รายงานเศรษฐกิจการค้าสาธารณรัฐเช็ก ณ กรุงปราก เดือน กันยายน 2564

รายงานอุตสาหกรรมยานยนต์ในสาธารณรัฐเช็ก

1. ภาพรวมตลาด

อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมการผลิตหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศสาธารณรัฐเช็ก โดยนอกจากอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์แล้ว ยังรวมไปถึงอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ชิ้นส่วน/ส่วนประกอบรถยนต์ อุปกรณ์เสริม อะไหล่ ฯลฯ สำหรับการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ของสาธารณรัฐเช็ก คิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) และร้อยละ 23 ของการส่งออกทั้งหมด และอุตสาหกรรมยานยนต์มีสัดส่วนร้อยละ 26 ของการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดของประเทศ มีแรงงานกว่า 180,000 คน และเมื่อนับรวมกับซัพพลายเออร์ต่าง ๆ แล้ว รวมตำแหน่งงานในอุตสาหกรรมยานยนต์มีมากกว่า 500,000 ตำแหน่ง ดังนั้น เศรษฐกิจของประเทศที่พึ่งพาการส่งออกของอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหลัก ประเทศสาธารณรัฐเช็กจึงมีชื่อเรียกว่า “เศรษฐกิจแบบ Škoda Economy” โดยบริษัทส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมยานยนต์นั้นเป็นบริษัทต่างชาติ ที่เข้ามาตั้งโรงงานผลิตในสาธารณรัฐเช็ก

การผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ของสาธารณรัฐเช็ก ปี 2562 – 2563

ผู้ผลิต

 ปริมาณการผลิต  อัตราการขยายตัว
Passenger cars + light utility vehicles N1256325622563
ŠKODA (ŠKODA Auto a.s.)749,579907,942-17.44%
TOYOTA, PEUGEOT, CITRÖEN (TPCA Czech s.r.o.)164,572210,121-21.68%
HYUNDAI (HMMC-Hyundai Motor Manuf. Czech s.r.o.)238,750309,500-22.86%
TOTAL1,152,9011,427,563-19.24%
Buses (cat. M2 a M3)   
IVECO BUS (Iveco Czech Republic, a.s.)4,5184,609-1.97 %
SOR (SOR Libchavy spol. s r.o.)526573-8.20 %
Others/  (KH motor CENTRUM Opava)2635-25.71%
TOTAL5,0705,217-2.80%
Motorcycles 
JAWA  (JAWA Moto spol. s r.o.)553980-43.57%
ที่มา: สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งสาธารณรัฐเช็ก พ.ศ. 2564

การผลิตรถยนต์นั่งมีสัดส่วนสูงสุด ถึงร้อยละ 99.5 ของการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งหมดของสาธารณรัฐเช็ก สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ในปี 2563 ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม
ยานยนต์ โดยการผลิตรถยนต์ในปี 2563 มีปริมาณการผลิต 1,152,901 คัน ลดลงร้อยละ 19.24 เมื่อเทียบกับปี ก่อนหน้า อาทิ การผลิตรถยนต์ Škoda มีจำนวน 749,579 คัน (ลดลงร้อยละ 17.4) รถยนต์ Hyundai จำนวน 238,750 คัน (ลดลงร้อยละ 22.9) และ Toyota, Peugeot, Citroën จำนวน 164,572 คัน (ลดลงร้อยละ 21.7) ทั้งนี้ รถยนต์ Škoda มีปริมาณการผลิตสูงที่สุดในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ของสาธารณรัฐเช็ก ร้อยละ 65 ตามด้วย Hyundai ร้อยละ 20.7 และ Toyota Motor ร้อยละ 14.3

ในเดือนเมษายน 2563 ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงมากที่สุด ร้อยละ 88.5 สาเหตุมาจากโรงงานผลิตรถยนต์รายใหญ่ ได้แก่ Škoda-Volkswagen, Toyota Motor และ Hyundai รวมถึงซัพพลายเออร์ย่อยต้องหยุดการผลิตเป็นเวลาหลายสัปดาห์ (โดยเฉลี่ย 29 วัน) และการผลิตต้องชะลอตัวลง เนื่องจากยอดขายและปริมาณความต้องการรถยนต์ในสหภาพยุโรปลดลง

การพัฒนาการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ของสาธารณรัฐเช็ก มกราคม – สิงหาคม 2564

ผู้ผลิตปริมาณการผลิตอัตราการเติบโต
Passenger cars + light utility vehicles N1ม.ค.-ส.ค. 64ม.ค.-ส.ค. 63   ม.ค.-ส.ค. 64
ŠKODA (ŠKODA Auto a.s.)486,423450,7337.9 %
TOYOTA, PEUGEOT, CITRÖEN (Toyota Motor Manufacturing  Czech s.r.o.)  106,673100,7845.8 %
HYUNDAI (HMMC-Hyundai Motor Manuf. Czech s.r.o.)182,400137,04033.1 %
TOTAL775,496688,55712.6 %
Buses (cat. M2 a M3)   
IVECO BUS (Iveco Czech Republic, a.s.)2,7382,7130.9 %
SOR (SOR Libchavy spol. s r.o.)233279-16.5 %
Others/  (KH motor CENTRUM Opava)1317-23.5 %
TOTAL2,9843,090-0.8 %
Motorcycles 
JAWA  (JAWA Moto spol. s r.o.)736323127.9 %
ที่มา: สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งสาธารณรัฐเช็ก พ.ศ. 2564  

หมายเหตุ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 64 Toyota เปลี่ยนชื่อเป็น Toyota Motor Manufacturing Czech Republic

ในเดือนมกราคม – สิงหาคม 2564 สาธารณรัฐเช็กผลิตรถยนต์นั่งจำนวน 775,496 คัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 เมื่อเทียบกับปี 2563 แต่ยังคงลดลงร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ในปี 2562 โดยมีการผลิตรถยนต์ Škoda จำนวน 486,423 คัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8) รถยนต์ Hyundai จำนวน 182,400 คัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 33) และ Toyota, Peugeot, Citroën จำนวน 106,673 คัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6)

การนำเข้าและส่งออก

การนำเข้าและส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์ของสาธารณรัฐเช็ก (HS 8708)

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติสาธารณรัฐเช็ก กันยายน พ.ศ. 2564

การส่งออกชิ้นส่วน/ส่วนประกอบ

สาธารณรัฐเช็กมีการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์มากกว่าการนำเข้า ในปี 2563 ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19  ในเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2564 การนำเข้าและส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่ยังไม่อยู่ในระดับเดียวกับช่วงปี 2562 ก่อนการเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของ Covid-19

การนำเข้าชิ้นส่วน/ส่วนประกอบรถ

สำหรับการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ ในปี 2563 มีการนำเข้าลดลงร้อยละ 13.7 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 แต่ในปี 2564 สถานการณ์เริ่มดีขึ้น โดยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.5     ซัพพลายเออร์หลักของชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์ คือ เยอรมนี (ร้อยละ 40) ตามด้วย โปแลนด์ (ร้อยละ 13.4) และเกาหลีใต้ (ร้อยละ 8.8) ที่มีโรงงานผลิตรถยนต์ Hyundai ในเมือง Nošovice  ทั้งนี้ ซัพพลายเออร์หลักของรถยนต์นั่งมีความแตกต่างจากซัพพลายเออร์ของชิ้นส่วนยานยนต์ เนื่องจากความนิยมของชิ้นส่วนอะไหล่ในตลาด ที่ไม่ใช่ผู้ผลิตรถยนต์ อาทิ อะไหล่หลังการขาย ที่นิยมนำมาใช้สำหรับรถยนต์ที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ซึ่งซัพพลายเออร์รายใหญ่ในกลุ่มอะไหล่ดังกล่าว คือ โปแลนด์ สโลวาเกีย ฮังการี สเปน อิตาลี และจีน

สำหรับซัพพลายเออร์จากภูมิภาคเอเชีย ซัพพลายเออร์หลัก ได้แก่ เกาหลีใต้ เนื่องจากมีโรงงานผลิตรถยนต์ Hyundai ในสาธารณรัฐเช็ก ตามด้วย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ไทย และเวียดนาม โดยสินค้านำเข้าสำคัญจากจีนและอินเดีย ได้แก่ ระบบเบรก หม้อน้ำ ท่อเก็บเสียง ระบบบังคับเลี้ยว ระบบส่งกำลัง (กล่องเกียร์) และชิ้นส่วนอื่น ๆ  สำหรับปริมาณการนำเข้าจากเวียดนามอยู่ที่ร้อยละ 65 ของการนำเข้าจากไทย โดยสินค้าที่นำเข้าหลัก ได้แก่ ระบบส่งกำลัง และถุงลมนิรภัย  การนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์จากไทยมายังสาธารณรัฐเช็ก สินค้าหลัก คือ ระบบบังคับเลี้ยว ถุงลมนิรภัย และชิ้นส่วนอื่น ๆ หนึ่งในผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุด คือ JTEKT Automotive Czech ซึ่งเป็นสาขาของบริษัทญี่ปุ่นตั้งอยู่ที่เมือง Plzeň ดำเนินการผลิตระบบบังคับเลี้ยวให้แก่โรงงาน Toyota Motors สำหรับรถยนต์รุ่น Peugeot 108, Citroen C1, Toyota Aygo และ Toyota Yaris ในสาธารณรัฐเช็ก

การนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ (HS 8708) มายังสาธารณรัฐเช็ก ปี 2562 – 2564

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติสาธารณรัฐเช็ก กันยายน พ.ศ. 2564

การนำเข้าและส่งออกรถยนต์นั่งของสาธารณรัฐเช็ก (HS 8703)

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติสาธารณรัฐเช็ก กันยายน พ.ศ. 2564

สาธารณรัฐเช็กเป็นผู้ส่งออกรถยนต์นั่งรายใหญ่ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตรถยนต์ Škoda-Volkswagen, Hyundai และ Toyota Motor ผู้ผลิตรถยนต์ Toyota, Peugeot และ Citroën จึงทำให้มีปริมาณการส่งออกสูงกว่าการนำเข้าถึง 5 เท่า

การนำเข้ารถยนต์นั่ง (HS 8703) มายังสาธารณรัฐเช็ก ปี 2562 – 2564

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติสาธารณรัฐเช็ก กันยายน พ.ศ. 2564

ในปี 2563 ปริมาณการนำเข้ารถยนต์นั่งมายังสาธารณรัฐเช็กลดลงร้อยละ 13.1  และในเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2564 ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 56  ซัพพลายเออร์รายใหญ่ คือ เยอรมนี โดยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 27 รองลงมา คือ สเปน (ร้อยละ 11) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 8.6)   

สำหรับการนำเข้าจากประเทศไทย มีการขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีการนำเข้ารถปิกอัพรุ่น L200 จากบริษัท Mitsubishi Motors Corporation ในปี 2563 มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 และในเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2564 นำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 48 แม้ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ

ส่วนแบ่งการตลาดของแต่ละประเทศมีความเชื่อมโยงกับความนิยมรถยนต์ในตลาดและแหล่งผลิต โดยยี่ห้อรถยนต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปี 2563 ได้แก่ Volkswagen, Toyota, Dacia, Peugeot, KIA, Renault, Mercedes Benz และ Ford  โดยมีผู้นำหลักในตลาด คือ Škoda

4. สถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมยานยนต์ในสาธารณรัฐเช็ก

ปัจจุบัน ผู้ผลิตรถยนต์ในสาธารณรัฐเช็กกำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วน โดยเฉพาะชิปและ Semi-conducts  เนื่องจากปัญหาการจัดส่งสินค้า และการต้องระงับการผลิตชั่วคราวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ส่งผลกระทบให้ปริมาณการผลิตรถยนต์นั่งในสาธารณรัฐเช็กลดลงร้อยละ 39

บริษัท Škoda-Volkswagen ต้องลดจำนวนชั่วโมงการทำงานของพนักงาน โดยยังคงจ่ายค่าจ้างร้อยละ 85 และในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกันยายน 2564 การผลิตในโรงงานของ Škoda-Volkswagen ทั้ง 3 แห่งในสาธารณรัฐเช็กต้องหยุดชะงัก รวมถึงยังมีรถยนต์ที่ผลิตไม่เสร็จจำนวนกว่า 33,000 คัน ที่รอการส่งมอบชิ้นส่วน ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเช่นเดียวกันในโรงงานผลิตรถยนต์ของ Hyundai และ Toyota Motor

สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งสาธารณรัฐเช็กคาดการณ์ว่า ปัญหาการขาดแคลนชิปและส่วนประกอบด้งกล่าว จะส่งผลให้ในปี 2564 การผลิตรถยนต์นั่งในสาธารณรัฐเช็กจะลดลง 140,000 คัน ขณะที่การผลิตรถโดยสารไม่ได้รับผลกระทบมากนัก โดยในเดือนมกราคม – สิงห าคม 2564มีการผลิตรถโดยสารจำนวน 2,984 คัน (ลดลงร้อยละ -0.8) และการผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน 736 คัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 127.9)

สาธารณรัฐเช็กยังมีฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์ที่สำคัญ โดยเป็นทั้งซัพพลายเออร์สำหรับผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศ และเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่  โรงงานผลิตรถยนต์ในสาธารณรัฐเช็กจึงนิยมใช้ซัพพลายเออร์ในประเทศแทนการใช้ซัพพลายเออร์จากต่างประเทศ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูง และต้นทุนการขนส่งต่ำ  ปัจจุบัน เขตอุตสาหกรรมยานยนต์ของสาธารณรัฐเช็กตั้งอยู่บริเวณรอบเมือง Mladá Boleslav, Plzeň และ Kolín  ทั้งนี้ ยังมีการวางแผนขยายโรงงานการผลิตไปยังพื้นที่ North Bohemia หรือ South Moravia (บริเวณเส้นมอเตอร์เวย์ไปกรุงบราติสลาวา ประเทศสโลวาเกีย)

นอกจากนี้ สาธารณรัฐเช็กยังมีข้อได้เปรียบในอุตสาหกรรมยานยนต์หลายประการ อาทิ ค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าเยอรมนีถึง 3 เท่า และการปรับปรุงโรงงานใหม่ของบริษัท Jaguar Land Rover ในเมือง Nitra ประเทศ     สโลวาเกีย ที่ทำให้เขต South Moravia ของสาธารณรัฐเช็กมีความน่าสนใจ เนื่องจากสามารถขนส่งสินค้าจากเมือง Hodonín ในเขต South Moravia ไปยังโรงงานผลิตรถยนต์ในสโลวาเกียได้ 3 แห่ง (Volkswagen ในเมือง Bratislava Peugeot ในเมือง Trnava และ Jaguar Land Rover ในเมือง Nitra) ภายในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง

5. ผู้ผลิตสำคัญ

สาธารณรัฐเช็กเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของยุโรป ผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในประเทศ คือ Škoda-Auto ตามด้วย Hyundai และ TPCA

Škoda-Auto

บริษัทผู้ผลิตรถยนต์เช็ก ดำเนินการผลิตรถยนต์มายาวนานกว่า 100 ปี โดยรถยนต์คันแรกผลิตขึ้นในปี 2448 รุ่น Laurin & Klement Voiturette A.  ภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจภายใต้รัฐบาลของสาธารณรัฐเชโกสโลวาเกียในปี 2532  รัฐบาลได้ร่วมมือกับฝ่ายบริหารของบริษัท Škoda โดยในเดือนธันวาคม 2533 ได้ตกลงร่วมลงทุนกับ Volkswagen Group ของเยอรมนี เริ่มดำเนินงานเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2534 ภายใต้ชื่อ Škoda automobilová a.s. และได้กลายเป็นบริษัทลูกของกลุ่ม Volkswagen Group ควบคู่กับ Volkswagen, Audi และ SEAT  ปัจจุบัน บริษัท Škoda Auto เป็นบริษัทร่วมทุนกับต่างชาติ โดยมี Volkswagen Group ถือหุ้น 100%

ในปี 2563 บริษัท Škoda Auto ผลิตรถยนต์จำนวน 750,000 คัน (ลดลงร้อยละ 17.4)  มีจำนวนพนักงาน 32,000 คน มูลค่าการซื้อขายรวมกว่า 400,000 ล้านเช็กคราวน์ และยังเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐเช็ก โดยร้อยละ 10 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดจำหน่ายภายในประเทศ ขณะที่ร้อยละ 90 เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก รถยนต์รุ่นที่ผลิตในปัจจุบัน ได้แก่ Citigo, Fabia, Scala, Octavia, Superb, Kamiq (SUV), Karoq (SUV), Kodiaq (SUV) และ Enyaq IV (Electric SUV)

Škoda รุ่น Laurin & Klement Voiturette A.

Toyota Motor Manufacturing Czech (ชื่อเดิม TPCA)

บริษัท Toyota และบริษัท PSA (Peugeot, Citroën) ร่วมทุนกว่าจำนวน 25,000 ล้านเช็กคราวน์ เปิดตัวการผลิตโรงงานในสาธารณรัฐเช็กเมื่อต้นปี 2548 ภายใต้ชื่อ TPCA (Toyota Peugeot Citroën Automotive) ซึ่งนับเป็นหนึ่งในโรงงานผลิตรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก โดยสามารถผลิตรถยนต์ได้กว่า 300,000 คัน/ปี (100,000 คัน สำหรับรถยนต์ Toyota และ 200,000 คัน สำหรับรถยนต์ Peugeot, Citroën) มีจำนวนพนักงานทั้งหมด 3,300 คน  ในปี 2563 ผลิตรถยนต์จำนวนกว่า 165,000 คัน (ลดลงร้อยละ 21.7) โดยร้อยละ 80 ใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ภายในประเทศในกระบวนการผลิต ทั้งนี้ TPCA เป็นโรงงานผลิตรถยนต์ Toyota แห่งแรกที่ไม่พึ่งพาชิ้นส่วนยานยนต์จากประเทศญี่ปุ่น สำหรับการผลิตรถยนต์ รุ่น Peugeot 108, Citroën C1 และ Toyota Aygo ใช้โครงสร้างการผลิตเหมือนกัน แต่มีลักษณะการออกแบบเฉพาะตัว

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 บริษัท Toyota เข้ามาบริหารจัดการการผลิตในโรงงาน และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Toyota Motor Manufacturing Czech โดยยังคงผลิตรถยนต์ Peugeot และ Citroën   ในปี 2564 ได้มีการขยายการผลิตมายังรถยนต์ Toyota Yaris รุ่นใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยี Hybrid อย่างไรก็ดี การผลิตส่วนใหญ่เน้นการส่งออกเป็นหลัก เนื่องจากรถยนต์ขนาดเล็ก เช่น Peugeot 108, Citroën C1 และ Toyota Aygo ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในตลาดเช็ก

Hyundai Motor Manufacturing Czech

ในปี 2550 บริษัทผู้ผลิตรถยนต์จากเกาหลีใต้เข้ามาลงทุนในสาธารณรัฐเช็ก ด้วยเงินทุนกว่า 1,550 ล้าน   ยูโร เพื่อสร้างโรงงานผลิตที่เมือง Nošovice ภูมิภาค Moravian-Salesian และมีการทดสอบการผลิตรถยนต์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 จำนวน 12,000 คัน  โดยโรงงานแห่งนี้สามารถผลิตรถยนต์จำนวน 350,000 คัน/ปี มีจำนวนพนักงาน 3,300 คน นอกจากการผลิตรถยนต์ โรงงานยังผลิตเกียร์สำหรับบริษัทลูก คือ KIA Slovakia และ HMMR Russia  ในปี 2563 มีการผลิตรถยนต์ รุ่น i30, Tucson (SUV) และ KONA (SUV Electric) จำนวน 239,000 คัน (ลดลงร้อยละ 23) โดยรถยนต์ Hyundai กว่าร้อยละ 50 ใช้ส่วนประกอบที่ผลิตขึ้นในสาธารณรัฐเช็ก

รายชื่อผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์เสริมในสาธารณรัฐเช็ก

ชิ้นส่วนไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์

  • KOSTAL
  • KES
  • EPCE
  • ERICH JAEGER
  • PEKM KABELTECHNIK
  • DELPHI
  • H.I.F.
  • TESLA BLATNA
  • TRCZ
  • DRAKA KABELY
  • TRW AUTOELEKTRONIKA
  • MITSUBISHI ELECTRIC AUTOMOTIVE

โช้คอัพและสปริง

  • BRANO GROUP
  • MONROE TENNECO
  • MUBEE

ยางรถยนต์

  • RONAL
  • HAYES LEMMERZ ALUKOLA

ระบบพวงมาลัย

  • AXL
  • KOYO STEERING SYSTEMS
  • JTEKT AUTOMOTIVE
  • EATON
  • TRW VOLANT

เครื่องยนต์

  • BRISK
  • PRAGA LOUNY
  • ROBERT BOSCH ALMET
  • MOTORPAL
  • DONALDSON
  • CZ STRAKONICE

ส่วนประกอบโครงรถยนต์

  • L.A.R.
  • KARSIT
  • DURA
  • BREN
  • BENTELER
  • WAGON AUTOMOTIVE

ระบบไฟ

  • KOITO
  • AUTOPAL VISTEON
  • HELLA AUTOTECHNIK
  • KES
  • TRW CARR

เบรก

  • KNORR – BREMSE
  • TRW/LUCAS VARITY
  • CONTINENTAL TEVES
  • ROBERT BOSCH
  • COOPER STANDARD

ถุงลมนิรภัย

  • TOYODA GOSEI AUTOMOTIE SCI
  • INDET SAFETY SYSTEMS

กระปุกเกียร์

  • SKODA AUTO
  • JIHOSTROJ
  • CZ STRAKONICE

ชุดปัดน้ำฝน

  • INTIER
  • SIEMENS

กระจกรถยนต์

  • AGC AUTOMOTIVE
  • SAINT GOBAIN SEKURIT
  • CADENCE INNOVATION GLAVERBEL

ส่วนประกอบพลาสติก

  • SWOTES
  • CIE AUTOMOTIVE
  • KAUTEX TEXTRON
  • BTV PLAST     
  • RUBENA
  • TANEX PLASTY
  • BOHM PLAST TECHNIK
  • METALPLAST

เบาะนั่ง และชิ้นส่วนตกแต่งภายใน

  • GUMOTEX
  • JOHNSON CONTROLS

6. พฤติกรรมผู้บริโภค

การใช้งานรถยนต์นั่งในสาธารณรัฐเช็กค่อนข้างยาวนานกว่าสิบปี การใช้รถยนต์เฉลี่ยต่อคันยาวนานถึง 15.28 ปี (ข้อมูลจากสำนักทะเบียนยานยนต์) อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการตรวจสอบป้ายทะเบียนของรถที่ใช้งานบนท้องถนนพบว่า มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 8.5 ปี และรถยนต์ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้งานและมีการใช้งานประมาณไม่เกิน 2,000 กิโลเมตร/ปี

ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง 10 อันดับแรกในปี 2563

บริษัทยอดขายในประเทศ ปี 2563 (คัน)อัตราการขยายตัว (เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า)ส่วนแบ่งการตลาดในปี 2563
   1. ŠKODA74,786-13.0 %36.9 %
   2. VOLKSWAGEN16,767-19.7 %8.3 %
   3. HYUNDAI16,030-16.9 %7.9 %
   4. TOYOTA10,0231.3 %4.9 %
   5. DACIA9,751-34.2 %4.8 %
   6. PEUGEOT8,467-25.4 %4.2 %
   7. KIA8,332-13.9 %4.1 %
   8.  RENAULT7,497-25.8 %3.7 %
   9. MERCEDES –         BENZ7,023-4.1 %3.5 %
   10.  FORD6,805-30.1%3.4 %
ที่มา : สมาคมผู้นำเข้ารถยนต์แห่งสาธารณรัฐเช็ก กันยายน 2564

รถยนต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในตลาดเช็ก คือ Škoda คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.9 ของรถยนต์นั่งทั้งหมดที่จดทะเบียนในปี 2563 ด้วยชื่อเสียงในเรื่องคุณภาพ และอะไหล่ที่หาง่าย รวมถึงค่าบริการถูกกว่ารถยนต์นำเข้า แม้ว่าภายหลังการตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ Hyundai ในสาธารณรัฐเช็ก ส่งผลให้ยอดขายและส่วนแบ่งการตลาดของรถยนต์ Hyundai เพิ่มขึ้น แต่รถยนต์ Škoda ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง

ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง 10 อันดับแรก มกราคม – สิงหาคม 2564

บริษัทยอดขายในประเทศ ปี 2563อัตราการขยายตัว (เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า)ส่วนแบ่งการตลาด ปี 2563
   1. ŠKODA51,1512.2 %34.6 %
   2. HYUNDAI13,56228.1%9.2 %
   3. VOLKSWAGEN13,16333.3 %8.9 %
   4. TOYOTA6,92215.9 %4.7 %
   5. KIA6,50218.3 %4.4 %
   6. MERCEDES –         BENZ6,16730.7 %4.2 %
   7. PEUGEOT5,8212.6 %3.9 %
   8. FORD5,0963.5 %45.0 %
   9. SEAT5,0923.4 %84.2 %
  10. DACIA4,6583.2 %-29.6 %
ที่มา : สมาคมผู้นำเข้ารถยนต์แห่งสาธารณรัฐเช็ก กันยายน 2564

ในเดือนมกราคม – สิงหาคม 2564 ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งของสาธารณรัฐเช็ก (ยกเว้นรถยนต์ Dacia) ปรับเพิ่มขึ้น โดยรถยนต์ Seat เติบโตสูงสุดร้อยละ 84.2 ตามด้วย Ford ร้อยละ 45 และ Škoda ร้อยละ 34.6 โดยรถยนต์ Škoda ยังคงเป็นผู้นำตลาดในด้านยอดจำหน่ายรถยนต์ ที่สัดส่วนการตลาดร้อยละ 35

ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งของสาธารณรัฐเช็กปี 2563แบ่งตามประเภทเชื้อเพลิง

ประเภทเชื้อเพลิงสัดส่วนการจำหน่าย
   1. PETROL (BENZINE)58.1
   2. DIESEL39.5
   3. LPG1.8
   4. CNG  0.3
   5. HYBRID0.15
   6. ELECTRIC0.13

ในปี 2563 สาธารณรัฐเช็กมีจำนวนรถยนต์นั่งกว่า 6 ล้านคัน โดยเป็นรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินเป็นหลัก สัดส่วนของรถยนต์ไฟฟ้าเมื่อเทียบกับรถยนต์ทั้งหมดมีเพียงร้อยละ 0.13 จำนวน 8,551 คัน

7. ข้อกำหนดและอัตราภาษีการนำเข้า

สาธารณรัฐเช็กเป็นประเทศสมาชิกของกลุ่มสหภาพยุโรปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2547 จึงมีการใช้กฎระเบียบการนำเข้าของสหภาพยุโรป http://ec.europa.eu/taxation_customs/dds2/taric/taric_consultation.jsp

.

อัตราภาษีศุลกากรของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปสำหรับรายการสินค้าตาม HS Code ในตาราง

HS CodeITEMIMPORT DUTY
8708 10Bumpers and parts thereof3.0 %
8708 2110Safety seat belts, for industrial assembly3.0 %
8708 2190Safety seat belts, other4.5 %
8708 2910Other parts of bodies, for industrial assembly3.0 %
8708 2990Other parts of bodies4.5 %
8708 3010Brakes and servobrakes and parts thereof, for industrial assembly3.0 %
8708 3091Brakes and servobrakes and parts thereof, other4.5 %
8708 4020Gear boxes and parts thereof, for industrial assembly3.0 %
8708 4050Gear boxes and parts thereof, other4.5 %
8708 5020Drive axles with differential, for industrial assembly3.0 %
8708 5035Drive axles with differential, other4.5 %
8708 7010Road wheels, accessories and parts thereof, for industrial assembly3.0 %
8708 7050Road wheels, accessories and parts thereof, other4.5 %
8708 8020Suspension systems and parts thereof, for industrial assembly3.0 %
8708 8035Suspension systems and parts thereof, other4.5 %
8708 9120Radiators and parts thereof, for industrial assembly3.0 %
8708 9135Radiators and parts thereof, other4.5 %
8708 9220Siอlencers and exhaust pipes and parts thereof, for industrial assembly3.0 %
8708 9235Silencers and exhaust pipes and parts thereof, other4.5 %
8708 9310Clutches and parts thereof, for industrial assembly3.0 %
8708 9390Clutches and parts thereof, other4.5 %
8708 9420Steering wheels, steering columns, steering boxes and parts thereof, for industrial assembly3.0 %
8708 9435Steering wheels, steering columns, steering boxes and parts thereof, other4.5 %
8708 9510Safety airbags and parts thereof, for industrial assembly3.0 %
8708 9591Safety airbags and parts thereof, other4.5 %
8708 9910Other autoparts and accessories, for industrial assembly3.0 %
8708 9993Other autoparts and accessories4.5 %
ที่มา: EU TARIC ปี 2564

โอกาส/อุปสรรค/ข้อเสนอแนะ

อุตสาหกรรมยานยนต์ในสาธารณรัฐเช็ก เป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ  โดยอุตสาหกรรมนี้สร้างรายได้จากการส่งออกกว่าร้อยละ 20 ของการส่งออกทั้งหมด และสร้างงานกว่า 500,000 ตำแหน่ง  

ความสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ในตลาดนี้ ทำให้เห็นโอกาสสำหรับผู้ผลิต/ผู้ประกอบการไทย ในกลุ่มชิ้นส่วน/ส่วนประกอบยานยนต์ รวมถึงอะไหล่ต่าง ๆ เนื่องจากตลาดมีความต้องการสินค้ากลุ่มนี้ เพื่อนำมาป้อนโรงงานผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่หลายแห่งในสาธารณรัฐเช็ก อย่างไรก็ดี สินค้าจากไทยบางรายการในกลุ่มชิ้นส่วน/ส่วนประกอบรถยนต์ อาจต้องเผชิญกับการแข่งขันกับซัพพลายเออร์ในประเทศ ที่มีความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนด้านโลจิสติกส์  ทําให้การเจาะตลาดในกลุ่มโรงงานผลิตรถยนต์ในสาธารณรัฐเช็กนั้นจะค่อนข้างยาก อย่างไรตาม โอกาสสําหรับผู้ประกอบการไทย ยังมีในกลุ่มสินค้าชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เนื่องจากชิ้นส่วนอะไหล่ดั้งเดิมในสาธารณรัฐเช็กมีราคาค่อนข้างแพง และเจ้าของรถยนต์ที่มีรถยนต์ที่ใช้งานมากกว่า 5 ปีขึ้นไป จะนิยมอะไหล่รถยนต์ที่ไม่มียี่ห้อเนื่องจากราคาถูกกว่า ดังนั้น ตลาดชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ จึงน่าสนใจสําหรับตลาดนี้

ในอนาคต คาดการณ์ว่ารถยนต์ไฟฟ้าในตลาดสาธารณรัฐเช็กจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกับหลายประเทศ ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการไทย ควรศึกษาข้อมูล พิจารณาวางแผนการตลาดและวางแผนการผลิตสินค้าทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงความต้องการสินค้าชนิดใหม่ ๆ อาทิ การพัฒนาอะไหล่ ชิ้นส่วน/ส่วนประกอบที่ต้องใช้กับยานยนต์ไฟฟ้า  การแสวงหาพันธมิตร เพื่อการบริหารจัดการ Supply Chain  และการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์  นอกจากนี้ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ด้านการให้บริการ โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ และการใช้ช่องทางออนไลน์ในการสื่อสารข้อมูลสินค้า ด้านคุณภาพ มาตรฐาน และการบริการ รวมถึงการสื่อสารให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าไทย และทำให้สินค้าไทยมีโอกาสเข้าสู่ตลาดได้มากขึ้น

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW