รายงานสถานการณ์การค้าประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เดือนพฤศจิกายน 2564

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไตรมาสที่ 3/2564

ที่มา: Global Trade Atlas (ข้อมูล ณ วันที่ 4 พ.ย. 2564)
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร (ข้อมูล ณ วันที่ 4 พ.ย. 2564)

4. สถานการณ์เศรษฐกิจการค้า

ภาพรวม

ที่มา: Eidgenössische Zollverwaltung EZV

ในไตรมาสสามของปี 2564 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 3.7 คิดเป็นมูลค่า 63.1 พันล้าน ฟรังก์สวิส ถือเป็นการเติบโตระดับไตรมาสที่สูงที่สุดจนปัจจุบัน ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 คิดเป็นมูลค่า 50.5 พันล้านฟรังก์สวิส ทั้งนี้ ดุลการค้าในไตรมาสที่สามของปี 2564 เกินดุลอยู่ที่ 12.6 พันล้านฟรังก์สวิส นับเป็นมูลค่ารายไตรมาสระดับสูงสุดจนถึงปัจจุบัน

การส่งออก

การส่งออกที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่สามของปี 2564 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากมูลค่าการค้าที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มสินค้าเภสัชและเคมีภัณฑ์ (+1.3 พันล้านฟรังก์สวิส) คิดเป็นสัดส่วนเกินครึ่งหนึ่งของการส่งออกผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกัน (+911 ล้านฟรังก์สวิส) และสินค้าวัตถุดิบพื้นฐานในการผลิต (+496 ล้านฟรังก์สวิส) ในส่วนของการส่งออกเครื่องประดับอัญมณีเพิ่มขึ้นหนึ่งในสาม (+735 พันล้านฟรังก์สวิส) อุปกรณ์ชั่งตวงและนาฬิกาเติบโตขึ้นร้อยละ 4 และ 3.6 ตามลำดับซึ่งถือเป็นสถิติใหม่ของสินค้าทั้งสองประเภท เช่นเดียวกับการส่งออกสินค้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า และสินค้าโลหะ (ร้อยละ +2.7 และ +2.6) ในส่วนของสินค้าประเภทแรกถืิอว่ายอดขายในต่างประเทศกลับมาฟื้นตัวเกือบเทียบเท่าช่วงก่อนวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่าแล้ว

ในไตรมาสที่สามของปี 2564 สวิตเซอร์แลนด์สามารถส่งออกสินค้าไปยังภูมิภาคสำคัญๆ ได้เพิ่มมากขึ้น การส่งออกไปยังตลาดอเมริกาเหนือเติบโตร้อยละ 0.8 (สหรัฐอเมริกา: +967 ล้านฟรังก์สวิส โดยเฉพาะสินค้าเภสัชและเคมีภัณฑ์) ส่วนการส่งออกในตลาดยุโรปเติบโตร้อยละ 4.2 หรือ 1.5 พันล้านฟรังก์สวิส โดยเฉพาะประเทศสโลวีเนีย (เภสัชและเคมีภัณฑ์) สเปน (ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน) ฝรั่งเศส และอิตาลี อย่่างไรก็ตาม การส่งออกไปประเทศเยอรมนีลดลง 379 ล้านสวิสฟรังก์ สำหรับการส่งออกไปตลาดเอเชียมีการขยายตัวร้อยละ 1 โดยแม้ว่าการส่งออกไปตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และอินเดียจะหดตัวลง แต่ตัวเลขดังกล่าวก็หักลบกับการส่งออกไปประเทศเกาหลีใต้และสหรัฐอาหรับเอมิเรตที่เพิ่มมากขึ้น

การนำเข้

ในไตรมาสนี้ เกือบทุกกลุ่มสินค้ามีการนำเข้าเป็นไปในเชิงบวก สินค้าที่ขยายตัวโดดเด่นที่สุด คือ สินค้าเภสัชและเคมีภัณฑ์ (+567 ล้านฟรังก์สวิส) โดยภายในกลุ่มสินค้านี้การนำเข้าผลิตภัณฑ์ส่วนผสมของยาเพิ่มขึ้นเกือบครึ่งหนึ่งหลังจากมีตัวเลขติดลบในสองไตรมาสก่อน ในส่วนการนำเข้าสินแร่โลหะขยายตัวร้อยละ 7.5 หรือ 298 ล้านฟรังก์สวิส ทั้งนี้ ความต้องการแร่โลหะเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดตั้งแต่สองไตรมาสก่อนหน้า การนำเข้ายานยนต์ขยายตัวร้อยละ 2.3 สวนทางกับการนำเข้ารถยนต์โดยสารที่หดตัวลง 208 ล้านฟรังก์สวิส ถือเป็นไตรมาสที่สามที่การนำเข้าสินค้าดังกล่าวลดลง

การนำเข้าจากตลาดยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 (+614 ล้านฟรังก์สวิส) และจากตลาดอเมริกาเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 (สหรัฐอเมริกา +112 ล้านฟรังก์สวิส) ในภาพรวมตลาดยุโรปมีมูลค่าการนำเข้าที่แตกต่่างกันมาก โดยขณะที่การนำเข้าจากประเทศไอร์แลนด์ (ร้อยละ +40) อิตาลี และเยอรมนี รวมกันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 668 ล้านฟรังก์สวิส การนำเข้าจากประเทศสเปนและออสเตรียกลับหดตัวลง 418 ล้านฟรัังก์สวิส ในส่วนของตลาดเอเชีย สวิตเซอร์แลนด์นำเข้าสินค้าลดลงร้อยละ 2.4 โดยเฉพาะสินค้าเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันจากประเทศจีนและเกาหลีใต้ ส่วนการนำเข้าสินค้าเภสัชและเคมีภัณฑ์จากประเทศสิงคโปร์ยังคงเทรนด์การเติบโตจากไตรมาสก่อนๆ โดยสำหรับไตรมาสนี้มีการขยายตัวร้อยละ 35.4

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW