รายงานสถานการณ์การค้าประเทศออสเตรีย ณ กรุงเวียนนา เดือนมีนาคม 2564

สถานการณ์ล่าสุด / มาตรการของประเทศผู้นำเข้าโอกาสของสินค้า / บริการไทยข้อเสนอ / แผนการ ดำเนินงานเร่งด่วน
สคต. เวียนนา  
1. ออสเตรียมีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการตรวจพบเฉลี่ยสูงกว่า 3,000 รายต่อวัน ติดต่อกันในช่วงสอง สัปดาห์ที่ผ่านมา
2. เมื่อวันที่ 16 มี.ค. นายกรัฐมนตรีของออสเตรีย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมหารือกับนายกรัฐมนตรี บัลแกเรีย สโลวีเนีย และเช็กเกียที่เดินทางมากรุงเวียนนา และผ่านระบบทางไกลกับนายกรัฐมนตรี ลัตเวีย และโครเอเชีย ในประเด็นการจัดสรรวัคซีนใน EU โดยเรียกร้องให้ EU ปรับกลไกการจัดสรร วัคซีนให้เป็นธรรม พร้อมยกตัวอย่างมอลตา ที่ได้รับวัคซีนเป็นจำนวนเพียงพอสำหรับร้อยละ 30 ของ ประชากร ในขณะที่บัลกาเรียได้รับเพียงร้อยละ 5 ของประชากร ซึ่งสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมกัน หลังจากนั้นวันที่ 17 มี.ค. สื่อออสเตรียเผยแพร่ข่าวว่า หลังการประชุมระบบทางไกลระหว่างนาย Sebastian Kurz นายกรัฐมนตรีของออสเตรีย กับนาย Charles Michel ประธานคณะมนตรีแห่ง EU และผู้นำหลายประเทศใน EU ออสเตรียจะได้รับวัคซีนของ บ. Biontech/Pfizer เพิ่มเติมอีก จำนวน 400,000 โดส
3. รัฐบาลออสเตรียประกาศใช้มาตรการเคอร์ฟิวทั่วประเทศ ระหว่างเวลา 20.00 น. ถึง 6.00 น. 4. เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 64 กรุงเวียนนา และรัฐข้างเคียงสองแห่ง ได้แก่ รัฐโลเวอร์ออสเตรีย และรัฐบัวร์- เกนลันด์ ได้ประกาศเพิ่มมาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวด (Hard lockdown) ในเบื้องต้นระหว่าง วันที่1-6 เมษายน 2564 (และมีแนวคิดจะขยายออกไปจนถึงวันที่ 11 เมษายน เป็นอย่างน้อย) โดย มีเนื้อหาที่สำคัญ ดังนี้
– ขยายช่วงเวลามาตรการเคอร์ฟิวเป็น 24 ชม. ซึ่งหมายรวมถึงการจำกัดการออกนอกเคหสถาน ยกเว้นกรณีการซื้อของใช้พื้นฐานในการดำรงชีพ การเดินทางไปให้ความช่วยเหลือผู้อื่น การพบ แพทย์ และประกอบอาชีพหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ฯลฯ
– ปิดร้านค้าต่าง ๆ รวมถึงร้านเสริมสวย ร้านนวด และสถานบริการอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นต่อการดำรง ชีพ ทั้งนี้ อนุญาตให้ซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านขายยาเปิดทำการได้
– ให้ทำงานจากบ้านพักมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือจัดการตรวจการติดเชื้อฯ ให้พนักงานสัปดาห์ ละหนึ่งครั้ง
– บังคับสวมหน้ากากอนามัย FFP2 เมื่อเข้าภายในอาคารหรือพื้นที่ปิดที่มีคนมากกว่า 1คน และ ในพื้นที่กลางแจ้งที่มีการพบปะหรือมีผู้คนจำนวนมาก
– เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจตราการเดินทางเข้า-ออกบริเวณชายแดน และการเดินทางข้าม พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ ผู้อาศัยในพื้นที่ชายแดนที่ต้องเดินทางข้ามแดนเป็นประจำ ต้องตรวจเชื้อฯ 2ครั้ง/สัปดาห์ และต้องแสดงผลตรวจฯ เป็นลบที่มีอายุไม่เกิน 72ชม.
– หลังวันหยุดเทศกาลอีสเตอร์ (5 เม.ย.) ให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ ในช่วงวันแรก ๆ ของการเปิดเรียน และทยอยจัดการตรวจเชื้อฯ แบบ PCR test ในโรงเรียน – ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. เป็นต้นไป เมื่อร้านค้าต่าง ๆ กลับมาเปิดให้บริการ ต้องแสดงผลตรวจเชื้อฯ เป็นลบก่อนเข้าใช้บริการ
5. ผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรการมีระวางโทษปรับสูงสุด 2,180 ยูโร ในกรณีที่เข้าไปในพื้นที่ๆห้ามเข้า อาทิ สนาม เด็กเล่น มีโทษปรับสูงสุด 3,600 ยูโร และผู้ประกอบการร้านอาหารที่ฝ่าฝืนกฎมีโทษปรับสูงสุด 30,000 ยูโร
6. ภาคเอกชน นำโดยสมาคมผู้ประกอบการค้า (Handelsverband) และประชาชนมากกว่าร้อยละ 77 แสดงจุดยืนคัดค้านมาตรการบังคับให้ลูกค้าต้องแสดงผลตรวจเชื้อฯ เป็นลบก่อนเข้าใช้บริการร้านค้า แบบเหมารวม โดยระบุว่าจะสร้างความเสียหายต่อรายได้ของรายได้คิดเป็นมากกว่าสองในสามหรือ ราว 280 ล้านยูโรต่อสัปดาห์ พร้อมเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาเปลี่ยนแปลง
7. ภาคเอกชนมีการปรับแผนรองรับสถานการณ์โควิดที่ยังคงไม่มีทีท่าจะคลี่คลายลงในช่วงเร็วๆ นี้อาทิ ผู้จัดงาน Vienna Coffee Festival ประกาศยกเลิกการจัดงานซึ่งแต่เดิมมีแผนจะจัดงานในช่วงปลาย เดือนเมษายนที่จะถึงนี้ออกไปอย่างไม่มีกำหนด เบื้องต้นคาดว่าจะมีการจัดงานได้ในช่วงเดือน มกราคม 2565 หากสถานการณ์คลี่คลายไปในทิศทางที่ดี
1. ข้อจำกัดในการเดินทางท่องเที่ยวที่กิน ระยะเวลามานานกว่าหนึ่งปีแล้วส่งผลให้ ประชาชนโหยหาสิ่งที่จะสามารถทดแทน ความรู้สึกที่ขาดหายนี้ ที่สำคัญ ได้แก่ อาหาร จึงเป็นโอกาสดีของสินค้าอาหาร ผักและผลไม้ ของไทย ซึ่งความต้องการผักและผลไม้สดของ ไทยมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น แม้ว่าจะมีราคาที่ สูงขึ้นก็ตาม นอกจากนี้ คาดว่ามาตรการ
เคอร์ฟิวส์ครั้งใหม่จะส่งผลให้ร้านอาหารไทยที่ เปิดให้บริการเดลิเวอรี่มียอดขายสูงขึ้นอีกด้วย 2. การเติบโตอย่างรวดเร็วของอีคอมเมิร์ซและ ค่านิยมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมส่งผลให้มี ความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก กอปรกับมาตรการ จำกัดร้านอาหารให้สามารถจำหน่ายอาหาร แบบเดลิเวอรี่เท่านั้นทำให้เกิดความต้องการ
บรรจุภัณฑ์อาหารที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ ปลอดภัยต่อสุขภาพ และมีความคงทนต่อการ ใช้งาน
3. ในช่วงฤดูร้อนที่กำลังจะมาถึงอาจมีความ ต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศมากขึ้น
โดยเฉพาะชนิดเคลื่อนที่ หากมาตรการป้องกัน การแพร่ระบาดโรคโควิดยังคงส่งผลให้
ประชาชนต้องอยู่บ้านเป็นส่วนใหญ่
4. สืบเนื่องจากความใส่ใจในสุขภาพมากขึ้นและ ความนิยมผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมากกว่าการ ใช้ยาหรือสารเคมี เป็นโอกาสสำหรับสินค้า อาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางสารอาหาร ประเภทวิตามินและแร่ธาตุตามธรรมชาติและ ปราศจากการปรุงแต่ง
1.รับฟังปัญหาจากผู้นำเข้า เพื่อร่วมหาทางออกในการแก้ไขปัญหาการนำเข้าสินค้าเกษตรจาก ประเทศไทยรวมถึง
แสวงหาผู้ประกอบการที่ มีศักยภาพและช่องทาง ในการกระจายสินค้าใหม่ๆ
2.แสวงหาโอกาสในการจัด กิจกรรมเจรจาการค้าทางออนไลน์สำหรับสินค้าที่ไทยมีศักยภาพ และมีความต้องการในออสเตรีย
3.ดำเนินโครงการประชา สัมพันธ์สินค้าไทยที่มี การออกแบบดีผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ใน ประเทศออสเตรียตาม แผนงาน
4. เตรียมการจัดกิจกรรม ส่งเสริมตราสัญลักษณ์ ThaiSelect ตามโครงการที่ได้รับการ
อนุมัติงบประมาณจาก กรม พร้อมทั้งสนับสนุน การดำเนินธุรกิจของ
ร้านอาหารไทยที่ได้รับ
ตรา Thai Select และ เชิญชวนร้านอาหารที่มี ศักยภาพให้สมัครขอรับ ตรา Thai Select
5. ประสานงานกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อวางแผนการดำเนิน โครงการนำนักออกแบบ ไทยเข้าร่วมงาน/ส่งผล งานเข้าร่วมงานเวียนนา แฟชั่นวีค2021
OMD KM

FREE
VIEW