รายงานสถานการณ์การค้า อิตาลี ณ เมืองมิลาน เดือน พฤศจิกายน 2564

๑. สถานการณ์เศรษฐกิจอิตาลีโดยรวม

เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ คณะกรรมาธิการยุโรปคาดว่า เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปจะสามารถขยายตัว ๕.๐% ในปีนี้ (ซึ่งมากกว่าที่คาดไว้เดิม) และจะยังขยายตัวต่อเนื่องได้ในปี ๒๕๖๕ – ๒๕๖๖ ที่ร้อยละ ๔.๓ และ ๒.๕ ตามลำดับ แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – ๑๙ ระลอกที่ ๔ และการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด – ๑๙ สายพันธุ์โอไมครอน ได้ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อในหลายประเทศในยุโรปขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้หลายประเทศได้ประกาศมาตรการควบคุมและป้องกันสถานการณ์การแพร่เชื้อดังกล่าวแล้ว โดยอิตาลีได้มีการเตรียมมาตรการควบคุมและป้องกันเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้น หากอิตาลีต้องมีการประกาศมาตรการควบคุมต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์การแพร่ระบาดขยายตัวเพิ่มขึ้น อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจและการค้าภายในประเทศ รวมถึงการค้ากับประเทศคู่ค้าในสหภาพยุโรปเกิดการชะลอตัวไม่มากก็น้อย

สถาบันสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) ได้แสดงรายงานเกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจอิตาลีในเดือนตุลาคม ๒๕๖๔ ว่า เศรษฐกิจระหว่างประเทศยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานซึ่งอาจส่งผลให้ภาคการผลิตของโลกเกิดการหยุดชะงักในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้ โดย ISTAT คาดว่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศอิตาลี (GDP) ของไตรมาสที่ ๓ ปี ๒๕๖๔ อยู่ที่ ๒.๖% เทียบกับช่วงไตรมาสก่อนหน้า และอยู่ที่ ๓.๘% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ GDP ของอิตาลี ปี ๒๕๖๔ อยู่ที่ ๖.๑% ในเดือนกันยายน ๒๕๖๔ การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเฉลี่ยในไตรมาสที่ ๓ ดัชนีราคาผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ๑.๐% เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สำหรับตลาดแรงงานในเดือนกันยายน ๒๕๖๔ มีสัญญาณดีขึ้น โดยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นและจำนวนผู้ว่างงานลดลง

๒. ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ

๒.๑ ดัชนีการบริโภค จากข้อมูลของสมาพันธ์การค้าของอิตาลี (Confcommercio) แสดงให้เห็นว่า ช่วงปลายปี ๒๕๖๔ ที่จะมาถึงอาจมีปัจจัยที่ส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศเกิดการชะลอตัว ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – ๑๙ สายพันธุ์ใหม่ ความตึงเครียดด้านเงินเฟ้อ และอุปสงค์ของครัวเรือนที่อาจชะลอตัวตามแนวโน้มที่ลดลงของการเติบโตในปี ๒๕๖๕ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับสถานการณ์ของประเทศอื่น ๆ ในสหภาพยุโรป เศรษฐกิจอิตาลีโดยรวมยังมีแนวโน้มที่ค่อนข้างดี โดยเดือนตุลาคม ๒๕๖๔ ดัชนีการบริโภคเพิ่มขึ้น ๓.๔% หากเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการฟื้นตัวตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในเดือนตุลาคม ๒๕๖๔ การใช้จ่ายของครัวเรือนอิตาลีในสินค้าลดลง ๒.๐% แต่การใช้จ่ายในส่วนของบริการเพิ่มขึ้น ๒๑.๔% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเฉพาะการใช้จ่ายบริการด้านโรงแรมและการทานอาหารนอกบ้านขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก +๓๔.๕% ซึ่งถือเป็นช่วงของฤดูเทศกาลท่องเที่ยว พักผ่อนที่ยังคงมีจำนวนประชาชนที่ยังคงใช้จ่ายในค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นจำนวนมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านนันทนาการ +๙.๘% สินค้าและบริการสำหรับการดูแลส่วนบุคคล +๓.๓% สินค้าและบริการสำหรับที่อยู่อาศัย +๑.๘% และสินค้าเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า +๐.๔% สำหรับการใช้จ่ายที่หดตัวลดลงมากที่สุด ได้แก่ สินค้าและบริการสำหรับการเดินทาง -๑๒.๐% โดยเฉพาะสินค้ายานยนต์ -๓๗.๐% รองลงมา ได้แก่ การใช้จ่ายสำหรับสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม และใบยาสูบ -๐.๓% และสินค้าและบริการสำหรับการสื่อสาร -๐.๒%

 ๒.๒ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและบริษัท สถาบันสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงการคาดการณ์ว่า ในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงลดลง แต่ความเชื่อมั่นของบริษัทเพิ่มขึ้นหากเทียบกับเดือนตุลาคม ๒๕๖๔ โดยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง (จาก ๑๑๘.๔ มาอยู่ที่ ๑๑๗.๕) เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงไม่แน่นอน (จาก ๑๔๒.๒ มาอยู่ที่ ๑๓๙.๘) ความเชื่อมั่นส่วนบุคคล (จาก ๑๑๐.๔ มาอยู่ที่ ๑๑๐.๐) ​ความเชื่อมั่นต่ออนาคต (จาก ๑๒๕.๔ มาอยู่ที่ ๑๒๑.๐)​ แต่ความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้น (จาก ๑๑๓.๗ มาอยู่ที่ ๑๑๕.๒) ขณะที่ความเชื่อมั่นของบริษัทที่เพิ่มขึ้น (จาก ๑๑๕.๐ มาอยู่ที่ ๑๑๕.๑) เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมด้านการผลิตที่เพิ่มขึ้น (จาก ๑๑๕.๑ มาอยู่ที่ ๑๑๖.๐) และภาคธุรกิจค้าปลีก (จาก ๑๐๕.๔ มาอยู่ที่ ๑๐๖.๘)​ ในทางตรงกันข้ามความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจบริการลดลง (จาก ๑๑๒.๑ มาอยู่ที่ ๑๑๑.๓) และภาคธุรกิจก่อสร้าง (จาก ๑๕๙.๒ มาอยู่ที่ ๑๕๗.๔)

๒.๓ ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) สถาบันสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงตัวเลขคาดการณ์ในเดือนตุลาคม ๒๕๖๔ ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ๐.๗% (จาก ๑๐๔.๙ เป็น ๑๐๕.๖) หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า เป็นผลมาจากราคาสินค้าด้านพลังงาน (+๑๗.๐%) และราคาสินค้าอาหารที่ยังไม่   แปรรูป (+๐.๗%) ที่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่หากเทียบกับเดือนตุลาคม ๒๕๖๓ ดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้น ๓.๐% (จาก +๒.๕% ของเดือนก่อนหน้า) ซึ่งมาจากราคาสินค้าด้านพลังงานที่ยังคงมีราคาเพิ่มสูงขึ้น (+๒๔.๙% จาก ๒๐.๒%) ราคาสินค้าอาหาร (+๑.๑% จาก +๑.๐%) และราคาการบริการด้านการเดินทาง (+๒.๔% จาก +๒.๐%)   

๒.๔ ดัชนีราคาผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Producer Price) ตัวเลขของสถาบันสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงให้เห็นว่า ดัชนีราคาผู้ผลิตด้านอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม ๒๕๖๔ หากเทียบกับเดือนก่อนหน้าขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ๗.๑% โดยราคาตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น ๙.๔% และตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น ๐.๘% (+๐.๘% ในยูโรโซน และ +๐.๘% นอกยูโรโซน) ขณะที่หากเทียบกับเดือนตุลาคม ๒๕๖๓ ดัชนีราคาผู้ผลิตด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ๒๐.๔% โดยราคาตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น ๒๕.๓% และตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น ๘.๓% (+๘.๙% ในยูโรโซน และ +๗.๘% นอกยูโรโซน)

๒.๕ ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงตัวเลขคาดการณ์ว่า ในเดือนกันยายน ๒๕๖๔ การผลิตด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ๐.๑% หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยมาจากสินค้าบริโภคอุปโภค (+๓.๓%) สินค้าพลังงาน (+๑.๓%) และสินค้าขั้นกลาง (+๐.๙%) ที่ปรับเพิ่มขึ้น แต่ในขณะที่การผลิตสินค้าทุนลดลง (-๑.๐%) ขณะที่หากเทียบกับเดือนกันยายน ๒๕๖๓ การผลิตด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น (+๔.๔%) มีปัจจัยมาจากการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าขั้นกลาง (+๗.๑%) สินค้าทุน (+๔.๙%) และสินค้าอุปโภคบริโภค (+๔.๕%) ในขณะที่ สินค้าพลังงาน ลดลง (-๔.๒%) โดยภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกลั่น (+๑๓.๓%) ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักร (+๑๑.๔%) และภาคอุตสาหกรรมการผลิตโลหะและผลิตภัณฑ์โลหะ (+๙.๖%)

๒.๖ การค้าระหว่างประเทศ สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงตัวเลขในเดือนกันยายน๒๕๖๔ การนำเข้าของอิตาลีหดตัวลดลง ๑.๗% (เทียบกับเดือนก่อนหน้า) รวมถึงการส่งออกของอิตาลีไปยังตลาดต่างประเทศลดลง ๑.๓% (เทียบกับเดือนก่อนหน้า) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการส่งออกสินค้าไปยังประเทศในสหภาพยุโรปลดลง (-๑.๕%) รวมถึงการส่งออกไปยังประเทศนอกสหภาพยุโรปก็ลดลงเช่นกัน (-๑.๐%) โดยไตรมาสที่ ๓ ของปี ๒๕๖๔ การส่งออกของอิตาลีเพิ่มขึ้น ๒.๘% และการนำเข้าของอิตาลีเพิ่มขึ้น ๕.๕% เทียบกับไตรมาสที่ ๒ ของปี ๒๕๖๔ หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าพบว่า อิตาลีนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น ๒๒.๕% โดยเฉพาะการนำเข้าจากประเทศนอกสหภาพยุโรป (+๓๒.๕%) ในขณะที่อิตาลีส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ เพิ่มขึ้น ๑๐.๓% โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศในสหภาพยุโรป (+๑๕.๐%) โดยสินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ สินค้าปิโตรเลียมกลั่น (+๑๒๑.๖%) สินค้าโลหะและผลิตภัณฑ์โลหะ (ไม่รวมเครื่องจักรและอุปกรณ์ติดตั้ง) (+๑๕.๕%) สินค้าสารเคมีและส่วนผสม (+๒๒.๑%) และสินค้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ (๗.๘%) เป็นต้น โดยตลาดส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เยอรมนี (+๑๒.๕%) สเปน (+๒๑.๔%) เบลเยี่ยม (+๒๗.๕%) และฝรั่งเศส (+๑๑.๗%) ขณะที่ตลาดส่งออกที่มีการส่งออกลดลง ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ (-๑๐.๔%) สหรัฐอเมริกา (-๒.๓%) และญี่ปุ่น (-๘.๙%) เป็นต้น

๒.๗ การค้าปลีก สถาบันสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) คาดการณ์ข้อมูลว่า ในเดือนกันยายน ๒๕๖๔ การค้าปลีกเพิ่มขึ้น (+๐.๘% ในด้านมูลค่า และ +๐.๖% ในด้านปริมาณ) เทียบกับเดือนก่อนหน้า มีปัจจัยมาจากการค้าปลีกสินค้าบริโภคที่เพิ่มขึ้น (+๐.๖% ด้านมูลค่า และ +๐.๓% ด้านปริมาณ) และสินค้าอุปโภค (+๑.๑% ด้านมูลค่า และ +๐.๘% ด้านปริมาณ) ขณะที่หากเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า การค้าปลีกเพิ่มขึ้น (+๕.๓% ด้านมูลค่า และ ๓.๙% ในด้านปริมาณ) โดยการค้าปลีกสินค้าอุปโภคเพิ่มขึ้น     (+๗.๓% ด้านมูลค่าและ +๕.๗% ด้านปริมาณ) ขณะที่สินค้าบริโภคเพิ่มขึ้น (+๒.๕% ด้านมูลค่าและ +๑.๔% ด้านปริมาณ) ทั้งนี้ การค้าปลีกสินค้าอุปโภคเติบโตในทุกประเภท โดยเฉพาะสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน วิทยุ โทรทัศน์ (+๒๖.๓%) แต่สินค้าเฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และของตกแต่งลดลง (-๐.๗%) ขณะที่หากพิจารณาจากช่องทางการจำหน่ายพบว่า การค้าปลีกในทุกช่องทางเพิ่มขึ้น (ซุปเปอร์มาร์เก็ต/ไฮเปอร์มาร์เก็ต +๒.๘% ร้านค้าปลีกขนาดย่อย +๖.๓% การจำหน่ายนอกร้านค้า +๗.๖% และช่องทางออนไลน์ +๑๘.๘%)

๓. สถานการณ์การค้าไทย – อิตาลี

๓.๑ การค้าไทย – อิตาลี

รายการมูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)อัตราการขยายตัว (%)
ม.ค.- ต.ค. ๖๓ม.ค. – ต.ค. ๖๔
มูลค่าการค้า๒,๙๐๓.๙๙๓,๖๔๒.๘๙๒๕.๔๔
การส่งออก๑,๑๗๘.๘๑๑,๕๕๕.๓๙๓๑.๙๔
การนำเข้า๑,๗๒๕.๑๘๒,๐๘๗.๕๐๒๑.๐๐
ดุลการค้า-๕๔๖.๓๗-๕๓๒.๑๑๒.๖๐
ที๋มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือกับกรมศุลกากร

๓.๒ การส่งออกของไทยไปอิตาลี ระหว่างเดือนมกราคม – ตุลาคม ๒๕๖๔ เป็นมูลค่าทั้งสิ้น ๑,๕๕๕.๓๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๖๓ ซึ่งการส่งออกมีมูลค่า ๑,๑๗๘.๘๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น ๓๕.๙๕% โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญ ๑๐ อันดับแรก ดังนี้

รายการมูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)สัดส่วน (%)
 ม.ค.- ต.ค. ๖๓ม.ค. – ต.ค. ๖๔อัตราขยายตัว (%)
๑. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ๑๒๐.๕๙๑๖๘.๕๘๓๙.๘๐๑๐.๘๔
๒. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ๑๒๑.๒๐๑๖๑.๕๐๓๓.๒๕๑๐.๓๘
๓. ผลิตภัณฑ์ยาง๗๙.๑๖๑๑๘.๕๓๔๙.๗๕๗.๖๒
๔. อาหารสัตว์เลี้ยง๑๐๗.๘๔๑๑๓.๘๘๕.๖๐๗.๓๒
๕. อัญมณีและเครื่องประดับ๑๑๓.๘๙๑๐๐.๙๖-๑๑.๓๖๖.๔๙
๖. หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ๒๔.๕๕๘๓.๑๓๒๓๘.๖๐๕.๓๔
๗. รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ๔๔.๖๗๗๓.๖๙๖๔.๙๙๔.๗๔
๘. ปลาหมึก มีชีวิต สด แช่เย็น แช่แข็ง๕๑.๔๖๗๐.๖๗๓๗.๓๔๔.๕๔
๙. ยางพารา๔๑.๕๔๗๐.๓๕๖๙.๓๗๔.๕๒
๑๐. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบฯ๓๓.๓๒๕๐.๐๒๕๐.๐๙๓.๒๒
รวม ๑๐ รายการ๘๘๓.๐๐๑,๑๗๕.๕๘๓๓.๑๔๗๕.๕๘
อื่น ๆ๒๙๕.๘๑๓๗๙.๘๐๒๘.๓๙๒๔.๔๒
รวมทั้งสิ้น๑,๑๗๘.๘๑๑,๕๕๕.๓๙๓๑.๙๕๑๐๐.๐๐
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือกับกรมศุลกากร

๓.๓ การนำเข้าของอิตาลี ข้อมูลจาก Global Trade Atlas แสดงให้เห็นว่า ในระหว่างเดือนมกราคม – สิงหาคม ๒๕๖๔ อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกมูลค่า ๓๕๑,๑๖๓.๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๖๓ ซึ่งการนำเข้ามีมูลค่า ๒๖๔,๕๐๘.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น ๓๒.๗๖% โดยประเทศที่อิตาลีนำเข้าสูงสุด ๕ อันดับแรก ได้แก่ เยอรมนี มูลค่า ๕๖,๗๒๙.๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๓๓.๔๔%) ฝรั่งเศส มูลค่า ๒๙,๔๓๓.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๓๔.๙๕%) จีน มูลค่า ๒๘,๗๐๑.๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๑๘.๖๗%) เนเธอร์แลนด์ มูลค่า ๒๐,๖๗๙.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๓๒.๙๐%) และสเปน มูลค่า ๑๘,๖๗๖.๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๓๓.๔๘%) ซึ่งแหล่งนำเข้าที่สำคัญของอิตาลีส่วนใหญ่เป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป

โดยประเทศคู่แข่งของไทยที่สำคัญในทวีปเอเชีย ได้แก่ อินเดีย (อันดับที่ ๑๗) มูลค่า ๔,๗๙๑.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๕๒.๕๙%) ญี่ปุ่น (อันดับที่ ๒๒) มูลค่า ๓,๕๗๓.๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๔๓.๙๐%) เกาหลีใต้ (อันดับที่ ๒๖) มูลค่า ๓,๒๐๑.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+ ๓๙.๒๔%) เวียดนาม (อันดับที่ ๒๙) มูลค่า ๒,๖๗๗.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๒๒.๑๓%) ไต้หวัน (อันดับที่ ๓๘) มูลค่า ๑,๗๑๕.๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๓๙.๔๙%) อินโดนีเซีย (อันดับที่ ๓๙) มูลค่า ๑,๖๘๓.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๑๘.๙๔%) และไทย อยู่ในอันดับที่ ๔๔ มูลค่า ๑,๔๖๐.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๕๕.๔๒%)

๓.๔ การนำเข้าสินค้าไทยจากอิตาลี ระหว่างเดือนมกราคม – สิงหาคม ๒๕๖๔ เป็นมูลค่าทั้งสิ้น ๑,๔๖๐.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๖๓ ซึ่งการนำเข้ามีมูลค่า ๙๓๙.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น ๕๕.๔๒% โดยมีสินค้านำเข้าที่สำคัญ ๕ อันดับแรก ได้แก่

 มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)สัดส่วน (%)
รายการม.ค.- ต.ค ๖๓ม.ค. – ต.ค. ๖๔อัตราขยายตัว (%)
๑. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (พิกัด ๘๔)๒๑๒.๗๓๓๕.๗๕๗.๘๒๒๒.๙๙
๒. เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (พิกัด ๘๕)๑๐๖.๕๒๑๙.๒๑๐๕.๘๖๑๕.๐๑
๓. ยางและของที่ทำด้วยยาง (พิกัด ๔๐)๙๘.๒๑๙๕.๘๙๙.๓๒๑๓.๔๑
๔. ยานบก (พิกัด ๘๗)๗๗.๑๑๘๑.๐๑๓๔.๙๕๑๒.๔๐
๕. กากและเศษที่เหลือจากอุตสาหกรรมผลิตอาหาร อาหารที่จัดทำไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์ (พิกัด ๒๓)๘๑.๕๙๕.๖๑๗.๒๒๖.๕๕
ที่มา: Global Trade Atlas

โดยสินค้านำเข้าสำคัญ ๕ อันดับแรกของไทยที่อิตาลีนำเข้าจากประเทศคู่แข่งในทวีปเอเชียในระหว่างเดือนมกราคม – สิงหาคม ๒๕๖๔ ได้แก่

– ญี่ปุ่น สินค้ายานบก มูลค่า ๑,๐๕๓.๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๔๕.๐๓%) สินค้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ มูลค่า ๘๗๔.๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๕๒.๙๐%) และสินค้าเครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า ๒๒๔.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๔๖.๒๘%)

– อินเดีย สินค้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ มูลค่า ๔๑๘.๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๕๐.๔๒%) สินค้าเครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า มูลค่า ๒๘๑.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๘๙.๒๔%) และสินค้ายานบก มูลค่า ๑๖๙.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๗๖.๑๑%)  

– เกาหลีใต้ สินค้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ มูลค่า ๔๑๘.๕ ล้านเหรียญสหรัฐ (+๕๐.๔๒%) สินค้าเครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ ๒๘๑.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๘๙.๒๔%) และสินค้ายานบก มูลค่า ๑๖๙.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๗๕.๑๑%)

– เวียดนาม สินค้าเครื่องจักรไฟฟ้า มูลค่า ๗๑๖.๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๙.๙๘%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ มูลค่า ๒๑๔.๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๑๕.๑๗%) และสินค้ายานบก มูลค่า ๑๔๙.๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+ ๔๖.๑๔%)

๔. การคาดการณ์แนวโน้มสินค้า

จากการสำรวจของศูนย์วิจัย FINDOMESTIC ร่วมกับ Emuratra ในช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมาพบว่า แนวโน้มการซื้อสินค้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ๑.๖% ซึ่งถือเป็นสัญญานที่ดีหลังจากที่ตัวเลขติดลบในเดือนกันยายนที่ผ่านมา (-๕.๘%) โดยความต้องการซื้อสินค้าที่นำมาประกอบ/ติดตั้งเองมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ๒๒.๙% ซึ่งทำให้เห็นว่าแนวโน้มของการซื้อสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ สำหรับการซื้อสินค้าในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ที่กำลังจะมาถึง โดย ๑๖% ของผู้ให้สัมภาษณ์มีความกังวลต่อราคาสินค้าที่อาจมีราคาสูงเนื่องจากรายได้ของครอบครัวที่ลดลงเป็นอย่างมาก ๒๗% ของผู้ให้สัมภาษณ์เปิดเผยว่ามีความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ และ ๑๙% ของผู้ให้สัมภาษณ์เปิดเผยว่ามีความกังวลต่อสุขภาพ โดยรายละเอียดเกี่ยวกับแนวโน้มสินค้าแบ่งได้ ดังนี้

– พาหนะยานยนต์: จากช่วงเดือนกันยายน ๒๕๖๔ ที่ความตั้งใจซื้อพาหนะยานยนต์ของชาวอิตาเลียนลดลง แต่ในเดือนตุลาคม ๒๕๖๔ ความตั้งใจซื้อพาหนะยานยนต์ของชาวอิตาเลียนมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ช่วงระยะเวลาส่งมอบรถยนต์ยังคงใช้ระยะเวลานานและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสิ่งจูงใจใหม่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดยานยนต์ โดยแนวโน้มความตั้งใจซื้อรถยนต์ใหม่ปรับเพิ่มขึ้น (+๑.๓%) และรถยนต์มือสองปรับเพิ่มขึ้น (+๓.๒%) แต่แนวโน้มดังกล่าวยังห่างไกลจากสถานการณ์ก่อนเกิดโควิด-๑๙ รวมถึงความต้องการซื้อ e-bike ขยายตัวเพิ่มขึ้น (+๙.๒%) สำหรับแนวโน้มความตั้งใจซื้อรถจักรยานยนต์ลดลง (-๗.๙%) อันเนื่องมาจากการเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว

– ด้านเทคโนโลยี: ช่วงเทศกาลลดราคาสินค้า Black Friday และ Cyber ​​​​Monday สนับสนุนให้สินค้าเทคโนโลยีได้รับความสนใจมากที่สุด โดยแนวโน้มการตั้งใจซื้อสินค้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ แท็บเล็ต/e-book (+๑๐.๒%) และกล้องถ่ายรูป/กล้องวิดีโอ (+๘.๒%) ส่วนแนวโน้มการตั้งใจซื้อสินค้าที่หดตัวลดลง ได้แก่ โทรศัพท์ (-๓.๘%) และคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (-๑.๔%)

– ที่อยู่อาศัย: จากการที่รัฐบาลอิตาลีได้ขยายเวลาของโครงการ Superbonus ๑๑๐% ไปจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ประกอบกับช่วงฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง ได้ส่งผลให้ชาวอิตาเลียนมีแนวโน้มความตั้งใจปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านหดตัวลดลง (-๖.๓%) รวมถึงความตั้งใจซื้อที่อยู่อาศัย (-๓.๘%) แต่แนวโน้มความตั้งใจซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์ขยายตัวเพิ่มขึ้น (+๑.๗%)

– เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน: จากเทศกาลลดราคา Black Friday ได้ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเป็นอย่างมาก โดยแนวโน้มการซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ขยายตัวเพิ่มขึ้น (+๕.๕%) (ราคาใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ ๑,๐๗๐ ยูโร) เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กขยายตัวเพิ่มขึ้น (+๑๑.๙%) (ราคาใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ ๒๗๕ ยูโร) แต่แนวโน้มการซื้อโทรทัศน์/WIFI หดตัวลดลง (-๓.๘%) (ราคาใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ ๘๒๐ ยูโร)

๕. ข้อคิดเห็น

๕.๑ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมิลาน มีความเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของอิตาลีโดยรวมค่อย ๆ เริ่มมีการปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่จากตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งในอิตาลีและประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ในช่วง ๑ เดือนที่ผ่านมา อาจส่งผลให้เศรษฐกิจและการค้าของอิตาลีและประเทศคู่ค้าของอิตาลีเกิดการชะลอตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากรัฐบาลอิตาลีมีการประกาศมาตรการควบคุมและป้องกันสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศก่อนสิ้นปี ๒๕๖๔ อาจจะส่งผลให้เม็ดเงินหมุนเวียนในช่วงเทศกาลคริสมาสต์อาจมีจำนวนลดลงอย่างมาก โดยขณะนี้ อิตาลียังสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – ๑๙ ในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๕.๒ การค้าระหว่างไทย-อิตาลีในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – ตุลาคม ๒๕๖๔ พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยมายังตลาดอิตาลีขยายตัวเพิ่มขึ้น ๓๑.๙๕% โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตัวของสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ๔ อันดับแรกที่ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ๑) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+๓๙.๘๐%) ๒) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+๓๓.๒๕%) ๓) ผลิตภัณฑ์ยาง (+๔๙.๗๕%) และ ๔) อาหารสัตว์เลี้ยง (+๕.๖๐%) โดยพบว่าระหว่างเดือนมกราคม – ตุลาคม ๒๕๖๔ สินค้าส่งออกของไทยมายังอิตาลี ๑๐ อันดับแรก มีมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า รวมถึงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยถึงแม้จะยังคงติดลบ แต่พบว่าแนวโน้มการส่งออกสินค้าดังกล่าวมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และราคาค่าขนส่งทางเรือที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมากและยังไม่มีทีท่าที่จะปรับลดลงภายในสิ้นปี ๒๕๖๔ อาจส่งผลให้สินค้าที่นำเข้าจากไทยเกิดการส่งมอบล่าช้า สินค้าขาดตลาด และการปรับขึ้นราคาสินค้า รวมถึงมีความเป็นไปได้ที่ผู้นำเข้าอิตาเลียนอาจหันไปนำเข้าสินค้าบางรายการจากประเทศที่ราคาค่าขนส่งไม่สูงเท่าทางฝั่งเอเชียก็เป็นได้

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW