รายงานสถานการณ์การค้า ชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือน กันยายน 2564

ภาพรวมเศรษฐกิจ

ธนาคารกลางชิลีได้ออกมาแถลงการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจประเทศว่ามีการฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยตัวเลขในเดือนกรกฎาคม 2564 ขยายตัวที่ 18.1% ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากภาคค้าปลีกที่มีการขยายตัวสูงถึง 140.6% เนื่องจากการคลายมาตรการล็อคดาวน์ ทำให้ผู้บริโภคเริ่มออกมาจับจ่ายใช้สอยได้เกือบปกติ ประกอบกับภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีการขยายตัวที่ 11% ในขณะที่ภาคอุดสาหกรรมเหมืองแร่หดตัวลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาทองแดงในตลาดโลกที่ยังคงผันผวน

1. การบริโภคภาคเอกชน2. การลงทุนในภาคเอกชนและภาครัฐ
การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนในเดือนกรกฎาคม 2564 ถือว่ามีการขยายตัวที่ดี โดยสะท้อนยอดจำหน่ายสินค้าในกลุ่มเสื้อผ้า รองเท้าและเครื่องนุ่งห่ม, ยานยนต์ใหม่, สินค้าในกลุ่มเทคโนโลยีและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน, , และสินค้ายางรถยนต์ ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ 216.2%, 193.4%, 53% และ 43.9% ตามลำดับ
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) พบว่ามีการปรับระดับเพิ่มขึ้นมาก โดยตัวเลขในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ระดับ 87.5 ซึ่งปัจจัยมาจากตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในรัฐบาลมากขึ้น
การลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตัวเลขในเดือนกรกฎาคม 2564 พบว่าตัวเลขการนำเข้ายานพาหนะเพื่อการพาณิชย์, ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์, ยอดจำหน่ายสินค้าและอุปกรณ์เพื่อใช้ในการก่อสร้าง และตัวเลขการนำเข้าเครื่องจักรสำหรับการก่อสร้าง ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ 86%, 55.2%, 52.9%, และ 5.9% ตามลำดับ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ พบว่ามีการปรับระดับเพิ่มขึ้น จากที่ระดับ 54.3 ในเดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ 57.6 ในเดือนกรกฎาคม
3. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
อัตราการว่างงานของชิลีมีการปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยในเดือนกรกฎาคม 2564 อยู่ที่ร้อยละ 8.9 ของจำนวนผู้ใช้แรงงานทั้งหมดสำหรับอัตราเงินเฟ้อของชิลีมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ในเดือนกรกฎาคม 2564 ซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงที่สุดในรอบ 6 ปี  
4. การส่งออก-นำเข้า (ข้อมูลจาก SUBRIE)
การส่งออกสินค้าของชิลีในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2564 (มกราคม-กรกฎาคม 2564) มีมูลค่า 53,320 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 29% โดยเป็นผลหลักมาจากการส่งออกสินแร่ ไวน์ ปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ ปลาแซลมอน และผลไม้ ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ 52% , 12.7%, 10.6%, 6.7% และ 5.2% ตามลำดับการนำเข้าของชิลีระหว่างเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2564 มีมูลค่า 44,310 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นที่ 44% โดยเป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค สินค้าในหมวดพลังงาน และสินค้าทุนที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ 69%, 38% และ 35% ตามลำดับ
จากการที่มูลค่าการส่งออกของชิลีสูงกว่าตัวเลขการนำเข้าจึงทำให้ชิลีได้ดุลการค้าจำนวน 9,010 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
4. การค้าของชิลีกับไทย และกลุ่มประเทศอาเซียน (ข้อมูลจาก Global Trade Atlas)
ชิลีมีการนำเข้าสินค้าจากไทยระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2564 อยู่ที่ 399.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 51.41%)  ซึ่งสินค้าที่ชิลีนำเข้ามากที่สุดเรียงตามลำดับ คือ รถยนต์และส่วนประกอบ (160.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 28.74%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (80.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 116.22%)ยางและผลิตภัณฑ์จากยาง (28.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 147.85%)อาหารทะเลกระป๋อง (23.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง -22.39%) เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ (22.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 61.96%)         
– ชิลีนำเข้าจากเวียดนาม 662.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 78.83%)             
– ชิลีนำเข้าจากไทย 399.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 51.41%)
– ชิลีนำเข้าจากมาเลเซีย 182.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 63.79%)
– ชิลีนำเข้าจากอินโดนีเซีย 150.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 84.71%)
สำหรับการส่งออกของชิลีไปยังประเทศไทยระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2564 พบว่ามูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 278.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 24.81%)  ซึ่งสินค้าที่ส่งออกไปยังไทยมากที่สุดเรียงตามลำดับ คือ สินแร่ (133.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 19.43%) เยื่อกระดาษ (49.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 421.58%)เนื้อปลาแซลมอนและอาหารทะเล (39.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 23%)ผลไม้และผลิตภัณฑ์จากผลไม้และธัญพืช (11.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 10.12%) ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ (6.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 319.96%)
– ชิลีส่งออกไปยังไทย 278.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 24.81%)
– ชิลีส่งออกไปเวียดนาม 158.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 17.20%)
– ชิลีส่งออกไปมาเลเซีย 137.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 206.32%)
– ชิลีส่งออกไปอินโดนีเซีย 79.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 49.90%)

มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทย-ชิลี ระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2564 อยู่ที่ 677.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 39.24%) โดยชิลีนำเข้าสินค้าจากไทยน้อยกว่าส่งออกไปยังไทย ทำให้ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าที่ 121.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW