รายงานสถานการณ์การค้า รัสเซีย ณ.กรุงมอสโก เดือน มกราคม 2564

การส่งออกของไทยไปยังตลาดรัสเซียเดือนมกราคม 2564 มีมูลค่า 74.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หากเมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ -10.66 โดยยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ ระบาดของ COVID-19 และการใช้มาตรการป้องกันต่าง ๆ ที่ไม่เอื้อต่อการค้า เช่น การเปิดเที่ยวบินที่ยัง

ทำได้ไม่เต็มที่และการควบคุมสถานประกอบการธุรกิจบริการ กีฬา และบันเทิงต่าง ๆ เป็นต้น อีกทั้งผู้บริโภคเกิด ความไม่มั่นใจทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์ความผันผวนของหลายปัจจัย เช่น นโยบายการเมืองและการค้าหลังการ เปลี่ยนตัวผู้นำของสหรัฐฯ ปัญหาเรื้อรังจากการถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยโลกตะวันตก ระดับราคาน้ำมัน และ โดยเฉพาะค่าเงินรูเบิลที่อ่อนตัวลงมากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ 

ตารางแสดงมูลค่าการส่งออกสินค้า 10 อันดับแรก เดือนมกราคม 2564 

1รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ31.12.9141.97
2ผลิตภัณฑ์ยาง6.6-13.928.92
3เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ5.187.846.94
4เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล3.637.324.88
5ผลไม้กระป๋องและแปรรูป3.226.864.25
6แผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า2.5166.773.39
7น้ำมันสำเร็จรูป1.61,740.022.21
8อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป1.510.732.08
9อัญมณีและเครื่องประดับ1.5-73.072.06
10รองเท้าและชิ้นส่วน1.3-16.681.75
 รวม 10 อันดับแรก58.24.9478.45
 อื่นๆ16.0-42.0321.55
 รวม74.2-10.66100.00

ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร 

ในเดือนมกราคม 2563 สินค้าส่งออก 10 อันดับแรก มีสัดส่วนร้อยละ 78.45 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ขยายตัว ร้อยละ 4.94 โดย รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ยังยืนอยู่ในลำดับที่หนึ่งด้วยมูลค่าเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือน ที่สามหลังจากติดลบมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยมูลค่า 31.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.91 ซึ่งในหมวดนี้ร้อย ละ 45.34 มาจากรถยนต์นั่งคิดเป็นมูลค่า 14.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาด้วยรถปิคอัพร้อยละ 29.26 มูลค่า 9.1  ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ร้อยละ 25.40 มูลค่า 8.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ หมวดสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบเปลี่ยนแปลงไปในทางตรงกันข้าม หดตัวลงร้อยละ -14.95 และหมวดผลิตภัณฑ์ยางยานพาหนะภายใต้กลุ่ม ผลิตภัณฑ์ยาง ก็หดตัวในอัตราร้อยละ -53.97 

7 ใน 10 อันดับแรกของสินค้าไทยที่ส่งไปรัสเซียในเดือนมกราคม 2564 มีอัตราการขยายตัวในแดนบวกเมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยมีกลุ่มสินค้าใหม่ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา  ได้แก่ แผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า อย่างไรก็ตามพฤติกรรมการระมัดระวังการใช้จ่ายของผู้บริโภคและ ความไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในอนาคตยังคงเป็นปัจจัยลบอยู่ต่อไป โดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบอย่าง รุนแรงคือสินค้าที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีพในช่วงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ 

สำหรับหมวดสินค้าอาหารและเครื่องดื่มรวมไปถึงอาหารสัตว์เลี้ยง ยังน่าจะมีโอกาสขยายตัวดีท่ามกลางภาวะ เศรษฐกิจที่ซบเซาจากโรคระบาด COVID-19 แต่ก็มีความผันผวนในบางช่วงเวลา โดยเดือนนี้ ผลไม้กระป๋องและ แปรรูป ผลไม้สด/แช่เย็น/แช่แข็งและแห้ง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และเนื้อปลาสดแช่เย็น/แช่แข็ง ต่าง กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง ขณะที่ ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ สิ่งปรุงรสอาหาร และ อาหารสัตว์เลี้ยง หดตัวลงมาก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสินค้าอาหารจะมีโอกาสดีในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19  แต่ก็มีอุปสรรคจากการขาดแคลนตู้ขนส่งสินค้าและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ขณะเดียวกันอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินรูเบิลที่อ่อนตัวลงมากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ 

สำหรับสินค้า เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ที่มักขยายตัวได้ดีมาโดยตลอดในทุกสถานการณ์เศรษฐกิจ  แต่ในเดือนนี้กลับมาหดตัวรุนแรงอีกครั้ง

ตารางแสดงโครงสร้างการส่งออกสินค้าไทยไปยังรัสเซีย ปี 2564

ลำดับประเภทสินค้ามูลค่า (ล้าน USD)%สัดส่วน %
1สินค้าเกษตรกรรม (กสิกรรม,ปศุสัตว์,ประมง)3.7-40.174.94
2สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร6.4-18.438.65
3สินค้าอุตสาหกรรม62.4-9.4284.19
4สินค้าแร่และเชื้อเพลิง1.61,740.022.21
 รวม74.2-10.66100.00

ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

พิจารณาโครงสร้างสินค้าส่งออกจากไทยไปยังตลาดรัสเซียในเดือนมกราคม ปี 2564 พบว่า กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม เป็นกลุ่มสินค้าหลักที่ครองส่วนแบ่งการส่งออกจากไทยทั้งหมดกว่าร้อยละ 77 แบ่งออกเป็นหมวดรถยนต์ อุปกรณ์  และส่วนประกอบเป็นสินค้าหลัก (สัดส่วนร้อยละ 28.23 ของการส่งออกทั้งหมดของไทยไปยังรัสเซีย) ตามมาด้วย  ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 11.69) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล (ร้อยละ 5.69) เครื่องปรับอากาศ และส่วนประกอบ (ร้อยละ 3.96) กลุ่มรองลงมาเป็น กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สัดส่วนรวมร้อยละ 8.65 ที่มีสินค้าผลไม้กระป๋องและแปรรูปเป็นตัวนำ (ร้อยละ 4.25) รองลงมาได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (ร้อย ละ 2.08) ถัดไปเป็น กลุ่มสินค้าเกษตรกรรม มีสัดส่วนร้อยละ 4.94 แบ่งเป็นกลุ่มสินค้ากสิกรรม (ร้อยละ 3.96)  แยกย่อยออกเป็นยางพารา (ร้อยละ 1.40) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง (ร้อยละ 1.13) และข้าว (ร้อยละ  0.75) เป็นสินค้าหลัก รวมทั้งกลุ่มสินค้าประมง (ร้อยละ 0.98) ที่มีปลา (ร้อยละ 0.78) เป็นสินค้าหลัก

จากมูลค่าการส่งออกเดือนแรกในปี 2564 จะเห็นว่าสินค้า รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ยังคงมีบทบาท สำคัญและเป็นสินค้าหลักมีมูลค่าสูงที่สุดเหนือกว่าทุกหมวด ด้วยมูลค่ากว่า 31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยครองสัดส่วน การส่งออกของทั้งหมดประมาณร้อยละ 42 ทั้งนี้คาดว่าวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะ บรรเทาลงและจะช่วยให้อุตสาหกรรมยานยนต์กลับมาคึกคักอีกครั้ง 

ผลิตภัณฑ์ยาง ร้อยละ 42 ของผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมดเป็นยางใหม่สำหรับยานพาหนะต่าง ๆ รองลงมาร้อยละ 30.30  เป็นถุงมือยาง ถัดไปเป็นผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรมและยางวัลแคไนซ์ อีกร้อยละ 9 เท่ากัน ด้วยปัจจัยการ แพร่ระบาดของ COVID-19 ก่อให้เกิดความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะถุงมือ ยางและถุงยางอนามัย 

อัญมณีและเครื่องประดับ แม้ว่าพลอยและเครื่องประดับแท้ทำด้วยเงินจะยังเติบโตได้ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ เครื่องประดับแท้ทำด้วยทองและทองคำยังไม่ได้แปรรูปที่มีมูลค่าสูงได้หดตัวลงอย่างแรงจึงฉุดมูลค่ารวมลดลง ทั้งนี้ ด้วยปัจจัยลบของค่าเงินรูเบิลที่อ่อนตัวอย่างต่อเนื่องท่ามกลางปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่ คลี่คลายยังทำให้ผู้บริโภคต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่ายโดยเฉพาะกับสินค้าฟุ่มเฟือยอยู่ต่อไป 

เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว แม้จะเป็นสินค้าที่มีมูลค่าไม่มากนักแต่มีลักษณะโดดเด่นในศักยภาพที่ เคยเติบโตประคองตัวได้อย่างต่อเนื่องในแทบทุกสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ แต่ในเดือนนี้ยังไม่สามารถฝ่าวิกฤติไปได้  ทำให้ต้องหดตัวลงอย่างแรงถึงร้อยละ -89 

คาดการณ์การส่งออกของไทยไปยังตลาดรัสเซีย 

เศรษฐกิจของรัสเซียปี พ.ศ. 2563 มีการเติบโตเป็นลบประมาณ -3.4 และการนำเข้าสินค้าโดยรวมลดลงร้อยละ 7  IMF ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในปี พ.ศ. 2564 จะเติบโตร้อยละ 5.5 และร้อยละ 4.2 ในปีถัดไป ส่วนรัสเซียจะ เติบโตร้อยละ 3 และร้อยละ 3.9 ในปีถัดไป ซึ่งขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 บรรเทาเบาบางลง เป็นลำดับและรัฐบาลได้เร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนแล้ว จึงคาดว่าสภาพโดยรวมทางเศรษฐกิจจะกลับมาขยายตัว ได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปจนกลับไปถึงระดับช่วงก่อนการแพร่ระบาดได้ในปี พ.ศ. 2565 

โอกาสการส่งออกของไทยยังต้องพึ่งพาหมวดสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เป็นสำคัญอยู่ต่อไปเนื่องจาก มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกของไทยทั้งหมดประมาณร้อยละ 30 – 40 ยังไม่รวมสินค้ายางรถยนต์ที่มีการเคลื่อนไหวไป ในทิศทางเดียวกันด้วย ซึ่งสินค้าทั้งสองรายการข้างต้นรวมกันแล้วก็มีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่าการส่งออก รวมทั้งหมด รองลงมาเป็นสินค้าเกษตรและอาหารที่ไทยถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีจุดแข็งทางด้านการเกษตรและการ ผลิตอาหารที่ได้รับการยอมรับของโลก ทั้งนี้มีสินค้าเด่นตัวใหม่ที่มีศักยภาพสอดแทรกเข้ามาได้แก่ แผงสวิทช์และ แผงควบคุมกระแสไฟฟ้า รวมทั้งสินค้าสุขอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อ เช่น ถุงมือยางและถุงยางอนามัย 

อย่างไรก็ตามค่าเงินรูเบิลที่อ่อนตัวลงควบคู่กับต้นทุนค่าขนส่งสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้ส่งออก รวมทั้งการขาดแคลนตู้ คอนเทนเนอร์จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายตลาดของสินค้าไทย ส่วนสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่มีความจำเป็นต่อการ ดำรงชีวิตย่อมได้รับผลกระทบจากความต้องการที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจซึ่งคงต้องรอการฟื้นตัวไปถึงปีหน้า ในชั้น นี้คาดการณ์ว่าอัตราการส่งออกของไทยจะกลับมาเติบได้อีกครั้งในปีนี้ประมาณร้อยละ 7 – 8 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย 

OMD KM

FREE
VIEW