รายงานสถานการณ์การค้า แคนาดา ณ นครแวนคูเวอร์ เดือน กันยายน 2564

1. เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจแคนาดา

 Most Recent Period% Change from Previous Period
GDP (C$ Billions)Q2/20212,462.021.9
Unemployment Rate (%)Aug 20217.1-0.4
Average Weekly Earnings (C$)Jun 20211,124.60-1.0
Consumer Price Index (2002=100)Aug 2021142.60.2 (MoM)
Export (C$ millions)July 202153,749.30.6
Import (C$ millions)July 202152,971.24.2
Trade Balance (C$ millions)July 2021778.1
ที่มา: Statistics Canada
  • สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์กังหันไอพ่น อัญมณีและทองคำยังไม่ขึ้นรูป เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ เป็นต้น
  • สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องประมวลผลข้อมูล น้ำมันดิบ อุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ อัญมณีและทองคำ เป็นต้น
  • ตลาดส่งออกสำคัญ 5 ประเทศแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และเม็กซิโก
  • แหล่งนำเข้าสำคัญ 5 ประเทศแรก คือ สหรัฐอเมริกา จีน เม็กซิโก เยอรมนี และญี่ปุ่น

2. สรุปภาวะเศรษฐกิจแคนาดา

ภาพรวมเศรษฐกิจแคนาดาเริ่มต้นไตรมาส 3 ปรับตัวดีขึ้นหลังจากการลดลงร้อยละ 1 ในไตรมาสก่อนหน้า จากปัจจัยสนับสนุนการส่งออกสินค้าและลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้น การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น การบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัวแต่อยู่ในกลุ่มภาคบริการอาหารและที่พักแรมเป็นส่วนมาก ทั้งนี้ ธนาคารกลางคาดเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ดีขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2564 เมื่อมาตรการผ่อนคลายโรคระบาด COVID-19 ออกมามากขึ้นและสถานศึกษาเปิดภาคเรียนตามปกติ ทั้งนี้ ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจแคนาดาปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ซึ่งยังไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย แต่แนวโน้มขยายตัวลดลงจากการแพร่ระบาด COVID ระลอกสี่ของสายพันธุ์เดลต้า

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจแคนาดา มีดังนี้

  • ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ ดัชนีราคาผู้บริโภค (อัตราเงินเฟ้อทั่วไป) เดือนสิงหาคม 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 4.1 (YoY) ถือเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบปีตั้งแต่มีนาคม 2546 โดยผลจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันและสินค้าคงทนเป็นสำคัญ ได้แก่ รถยนต์นั่งโดยสารสูงขึ้นร้อยละ 7.2% เฟอร์นิเจอร์สูงขึ้นร้อยละ 8.7% เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 5.3 ขณะที่ในส่วนราคาสินค้าหมวดอาหารสูงขึ้นร้อยละ 2.7 จากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์เกือบทุกประเภทร้อยละ 6.9 จากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและความต้องการจากร้านอาหารที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ความเคลื่อนไหวของราคาในสาขาธุรกิจบริการสูงขึ้น 5 เดือนติดต่อกัน โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนค่าที่พักแรมสูงขึ้นร้อยละ 19.3 จากการเปิดธุรกิจมากขึ้นและตามความต้องการที่พักสำหรับฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงหน้าร้อน ที่สูงขึ้น ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 3.0
  • การบริโภคภาคเอกชน อยู่ในเกณฑ์ทรงตัว โดยพบการใช้จ่ายของผู้บริโภคหันไปใช้จ่ายในภาคบริการมากกว่าสินค้า สะท้อนได้จากยอดจำหน่ายสินค้าปลีกในเดือนกรกฎาคม 2564 หดตัวร้อยละ 0.6 จากยอดขายในร้านค้าปลีกหลักๆ ได้แก่ ร้านค้าปลีก/ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หดตัวร้อยละ 3.4 ร้านค้าจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างบ้านและอุปกรณ์ตกแต่งสวน หดตัวร้อยละ 7.3 นอกจากนั้นยอดจำหน่ายค้าปลีกผ่านช่องทางออนไลน์หดตัวร้อยละ 19.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า เนื่องจากผู้บริโภคหันไปใช้บริการสำหรับร้านอาหารมากขึ้น และมาตรการผ่อนคลายควบคุมโรคระบาด COVID-19 ที่ส่งให้ร้านค้าปลีกเปิดบริการได้มากขึ้น
  • ตลาดแรงงงาน ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยอัตราการว่างงานเดือนสิงหาคม 2654 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 7.1 เทียบกับเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 7.5 นับเป็นอัตราการว่างงานระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ไวรัส COVID-19 ระบาด จากปัจจัยสนับสนุนด้านมาตรการผ่อนคลายควบคุมโรคระบาด  COVID เกือบทุกรัฐในประเทศ รวมไปถึงการเปิดพรมแดนทางบกกับประเทศสหรัฐฯ ในวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งอนุญาตให้ชาวอเมริกันเดินทางเข้ามาและท่องเที่ยว (non-essential) ในแคนาดาได้ ส่งให้ภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบริการด้านที่พักแรมและร้านอาหารขยายตัวได้ดี พร้อมกับการจ้างงานในสาขานี้เพิ่มขึ้น 93,000 ตำแหน่ง นอกจากนั้น การจ้างงานยังขยายตัวได้ดีในสาขาการจัดแสดงวัฒนธรรมและนันทนาการตามการเปิดธุรกิจท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 24,000 ตำแหน่ง สาขาก่อสร้างเพิ่มขึ้น 20,000 ตำแหน่ง สาขาช่างเทคนิคและงานด้านวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น 15,000 ตำแหน่ง ตามลำดับ
  • สถานการณ์ส่งออกสินค้าของแคนาดา เดือนกรกฎาคม 2564 ขยายตัวร้อยละ 0.6 เป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวได้ร้อยละ 7.5 โดยคิดเป็นมูลค่า 53,749.3 ล้านดอลลาร์แคนาดาจากการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นหลายรายการ โดยสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นชัดเจน ได้แก่
    (1) สินค้าหมวดยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ตามปริมาณการนำเข้าชิ้นส่วนการผลิตที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่เกิดวิกฤตชิปขาดแคลนทั่วโลกไปหลายเดือน จึงส่งให้โรงงานการผลิตรถยนต์สามารถฟื้นตัวการผลิตได้มากขึ้น
    (2) สินค้าหมวดพลังงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากการส่งออกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และผลิตภัณฑ์ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวขึ้นจากคาดการณ์ความต้องการที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว
    (3) สินค้าหมวดอื่น ๆ ได้แก่ สินค้าหมวดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 หมวดเครื่องบินและชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 หมวดเคมีภัณฑ์ พลาสติกและผลิตภัณฑ์จากยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากปัจจัยราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ในการนี้ส่งให้แคนาดามีดุลการค้าเกินดุล 778 ล้านดอลลาร์แคนาดา
  • สถานการณ์นำเข้าสินค้าของแคนาดา เดือนกรกฎาคม 2564 ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากเดือนก่อนหน้า คิดเป็นมูลค่าการนำเข้า 52,971.2 ล้านดอลลาร์แคนาดา จากการนำเข้าเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ ได้แก่
    (1) สินค้าหมวดยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 21.1 จากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ หลังจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนผลิตเซมิคอนดัก-เตอร์ทั่วโลกเริ่มดีขึ้น ส่งให้มีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกขนาดเล็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0 และหมวดเครื่องยนต์ อะไหล่รถยนต์และชิ้นส่วนประกอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 ตามลำดับ
    (2) สินค้าหมวดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 8.5 ตามความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นหลังการซื้อที่ชะลอตัวมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากปัญหาด้านห่วงโซ่การผลิตสินค้าที่ขาดแคลนมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 อย่างไรก็ดี ขณะเดียวกันสินค้าที่ทีการนำเข้าลดลงอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ลดลงร้อยละ 53.0 จากความต้องการสินค้าเวชภัณฑ์และวัคซีนลดลงร้อยละ 15.8
  • สถานการณ์การลงทุน มีแนวโน้มที่ดีขึ้นโดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับเพิ่มขึ้น จากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในภาคการผลิตที่มีความเชื่อมั่นด้านคำสั่งสินค้าเพิ่มขึ้น หลังสถานการณ์การระบาด COVID-19 ในประเทศเริ่มคลี่คลายมากขึ้น ประกอบกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่งให้ภาคเอกชนเริ่มกันมาลงทุนในกิจการมากขึ้น
  • บริษัทไทยไปลงทุนในแคนาดา ได้แก่ บริษัท ปต.สผ. (แคนาดา)  บริษัท CPF (ธุรกิจสุกรครบวงจร) บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด (ตัวแทน)

3. สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศไทยกับแคนาดา

เป้าหมายส่งออกปี 2564 เพิ่มขึ้น 3.31% ปี 2563 (ทั้งปี)มกราคม – กรกฎาคม (ล้านดอลลาร์ สรอ.)
25632564+/- (%)
มูลค่าการค้ารวม3,229.491,533.511,915.7024.92
มูลค่าการส่งออกจากไทยไปแคนาดา2,635.781,442.761,823.1226.36
มูลค่าการนำเข้าจากแคนาดามาไทย593.71301.19377.5325.35

4. สินค้าส่งออกหลักจากไทยไปแคนาดา (มกราคม – กรกฎาคม 2564)

ที่สินค้ามูลค่า (ล้าน USD)สัดส่วน (%)ขยายตัว (%)
1เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ207.5511.3852.95
2เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และอุปกรณ์96.045.27-3.47
3อาหารทะเลกระป๋อง77.654.26-16.06
4เครื่องทำน้ำร้อนไฟฟ้าและส่วน68.093.7467.43
5เครื่องปรับอากาศ66.843.67153.40
6วงจรรวมที่ใช้ในทางอิเล็กทรอนิกส์65.363.5845.47
7อัญมณีและเครื่องประดับ52.672.8917.25
8ยางรถยนต์51.992.8533.55
9ข้าว49.252.70-40.04
10เครื่องพิมพ์ใช้สำหรับการพิมพ์47.812.6255.50
 อื่น ๆ1,039.8657.0428.96
 รวม1,823.12100.0026.36

5. สินค้านำเข้าหลักจากแคนาดามาไทย (มกราคม – กรกฎาคม 2564)

ที่สินค้ามูลค่า (ล้าน USD)สัดส่วน (%)ขยายตัว (%)
1ปุ๋ย , โพแทสเซียม39.999.506.57
2เยื่อไม้เคมีชนิดละลายได้36.618.70125.69
3ข้าวสาลีและเมสลิน34.758.25-28.19
4เยื่อไม้โซดา เยื่อไม้ซัลเฟต32.257.6680.55
5ด้ายใยยาวสังเคราะห์ (นอกจากด้ายเย็บ)26.806.37200.53
6ถั่วเหลือง23.655.6251.60
7สังกะสีที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป16.623.95 
8กรดโพลิคาร์บอกซิลิกและแอนไฮไดรด์11.442.72-5.16
9สิ่งของทั่วไปสำหรับช่วยเหลือบริจาค9.602.287.64
10วงจรอิเล็กทรอนิกส์8.101.92-21.59
 อื่น ๆ181.1643.039.38
 รวม420.98100.0023.29

6. ยุทธศาสตร์/กิจกรรมของสำนักงานฯ

  • โครงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าอาหารไทยร่วมกับผู้นำเข้า/ซูเปอร์มาร์เก็ตในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแคนาดา
  • โครงการส่งเสริมการขายสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวร่วมกับซูเปอร์มาร์เก็ตทางฝั่งตะวันตกของประเทศแคนาดา
  • โครงการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์อาหารและข้าวของไทยผ่านสื่อออนไลน์หรือโซเชียลมิเดีย
  • การสำรวจร้านอาหารไทยในเขตอาณาที่ได้มาตรฐานเพื่อให้การรับรองและมอบตราสัญลักษณ์ Thai SELECT
  • การประชาสัมพันธ์เว็บไซต์และร้านอาหาร Thai SELECT ในสื่อโซเชียลมิเดียโดย Influencer ที่มีชื่อเสียง
  • การพบปะและสร้างความสัมพันธ์กับผู้นำเข้า ผู้ประกอบธุรกิจ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจและการค้า

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW