รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจบราซิล ณ นครเซาเปาโล ไตรมาส 2 ของ ปี 2564

เว็บไซด์สถาบันภูมิศาสตร์และสถิติแห่งชาติบราซิล (Brazilian Institute of Geography and Statistics) ได้ออกรายงานการขยายตัวทางเศรษฐกิจของบราซิลช่วงไตรมาสที่ 2 (เมษายนถึงมิถุนายน) ปี 2564 ว่า เศรษฐกิจขยายตัว 12.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สองของปี 2564 สูงสุดเป็นประวัติการณ์แต่ต่ำกว่าคาดที่ 12.8% ซึ่งดีดตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากการลดลงอย่างมากจากข้อจำกัดของโควิด-19 ในปี 2563 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 17.8% โดยได้แรงหนุนหลักจากภาคการผลิต (25.8%) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตยานยนต์ อุปกรณ์การขนส่งอื่นๆ เครื่องจักรและอุปกรณ์ และโลหกรรม นอกจากนี้ กิจกรรมบริการเพิ่มขึ้น 10.8% จากการขนส่ง การจัดเก็บ และไปรษณีย์ (25.3 เปอร์เซ็นต์) และการค้า (20.9 เปอร์เซ็นต์) ในขณะที่การเกษตรเพิ่มขึ้น 1.3 เปอร์เซ็นต์โดยผลิตภัณฑ์พืชผลบางชนิด เช่น ถั่วเหลืองและข้าว ด้านรายจ่าย การลงทุนเพิ่มขึ้น 32.9% และการบริโภคในครัวเรือนเพิ่มขึ้น 10.8% ขณะที่การค้าสุทธิส่งผลลบต่อ GDP เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการนำเข้า

อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของบราซิลในช่วงไตรมาส 2 เทียบกับไตรมาส 1 หดตัว 0.1% สิ้นสุดการขยายตัวสามไตรมาสติดต่อกันซึ่งต่ำกว่าความคาดหวังของตลาดเล็กน้อยที่คาดว่าจะขยายตัว 0.2% โดยในไตรมาสที่ 2 นี้ ภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการหดตัว ลดลงร้อยละ 2.8 และ 0.2 ตามลำดับ ในบรรดากิจกรรมทางอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง 2.2% และผลผลิตด้านสาธารณูปโภคลดลง 0.9% การลดลงเหล่านี้ถูกชดเชยด้วยการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหมทองแร่ที่เพิ่มขึ้น 5.3% และการก่อสร้าง 2.7 เปอร์เซ็นต์ กิจกรรมบริการขยายตัวร้อยละ 0.7 โดยได้แรงหนุนหลักจากข้อมูลและการสื่อสาร กิจกรรมบริการอื่นๆ การค้า กิจกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ และกิจกรรมทางการเงิน การประกันภัย และบริการที่เกี่ยวข้อง ด้านรายจ่าย การลงทุนลดลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่การบริโภคภาคครัวเรือนไม่เปลี่ยนแปลง

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซาเปาโล ขอเรียนเพิ่มเติมดังนี้

  1. จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สะสมรวม 20,752,281คน ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื่อสะสมสูงสุดลำดับที่ 3 ของโลก โดยผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหายแล้ว 19,692,898 คน เสียชีวิตสะสม 579,574 คน โดยช่วงระยะเวลาที่บราซิลมีสถานการณ์แพร่ระบาดสูงสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2564 และจากการที่บราซิลได้เริ่มฉีดวัคซีนมาตั้งแต่ต้นปี 2564 โดยจนถึงปัจจุบันมีประชาชนที่ได้รับวัคซีน 2 โด็ส จำนวน 59,583,382 ล้านคน(ร้อยละ 27.9 % ของประชากร) และ 1 โด็ส จำนวน 128,416,448 ล้านคน (ร้อยละ 60.2% ของประชากร)
  2. การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2564 ยังอยู่ในระดับที่ไม่มาก รัฐบาลท้องถิ่นส่วนใหญ่ ใช้มาตรการ Social distancing และบังคับให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัย และมีการจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ บริษัท ห้างร้าน ดีพาร์ทเมนต์สโตร์ ช็อปปิ้งมอลล์ ร้านอาหาร เปิดบริการโดยการจำกัดเวลาและปริมาณผู้ใช้บริการ โดยยังไม่มีมาตรการเคอร์ฟิวห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานในยามวิกาล ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ฟื้นตัวในระดับสูง แต่ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 เป็นต้นมามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นหลักหมื่นจนสูงสุดถึง 1 แสนคนต่อวัน ส่งผลให้รัฐต่างๆออกมาตรการจำกัดการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เข้มข้นขึ้น รวมถึงการประกาศเคอร์ฟิวห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานในยามค่ำคืน รวมทั้งเร่งฉีดวัคซีนแก่ประชาชนจนอัตราการแพร่ระบาดค่อยชะลอตัวลง ซึ่งเป็นผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจใน ไตรมาส 2 ชะลอตัวลง เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2564 รัฐต่างๆได้ยกเลิกมาตรการเคอร์ฟิวและลดมาตรการจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจลง ปัจจุบันเฉลี่ยมีผู้ติดเชื้อราว 1- 2 หมื่นคน/วัน และเสียชีวิตต่ำกว่าวันละ 1 พันคน
  1. สำนักงานฯ ขอเรียนว่า การที่เศรษฐกิจของบราซิลสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจภาคบริการซึ่งกิจกรรมต่างๆต้องหยุดชะงักเป็นระยะเวลานาน ทั้งจากมาตรการของรัฐ และความต้องการที่ลดลงจากความหวั่นเกรงของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม จากการที่ภาคบริการของบราซิลพี่งพาตลาดภายในประเทศเป็นหลักโดยเฉพาะการท่องเที่ยว เมื่อรัฐมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆลง ทำให้ประชาชนบราซิลเริ่มกลับมาใช้บริการต่างๆมากขึ้น ในขณะที่ภาคธุรกิจอื่นๆแม้จะได้รับผลกระทบเช่นกันทำให้ดำเนินการได้อย่างจำกัดแต่ก็ยังสามารถดำเนินการไปได้ในระดับหนึ่งและฟื้นตัวขึ้นโดยลำดับจากการปรับตัวของธุรกิจ และการฟื้นตัวของความต้องการสินค้า อย่างไรก็ตาม การผ่อนคลายมาตรการต่างๆเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจก็ยังต้องแลกมาด้วยการติดเชื้อโควิดและเสียชีวิตที่ยังอยู่ในระดับสูง

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW