รายงานสถานการณ์การค้า สหรัฐอเมริกา ณ นครนิวยอร์ก เดือน ตุลาคม 2564

สถานการณ์ล่าสุด / มาตรการของประเทศผู้นำเข้า

สถานการณ์ล่าสุด

1. ด้านภาวะเศรษฐกิจ :

  • อัตราการขอรับผลประโยชน์จากการประกันการว่างงานลดลงมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาด ส่วนหนึ่งมาจากการยุติการให้เงินประกันการว่างงานเมื่อสิ้นสุดเดือนกันยายน
  • สถานการณ์การขาดแคลนสินค้าเนื่องมากจากปัญหาในระบบซัพพลายเชนยังคงส่งผลกระทบต่อตลาดสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลวันหยุดสิ้นปีที่กำลังจะมาถึง ประธานาธิปดีไบเดนได้มีความพยายามในการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการสนับสนุนให้ท่าเรือขนส่งสินค้าดำเนินการต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง และหารือกับบริษัทขนส่งสินค้าต่างๆเพื่อหาทางแก้ปัญหา
  • ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 2557 ประกอบกับสถานการณ์เงินเฟ้อและปัญหาด้านซัพพลายเชน ก่อให้เกิดความกังวลด้านเศรษฐกิจของผู้บริโภค

2. มีการผ่อนปรนการเดินทางเข้ามายังสหรัฐฯ โดยจะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วจากประเทศต่างๆอาทิ อังกฤษ ฝรั่งเศษ อิตาลี จีน และ อิหร่าน เป็นต้น สามารถเดินทางเข้ามายังสหรัฐฯได้ โดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564

3. อัตราการดำเนินการยึดทรัพย์เนื่องมาจากการผิดนัดผ่อนชำระหนี้สำหรับที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากมาตรการช่วยเหลือการพักชำระหนี้ได้เริ่มสิ้นสุดลง

4. มีการสนับสนุนให้ประชาชนฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเนื่องมาจากการกลายพันธุ์ของไวรัส โดยมุ่งไปที่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ รวมทั้งผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับด้านสาธารณสุข โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องได้รับวัคซีนไฟเซอร์มาไม่น้อยกว่า 6 เดือน

โอกาสของสินค้า / บริการไทย

โอกาสของสินค้าบริการไทย

  1. หลังจากที่นครนิวยอร์กยกเลิกมาตรการเพื่อควบคุมโรคติดต่อและธุรกิจต่างๆกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและบริการโดยเฉพาะร้านอาหารไทยสามารถให้บริการได้เต็มรูปแบบ
  2. กลุ่มสินค้าอาหาร วัตถุดิบ อาหารกระป๋อง และอาหารพร้อมปรุง อาหารพร้อมทาน ยังคงมีแนวโน้มความต้องการที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอาหารทะแลแปรรูปที่มียอดขายสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2563
  3. สหรัฐฯได้ก้าวเข้าสู่ช่วงปลายฤดูร้อนและเริ่มมีการจำหน่ายสินค้าสำหรับฤดูหนาว อาทิ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
  4. สินค้ากลุ่ม PPE อาทิ ถุงมืออนามัย หน้ากากอนามัยยังคงมีความต้องการในตลาดสหรัฐฯ แต่มีแนวโน้มที่ความต้องการสินค้าดังกล่าวจะลดลงจากช่วงที่ผ่านมา

ข้อเสนอ / แผนการดำเนินงานเร่งด่วน

แผนเชิงรุกเพื่อผลักดันการส่งออกระยะสั้น :

  1. จัดทำ Online Business Matching หรือ Virtual Trade Show กลุ่มสินค้าเป้าหมาย เช่น สินค้าอาหาร สินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าอาหารสัตว์
  2. ดำเนินกิจกรรมเชิงรุกผ่านโครงการ Thai Select เพื่อสนับสนุนร้านอาหารไทยในสหรัฐฯ
  3. เผยแพร่ online content ให้กับนักธุรกิจและผู้นำเข้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้และตระหนักถึงสินค้าและกิจกรรมต่างๆ พร้อมตอกย้ำและสร้างการรับรู้ถึงคุณภาพสินค้าไทยให้กับผู้บริโภคสหรัฐฯ ผ่าน Social Media และ Mass Media
  4. ส่งเสริมและให้ความรู้กับผู้ประกอบการไทยในการนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายใน online marketplace อย่างเช่น Amazon, Ebay และ Esty เป็นต้น
  5. จัดทำเพจแนะนำนักออกแบบและสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของสคต. ในสหรัฐฯ เพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นให้เกิดการสั่งซื้อในเชิงรุก
  6. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเข้าร่วม Virtual Trade Show ที่ถูกจัดขึ้นแทนงาน Trade show จริงในหสรัฐฯ เพื่อติดตามแนวโน้มของตลาดและเทรนด์ผู้บริโภค

แผนผลักดันการส่งออกระยะยาว :

  1. ให้ความรู้และอบรมผู้ประกอบการเกี่ยวกับระบบ E-Commerce เพื่อเป็นประโยชน์ในการแข่งขันในอนาคต
  2. สร้างเครือข่ายกับผู้นำเข้า/นักธุรกิจเพื่อเชิญชวนให้มาแสวงหาสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น
  3. จัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าไทยรูปแบบใหม่ ผ่านเครือข่ายของผู้นำเข้าที่มีศักยภาพ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW