รายงานสถานการณ์การค้าสหราชอาณาจักร กรุงลอนดอน เดือน สิงหาคม 2564

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของสหราชอาณาจักร

เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรกลับมาขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน อันเป็นผลจากการความสำเร็จในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิท 19 คาดว่าในปี 2564 สหราชอาณาจักรจะมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 6.8 และร้อยละ 5.1 ในปี 2565 แต่อย่างไรก็ตามปัญหาการขาดแคลนแรงงานจากช่วงล็อคดาวน์เป็นระยะเวลานานเริ่มส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อห่วงโซ่การผลิต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดแคลนคนขับรถขนส่งสินค้า ส่งผลให้สินค้าขาดแคลนรวมถึงวัตถุดิบสำหรับร้านอาหาร ซึ่งนับเป็นประเด็นหลักที่ส่งกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร

จากข้อมูลของ HM Revenue & Customs : UK Overseas Trade in Goods Statistics June 2021 ในเดือนมิถุนายน 2564 สหราชอาณาจักรมียอดส่งออก 29,300 ล้านปอนด์ (1.3 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 จากเดือนพฤษภาคม 2564 ขยายตัวร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2563 ขณะที่สหราชอาณาจักรนำเข้า 44,600 ล้านปอนด์ (2 ล้านล้านบาท) ในเดือนมิถุนายน 2564 ขยายตัวร้อยละ 13 จากเดือนพฤษภาคม 2564 และขยายตัวถึงร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2563

สหราชอาณาจักรขาดดุลการค้า 15,300 ล้านปอนด์ (6.8 แสนล้านบาท) ในเดือนมิถุนายน 2564 ขณะที่ในไตรมาสที่สองของปีนี้ (เมษายน – มิถุนายน 2564) สหราชอาณาจักรส่งออก 85,100 ล้านปอนด์ (3.8 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมือเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2563 นำเข้ามูลค่า 123,000 ล้านปอนด์ (5.5 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2563

ตลาดส่งออกหลักของสหราชอาณาจักรได้แก่ สหรัฐอเมริกา (มูลค่าในเดือนมิถุนายน 2564 3,472 ล้านปอนด์) เยอรมนี (2,682 ล้านปอนด์) เบลเยี่ยม (2,110 ล้านปอนด์) เนเธอร์แลนด์ (2,033 ล้านปอนด์) สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (2,021 ล้านปอนด์) ฝรั่งเศส (1,787 ล้านปอนด์) ตามลำดับ

สินค้าส่งออก 5 อันดับแรกของสหราชอาณาจักร ได้แก่ เครื่องจักร (มูลค่าในเดือนมิถุนายน 2564 4,228 ล้านปอนด์) โลหะมีค่า (4,030 ล้านปอนด์) ยาและเครื่องเวชภัณฑ์ (2,460 ล้านปอนด์) ยานพาหนะ 2,277 ล้านปอนด์) และเครื่องมือไฟฟ้า (1,653 ล้านปอนด์)

ตลาดนำเข้าหลักของสหราชอาณาจักรได้แก่ จีน (มูลค่าในเดือนมิถุนายน 2564 4,999 ล้านปอนด์) เยอรมนี (4,844 ล้านปอนด์) สหรัฐอเมริกา (4,128 ล้านปอนด์) เนเธอร์แลนด์ (2,719 ล้านปอนด์) สวิตเซอร์แลนด์ (2,282 ล้านปอนด์) ตามลำดับ

สินค้านำเข้า 5 อันดับแรกของสหราชอาณาจักร ได้แก่ โลหะมีค่า(มูลค่าในเดือนมิถุนายน 2564 8,215 ล้านปอนด์) เครื่องจักร (5,207 ล้านปอนด์) ยานพาหนะ (3,977 ล้านปอนด์) เครื่องมือไฟฟ้า (3,616 ล้านปอนด์) เชื้อเพลิง (3,160 ล้านปอนด์)

สถานการณ์การค้าระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร

ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.- ก.ค. 2564) การค้าไทย – สหราชอาณาจักรยังคงขยายตัวตามทิศทางเศรษฐกิจของโลก การค้าสองฝ่ายมีมูลค่าการค้ารวม 3,129.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวที่ร้อยละ 7.5 แบ่งเป็นไทยส่งออกมูลค่า 2,094.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวถึงร้อยละ 18.3 ในขณะที่ไทยนำเข้าจากสหราชอาณาจักรมูลค่า 1,035.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.2 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ไทยได้ดุลการค้าจำนวน 1,058.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในเดือนกรกฎาคม 2564 ไทยส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรมูลค่ารวม 270.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันในปี 2563 ร้อยละ 9.9
สินค้าส่งออกจากไทยที่สำคัญ ได้แก่
(1) ไก่แปรรูป มูลค่า 35.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22.4
(2) อัญมณีและเครื่องประดับ มูลค่า 29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
(3) ผลิตภัณฑ์ยาง มูลค่า 21.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5
(4) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ มูลค่า 20.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 40.5
(5) เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่า 10.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.7

ในเดือนกรกฎาคม 2564 ไทยนำเข้าจากสหราชอาณาจักรรวมทั้งสิ้น 135.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันในปี 2563 ร้อยละ 11.7 สินค้านำเข้ามายังไทยที่สำคัญ ได้แก่
(1) แผงวงจรไฟฟ้า มูลค่า 27.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3
(2) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ มูลค่า 12.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.6
(3) เคมีภัณฑ์ มูลค่า 10.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.3
(4) ยาและเครื่องเวชภัณฑ์ มูลค่า 9.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.5
(5) เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ มูลค่า 8.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW