รายงานสถานการณ์การค้า อิตาลี ณ เมืองมิลาน เดือน สิงหาคม 2564

๑. สถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวม

นาย Mario Draghi นายกรัฐมนตรีของอิตาลี ได้กล่าวในการแถลงข่าวว่า เศรษฐกิจของอิตาลีอยู่ในระดับที่ดีขึ้นมากหากเทียบกับช่วงห้าเดือนที่ผ่านมา โดยรัฐบาลได้มีการปรับแก้เอกสารรายงานทางด้านเศรษฐกิจและการคลัง รวมถึงการปรับคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจและการเงินสาธารณะ ซึ่งหนี้สาธารณะของอิตาลีลดลงเล็กน้อยจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ การเติบโตดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในชาวอิตาเลียนและต่างประเทศ โดยเฉพาะด้านการลงทุนซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น ๑๕% ในปีนี้ และกว่า ๖% ในปีหน้า นอกจากนี้ ร่างกฎหมายงบประมาณปี ๒๕๖๕ จะเน้นถึงการสร้างการเติบโตอย่างยุติธรรมและยั่งยืน ครอบคลุมระยะเวลานาน และพื้นฐานโครงสร้าง ในอัตราเติบโตที่สูงกว่าช่วงก่อนการเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 รวมถึงการปฏิรูประบบทะเบียนที่ดินและการฏิรูปภาษี ขณะเดียวกัน ด้านการเติบโตหลังการฟื้นตัวของปีนี้ รายงานทางด้านเศรษฐกิจและการคลังของรัฐบาลคาดการณ์การเติบโตไว้ที่ +๑.๙% ในปี ๒๕๖๗ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย ๒๕ ปีสุดท้ายของศตวรรษ นั่นหมายความว่า อิตาลีกำลังก้าวไปสู่เส้นทางการเติบโตในระดับที่สูงกว่าอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ สถาบันสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) ได้แสดงรายงานยืนยันการเติบโตของ GDP ของไตรมาสที่สองของปี ๒๕๖๔ ที่ ๒.๗% หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และ ๑๗.๓% หากเทียบกับไตรมาสที่สองของปี ๒๕๖๓ โดยในปี ๒๕๖๓ การบริโภคในครัวเรือนลดลง ๑๐.๗% ในด้านปริมาณ มาอยู่ที่ ๙๒๕ ล้านยูโร โดยเฉพาะการใช้จ่ายสำหรับโรงแรมและร้านอาหาร (-๔๐.๖%) ด้านการเดินทาง (-๒๔.๕%) ด้านนันทนาการและวัฒนธรรม (-๒๒.๕%) และเครื่องแต่งกาย (-๒๑.๑%) การลงทุนขั้นต้น ลดลง ๙.๒% ในด้านปริมาณ มาอยู่ที่ ๒๘๓ พันล้านยูโร และการส่งออกลดลง ๑๔% มาอยู่ที่ ๔๗๑ พันล้านยูโร ขณะที่องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้คาดการณ์การเติบโตของ GDP ของอิตาลีในปีนี้อยู่ที่ ๕.๙% (เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ก่อนหน้าที่ ๔.๕%)

ด้านตลาดแรงงาน ในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔ จำนวนผู้ที่มีงานทำลดลง (-๐.๓% หรือประมาณ ๘ หมื่นคน) โดยอัตราการจ้างงานลดลงมายู่ที่ ๕๘.๑% ขณะที่อัตราการว่างงานคงที่ (๙.๓% โดยรวม และในคนหนุ่มสาวอยู่ที่ ๒๗.๓%)

๒. ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ

ด้านดัชนีการบริโภค ดัชนีการบริโภค สมาพันธ์การค้าของอิตาลี (Confcommercio) แสดงให้เห็นว่า ความก้าวหน้าของการฉีดวัคซีนและการผ่อนคลายข้อจำกัดเพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้ระดับการบริโภคใกล้กลับสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาด โดยในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔ ดัชนีการบริโภคเพิ่มขึ้น ๑.๒% หากเทียบกับปีก่อนหน้า สูงที่สุดนับตั้งเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของความต้องการสินค้า ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔ การใช้จ่ายในสินค้าลดลง ๑.๙% (หากเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว) และบริการ เพิ่มขึ้น ๗.๔% ช่วยทำให้การฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยความต้องการสินค้าและบริการแตกต่างกันออกไปตามปัจจัยฤดูกาล ดังนี้ การใช้จ่ายด้านโรงแรมและการทานอาหารนอกบ้าน เพิ่มขึ้น ๗.๓% ด้านนันทนาการ เพิ่มขึ้น ๖.๖% สินค้าและบริการสำหรับการดูแลส่วนบุคคล เพิ่มขึ้น ๑.๙% สินค้าและบริการสำหรับการสื่อสาร เพิ่มขึ้น ๑.๘% สินค้าและบริการสำหรับที่อยู่อาศัย เพิ่มขึ้น ๑.๔% การใช้จ่ายสำหรับสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม และใบยาสูบ เพิ่มขึ้น ๐.๒% สินค้าและบริการด้านการเดินทาง ลดลง ๔.๑% และสินค้าเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลง ๑๑.๘%

  • ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและบริษัท สถาบันสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงการคาดการณ์ว่า ในเดือนกันยายน ๒๕๖๔ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นและของบริษัทลดลงหากเทียบกับเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔ โดยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น (จาก ๑๑๖.๒ มาอยู่ที่ ๑๑๙.๖) เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น (จาก ๑๓๒.๔ มาอยู่ที่ ๑๔๓.๖) ความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ปัจจุบัน (จาก ๑๑๒.๐ มาอยู่ที่ ๑๑๖.๑) ความเชื่อมั่นส่วนบุคคล (จาก ๑๑๐.๘ มาอยู่ที่ ๑๑๑.๕) ความเชื่อมั่นต่ออนาคต (จาก ๑๒๒.๕ มาอยู่ที่ ๑๒๔.๗) ขณะที่ความเชื่อมั่นของบริษัทที่ลดลง (จาก ๑๑๔.๐ มาอยู่ที่ ๑๑๓.๘) เป็นผลมาจากด้านอุตสาหกรรมด้านการผลิตที่ลดลง เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลง (จาก ๑๑๓.๒ มาอยู่ที่ ๑๑๓.๐) และด้านการค้าปลีก (จาก ๑๑๓.๖ มาอยู่ที่ ๑๐๖.๘) ในทางตรงกันข้าม ด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้น (จาก ๑๕๓.๘ มาอยู่ที่ ๑๕๕.๕) และด้านการบริการ (จาก ๑๑๑.๘ มาอยู่ที่ ๑๑๒.๓)
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) สถาบันสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงตัวเลขคาดการณ์ในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔ ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ๐.๔% หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า จากราคาการบริการด้านการเดินทาง รวมถึงการบริการด้านนันทนาการ วัฒนธรรม และการดูแลส่วนบุคคล (+๐.๗%) สินค้าด้านพลังงาน (+๑.๗%) และราคาสินค้าอาหารที่ยังไม่แปรรูป (+๐.๔%) ขณะที่หากเทียบกับเดือนสิงหาคม ๒๕๖๓ ดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้น ๒.๐% (จาก +๑.๙% ในเดือนก่อนหน้า) เป็นผลมาจากราคาสินค้าด้านพลังงาน (+๑๒.๘% จาก ๑๑.๒% ในเดือนก่อนหน้า) ราคาสินค้าอาหารที่ยังไม่แปรรูป (+๐.๘% จาก -๐.๒% ในเดือนก่อนหน้า) และราคาการบริการด้านการเดินทาง (-๐.๔% จาก -๐.๒%)
  • ดัชนีราคาผู้ผลิตด้านอุตสาหกรรม (Industrial Producer Price) ตัวเลขของสถาบันสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงให้เห็นว่าดัชนีราคาผู้ผลิตด้านอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔ หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า เพิ่มขึ้น ๐.๕% โดยราคาในตลาดในประเทศ เพิ่มขึ้น ๐.๔% และตลาดต่างประเทศ เพิ่มขึ้น ๐.๖% (+๐.๗% ในยูโรโซนและ +๐.๖% นอกยูโรโซน) ขณะที่หากเทียบกับเดือนสิงหาคม ๒๕๖๓ ดัชนีราคาผู้ผลิตด้านอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น ๑๑.๖% โดยราคาในตลาดในประเทศ เพิ่มขึ้น ๑๓.๘% และตลาดต่างประเทศ เพิ่มขึ้น ๖.๔% (+๗.๑% ในยูโรโซนและ +๕.๘% นอกยูโรโซน)
  • ดัชนีการผลิตด้านอุตสาหกรรม (Industrial Production) สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงตัวเลขคาดการณ์ว่า ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๔ การผลิตด้านอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น ๐.๘% หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการผลิตสินค้าทุนเพิ่มขึ้น (+๑.๙%) สินค้าขั้นกลางที่เพิ่มขึ้น (+๑.๔%) และสินค้าบริโภคอุปโภคที่เพิ่มขึ้น (+๐.๙%) ขณะที่หากเทียบกับเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๓ การผลิตด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ๗.๐% จากการผลิตสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้น (+๑๑.๙%) สินค้าทุนที่เพิ่มขึ้น (+๗.๐%) และสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น (+๕.๑%) โดยสินค้าที่มีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์ไฟฟ้า (+๑๒.๕%) เหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก (+๑๑.๙%) และผลิตภัณฑ์จากยางและพลาสติก (+๙.๘%)
  • การค้ากับประเทศนอกสหภาพยุโรป สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงตัวเลขคาดการณ์ว่า ในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔ การส่งออกของอิตาลีไปยังประเทศนอกสหภาพยุโรป (EU27) ลดลง ๕.๐% และการนำเข้า เพิ่มขึ้น ๖.๕% หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยการส่งออกที่ลดลงเป็นผลมาจากสินค้าทุนที่ลดลง ๑๙.๘% และสินค้าด้านพลังงานที่ลดลง (๑๗.๖%) ในทางตรงกันข้ามการส่งออกสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้น (๑๐.๘%) สินค้าบริโภคคงทนและไม่คงทุนเพิ่มขึ้น (๑.๓% และ ๓.๒%) ขณะที่หากเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า การส่งออกของอิตาลีไปยังประเทศนอกสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้น ๑๕.๗% โดยเฉพาะจากการส่งออกสินค้าด้านพลังงาน เพิ่มขึ้น ๘๐.๖% ขณะที่การนำเข้า เพิ่มขึ้น ๓๙.๙% โดยเพิ่มขึ้นในทุกประเภท โดยเฉพาะสินค้าด้านพลังงาน (+๘๘.๕%) สินค้าบริโภคคงทน (+๕๐.๗%) และสินค้าขั้นกลาง (+๕๐.๐%) โดยอิตาลีได้เปรียบดุลการค้าเป็นมูลค่า ๑,๕๘๓ ล้านยูโร (ลดลงจาก ๓,๕๘๑ ล้านยูโรในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๓)
  • การค้าปลีก สถาบันสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) คาดการณ์ข้อมูลว่า ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๔ การค้าปลีกลดลง (-๐.๔% ในด้านมูลค่า และ -๐.๗% ในด้านปริมาณ) หากเทียบกับเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นผลมาจากการค้าปลีกสินค้าบริโภคที่ลดลง (-๐.๖% ด้านมูลค่าและ -๑.๐% ด้านปริมาณ) และสินค้าอุปโภคที่คงที่ในด้านมูลค่าและ -๐.๓% ด้านปริมาณ) ขณะที่หากเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า การค้าปลีกเพิ่มขึ้น ๖.๗% ในด้านมูลค่าและ ๘.๘% ในด้านปริมาณ โดยการค้าปลีกสินค้าอุปโภคเพิ่มขึ้น (+๔.๔% ด้านมูลค่าและ +๔.๒% ด้านปริมาณ) ขณะที่สินค้าบริโภคเพิ่มขึ้น (+๘.๕% ด้านมูลค่าและ ๑๒.๓% ด้านปริมาณ) ทั้งนี้ การค้าปลีกสินค้าอุปโภคเติบโตในทุกประเภท โดยเฉพาะเครื่องนุ่งห่ม (+๑๕.๔%) และรองเท้า เครื่องหนังและสินค้าสำหรับการเดินทาง (+๑๒.๐%) สินค้าสำหรับบ้านและอุปกรณ์ hardware (+๑.๔%) และสินค้าด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร (+๒.๓%) ขณะที่หากพิจารณาจากช่องทางการจำหน่ายพบว่า การค้าปลีกในทุกช่องทางเพิ่มขึ้น (ซุปเปอร์มาร์เก็ต/ไฮเปอร์มาร์เก็ต +๕.๖% ร้านค้าปลีกขนาดย่อย +๘.๒% การจำหน่ายนอกร้านค้า +๒.๖% และช่องทางออนไลน์ +๖.๔%)

๓. สถานการณ์การค้าไทย – อิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม – สิงหาคม ๒๕๖๔ เป็นมูลค่าทั้งสิ้น ๑,๒๔๐.๔๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๖๓ ซึ่งการส่งออกมีมูลค่า ๙๑๕.๘๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น ๓๕.๔๕% โดยมีสินค้าส่งออก ๑๐ อันดับแรกดังนี้

ข้อมูลจาก Global Trade Atlas แสดงให้เห็นว่า ในระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๔ อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกมูลค่า ๒๖๖,๗๗๖.๒๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๖๓ ซึ่งการนำเข้ามีมูลค่า ๑๙๖,๗๐๓.๕๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น ๕๔.๖๒% โดยประเทศที่อิตาลีนำเข้าสูงสุดได้แก่ เยอรมนี มูลค่า ๔๓,๖๕๗.๑๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๓๘.๕๓%) ฝรั่งเศส มูลค่า ๒๒,๗๓๗.๕๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๓๗.๓๑%) จีน มูลค่า ๒๑,๒๓๓.๘๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๒๑.๓๗%) เนเธอร์แลนด์ มูลค่า ๑๕,๘๐๔.๗๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๓๖.๒๗%) และสเปน มูลค่า ๑๒,๕๓๑.๐๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๒๑.๐๓%)

ประเทศคู่แข่งอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ อินเดีย มูลค่า ๓,๓๐๔.๒๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๓๘.๐๓%) ญี่ปุ่น มูลค่า ๒,๗๕๗.๑๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๓๘.๐๒%) เกาหลีใต้ มูลค่า ๒,๓๖๗.๑๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๓๔.๑๓%) เวียดนาม มูลค่า ๑,๙๙๗.๗๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๒๘.๗๒%) ไต้หวัน มูลค่า ๑,๒๘๙.๐๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๓๕.๕๓%) อินโดนีเซีย มูลค่า ๑,๑๙๙.๐๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๘.๓๙%) และไทย อยู่ในอันดับที่ ๔๓ มูลค่า ๑,๑๒๑.๓๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๕๑.๘๘%)

สินค้าที่คู่แข่งส่งออกไปอิตาลีในระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๔ ได้แก่

– อินเดีย ส่งออกเหล็กและเหล็กกล้า มูลค่า ๖๗๗.๙๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๙๘.๓๖%) และเครื่องจักรกลไฟฟ้า อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า ๒๓๐.๖๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๑๑๔.๓๙%)

– ญี่ปุ่น ส่งออกผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม มูลค่า ๒๑๕.๘๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๖๗.๔๒%)

– เกาหลีใต้ ส่งออกผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม มูลค่า ๒๒๐.๗๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๖๖๕.๓๒%) และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ๑๕๒.๖๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๑๒๖.๕๗%)

– เวียดนาม ส่งออกเหล็กและเหล็กกล้า ๑๖๓.๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๘๗๓.๒๙%) พลาสติกและเครื่องมือเครื่องใช้จากพลาสติก มูลค่า ๖๒.๕๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๒๔๖.๘๗%) ยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางพารา ๔๙.๙๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๙๘.๐๘%) ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์และปลา มูลค่า ๒๔.๙๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๑๒๓.๑๐%) และของเล่นและอุปกรณ์กีฬา มูลค่า ๒๐.๕๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๑๗๗.๖๐%)

– อินโดนีเซีย ส่งออกผลิตภัณฑ์จากหนัง อาน/บังเหียน ผลิตภัณฑ์สำหรับการเดินทางและกระเป๋า มูลค่า ๑๖.๘๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๒๒๕.๔๑%) และยางและผลิตภัณฑ์จากยางพารา ๖๕.๒๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๕๔.๓๕%)

การนำเข้าของไทยจากอิตาลี ระหว่างเดือนมกราคม – สิงหาคม ๒๕๖๔ เป็นมูลค่าทั้งสิ้น ๑,๖๕๗.๘๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๖๓ ซึ่งการนำเข้ามีมูลค่า ๑,๓๕๒.๕๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น ๒๒.๕๗% โดยมีสินค้านำเข้า ๕ อันดับแรก ได้แก่

การค้าไทย – อิตาลี

ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือกับกรมศุลกากร

๔. การคาดการณ์

ด้านการคาดการณ์แนวโน้มสินค้า จากการสำรวจของศูนย์วิจัย FINDOMESTIC ร่วมกับ Eumetra แสดงให้เห็นว่า ในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔ ความกังวลของผู้บริโภคอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่การเริ่มต้นของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 (๔๙% หากเทียบกับ ๓๐% ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา) และความแน่นอนด้านรายได้เพิ่มมากขึ้น (๖๗% ของผู้บริโภคเชื่อว่ารายได้ยังอยู่ในระดับทรงตัว ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ๒๕๖๓) เช่นเดียวกับแนวโน้มด้านการบริโภคที่ยังคงเพิ่มขึ้น โดยความตั้งใจซื้อเติบโตเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน (+๓.๙%) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาขององค์ประกอบพื้นฐานด้านการบริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น โดยในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔ แนวโน้มการใช้จ่ายสินค้าคงทนของผู้บริโภคในอีก ๓ เดือนข้างหน้าหากเทียบกับเดือนก่อนหน้า รายละเอียดดังนี้

  • พาหนะยานยนต์: ชาวอิตาเลียนยังคงให้ความสำคัญกับความปลอดภัยด้านสาธารณสุขในการเดินทาง โดยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวและหลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยรถสาธารณะ ส่งผลให้แนวโน้มความตั้งใจซื้อรถจักรยานยนต์และ e-bike เพิ่มขึ้น (+๑๙.๔% และ ๑๖.๑% ตามลำดับ) เช่นเดียวกับการซื้อรถยนต์ใหม่ที่เพิ่มขึ้น (+๑๓.๙%) จากนโยบายสนับสนุนด้านการเงินของรัฐบาล
  • ด้านเทคโนโลยี: การกลับเข้าสู่การทำงานและการเรียนการสอนหลังจากช่วงพักผ่อนในฤดูร้อนทำให้ความตั้งใจซื้อสินค้าด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น โดยแนวโน้มการซื้อสินค้าโทรศัพท์มือถือ เพิ่มขึ้น ๑๓.๓%แท็บเล็ต/E-book เพิ่มขึ้น ๔% และคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เพิ่มขึ้น ๐.๒%
  • ที่อยู่อาศัย: แนวโน้มในภาคที่อยู่อาศัยอยู่ในช่วงซบเซาลง โดยแนวโน้มความตั้งใจปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านลดลงเล็กน้อย (-๒.๔%) แต่ยังคงอยู่ในระดับเฉลี่ยที่สูงกว่าปี ๒๕๖๓ ขณะที่ความตั้งใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่คงที่ (+๐.๓%)
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน: ในช่วงฤดูร้อน ชาวอิตาเลียนจำนวนมากได้มีโอกาสพิจารณาและวางแผนการซื้อสินค้าสำหรับการปรับปรุงที่อยู่อาศัย/บ้านพักตากอากาศ ทำให้แนวโน้มความตั้งใจซื้อ​สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเติบโตขึ้น โดยแนวโน้มการซื้อสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพิ่มขึ้น ๑๑.๗% (ราคาใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ ๑,๑๘๐ ยูโร) เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เพิ่มขึ้น ๑๐.๑% (ราคาใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ ๒๖๐ ยูโร) และสินค้าโทรทัศน์/Hi-Fi เพิ่มขึ้น ๑๑.๕% (ราคาใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ ๙๒๔ ยูโร) จากการให้เงินช่วยเหลือการซื้อโทรทัศน์ใหม่ของรัฐบาลเพื่อรองรับระบบสัญญาณใหม่

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW