รายงานสถานการณ์การค้าเคนยา ณ กรุงไนโรบี เดือน ตุลาคม 2564

สถานการณ์ด้านการค้าและการลงทุนของสินค้ามันสำปะหลังในตลาดแอฟริกาตะวันออก สคต. ณ กรุงไนโรบี ขอสรุปข้อมูลของสินค้ามันสำปะหลังและมันเส้น ตลาดแอฟริกาตะวันออก (เคนยา, แทนชาเนีย, รวันดา, เอธิโอเปีย และยูกานดา) ในประเด็นสำคัญต่างๆ ดังนี้ปริมาณการนำเข้า

1. ปริมาณการนำเข้า

ประเทศต่างๆ ในแอฟริกาตะวันออก มีการนำเข้าสินค้ามันสำปะหลังไม่มากนักเพียงประมาณ 20,000 – 30,000 ตันต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทมันตัดสดและแป้งมัน ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตในประเทศหรือในแอฟริกาเป็นสำคัญ โดยประเทศที่มีการนำเข้าต่อเนื่อง ได้แก่ รวันดา เคนยา และ เอธิโอเปีย

อย่างไรก็ดี ปริมาณการนำเข้ามีแนวโน้มลดลงตามลำดับ อันเนื่องจากประเทศในแอฟริกาตะวันออกสามารถผลิตสินค้าดังกล่าวได้เอง ค่อยๆ ลดการพึ่งพาการนำเข้าตามลำดับ จนคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าที่ปริมาณการผลิตมีความเพียงพอจะไม่ต้องมีการนำเข้าสินค้าในต่างประเทศอีกต่อไป หรือ หากจะมีการนำเข้าก็จะเป็นการนำเข้าจากประเทศในแอฟริกาด้วยกันเองมากกว่าประเทศนอกกลุ่ม

2. แหล่งนำเข้าและการผลิตปัจจุบัน

อียิปต์ ปากีสถาน อินเดีย (นำเข้าจากไทยเพียง 100-200 ตัน) โดยมีแนวโน้มที่นำเข้าจากอียิปต์มากขึ้นตามลำดับ เนื่องจากไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 20-25 ทั้งนี้ อียิปต์เป็นแหล่งนำเข้าที่มีส่วนแบ่งการตลาดถึงร้อยละ 65.52 ในปัจจุบัน และน่าจะมีแนวโน้มมากขึ้นต่อไป เนื่องจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวีปแอฟริกาที่เริ่มมีผลแล้วในปี 2020 ทำให้การนำเข้าจากประเทศในแอฟริกาไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า

3. สถานการณ์การผลิตปัจจุบัน

ประเทศในแอฟริกาตะวันออกหลายประเทศสามารถผลิตสินค้าดังกล่าวได้เองอย่างเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศทำให้ไม่มีความจำเป็นในการนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่น ได้แก่ ยูกานดา แทนซาเนีย เป็นต้น ทำให้ทุกประเทศในแอฟริกาตะวันออกมีการลดการนำเข้าจากต่างประเทศตามลำดับ โดยประเทศในแอฟริกาตะวันออกมีผลผลิตแยกเป็นรายประเทศดังนี้

(*ข้อมูลจาก FAO 2012)

4. ข้อเสนอแนะและความเห็นของ สคต. ต่อการส่งออก และการลงทุนในสินค้ามันสำปะหลังและมันเส้น ของไทยในตลาดแอฟริกาตะวันออก

4.1 การทำตลาดส่งออกมันสำปะหลังและมันเส้นในแอฟริกาตะวันออก

สคต. พิจารณาว่า คงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากปัจจุบันประเทศในกลุ่มแอฟริกาตะวันออกมี ความสามารถในการผลิตสินค้าดังกล่าวได้เพียงพอแก่ความต้องการในประเทศแล้วในระดับนึง โดยหากจะมีการนำเข้าก็จะพิจารณานำเข้าจากประเทศในแอฟริกาด้วยกัน เช่น ยูกานดา แทนชาเนีย หรือ อียิปต์มากกว่านำเข้ามาจากประเทศนอกกลุ่ม เช่น ไทย หรือ ปากีสถาน หรือ อินเดีย ที่จะมีต้นทุนการนำเข้าที่สูงกว่า จากการที่ต้องเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 25 ขณะที่ประเทศในกลุ่มแอฟริกาไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเลย

4.2 พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เอื้อต่อการเพิ่มปริมาณความต้องการใช้มันสำปะหลัง

4.2.1 การใช้งานแป้งมันเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารมีความนิยมน้อย เนื่องจากการทำาอาหารของคนแอฟริกาตะวันออกคุ้นเคยการใช้แป้งข้าวโพด (maize flour) หรือ แป้งสาลี มากกว่าใช้แป้งจากมันสำปะหลัง โดยเขามีความเชื่อว่า การนำเข้าแป้งมันมาผสมทำอาหารนั้นให้คุณสมบัติแป้งที่จะได้มีความเหนียวน้อยกว่า หรือ ไม่เกาะตัวกันเป็นเนื้อเดียวกันเช่นเดียวกับแป้งข้าวโพด ทำให้ไม่ได้รับความนิยม นอกจากนั้น หากจะบริโภคเพื่ออาหารทดแทนส่วนก็นิยมบริโภคข้าวมากกว่า โดยหากเป็นการทานมันสำปะหลังต้ม จะพบได้ในประเทศที่มีผลผลิตมากเท่านั้น เช่น ยูกานดาและแทนชาเนีย แต่ยังถือว่าไม่เป็นที่ นิยมเท่าข้าวที่มากกว่าได้ทำให้ปริมาณการใช้งานมีอยู่อย่างจำกัดและไม่มีแนวโน้มขยายตัวมากนัก

4.2.2 การนำแป้งมันมาใช้ในการแปรรูปอาหาร หรือ ในอุตสาหกรรมมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.47 ของการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับแป้งมัน โดยส่วนใหญ่ภาคอุตสาหกรรมยังคุ้นเคยกับการใช้งานแป้ง ข้าวโพดหรือแป้งสาลีมากกว่า ทำให้การขยายตลาดสินค้าประเภทนี้ ยังทำได้ยากในตลาดแอฟริกาตะวันออก

4.2.3 การใช้มันเส้นในอาหารสัตว์ ประเทศแอฟริกาตะวันออก เป็นส่วนผสมหลักในการให้อาหารสัตว์และมีการใช้มันเส้นในปริมาณน้อย เนื่องจาก เกษตรมีความกังวลเรื่องโรคที่อาจมาจากการให้มันเส้นเป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากการปลูกมันสำปะหลังในทวีปแอฟริกามักมีข่าวบ่อยครั้ง ในเรื่องปริมาณสารปนเปิ้อนในผลผลิต เช่น ยาฆ่าแมลง โรคที่เกิดจากศัตรูพืช เป็นต้น ทำให้เกษตรส่วนใหญ่ไม่นิยมการนำเอามันเส้นมาใช้ เป็นอาหารสัตว์ในภูมิภาคนี้ เนื่องกลัวผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่จะได้อาจมีการปนเปื้อนและไม่ได้รับความเชื่อมั่น จากผู้บริโภคได้ โดยมีการใช้ข้าวโพดมากกว่า

4.2.4 ขาดองค์ความรู้ในการนำมันสำปะหลังไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม หรือ เลี้ยงสัตว์ ประเทศในแอฟริการ่วมถึงแอฟริกาตะวันออก ยังไม่ค่อยมีองค์ความรู้หรืองานวิจัยที่จะแสดงให้เห็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำเอาผลิตจากมันสำปะหลังมาใช้งานในภาคอุตสาหกรรมมากนัก ทำให้ไม่มีความมั่นใจหรือไม่มีความรู้ในการใช้งานที่ถูกต้อง ทำให้การเพิ่มความต้องการในสินค้าดังกล่าวยังเป็นไปอย่างจำกัด ซึ่งหากไทยสนใจมาร่วมลงทุนหรือสร้างองค์ความรู้ดังกล่าวให้มากขึ้นแล้ว ก็จะช่วยสร้างความต้องการในการใช้สินค้าดังกล่าวให้เป็นไปได้อย่างที่ต้องการได้

4.3 โอกาสในการลงทุน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตมันสำปะหลังและมันเส้นใน แอฟริกาตะวันออก

สคต. พิจารณาเห็นว่า การลงทุนในอุตสาหกรรมดังกล่าว ทั้งการทำฟาร์มหรือปลูกมันสำปะหลังในแอฟริกาตะวันออก หรือ ลงทุนในรูปแบบอาหารแปรรูป เช่น อาหารสัตว์ เป็นต้น ยังคงมีโอกาส เปิดกว้างให้กับภาคเอกชนไทยที่สนใจ เนื่องจากแม้การบริโภคมันสำปะหลัง ยังมีไม่มากนัก แต่รัฐบาลของทุกประเทศ เช่น แทนชาเนีย เคนยา ยูกานดา หรือ รวันดา ยังมีความต้องการให้มีการลงทุนจากต่างประเทศในด้านนี้เป็นจำนวนมาก และถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมุ่งหวังให้เกิดการยกระดับของ การส่งเสริมการปลูกและเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังของประเทศ และเพิ่มความสามารถของอุตสาหกรรมแปร รูปที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลังด้วย เนื่องจาก รัฐบาลประเทศต่างๆ ในแอฟริกาตะวันออกเล็งเห็นว่า มันสำปะหลังถือเป็นสินค้าการเกษตรหนึ่งที่ประเทศเหล่านี้มีภูมิอากาศที่เหมาะสมในการพัฒนาการปลูกมากกว่า ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW