รายงานเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยและสาธารณรัฐเช็ก ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564

  1. การค้าระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเช็ก
    การค้าระหว่างไทยและสาธารณรัฐเช็กในช่วงมกราคม-มิถุนายน 2564 ขยายตัวขึ้นทั้งการส่งออกและ การนำเข้า การส่งออกสินค้าไทยไปยังสาธารณรัฐเช็ก ขยายตัวขึ้นร้อยละ 19.7 คิดเป็นมูลค่า 785 เหรียญ สหรัฐ และการนำเข้าสินค้าจากสาธารณรัฐเช็ก มีมูลค่า 89 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวขึ้นร้อยละ 36.1

    อย่างไรก็ดี อุปสรรคสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัวของการส่งออกของไทยไปยังตลาดเช็ก คือ การส่ง มอบสินค้าล่าช้า อัตราค่าขนส่งทางทะเลที่สูงขึ้นและยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน ราคาค่าขนส่งโดย ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต จากกรุงเทพฯ มายังกรุงปราก เริ่มต้นที่ 7,000 เหรียญสหรัฐ และใช้ระยะเวลา ขนส่งประมาณ 8 สัปดาห์ขึ้นไป ขณะที่ในช่วงก่อนการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ใช้เวลาขนส่งเพียง 5 สัปดาห์เท่านั้น
  2. การค้าสินค้าอุตสาหกรรม
    การฟื้นตัวขึ้นของภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสาธารณรัฐเช็กในปี 2564 ทำให้การนำเข้าสินค้า อุตสาหกรรมจากไทยเพิ่มมากขึ้น จากเดิมอุตสาหกรรมการผลิตของสาธารณรัฐเช็กได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 และต้องหยุดการผลิตลงชั่วคราว ในไตรมาส 1 และ 2 ของปี 25564 การผลิตเริ่มปรับตัวขึ้นได้ ร้อยละ 4.1 และร้อยละ 28.1 ตามลำดับ

    การค้าสินค้าอุตสาหกรรม การฟื้นตัวขึ้นของภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสาธารณรัฐเช็กในปี 2564 ทำให้การนำเข้าสินค้า อุตสาหกรรมจากไทยเพิ่มมากขึ้น จากเดิมอุตสาหกรรมการผลิตของสาธารณรัฐเช็กได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 และต้องหยุดการผลิตลงชั่วคราว ในไตรมาส 1 และ 2 ของปี 25564 การผลิตเริ่มปรับตัวขึ้นได้ ร้อยละ 4.1 และร้อยละ 28.1 ตามลำดับ

    สำหรับเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน (HS 8415) มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ผู้นำเข้าราย ใหญ่ คือ บริษัท DAIKIN CO. ที่ใช้ชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศจากไทย เพื่อผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายก่อนส่งออกไป ยังประเทศแถบยุโรปใต้ อย่างไรก็ดี ความต้องการสินค้าเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วนจากไทยลดน้อยลง เนื่องจากตลาดส่งออกของบริษัทในแถบยุโรปใต้ คือ อิตาลีและสเปน ยังประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอัน เนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ทำให้การนำเข้าเครื่องปรับอากาศยังอยู่ในระดับเดียวกับช่วงครึ่งปี 2 แรกของปี 2562 อย่างไรก็ดี สินค้าท่อทองแดง (HS 7412) ที่นำมาใช้ในการผลิตเครื่องปรับอากาศมีปริมาณ การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26

ในส่วนของการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์จากไทย ในช่วงครึ่งปีแรกมีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 40.8 ทั้งนี้ เนื่องจากการผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในสาธารณรัฐเช็กเริ่มฟื้นตัวขยายการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.7 (จำนวน 663,015 คัน) อย่างไรก็ดี ปัญหาการขาดแคลนชิป จะยังส่งผลกระทบต่อการผลิต รถยนตอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี2564 เนื่องจากปัญหาการชะงักงันของการขนส่งสินค้า รวมถึงการ ขาดแคลนชิปที่ใช้ในการผลิตรถยนต์

นอกจากนี้ ในส่วนของผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ในสาธารณรัฐเช็ก อาทิBarum Continental และ Nexen ซึ่งที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยางรถยนต์ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ในปี 2563 การนำเข้ายางธรรมชาติ (HS 4001) ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตลดลงถึง 1 ใน 4 แต่ทว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 การนำเข้ายางธรรมชาติจากไทยกลับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37

สินค้าเลนส์สำหรับแว่นตา (HS 9001 50) มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 343 ผู้นำเข้า หลัก คือ บริษัท Rodenstock ผู้ผลิตแว่นตาของประเทศเยอรมนีที่มีโรงงานผลิตและคลังสินค้าในเมือง Klatovy ของสาธารณรัฐเช็กใกล้กับชายแดนประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ปริมาณการผลิตแว่นตาต่อปีมีจำนวน 5 ล้านอัน และคาดว่าจะปริมาณการผลิตจะขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 ดังนั้น ในช่วงครึ่งปีหลัง สินค้าเลนส์ แว่นตาจากไทยมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง

การนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมจากไทยมายังสาธารณรัฐเช็ก 10 อันดับแรก

  • สินค้าอาหารและเกษตร ในตลาดสาธารณรัฐเช็ก

 ประเทศไทยเป็นซัพพลายเออร์ข้าวอันดับสองรองจากอิตาลี(สัดส่วน ตลาดร้อยละ 34) ไทย (สัดส่วนตลาดร้อยละ 8.7) ตามด้วยเบลเยียม (ร้อยละ 8.2) กัมพูชา (ร้อยละ 7.9) เมียนมาร์ (ร้อยละ 7.2) และเวียดนาม (ร้อยละ 6.6 ขยายตัวสูงสุดถึงร้อยละ 42) การนำเข้าข้าวจากเมียนมาร์ กัมพูชา และเวียดนามมีสัดส่วนการตลาดเพิ่มขึ้น เนื่องจากข้าวของประเทศเหล่านี้มีราคาถูกกว่า และได้รับ สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) รวมไปถึงการที่เวียดนามยังมีข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) กับสหภาพ ยุโรป

ในช่วงครึ่งปีแรก สินค้าอาหารและเกษตรไทยที่ส่งออกมายังสาธารณรัฐเช็ก มีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 15 สินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าว มีมูลค่าการส่งออก 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยปริมาณการนำเข้าข้าวจาก ไทยปรับลดลงร้อยละ 25.8 (ปริมาณการนำเข้าจำนวน 3,000 ตัน) สาเหตุของการนำเข้าข้าวจากไทยลดลง เนื่องจากในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ระลอกแรก ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 ผู้บริโภค ได้มีการกักตุนสินค้าอาหารที่สามารถเก็บได้นาน ส่งผลให้ความต้องการสินค้าดังกล่าวยังคงทรงตัวในช่วงครึ่งปี แรกของปี 2564

ผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของสาธารณรัฐเช็ก คือ บริษัท Hommali ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 มี ปริมาณการนำเข้าข้าวจำนวน 50 ตู้คอนเทนเนอร์(ขนาดตู้ 20 ฟุต) สำหรับผู้นำเข้ารายอื่น ๆ ที่เคยนำเข้า เพียงไม่กี่ตู้คอนเทนเนอร์ต่อปี ขณะนี้ได้หยุดการนำเข้าเนื่องจากปัญหาราคาค่าขนส่งที่แพงขึ้นถึง 4-5 เท่า และ จะต้องชำระเงินค่าขนส่งและจ่ายให้กับซัพพลายเออร์ของไทยล่วงหน้า

เนื่องจากราคาค่าขนส่งสินค้าที่แพงขึ้นในปัจจุบัน ทำให้มีการนำเข้าข้าวจากประเทศในยุโรปมาก ขึ้น และหลายประเทศ อาทิ อิตาลี กรีซ และสเปน เริ่มหันมาปลูกข้าวด้วยตนเองแทนที่การนำเข้าข้าวจาก เอเชีย ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ปริมาณการนำเข้าข้าวจากกรีซขยายตัวถึงร้อยละ 121 การนำเข้าข้าวจาก สเปนขยายตัวเกือบร้อยละ 500

สำหรับสินค้าอาหารและเกษตรอื่น ๆ ที่มีอัตราการเติบโตสูงในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ได้แก่

• ปลากระป๋อง (ร้อยละ 135.6)

• ปลาสวยงามเพื่อเพาะเลี้ยง (ร้อยละ 164)

• แป้งที่ทำจากกระดาษ (ร้อยละ 90.7)

• กุ้งแช่แข็ง (ร้อยละ 87)

• ผักสด (ร้อยละ 65.2)

• แป้งมันสำปะหลัง (ร้อยละ 52)

• ไม้ตัดดอก (ร้อยละ 52)

• ผลไม้สดและมะพร้าว (ร้อยละ 32.3)

• เครื่องดื่ม (ร้อยละ 27) ส่วนใหญ่เป็นน้ำมะพร้าว

• ซอสปรุงรส เครื่องปรุง เครื่องเทศ (ร้อยละ 16.5)

• สับปะรดกระป๋อง (ร้อยละ 15.9) สินค้าอาหารที่มีอัตราการนำเข้าลดลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ได้แก่         • กะทิ (ร้อยละ 47)

• ผลิตภัณฑ์ Food Preparation (ร้อยละ 28)

• ข้าว (ร้อยละ 28.5)

• อาหารทะเลแปรรูป (ร้อยละ 96.8)

สำหรับสินค้ากะทิมีการนำเข้ากะทิจากเวียดนามเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 150 โดยเวียดนามได้ส่วน แบ่งการตลาดจากไทย เนื่องจากราคาที่ถูกกว่าและไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า เนื่องจากข้อตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างเวียดนามและสหภาพยุโรป ขณะที่กะทิจากไทยต้องเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 17.6

  • สินค้าอุปโภคบริโภค

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ในปี 2563 ส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าอุปโภค บริโภคของไทยมายังสาธารณรัฐเช็ก แม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 สินค้าบางรายการจะสามารถขยายตัว ขึ้นได้แต่ยังคงไปไม่ถึงระดับเดียวกับการนำเข้าสินค้าในช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2563 ซึ่งการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ทำให้ร้านค้าปลีกต่าง ๆ ยกเว้นร้านอาหาร ปั๊มน้ำมัน ต้องปิดให้บริการ ตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดฯ ก่อนที่จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 จึงทำให้ผู้ค้าปลีกส่วนใหญ่ยังคงมีสินค้าในสต็อก และคาดว่าการนำเข้าสินค้าจะเป็นไปอย่างค่อยเป็น ค่อยไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคเองยังคงระมัดระวังในการใช้จ่าย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร อาทิ เครื่องประดับ เสื้อผ้า และของตกแต่งบ้าน เป็นต้น

ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากไทยลดลงร้อยละ 2.3 สินค้าประเภท Artificial Jewellery (HS 7117) ลดลงร้อยละ 68 ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เช่น กระเป๋าถือ กระเป๋าสตางค์ และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ลดลงร้อยละ 30 ไม้และผลิตภัณฑ์ลดลงร้อยละ 23 บริษัท PEHA ที่ เคยนำเข้าไม้ประดับจากไทยมานานกว่า 20 ปี ต้องยุติการนำเข้าเพราะค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับกลุ่มสินค้าราคาถูก เมื่อต้องเผชิญกับค่าขนส่งที่สูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าเหล่านั้นจะต้องปรับราคา เพิ่มขึ้น ดังนั้น โอกาสที่จะวางจำหน่ายในตลาดเช็กจึงเป็นไปได้ยากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวังการ จับจ่ายใช้สอยและให้ความสำคัญกับเรื่องราคาเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงความไม่แน่นอนทาง เศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19

สำหรับสินค้าที่มีอัตราการเติบโต ได้แก่ ถุงมือยาง (HS 4015) มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 207 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ทำให้มีความต้องการสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมาก

สินค้าอุปโภคบริโภคจากไทยที่นำเข้ามายังสาธารณรัฐเช็ก

  • ธุรกิจบริการ

การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ระลอกที่ 3 ในสาธารณรัฐเช็กส่งผลให้ร้านอาหารต้องปิด ให้บริการตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2563 ถึง 30 พฤษภาคม 2564 โดยอนุญาตให้จำหน่ายแบบ Take Away เท่านั้น มาตรการดังกล่าว ทำให้กลุ่มธุรกิจ HORECA ได้รับผลกระทบอย่างหนัก แม้ภายหลังการยกเลิก มาตรการและสามารถเปิดให้บริการได้ แต่เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยวเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดใน ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งการระมัดระวังการใช้จ่ายของผู้บริโภค การที่ผู้คนทำงานจากที่บ้านมากขึ้น จึงทำให้ ร้านอาหารต่าง ๆ สูญเสียรายได้จากเมนูอาหารกลางวันช่วงพักเที่ยง ที่เคยเป็นรายได้ประจำ

ร้านอาหารไทยที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองที่มีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นนักท่องเที่ยว มีรายได้เพียงร้อยละ 50 เมื่อ เทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ ขณะที่ร้าน NOI Restaurant มีฐานลูกค้าประจำจำนวนมาก จึงไม่ได้รับ ผลกระทบ แต่มีปัญหาเรื่องของการขาดแคลนพนักงาน เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ที่ไม่แน่นอนและการต้อง ปิดให้บริการของร้านอาหารทำให้พนักงานเปลี่ยนงานและไม่ประสงค์จะกลับเข้าสู่ภาคธุรกิจ HORECA ขณะที่ ธุรกิจร้านนวดแผนไทยมีลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการน้อยลงเนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ

สถานการณ์ของภาคธุรกิจ HORECA จะปรับตัวดีขึ้นได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ใน อนาคต มาตรการที่ภาครัฐจะนำมาใช้ รวมถึงการฟื้นฟูการท่องเที่ยว

แนวโน้ม/โอกาส อุปสรรคและข้อเสนอแนะ

การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมในสาธารณรัฐเช็ก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งเป็นตัว ขับเคลื่อนหลักในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ จะทำให้สินค้ากลุ่มชิ้นส่วน/ส่วนประกอบของไทย มี โอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง อาทิกลุ่ม Semi-conduct ชิ้นส่วน/ส่วนประกอบอิเลคทรอนิกส์ ไฟฟ้า รวมถึง สินค้าวัตถุดิบอื่น ๆ ที่ใช้ในการผลิต อาทิ เลนส์สำหรับแว่นตา เนื่องจากมีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนและผลิต สินค้าอุตสาหกรรมเพื่อผลิต final product ไปยังตลาดยุโรป ดังนั้น หากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของยุโรปดี ขึ้น คาดว่าอุตสาหกรรมการผลิตในสาธารณรัฐเช็กจะฟื้นตัวได้เต็มที่ และการนำเข้าวัสดุ/ชิ้นส่วนที่ใช้ในการ ผลิตจากไทยจะมีโอกาสขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับสินค้าอาหาร แม้จะต้องเผชิญกับปัญหาค่าขนส่งที่สูงขึ้น แต่สินค้าอาหารที่เก็บไว้ได้นานยังคงมี แนวโน้มการขยายตลาดได้ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส เส้นก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ที่ผู้บริโภคหันมาประกอบอาหารทำเองที่บ้าน ขณะที่สินค้ากลุ่มฟุ่มเฟือยและ ของใช้ของแต่งบ้าน ยังคงต้องเผชิญกับภาวะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ แต่จะปรับตัวขึ้นได้บ้างในช่วง ปลายปีที่เป็นช่วงเทศกาลคริสต์มาสที่คนนิยมซื้อของชวัญในเทศกาลดังกล่าว อย่างไรก็ดี ปัญหาในเรื่องอัตรา ค่าขนส่งสินค้าที่ยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ยังคงส่งผลต่อการตัดสินใจนำเข้าสินค้าของผู้นำเข้า เนื่องจากราคาสินค้าที่ นำเข้าจะสูงขึ้น และผู้บริโภคเช็กส่วนใหญ่ยังคงให้ความสำคัญในเรื่องราคา

สำหรับโอกาสทางการค้าสินค้ากลุ่มที่มีลักษณะเฉพาะตัวหรือมีValue Added สำหรับลูกค้าเฉพาะ กลุ่ม (Niche Market) อาทิ กลุ่มรักสุขภาพ รักษ์โลก ออแกนิกส์ กลุ่มสินค้าเหล่านี้ มีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากแนวโน้มความนิยม ในเรื่องการรักสุขภาพ การให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และการให้ความสำคัญในเรื่องคุณลักษณะเฉพาะ และความพึงพอใจในตัวสินค้าที่ตอบโจทย์กลุ่มเหล่านี้ มี ความสำคัญมากกว่าเรื่องราคา ดังนั้น ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ ในกลุ่มนี้ควรหาข้อมูลและพัฒนาสินค้าให้ตรงกับ ความต้องการของผู้บริโภค และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ให้มากขึ้น

OMD KM

FREE
VIEW