการอย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งได้รับการทดแทนจากการเดินทางท่องเที่ยวของซาวต่างชาติที่กลับมาฟื้นตัว

– การส่งออกก่อนหน้าสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครน การส่งออกของอิตาลีขยายตัวเพิ่มขึ้น +5.8% ในช่วงเดือนธันวาคม 2564 – กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งนับว่าสูงกว่าระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19ขณะที่ผลกระทบจากสงครามได้ทำให้คำสั่งซื้อการผลิตจากต่างประเทศลดลงอย่างมากในเดือนมีนาคม 2565

2. ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ

2.1 ดัชนีการบริโภค จากข้อมูลของสมาพันธ์การค้าของอิตาสึ (Confcommercio) แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเชีย ยูเครน ส่งผลให้สถานการณ์งินเฟ้อแย่ลงกว่าที่คาดการณ์ไว้และจะยังคงดำเนินต่อไป โดยก่อนเกิดความขัดแย้งในยูเครน อิตาลีต้องเผชิญกับความตึงเครียดในด้านวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ทั้งด้านพลังงานและไม่ช่พลังงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาผู้บริโภคและต้นทุนที่ผันแปรสำหรับบริษัททำให้การคาดการณ์เป้าหมายการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์ได้ถูกเสื่อนออกไปเป็นสิ้นปี 2566 ทั้งนี้ สมาพันธ์การค้าของอิตาสีเผยว่า การบริโภคโดยรวมในไตรมาสแรกของปีต่ำกว่าไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วขณะที่ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) อยู่ที่ – 1.196 ปรับตัวดีขึ้นจาก 2.49 ของไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว จากการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น โดยเดือนมีนาคม 2565 ดัชนีการบริโภคเพิ่มขึ้น 4.84 หากเทียบกับปีก่อนหน้า โดยการใช้จ่ายของครัวเรือนอิตาลีในสินค้าลดลง -3.99 แต่การใช้จ่ายในส่วนของบริการยังคงเพิ่มขึ้น +44.8% โดยเฉพาะการใช้จ่ายบริการด้านโรงแรมและการทานอาหารนอกบ้านยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก (+119.7%) จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวจากซาวต่งซาติ รองสงมา ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า (6.69) สินค้าและบริการด้านสันทนาการ (+5.79) และสินค้าและบริการด้านการสื่อสาร (+1.8%) เป็นต้น สำหรับการใช้จ่ายที่หดตัวลดลง ได้แก่ สินค้าและบริการด้านคมนาคม (-11.2%) และสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม และใบยาสูบ ( 4.2%) เป็นตัน

2.2 อัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นทางธุกิ สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาสี (ISTAT) แสดงการคาดการณ์ว่า ในเดือนเมษายน 2565 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงหากเทียบกับเดือนมีนาคม 2565 (จาก 100.8 มาอยู่ที่ 100.0) ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเชื่อมั่นในด้านต่าง ๆ ปรับตัวลดลง ได้แก่ ความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ (จาก 98.2 มาอยู่ที่ 97.3) ความเชื่อมั่นส่วนบุคคล (จาก 101.7 มาอยู่ที่ 100.9) และความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ปัจจุบัน (จาก 105.7 มาอยู่ที่ 100.8) ขณะที่ความเชื่อมั่นต่ออนาคตเพิ่มขึ้น (จาก 93.5 มาอยู่ที่ 98.9) ด้านความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (จาก 105.3 มาอยู่ที่ 105.5) เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของภาคต่างๆ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาคธุรกิจก่อสร้าง (จาก 160.1 มาอยู่ที่ 160.6) ภาคธุรกิจค้าปลีก (จาก 100.1 มาอยู่ที่ 103.4) ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่คงที่ (110.1 มาอยู่ที่ 1 10.0) และภาคธุรกิจบริการปรับลดลง (จาก 98.9 มาอยู่ที่ 97.0)

2.3 ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงตัวเลขคาดการณ์ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมีนาคม 2565 ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 1.0% (จาก 108.3 เป็น 109.3 หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า เป็นผลมาจากราคาสินค้าด้านพลังงานที่ยังคงมีราคาเพิ่มสูงขึ้น (+7.1%) ราคาอาหารที่ยังไม่แปรรูป (+0.99) กรบริการด้านการขนส่ง (+0.99) และสินค้าอุปโภคบริโภค (+0.8%) ที่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่หากเทียบกับเดือนมีนาคม 2564 ดัชนีราคาผู้บริโภคยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 6.5% (โดยเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ +5.7%6) ซึ่งมีผลมาจากราคาสินค้าด้านพลังงานที่ยังคงมีราคาเพิ่มสูงขึ้น (+50.9%) แบ่งเป็น ค่าไฟฟ้าในตลาดที่ได้รับการคุ้มครองและก๊ซสำหรับใช้ภายในครัวเรือน (+94.6%) และราคาเชื้อเพลิงยานยนต์ น้ำมันหล่อลื่น เชื้อเพลิงในครัวเรือน และไฟฟ้าในตลาดเสรี (+ 36.49) ราคาอาหารที่ยังไม่แปรรูป ( +8.0% ) ราคาอาหารที่แปรรูป (+3.9%) สินค้าคงทน (+ 1.696) และราคาบริการด้านการเดินทาง (+1.0%)

2.4 อัชนีราคาผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรม (Ind ustrial Producer Price) ตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (IS TAT) แสดงให้เห็นว่า ดัชนีราคาผู้ผลิตด้านอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 หากเทียบกับเดือนก่อนหน้าขยายตัวเพิ่มขึ้น +0.49 โดยราคาตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น +0.2% และตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น 1.0% (+1.0% ทั้งในยูโรโซนและนอกยูโรโซน) ขณะที่หากเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ดัชนีราคาผู้ผลิตด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น + 32.89 โดยราคาตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น +91.196 และตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น 10.9% (+11.8% ในยูโรโซน และ +10.49 นอกยูโรโซน)

2.5 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงตัวเลขคาดกรณ์ว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 กรผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 9.0% หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า (เพิ่มขึ้นสูงสุดในประเทศกลุ่มยูโรโซน) โดยมีผลมาจากสินค้าบริโภคอุปโภค (+5.2%) สินค้าขั้นกลาง (+ 3.59) สินค้าทุน (+2.796) และสินค้าพลังงาน (+0.99) ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่หากเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2564 การผลิตด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 3. 3% มีสาเหตุมาจากภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกลั่น (+ 16.89) อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มเครื่องหนัง และเครื่องประดับ (+11.7x) กรผลิตสินค้าคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ (+8.39) ขณะที่การผลิตสินค้าลดลง ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตภสัชภัณฑ์ (-3.8%) และภาคการผลิตสินค้ายางและพลาสติก (-2.9%)

2.6 การค้าระหว่างประเทศ สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงตัวเลขคาดการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 การนำเข้าของอิตาลีทั้งหมดขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.19 (เทียบกับเดือนก่อนหน้า) เช่นเดียวการส่งออกของอิตาลีทั้งหมดไปยังตลาดต่างประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.69 (เทียบกับเดือนก่อนหน้า) ซึ่งมีปัจจัยมาจากการส่งออกสินค้าไปยังประเทศในสหภาพยุโรปและประเทศนอกสหภาพยุโรปขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.3% และ 2.0% ตามลำดับ ในขณะที่เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2564 พบว่า อิตาลีนำเข้าสินค้าจากตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น 44.9% โดยเฉพาะการนำเข้าจากประเทศนอกสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 69.6% และจากประเทศในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 28.39 ในขณะที่การส่งออกของอิตาสีไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น 22.7% โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 24.09 และประเทศนอกสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 21.1% โดยสินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เคมีภัณฑ์ (+34.4%) สินค้าโลหะ ผลิตภัณฑ์โลหะ (ยกเว้นเครื่องจักร) (+24.4x) สินค้าอาหาร เครื่องดื่ม และใบยาสูบ (23.19) โดยตลาดส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (+24.496) เยอรมนี (+21.396) ฝรั่งเศส (+16.0%) และสเปน (+33.3%)

2.7 การค้าปลึก สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาสี (ISTAT) คาดการณ์ข้อมูลว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 การค้าปลีกขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.7% นด้านมูลค่า และ 0.49 ในด้านปริมาณ เทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการค้าปลีกสินค้าอุปโภคที่เพิ่มขึ้น (41.79 ด้านมูลค่า และ +1.69 ด้านปรึมาณ) และการค้าปลีกสินค้าอุปโภคที่ลดลง ( 0.6: ด้านมูลค่า และ – 1.5%6 ด้านปริมาณ) ขณะที่หากเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า การค้าปลึกขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.39 ในด้านมูลค่า และ 1.9% ในด้านปริมาณ โดยมีปัจจัยมาจากการค้าปลีกสินค้าอุปโภคที่เพิ่มขึ้น (+5.69 ด้านมูลค่า แสะ +5.09 ด้านปริมาณ) รวมถึงสินค้าบริโภคที่เพิ่มขึ้นและลดลงเพียงเล็กน้อย (+ 3.1 ด้านมูลค่าและ -1.9% ด้านปริมาณ) ทั้งนี้ การค้าปลีกสินค้าอุปโภคเติบโตในทุกประเภท โดยเฉพาะสินค้าของเล่น อุปกรณ์กีฬา และอุปกรณ์กางเต็นท์ /แค้มปิ้ง (+8.4%) รองเท้าเครื่องหนังและสินค้าสำหรับการเดินทาง (+8.19) ผลิตภัณฑ์ยา (+8.19) และสินค้าเครื่องเขียนและสิ่งพิมพ์ (+0.1%) ในขณะที่หากพิจารณาจากช่องทางการจำหน่ายพบว่ การค้าปลีกเพิ่มขึ้นในทุกช่องทาง ได้แก่ ซุปเปอร์มาร์เก็ต/ไฮเปอร์มาร์เก็ต (3.68) ร้านค้าปลีกขนาดย่อย (+5.4%) ตลาดนัด ขายตรง และตู้จำหน่ายสินค้า (+2.79) และส่วนการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ลดลง (+5.0%)

3. สถานการณ์การค้าไทย – อิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ไทยส่งออกสินค้าไปทั่วโลกมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 73,601.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 14.949 ในขณะที่เดือนมีนาคม 2565 ไทยส่งออกสินค้าไปทั่วโลกมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 28,859.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 19.54% โดยระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 มูลค่าการค้าของไทย – อิตาลี มีมูลค่า 1,248.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็น การส่งออกมูลค่า 577.93 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น +15.25% และการนำเข้ามูลค่า 670.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น +11.28% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

3.1 การค้าไทย – อิตาสี

3.2 การส่งออกของไทยไปอิตา ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 577.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 15.25% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งการส่งออกมีมูลค่า 501.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 อันดับแรก ดังนี้

3.3 การนำเข้าของไทยจากอิตา ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ไทยนำเข้าสินค้าจากอิตาลีมีมูลค่าทั้งสิ้น 670.68 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 11.28% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งการนำเข้ามีมูลค่า 602.70 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีสินค้านำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

3.4 การนำเข้าของอิตาลีจากทั่วโลก ข้อมูลจาก Global Trade Atlas แสดงให้เห็นว่า ในเดือนมกราคม 2565 อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกมีมูลค่ 52,420.73 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 39.45% เทียบจากเดือนเดียวกันของปี 2564 ซึ่งการนำเข้ามีมูลค่า 38,987.86 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่อิตาลีนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมนี มูลค่า 7,202.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (+ 16.47%) จีน มูลค่า 5,366.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (+51.11%) ฝรั่งเศส มูลค่า 3,390.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (+12.84%) เนเธอร์แลนด์ มูลค่า 3,127. 4 ล้านเหรียญสหรัฐ (+40.05%) และสเปน มูลค่า 2,523.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (+26.40%) ซึ่งแหล่งนำเข้าที่สำคัญของอิตาลีส่วนใหญ่เป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป

โดยประเทศคู่แข่งของไทยที่สำคัญในทวีปเอเชีย ได้แก่ อินเดีย (อันดับที่ 14) มูลค่า 888.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (+73.59%) เกาหลีใต้ (อันดับที่ 23) มูลค่า 509.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (+64.67%) เวียดนาม (อันดับที่ 27) มูลค่า 409.1 ล้านหรียญสหรัฐ (+6.96%) ญี่ปุ่น (อันดับที่ 29) มูลค่า 395.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (+3.93%) อินโดนีเซีย (อันดับที่ 31) มูลค่า 364.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (+57.84%) ไต้หวัน (อันดับที่ 33) มูลค่า 353.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (+91.95%) และไทย อยู่ในอันดับที่ 46 มูลค่า 177.4 ล้านเทรียญสหรัฐ (+21.62%)

โดยสินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรกของไทยที่อิตาลีนำเข้าจากประเทศคู่แข่งในทวีปเอเชีย ในเดือนมกราคม 2565 ได้แก่

– ญี่ปุ่น สินค้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ มูลค่า 5,689.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (+25.89%)สินค้ายานบก มูลค่า 82.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (+ 35.56%) และยางและผลิตภัณฑ์จากยาง 15.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (+113.84%)

– อินเดีย สินค้ายานบก มูลค่า 31.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+3.54%) และสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับอัญมณี มูลค่า 29.3 ล้านเหรียญสหรัฐญ (+2.74%6)

– เกาหลีใต้ สินค้ายานบก มูลค่า 46.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ( -22.07%) และยางและผลิตภัณฑ์จากยางมูลค่า 18.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (+3.73%)

– เวียดนาม สินค้าเครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ฟฟ้า มูลค่า 115.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (28.12%) สินค้ายานบก มูลค่า 14.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+3.55%) และอัญมณีและเครื่องประดับอัญมณี มูลค่า 8.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (2.06%)

4. การคาดการณ์ของสินค้า

จากการสำรวจของศูนย์วิจัย FINDOMESTIC ร่วมกับ Eumetra พบว่า ชาวอิตาเลียนมีความวิตกกังวลต่อภาวะเงินเอและภาวะถถอยทางเศรษฐกิจ (71% ของผู้ให้สัมภาษณ์) โดย 9 ใน 10 ของผู้ให้สัมภาษณ์รู้สึกถึงการปรับขึ้นราคาของสินค้าอุปโภคบริโภค และมีเพียง 27% ของครัวเรือน (เป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบสองปี ที่มองว่าขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการซื้อสินค้า อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความกลัวต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ชาวอิตาเลียนยังคงวางแผนการจับจ่ายในระยะสั้น และมีความตั้งใจเดินทางท่องเที่ยว (+ 12.6%) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 โดยแนวโน้มความตั้งใจซื้อโดยรวมอยู่ในระดับคงที่ รายละเอียดเกี่ยวกับแนวโน้มสินค้าที่สำคัญแบ่งได้ ดังนี้

– พาหนะยานยนต์: จากการที่รัฐบาลได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือในการซื้อพาหนะยานยนต์ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผลักดันให้ประชาชนมีความตั้งใจซื้อรถยนต์ใหม่ (+13.7%) โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า (+13.19% ของผู้ที่ต้องการซื้อ) เช่นเดียวกับความตั้งใจซื้อรถจักรยานยนต์/สกู๊ตเตอร์ที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนที่กำลังมาถึง (+22.19 แตะระดับสูงสุดในรอบสิบสองเดือนที่ผ่านมา) ในขณะที่แนวโน้มความตั้งใจซื้อรถยนต์มือสองหดตัวลดลง ( -1.9%)

– ด้านเทคโนโลยี: แนวโน้มการตั้งใจซื้อสินค้าด้านเทคโนโลยีโดยรวมขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (+7.1%) และแท็บเล็ต/e-book (+13.3%) เช่นเดียวกับแนวโน้มความตั้งใจซื้อกล้องถ่ายรูป/กล้องวิดีโอ สำหรับโอกาสการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูร้อน (+ 15%)

– ที่อยู่อาศัย: ในช่วงเดือนมีนาคม 2565 พบว่า แนวโน้มความตั้งใจซื้อเฟอร์นิเจอร์เพิ่มสูงขึ้นมาก (+21.5%) โดยเกือบ 40% ของผู้ให้สัมภาษณ์มีความตั้งใจซื้อเฟอร์นิเจอร์/ของใช้ตกแต่งบ้านในช่วงสามเดือนข้างหน้า เช่นเดียวกับการซื้อที่อยู่อาศัยและการปรับปรุง/ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้มีสภาพที่ดีขึ้น มีแนวโน้มในเชิงบวก (+4.5% และ +2.7% ตามลำดับ)

– เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน: ชาวอิตาเลียนหลายคนมีความต้องการตกแต่งที่อยู่อาศัยด้วย โทรทัศน์/HI-Fเ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ส่งผลให้ความต้องซื้อเพิ่มขึ้น (+16.4% และ +14.2%) ตามลำดับ ขณะที่แนวโน้มความต้องการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กยังคงที่ในระดับสูง โดยราคาใช้จ่ายเฉลี่ยเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่อยู่ที่ 1,044 ยูโร เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กอยู่ที่ 288 ยูโร และโทรทัศน์/Hi-Fi อยู่ที่ 805 ยูโร

5. ข้อคิดเห็นของ สคต.

สถานการณ์ความชัดแย้งระหว่างรัสเชีย – ยูเครนที่ก่อตัวขึ้นและยังไม่มีทีท่าสิ้นสุดในระยะเวลาอันใกล้ ได้ส่งผลให้ราคาสินค้าด้านพลังงานและสินค้าวัตถุดิบพุ่งสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอิตาเลียนและกำลังการซื้อของภาคครัวเรือนลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่ารัฐบาลอิตาลีจะพยายามแก้ไขปัญหาเพื่อคลี่คลายสถานการณ์และแบ่งเบาภาระผู้บริโภค โดยการพยุงราคาน้ำมันผ่านการปรับลดภาษีสรรพสามิต และทำสัญญานำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศอื่นๆ เพื่อทดแทนการนำเข้าจากรัสเซีย แต่ด้วยความต้องการซื้อก๊ซธรรมชาติจากทั่วโลกที่สูงจะทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติคงอยู่ในระดับที่สูงต่อไปอีกเป็นระยะเวลานาน ซึ่งจะยังคงส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคการขนส่ง การก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ จากตันทุนที่สูงขึ้น เมื่อประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจอิตาลีที่กลับมาฟื้นตัวจากวิกฤตด้านสาธารณสุขและปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนอาจซ้ำเติมความเปราะบางและเพิ่มความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจอิตาลีอย่างน้อยในปีนี้ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการส่งออกสินค้ามายังตลาดอิตาลีควรติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและสามารถวางแผนรับมือด้านการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการปรับสินค้าให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคปัจจุบัน โดยเฉพาะสินค้ามูลค่าเพิ่ม ที่จะช่วยขยายการส่งออกและสามารถแข่งขันกับผู้ผลิตท้องถิ่นและประเทศคู่แข่งอื่นๆ ได้

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW