รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าบราซิล ณ นครเซาเปาโล เดือนมีนาคม 2565

การค้าระหว่างประเทศของบราซิลในรอบ 3 เดือนแรก(มกราคม – มีนาคม) ของปี 2565

การค้าระหว่างประเทศของบราซิล รอบ 3 เดือนแรกปี 2565 (มกราคม-มีนาคม มูลค่า 132.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 26.0% การส่งออกมีมูลค่า 71.74 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 26.8% ส่วนการนำเข้ามูลค่า 60.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 25.0% ดุลการค้าเกินดุล 11.31 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 37.5%

ในเดือนมีนาคม 2565 การค้าระหว่างประเทศของบราชิล มูลค่ารวม 50.81 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 25.9% การส่งออกมูลค่ารวม 29.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 25.0% และ การนำเข้า มูลค่ารวม 21.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 27.1% ดุลการค้าเกินดุล 7.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 19.3%

การส่งออก

เดือนมกราคม – มีนาคม 2565 การส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่า 16.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 61.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมแร่ 15.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 5.3% และอุตสาหกรรมการผลิต 39.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเติบโต 33.4%

  • สินค้าส่งออกขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าเกษตร ข้าวสาลีและไรย์ (448.1), กาแฟสด (60.6%), ถั่วเหลือง (75.6%) ด้านอุตสาหกรรมสกัด; ทรายและกรวด (45.1%), แร่ดิบ (49.1%), และน้ำมันปีโตรเลียมดิบ (38.3%) สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต; เนื้อวัวแช่เย็นแช่แข็ง (64.5%) ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์อื่นๆ (ยกเว้นธัญพืชที่ไม่บด) เนื้อสัตว์และอาหารจากสัตว์อื่นๆ (42.5%) และปีโตรเลียมหรือน้ำมันดิน (ยกเว้นน้ำมันดิบ) (174.9%)
  • ส่วนสินค้าที่ส่งออกหดตัว ได้แก่ สินค้าเกษตร; ผลไม้และถั่วไม่มีน้ำมัน สดและแห้ง (-5.5%) น้ำผึ้งธรรมชาติ (33.3%) ฝ้าย (-10.4%) สำหรับอุตสาหกรรมสกัด; เหล็ก (-33.2%) ทองแดงและทองแดงเข้มข้น (-22.9%), แร่และโลหะหนักอื่นเข้มข้น (-15.8%) ส่วนอุตสาหกรรมการผลิต; หมูแช่เย็นแช่แข็ง (-18%) น้ำตาลและกากน้ำตาล (-7.5%) อากาศยานและอุปกรณ์ รวมทั้งชิ้นส่วน (-28.7%)
  • เดือนมีนาคม 2565 การส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่า 8.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 36.8% อุตสาหกรรมแร่ซึ่งสูงถึง 6.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 2.4 และอุตสาหกรรมการผลิต มูลค่า 14.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 35.2%
  • สินค้าส่งออกขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าเกษตร; ข้าวสาลีและไรย์ (1,995.5%) กาแฟไม่คั่ว (60.7%) และถั่วเหลือง (35%) สำหรับอุตสาหกรรมแร่, แร่ดิบอื่น (21.5%) แร่นิกเกิล (102.9%) และ น้ำมันปิโตรเลียม น้ำมันดิบ แร่น้ำมันดิบ (21.5%) สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต; เนื้อวัวแช่เย็นแช่แข็ง (69.3%) ถั่วเหลืองและอาหารสัตว์อื่นๆ (ยกเว้นธัญพืชที่ไม่บด) เนื้อสัตว์และอาหารสัตว์อื่นๆ (49%) และน้ำมันปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิน (ยกเว้นน้ำมันดิบ) (172.2%)
  • ส่วนสินค้าที่ส่งออกหดตัว ได้แก่ สินค้าการเกษตร; ข้าวโพด ยกเว้นข้าวโพดหวาน (-91.3%) ผลไม้ และถั่วสดและแห้ง (-15.8%) น้ำผึ้ง (-37%) สำหรับอุตสาหกรรมแร่ เหล็ก (-20.6%) สินแร่ทองแดง และทองแดงเข้มข้น (-9.1%) และโลหะมีค่า (-54.7%) ส่วนอุตสาหกรรมการผลิต, หมูแซ่เย็นแช่แข็ง (-25.4%), น้ำตาลและกากน้ำตาล (-8.2%), และสินค้ากึ่งสำเร็จรูป เหล็กและเหล็กกล้าขึ้นรูป (-9.1%)

การนำเข้า

เดือนมกราคม – มีนาคม 2565 การนำเข้าสินค้าเกษตรมูลค่ารวม 1.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 0.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมแร่ มูลค่าถึง 6.13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐขยายตัว 168.1% และ อุตสาหกรรมการผลิต 52.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 20%

  • สินค้าที่นำเข้าขยายตัวสูง ได้แก่ สินค้าเกษตรนำเข้า, ปลาตายหรือปลาแช่เย็น (66.6%) ข้าวบาร์เลย์ที่ไม่ได้บด (32.9%) และน้ำยางดิบ (19.6%) สำหรับอุตสาหกรรมแร่; ถ่านหิน แม้จะอยู่ในรูปผงแต่ไม่ได้จับตัวเป็นก้อน (174.5%), ปีโตรเลียมดิบ (209.9%) และก๊ซธรรมชาติ ทั้งที่เป็นของเหลวหรือไม่ก็ตาม (222.2%) สำหรับอุตสาหกรรมกรผลิต, น้ำมันเชื้อเพลิงจากปิโตรเลียม (ยกเว้นน้ำมันดิบ) (53.7%) ปุ้ยหรือปุ๋ยเคมี (ยกเว้นปุยดิบ) (106.2%) และทรานซิสเตอร์ (66.2%)
  • สินค้าที่นำเข้าลดลง ได้แก่ สินค้าเกษตร; ข้าวเปลือก (-81.1%) ข้าวโพดดิบ ยกเว้นข้าวโพดหวาน (-32.4.%) และโกโก้ดิบหรือคั่ว (-78.9%) สำหรับอุตสาหกรรมสารสกัด; เหล็ก (-54.7%) ทองแดง (-74.2%) และอลูมิเนียม (-71.2%) สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต; โพลิเมอร์ (-36.5%) เครื่องมือสื่อสาร ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ (-5.9%) และ เรือ และโครงสร้างลอยน้ำอื่นๆ (-87.2%)

เดือนมีนาคม 2565 การนำเข้าสินค้าเกษตร 0.51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การเติบโต 21% สำหรับอุตสาหกรรมแร่ 1.79 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 94.9% และอุตสาหกรรมการผลิต 19.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 25.2%

  • สินค้าที่นำเข้าขยายตัวสูง ได้แก่ สินค้าเกษตร, ปลาตายหรือปลาแช่เย็น (114.3%) ผลไม้และถั่วสดและอบแห้ง (50%) และถั่วเหลือง (81.9%) สำหรับอุตสาหกรรมสกัด; ถ่านหิน แม้จะเป็นผงแต่ไม่ได้จับตัวเป็นก้อน (113.7%) ปิโตรเลียมดิบ (221.1%) และก๊าซธรรมชาติ ทำให้เป็นของเหลวหรือไม่ (38.8%) สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต, น้ำมันเชื้อเพลิงจากปิโตรเลียม (ยกเว้นน้ำมันดิบ) (82.7%) ปุยหรือปุ๋ยเคมี (ยกเว้นปุยดิบ) (132.6%) และทรานซิสเตอร์ (92.7%)
  • สินค้าที่นำเข้าลดลง ได้แก่ สินค้าเกษตร, ข้าวบาร์เลย์ที่ไม่ได้บด (-32.4%), โกโก้ดิบไม่คั่ว(-63.4%) น้ำยางดิบ (-6.8%) สำหรับอุตสาหกรรมสกัด; ผลึกแร่เหล็ก (-12.7%) แร่เหล็กและเหล็กเข้มข้น (-99.9%) แร่ทองแดงและทองแดงเข้มข้น (-85.3%) สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต; ทองแดง (-22.7%) อลูมินัม (-24%) และอุปกรณ์ไฟฟ้าและไม่ใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ภายใน (-37.1%)

คู่ค้าสำคัญ

อาร์เจนตินา การค้ารวมมกราคม-มีนาคม 2565 คิดเป็นมูลค่า 5.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 20.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยส่งออกไปยังอาร์เจนตินาสูงถึง 3.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตขึ้น 53.8% การนำเข้ามีมูลค่าถึง 2.56 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 4.1% บราซิลได้ดุลการค้า 0.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

การส่งออกไปอาร์เจนตินาในเดือนมีนาคม 2565 ขยายตัว 14.5% และมีมูลค่ารวม 1.20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การนำเข้าเพิ่มขึ้น 9.2% และมีมูลค่รวม 1.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นดุลการค้ากับคู่ค้ารายนี้จึงเกินดุล 0.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และการค้าเพิ่มขึ้น 12.1% มีมูลค่า 2.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จีน ฮ่องกง และมาเก็า การค้ารวมในช่วงมกราคม – มีนาคม 2565 มีมูลค่า 34.70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 17.5% ยอดส่งออกไปยังจีน ฮ่องกง และมาเก๊า มีมูลค่า 19.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ การนำเข้ามีมูลค่ารวม 14.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐขยายตัว 32.9% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 4.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

การส่งออกไปยังจีน ฮ่องกง และมาเก็าในเดือนมีนาคม 2565 คิดเป็นมูลค่า 9.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 13.1% สำหรับการนำเข้ามีมูลค่ารวม 5.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 31.3% บราซิลได้ดุลการค้า 4.21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้ารวมมีมูลค่า 14.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 18.9%

สหรัฐอเมริกา การค้ารวมเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 มูลค่า 19.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น 38.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาสูงถึง 7.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตขึ้น 35.3% การนำเข้ามีมูลค่ารวม 11.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 40.8% บราซิลขาดดุล -3.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

การส่งออกไปสหรัฐอเมริกาในเดือนมีนาคม 2565 มีมูลค่า 2.90 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 26.1%การนำเข้ามีมูลค่า 3.81 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 26.8% บราซิลขาดดุล -0.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐการค้ารวมมีมูลค่า 2.72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 26.5%

สหภาพยุโรป การค้ารวมเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 มูลค่า 10.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 42.80% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกไปยังสหภาพยุโรป 10.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 42.8% การนำเข้ามีมูลค่ารวม 9.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 11% ได้ดุลการค้า 0.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้ารวมมีมูลค่า 20.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 25.5%

การส่งออกไปยังสหภาพยุโรปเดือนมีนาคม 2565 มีมูลค่า 4.36 พันลั้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 37.5% การนำเข้ามูลค่ารวม 3.79 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.5 เกินดุล 0.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้ารวมมีมูลค่า 8.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 25.8%

การค้าระหว่างประเทศของไทยและบราชิล 2 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม – กุมภาพันธ์)

การค้าระหว่างประเทศของไทย – บราชิลในปี 2564 มีมูลค่า 5,303.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับระยะเตียวกันของปีก่อนขยายตัว 43.55% การส่งออกมูลค่ารวม 1,923.49 ล้านตอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 42.23% และการนำเข้ามูลค่ารวม 3,379.83 ล้านตอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 44.32% ไทยขาคตุลการค้า -1,456.34 ล้านตอลลาร์สหรัฐ

ในช่วง 2 เตือนแรก (มกราคม – กุมภาพันธ์ ของปี 2565 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 499.89 ล้านตอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับระยะเตียวกันของปีก่อนหตตัว -13.56% การส่งออกมูลคำรวม 312.73 ล้านตอลลาร์สหรัฐ หดตัว -8.88% และการนำเข้ามูลค่ารวม 187.16 ล้านตอลลาร์สหรัฐ หดตัว 20.40% ไทยได้ตุลการค้า 125.57 ล้านตอลลาร์สหรัฐ

สินค้าไทยที่ส่งออกไปบราซิลที่ขยายตัวได้ตี ไต้แก่ 1) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 2) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ 3) เครื่องยนต์สันตาปภายในแบบลูกสูบ 4) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 5) โพลิเมอร์ 6) ตู้เย็น 7) เคมีภัณฑ์ 8) แผงวงจรไฟฟ้า 9) ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม เป็นต้น เนื่องจากอุตสาหครรมต่างๆ เริ่มกลับมาดำเนินการเพิ่มขึ้นจากปีก่อน

สินค้าไทยที่นำเข้าจากบราซิลเพิ่มขึ้น ได้แก่ 1 เคมีภัณฑ์ 2) ผลิตภัณฑ์เยื่อกระดาษ 3) เวซภัณฑ์ 4) เครื่องจักรและส่วนประกอบ 5) ด้ายและเส้นใย 6) ชิ้นส่วนยานยนต์ 7) เครื่องประดับ 8) สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์แซ่เย็นแซ่แข็ง เป็นต้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซาเปาโล ขอเรียนตังนี้

1. การค้าระหว่างประเทศของบราชิสมีการขยายตัวต่อเนื่อง แม้ในภาวะเงินเฟ้อ การส่งออกสินค้าของบราซิลส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งสืบเนื่องจากการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมของประเทศคู่ค้าของบราชิส รวมถึงความต้องการสินค้าอาหารจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากจีนเป็นตลาดโลกเปลี่ยน ภาวะ ส่งออกหลักของบราชิล ในภาวะที่ปีนี้มีปัจจัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจการค้าบราชิล อาทิ อัตราแลกเปลี่ยน ภาวะเงินเฟ้อ อัตราคนว่างงาน รวมทั้ง การเลือกตั้ง และสถานการณ์ระหว่างประเทศที่มีความท้าทาย ซึ่งมีผลต่อการเติบโตทิศทางการค้าระหว่างประเทศของบราซิล อาทิ การนำเข้าปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าที่บราซิลพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ

2. สำหรับการค้าระหว่างไทย-บราซิลในปี 2564 ขยายตัวทุกต้านแม้เป็นช่วงวิกฤตโควิต-19 ในขณะที่ ในปี 2565 การค้าสองฝ่ายหตตัวในทุกต้านทั้ง การค้ารวม การส่งออกของไทยไปยังบราซิล และการนำเข้า อย่างไรก็ตี ไทยและบราซิลยังมีโอกาสขยายการค้าระหว่างกันอีกมาก อาทิ รถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นที่นิยมของตลาตบราซิลและไทยมีศักยภาพในการส่งออก

การค้าระหว่างประเทศของไทย กับ บราซิล

Principal Imports by supplier
BRAZIL

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW