รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐเช็ก ณ กรุงปราก เดือน ตุลาคม 2564

1. โครงสร้างการนำเข้าและการส่งออก

ประเทศสาธารณรัฐเช็ก มีโครงสร้างการนำเข้าและส่งออกภายในกลุ่มสหภาพยุโรปเป็นหลัก โดยมีปัจจัยพื้นฐานที่เอื้อในการทำการค้าระหว่างกันในกลุ่มสหภาพยุโรป ทั้งในด้านภูมิศาสตร์ วิถีชีวิต สังคมและวัฒนธรรม การเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปที่เป็น Single Market ทำให้การติดต่อค้าขาย การขนส่งสินค้า เป็นไปอย่างคล่องตัว นอกจากนี้ สินค้าจะมีต้นทุนราคาค่าขนส่งที่ถูกกว่าการนำเข้าจากประเทศนอกสหภาพยุโรป และมีอัตราภาษีศุลกากรที่แตกต่างกัน โดยสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจากประเทศสหภาพยุโรป มีมากกว่าร้อยละ 60 ขณะที่สัดส่วนการส่งออกในสหภาพยุโรป สูงถึงกว่าร้อยละ 80

โครงสร้างการนำเข้าของสาธารณรัฐเช็ก (มกราคม – สิงหาคม 2564)

ที่มา: กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแห่งสาธารณรัฐเช็ก เดือนตุลาคม 2564

สำหรับการนำเข้าสินค้านอกกลุ่มสหภาพยุโรป พบว่ามีการนำเข้าจากประเทศในเอเชียมากที่สุด รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา และแอฟริกา มีสัดส่วนการนำเข้าเพียง ร้อยละ 2.4 และ ร้อยละ 1 ตามลำดับ

การนำเข้าจากประเทศในเอเชีย ในเดือนมกราคม – สิงหาคม 2564 มีมูลค่าการนำเข้า 36,641 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.7 ของปริมาณการนำเข้าสินค้าทั้งหมด โดยสินค้าที่นำเข้าจากประเทศในเอเชียส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน

สำหรับการส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรปมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 80 ขณะที่การส่งออกสินค้าไปยังประเทศ ในเอเชีย มีเพียงร้อยละ 5 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด อย่างไรก็ดี รัฐบาลเช็กได้ให้ความสำคัญของการส่งเสริมการส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชีย จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยงาน “CzechTrade” เพื่อดำเนินงานด้านส่งเสริมการส่งออกของสาธารณรัฐเช็ก ปัจจุบัน หน่วยงานดังกล่าวมีสำนักงานอยู่ในประเทศไทย จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย สิงค์โปร์ และเกาหลีใต้

โครงสร้างการส่งออกของสาธารณรัฐเช็ก (มกราคม – สิงหาคม 2564)

ที่มา: กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแห่งสาธารณรัฐเช็ก เดือนตุลาคม 2564

2. การนำเข้าสินค้าจากประเทศในเอเชีย

ในปี 2563 ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 การนำเข้าสินค้าทั้งหมดของสาธารณรัฐ เช็ก ลดลงร้อยละ 4.4 แต่การนำเข้าสินค้าจากประเทศในเอเชียขยายตัวร้อยละ 5.7

สำหรับช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม 2564 มูลค่าการนำเข้ารวมในสาธารณรัฐเช็ก ขยายตัวร้อยละ 29.8 โดยการนำเข้าเช็กนำเข้าสินค้าจากประเทศในเอเชีย เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.8

คู่แข่งสำคัญของไทยในเอเชีย

ที่มา: กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแห่งสาธารณรัฐเช็ก เดือนตุลาคม 2564

ประเทศคู่ค้าสำคัญของสาธารณรัฐเช็กจากภูมิภาคเอเชีย คือ จีน ในช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม 2564 การนำเข้าสินค้าจากจีนขยายตัวร้อยละ 19.5 โดยสัดส่วนการนำเข้าจากจีนสูงถึงร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย

สำหรับในช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม 2564 ประเทศในเอเชียที่สาธารณรัฐเช็กนำเข้าสินค้าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 63.2) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 39.3) เวียดนาม (ร้อยละ 34) ไต้หวัน (ร้อยละ 30.6) อินเดีย (ร้อยละ 29) และปากีสถาน (ร้อยละ 28) สำหรับประเทศไทย เป็นคู่ค้าอันดับที่ 6 เมื่อเทียบกับประเทศในเอเชีย โดยคู่แข่งขันทางการค้าของไทย พิจารณาจากสินค้าหลักที่สาธารณรัฐเช็กนำเข้าจากประเทศเหล่านั้น ดังตารางแสดงสินค้านำเข้าหลักจากประเทศในเอเชีย

สินค้านำเข้าหลักจากประเทศในเอเชีย

จากตารางสินค้านำเข้าหลักจากประเทศเอเชียในตลาดสาธารณรัฐเช็ก พบว่าประเทศคู่แข่งของไทยจาก ภูมิภาคเอเชีย ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ มาเลเซีย เวียดนาม อาทิ อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ ชิ้นส่วนรถยนต์ อุปกรณ์/ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โทรศัพท์/มือถือ ขณะที่สินค้าเกษตรและอาหาร คู่แข่งสำคัญของไทยเป็นสินค้าข้าว จากประเทศในอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ ขณะที่สินค้าประเภทอาหารอื่น ๆ อาทิ กลุ่ม Food Preparation เครื่องปรุงรส อาหารกึ่งสำเร็จรูป มีประเทศคู่แข่งสำคัญคือเวียดนาม

การแข่งขันทางการค้าในตลาดสาธารณรัฐเช็ก สำหรับประเทศไทยมีข้อเสียเปรียบในด้านราคา เนื่องจาก ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (Mass) ยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องราคาเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตรและอาหาร โดยเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) อาทิ กัมพูชา เมียนมาร์ และเวียดนามที่มี ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) กับสหภาพยุโรป ทำให้สินค้าจากไทยมีราคาค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม สินค้าอาหาร และเกษตรไทยที่ได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพและมาตรฐาน รวมถึงลักษณะเฉพาะ หรือความโดดเด่นบาง ประการ ทำให้สินค้าไทยยังคงมีโอกาสในการแข่งขันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับ คุณลักษณะสินค้ามีเพิ่มมากขึ้น ดังเช่น แนวโน้มการให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในวงกว้างอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ซึ่งแต่เดิมจะเป็นกลุ่มผู้บริโภคเฉพาะ (Niche Market) ที่สนใจสินค้าอาหารสุขภาพ และให้ความสำคัญกับสินค้าที่ตรงกับความต้องการมากกว่าปัจจัยเรื่องราคา

3. ดุลการค้า

การขาดดุลการค้าของสาธารณรัฐเช็ก

ที่มา: กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแห่งสาธารณรัฐเช็ก เดือนตุลาคม 2564

เนื่องจากสาธารณรัฐเช็กมีการนำเข้าสินค้ามากกว่าการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในเอเชีย ทำให้มีการขาดดุลการค้ากับหลายประเทศ โดยประเทศที่สาธารณรัฐเช็กขาดดุลการค้าสูงสุดในเอเชีย ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย เวียดนาม ไทย ไต้หวัน และบังคลาเทศ

การขาดดุลการค้ากับจีนยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สินค้าหลักที่นำเข้าจากจีน ได้แก่โทรศัพท์มือถือ เครื่องจักรและชิ้นส่วนประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ จอภาพ วงจรรวม ไมโครโฟน ของเล่น เสื้อผ้า และรองเท้า

สำหรับการขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ มีการขาดดุลการค้าในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน อัน เนื่องมาจากการเข้ามาลงทุนของบริษัทญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ในสาธารณรัฐเช็ก สินค้าหลักที่มีการนำเข้าจากญี่ปุ่น คือ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตของบริษัทญี่ปุ่นในสาธารณรัฐเช็ก รวมถึงยานยนต์ ส่วนสินค้าหลักจากเกาหลีใต้ เชื่อมโยงกับการตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ Hyundai ในสาธารณรัฐเช็ก และมีสินค้านำเข้าอื่น ๆ ได้แก่ เครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ แผงวงจรรวมอิเล็กทรอนิกส์ มอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

การขาดดุลการค้ากับมาเลเซีย มีสินค้าหลัก คือ อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ และยางธรรมชาติ สำหรับไต้หวัน และเวียดนาม มีสินค้าหลัก คือ อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ รองเท้า และเครื่องนุ่งห่ม

สำหรับการขาดดุลการค้ากับประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าที่ใช้ในการผลิตสินค้าต่าง ๆ เป็น Final Products อาทิ ชิ้นส่วน Semi-products ที่ใช้โดยบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนและมีโรงงานผลิตใน สาธารณรัฐเช็ก ประกอบกับการส่งออกของสาธารณรัฐเช็กไปยังไทยยังมีอยู่น้อย

บทสรุป/ข้อเสนอแนะ

การนำเข้าสินค้าจากประเทศในเอเชียมายังสาธารณรัฐเช็ก ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ ชิ้นส่วน/อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ขณะที่กลุ่มสินค้าเกษตรและอาหารส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่เก็บได้นาน อาทิ ข้าว ผลิตภัณฑ์จากข้าว ผลไม้และถั่ว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป พริกไทยดำ และ สินค้ากลุ่ม Food Preparation ซึ่งส่วนใหญ่ประเทศในเอเชียจะมีการผลิตสินค้าอาหารที่คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ดี สินค้าอาหารจากประเทศไทยจะได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพและมาตรฐาน แต่ข้อเสียเปรียบ คือ การแข่งขันในด้านราคา เนื่องจากบางประเทศยังคงได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร

ปัจจัยด้านราคายังคงมีความสำคัญสำหรับผู้บริโภคในตลาดสาธารณรัฐเช็ก ปัจจุบันอุปสรรคสำคัญ ในเรื่องราคาคือ ค่าขนส่งสินค้าทางเรือที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการชะลอการนำเข้าสินค้าของผู้นำเข้า สาธารณรัฐเช็กในช่วงปีที่ผ่านมา ประกอบกับผลกระทบจากการระงับการขนส่งในท่าเรือของยุโรป โดยเฉพาะท่า เมือง Hamburg และ Rotterdam และการขาดแคลนรถไฟและรถบรรทุก

สำหรับในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 จะเห็นได้ว่า ปริมาณความต้องการสินค้า อาหารที่เก็บได้นานมีเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพเป็นสินค้าที่ได้รับความสนใจในวงกว้าง เนื่องจาก ผู้บริโภคให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพมากขึ้น ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ประกอบการไทยในกลุ่มสินค้าอาหาร ควรติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการสินค้าดังกล่าว และวางแผนการพัฒนาสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการ ผู้บริโภค การสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้าอาหารไทยด้วยคุณภาพ มาตรฐาน และเพิ่มมูลค่าของสินค้าด้วยนวัตกรรมใหม่ รวมถึงการนำเสนอสินค้าเพื่อสุขภาพด้วยวัตถุดิบส่วนประกอบที่มีเฉพาะถิ่น อาทิ สมุนไพรไทยจะช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับสินค้าไทย เพื่อให้สามารถเจาะตลาดและแข่งขันได้ เนื่องจากการแข่งขันด้านราคาสำหรับสินค้าทั่วไปจะเสียเปรียบคู่แข่งขันที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW