รายงานสถานการณ์การค้า อาร์เจนตินา ณ กรุงบัวโนสไอเรส เดือนกรกฏาคม 2564

ภาพรวมเศรษฐกิจอาร์เจนตินา

ในปี 2563 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของอาร์เจนตินาเป็นหนึ่งในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบเชิงลบต่ออุตสาหกรรมและการบริโภคโดยรวมในอาร์เจนตินา และยังส่งผลกระทบเกือบทุกห่วงโซ่ของภาคการผลิต  อีกทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และมาตรการกักตัวสำหรับทุกคน (Total Quarantine) ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2563 บวกกับปัญหาภาวะเงินเฟ้อตั้งแต่รัฐบาลชุดประธานาธิบดี นาย Mauricio Macri จนถึงปัจจุบันที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ นอกจากนี้ธนาคารโลก (IMF) ประเมินว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของอาร์เจนตินาจะทรุดตัวลงอีกประมาณร้อยละ 10.6 ของ GDP ซึ่งอาร์เจนตินาเป็นหนึ่งในประเทศที่ GDP ตกต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และอัตราการว่างงาน ณ ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 13.1 ซึ่งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลต่อเศรษฐกิจอาร์เจนตินาอย่างวิกฤตในประวัติการณ์ โดยสาเหตุที่ทำให้ GDP อาร์เจนตินาลดลง ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และความเปราะบางทางเศรษฐกิจ อาทิ เงินเฟ้อสะสม การขาดเครดิตภายนอก การจำกัดการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศ และความเข้มงวดของมาตรการกักตัวสำหรับทุกคน (Total Quarantine) ที่ยาวนานที่สุดในปี 2563 ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ

ธนาคารโลก (IMF) ได้ประมาณการณ์อัตราการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกสำหรับปี 2564 อยู่ที่ ร้อยละ 4.9 และประมาณการณ์ว่าอาร์เจนตินาจะสามารถฟื้นตัวได้สูงสุดเพียง ร้อยละ 4.9 เช่นเดียวกัน ตัวเลขข้างต้นนับว่าเป็นอัตราการเติบโตที่เป็นบวกครั้งแรกในรอบสี่ปี  ทั้งนี้การผ่อนคลายมาตรการกักตัวสำหรับทุกคน (Total Quarantine) และการปรับโครงสร้างหนี้ล่าสุดจะส่งเสริมการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนในปี 2564 เนื่องจากการบริโภคที่ชะลอตัวส่งผลให้การเติบโตของ GDP ลดลงเหลือร้อยละ 1.9 และในปี 2565 กิจกรรมทางเศรษฐกิจของอาร์เจนตินาจะฟื้นตัวเพียงเล็กน้อย ในขณะที่เศรษฐกิจโลกจะกลับมาปรับตัวดีขึ้นอีกครั้ง และมีความต้องการบริโภคภายในประเทศที่แข็งแกร่ง

นอกเหนือจากนี้การบริหารงานของประธานาธิบดี Alberto Fernandez มีนโยบายที่มุ่งเน้นการขยายเศรษฐกิจด้านสินค้าอุตสาหกรรมและป้องกันสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศ อีกทั้งกระทรวงพัฒนาการผลิตวางแผนที่จะตรวจสอบและป้องกันภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ผ่านใบอนุญาตที่ไม่อัตโนมัติ (Non-Automatic Licenses:LNA) ซึ่งหมายถึงต้องขอใบอนุญาตก่อนนำเข้า โดยกระทรวงฯ ขยายรายชื่อสินค้าที่ต้องขอใบอนุญาตนำเข้าเพิ่มเติม เนื่องจากนโยบายดังกล่าวถูกยกเลิกในช่วงการบริหารงานของอดีตประธานาธิบดี นาย Mauricio Macri อย่างไรก็ดี การขยายขยายรายชื่อสินค้าที่ต้องขอใบอนุญาตนำเข้าเพิ่มเติมมีวัตถุประสงค์ในการหลีกเลี่ยงการแข่งขันจากภายนอกทั้งทาง ด้านราคาและข้อบังคับด้านคุณภาพของสินค้าซึ่งจะส่งผลให้สามารถควบคุมการนำเข้าได้มากขึ้น และเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมและการจ้างงานในประเทศอีกด้วย เหตุผลข้างต้นทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำนวนมากอยู่ในช่วงของการปรับตัว เนื่องจากนโยบายการขอใบอนุญาตก่อนนำเข้า (Non-Automatic Licenses:LNA) ของรัฐบาลทำให้เกิดปัญหาในการนำเข้าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ส่งผลให้บริษัทผู้นำเข้าต่างๆ มุ่งเน้นไปที่การป้อนปัจจัยในการผลิตและชิ้นส่วนเพื่อพัฒนาการผลิตในประเทศ โดยรัฐบาลสนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นผ่านการจำกัดการนำเข้าเพื่อเพิ่มการประกอบสินค้าในประเทศมากขึ้น เป็นวิธีหนึ่งที่รัฐบาลต้องการรักษาระดับการจ้างงานและเพิ่มมูลค่ากิจกรรมทางอุตสาหกรรมของอาร์เจนตินา เช่น เครื่องซักผ้า ไมโครเวฟ และเครื่องปรับอากาศ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่สามารถผลิตเองได้ในประเทศ แต่บริษัทต่างๆ ยังต้องพึ่งส่วนประกอบและชิ้นส่วนจากต่างประเทศเพื่อการผลิต เนื่องจากปัจจัยการผลิตและชิ้นส่วนไม่สามารถผลิตในประเทศได้ในระยะสั้น และอาร์เจนตินาจะยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าเพื่อคงสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรักษากิจกรรมของอุตสาหกรรม

ทิศทางเศรษฐกิจอาร์เจนตินาในปี 2564 ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองหนี้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ภายหลังจากการเจรจาต่อรองหนี้ต่างประเทศและกับเจ้าหนี้เอกชนต่างประเทศในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์ เศรษฐกิจที่ละเอียดอ่อนของอาร์เจนตินาได้คลี่คลายลงเมื่อมีการประกาศข้อตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ ระหว่างประเทศกับเจ้าหนี้ และผู้ถือหุ้นกู้จากผลการเจรจากันเมื่อปี 2563 นับเป็นข่าวดีสำหรับอาร์เจนตินาที่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาการชำระหนี้หลายส่วนและเพิ่มความน่าเชื่อถือในระดับนานาชาติ เศรษฐกิจในท้องถิ่นโดยรวมขึ้นอยู่กับการเจรจาเหล่านี้และเป็นการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ในปีต่อๆ ไป อย่างไรก็ตามประเทศต้องให้ความสำคัญในการเจรจาต่อรองหนี้กับ IMF ซึ่งมีความเกี่ยวข้องสำคัญอย่างมากกับอนาคตของเศรษฐกิจของประเทศและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในช่วงปี 2564 และปีต่อๆ ไป

ภาพรวมทางการค้าและอุตสาหกรรมของอาร์เจนตินา

อุตสาหกรรมการผลิตของอาร์เจนตินาในปี 2563 ลดลงร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมการผลิตมีสัญญาณฟื้นตัวในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มยานยนต์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.2 หลังจากที่การผลิตหดตัวอย่างหนักในเดือนตุลาคม 2562 นอกเหนือจากนี้การกลับมาดำเนินการของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวของหลายภาคธุรกิจ ซึ่งสมาคมอุตสาหกรรมอาร์เจนตินาคาดการณ์ว่าในปี 2564 การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีความสัมพันธ์กับความต้องการบริโภคสินค้าคงทน (Durable Goods) และการฟื้นตัวของภาคการส่งออก ซึ่งมีปัจจัยมาจากการปรับตัวของสถานการณ์โลกและความได้เปรียบในการแข่งขันของเศรษฐกิจท้องถิ่นอาร์เจนตินา

นักวิเคราะห์ภาคเอกชนระบุว่าปี 2563 มี 10 ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และมาตรการกักตัวสำหรับทุกคน (Total Quarantine)  คือ (1) รองเท้า ลดลงร้อยละ 30.7 (2) สิ่งทอ ลดลงร้อยละ 22 (3) เหล็ก ลดลงร้อยละ 22.2  (4) การก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 21.5  (5) ยานยนต์ร้อยละ 21.2   (6) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 16.7 (7) เหมืองแร่ร้อยละ15.1 (8) โรงกลั่น ร้อยละ 12.5 (9)  เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน/ครัวเรือนร้อยละ 11 และ (10) อุตสาหกรรมทั่วไป ลดลงร้อยละ 7.6 และจากฐานข้อมูลข้างต้นคาดการณ์ว่าภายในปี 2564 จะมีเพียง 4 อุตสาหกรรมเท่านั้นที่จะเติบโตเหนือระดับก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 26.4  เหมืองแร่ ร้อยละ 26.9 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 17.3  และเครื่องใช้ในครัวเรือน ร้อยละ 17.2  ภาคอื่นๆ ที่จะมีการฟื้นตัวแต่ไม่สามารถทดแทนการขาดทุนในปี 2563 ได้แก่ อุตสาหกรรมก่อสร้างและเหล็ก ร้อยละ18.5  รองเท้า ร้อยละ 16.8  สิ่งทอ ร้อยละ 8.9  เกษตรกรรม ร้อยละ 13.2 และอุตสาหกรรมโดยทั่วไป ร้อยละ 6.2 ทั้งนี้จากการประเมินผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อาร์เจนตินาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการบริโภคสินค้าน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับทั่วโลกเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 14.7 เท่านั้น ซึ่งถูกจัดอยู่ในอันดับท้ายๆ ของโลก รองลงมาจากประเทศซูดาน เติร์กเมนิสถาน คิวบา และบราซิล อีกทั้งปัจจุบันรัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อควบคุมการนำเข้าเพิ่มเติมอีกด้วย

ตลาดข้าวโพดหวานกระป๋องในอาร์เจนตินา

การผลิต บริโภค และนำเข้า

ผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวข้าวโพดของอาร์เจนตินาในปี 2564 มีผลผลิตมากกว่าถั่วเหลือง และนับเป็นปีที่สี่ติดต่อกัน ทำให้ประเทศอาร์เจนตินากลายเป็นผู้ผลิตธัญพืชรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองมาจากสหรัฐอเมริกา และบราซิล แม้ว่าปริมาณผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวข้าวโพดของอาร์เจนตินาจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งอยู่ที่ประมาณ 58 ล้านตันก็ตาม อย่างไรก็ดี การเพาะปลูกข้าวโพดมีความโดดเด่นในจังหวัด Córdoba ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ของภูมิภาคการผลิตข้าวโพดที่สำคัญที่สุดของโลก ซึ่งในปัจจุบันจังหวัด Córdoba มีปริมาณผลผลิตจากการเพาะปลูกข้าวโพดเฉลี่ยอยู่ที่ 8,000 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ นับเป็นปริมาณที่สูง เมื่อเทียบกับพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดรายใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา อาทิ ในรัฐ Oregon ซึ่งมีผลผลิตสูงถึง 15,000 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ หรือในรัฐ Idaho เฉลี่ย 12,500 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ ปริมาณผลผลิตข้าวโพดของอาร์เจนตินาดังกล่าวเป็นผลมาจากการลงทุนด้านเทคโนโลยีและปุ๋ยที่ใช้ในการเพาะปลูก

การผลิตข้าวโพดของอาร์เจนตินาที่เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเกิดจากความสัมพันธ์ด้านราคาต้นทุนการผลิตข้าวโพดและธัญพืชอื่นที่ต่ำกว่าถั่วเหลือง บวกกับภาษีส่งออกข้าวโพดและราคาข้าวโพดในตลาดท้องถิ่นอาร์เจนตินาที่ต่ำกว่าถั่วเหลือง ปัจจัยข้างต้นจึงเอื้ออำนวยการผลิตข้าวโพดมากกว่าการผลิตถั่วเหลือง ทั้งนี้ ตามข้อมูลของกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA) พบว่า การผลิตข้าวโพดของสหรัฐอเมริกา บราซิล และอาร์เจนตินา มีสัดส่วนร้อยละ 75 ของการผลิตข้าวโพดทั่วโลก ซึ่งอาร์เจนตินามีการผลิตข้าวโพดมีสัดส่วนร้อยละ 18 ของการผลิตข้าวโพดทั่วโลก และตามรายงานของ Córdoba Cereal Exchange ข้าวโพดถือเป็นพืชที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งในการผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นอาร์เจนตินา ส่งผลให้ข้าวโพดมีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการใช้ข้าวโพดจำนวนมากในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ อาหารสัตว์สำหรับโคและสัตว์ปีก หรือสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเป็นต้น

การบริโภคข้าวโพดของชาวอาร์เจนตินาโดยปกติแล้วจะบริโภคข้าวโพดหวานในหลาหลายรูปแบบ อาทิ สตูว์ พาย พาสต้า สลัด ข้าวโพดคลุกเนย ซุป และอื่นๆ เป็นต้น ในส่วนของช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าข้าวโพด ร้อยละ 76.4 ผ่านช่องทางการจำหน่ายโดยตรง (Direct Channel) ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้อยละ 23.6 ผ่านช่องทางอ้อม (Indirect Channel) ได้แก่ ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของชำ และร้านขายของชำขนาดเล็ก เป็นต้น

สถิติการนำเข้าข้าวโพดหวานกระป๋องของอาร์เจนตินาจากไทยและทั่วโลก (HS CODE 2005.80)

ปีUSD FOB from WorldUSD FOB from Thailandอัตราการเติบโต (%)
25629,881,003802,6478.12
256311,097,625713,9606.43
25643,994,675167,5304.19
ปี (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)ม.ค. ธ.ค. 2562ม.ค. ธ.ค. 2563อัตราการเติบโต (%)
มูลค่าการนำเข้าจากทั่วโลก  9,881,00311,097,625+12.31
มูลค่าการนำเข้าจากประเทศไทย802,647713,960-11.05
ปี (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)ม.ค. เม.ย. 2563ม.ค. เม.ย. 2564อัตราการเติบโต (%)
มูลค่าการนำเข้าจากทั่วโลก  5,548,8123,994,675-28.01
มูลค่าการนำเข้าจากประเทศไทย356,980167,530-53.08

การนำเข้าข้าวโพดหวานกระป๋องของอาร์เจนตินาแยกรายประเทศ ปี 2563 (HS CODE 2005.80)

ประเทศมูลค่าการนำเข้า FOBอัตราการนำเข้า (%)
บราซิล9,695,56387.37
ไทย713,9606.43
ฝรั่งเศส248,3452.24
สเปน247,0402.23
อื่นๆ192,7171.73
รวม11,097,625100.00

การนำเข้าข้าวโพดหวานกระป๋องของอาร์เจนตินาแยกรายประเทศ ปี 2564 (HS CODE 2005.80)

ประเทศมูลค่าการนำเข้า FOBอัตราการนำเข้า (%)
บราซิล3,603,00490.20
ไทย167,5304.19
จีน90,9982.28
ฝรั่งเศส66,9051.67
สเปน66,2381.66
รวม3,994,675100.00

ประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งที่ดีในฐานะผู้ส่งออกข้าวโพดหวานกระป๋องไปยังอาร์เจนตินา โดยมีบราซิลเป็นคู่แข่งหลักของไทยและมีส่วนแบ่งตลาดในสินค้าข้าวโพดหวานกระป๋องมากที่สุด อย่างไรก็ดี ข้าวโพดหวานของไทยยังมีความแข็งแกร่งในตลาดท้องถิ่นอาร์เจนตินา เนื่องจากมีผู้ส่งออกข้าวโพดหวานกระป๋องไปยังอาร์เจนตินาเพียงไม่กี่ราย แต่เนื่องจากความใกล้ชิดและความได้เปรียบทางการแข่งขันระหว่างอาร์เจนตินา-บราซิลทำให้บราซิลมีส่วนแบ่งตลาดสินค้าข้าวโพดหวานกระป๋องเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม สินค้าข้าวโพดหวานกระป๋องของไทยสามารถรั้งอันดับ 2 ในกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ส่งออกหลักของอาร์เจนตินาโดยมีส่วนแบ่งตลาดสินค้าข้าวโพดหวานกระป๋องจากประเทศต่างๆ ในยุโรปได้ สินค้าข้าวโพดหวานกระป๋องในตลาดอาร์เจนตินายังมีศักยภาพมากมายที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการนำเข้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ปริมาณการส่งออกสินค้าข้าวโพดหวานกระป๋องของไทยมีความเกี่ยวข้องและมีโอกาสที่มากขึ้นในตลาดท้องถิ่นอาร์เจนตินาจากความมุ่งมั่นที่แข็งแกร่งของผู้ประกอบการไทย

ระเบียบการนำเข้า

ตั้งแต่ต้นปี 2563 รัฐบาลชุด Alberto Fernández ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าต่างระหว่างประเทศ ผ่านมติ 1/2020 ออกเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2563 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้ปรับเปลี่ยนระบอบการปกครองการนำเข้าสินค้าในประเทศและขยายรายการสินค้าที่จะต้องขอรับใบอนุญาตก่อนนำเข้า เพิ่มขึ้นจาก 1,200 รายการ เป็น 1,500 รายการ จากทั้งหมด 10,200 รายการ ตามรายชื่อสินค้าของการค้าระหว่างประเทศ อาทิ ผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องใช้ในครัวเรือนและอิเล็กทรอนิกส์ รถจักรยานยนต์ รถยนต์ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนยานยนต์ สิ่งทอ ของเล่นเด็ก รองเท้าและสินค้าอ่อนไหวอื่นๆ เป็นต้น ทั้งนี้ ใบอนุญาตนำเข้าแบบไม่อัตโนมัติ (LNA) ลดระยะเวลาของการนำเข้าจาก 180 เป็น 90 วัน ในขณะที่บางขั้นตอนยังคงใช้เป็นการนำเข้ารูปแบบเดิม ซึ่งใบอนุญาตดังกล่าวกำหนดไว้เพื่อกีดกันการนำเข้าที่มุ่งเน้นไปยังสินค้าอุปโภคบริโภค แต่ไม่ได้มีไว้สำหรับสินค้าและวัสดุสิ้นเปลืองที่จำเป็นสำหรับการผลิตในท้องถิ่น ใบอนุญาตเหล่านี้จะช่วยเสริมกำลังการควบคุมการนำเข้าสินค้าภายในประเทศ แต่ไม่ได้ห้ามหรือจำกัดการนำเข้าแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม สินค้าข้าวโพดหวานกระป๋อง พิกัดศุลกากร (HS Code 2005.80) ไม่ต้องขอใบอนุญาตก่อนนำเข้า (Automatic Licensing) และมีภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 14

บริษัทอาร์เจนตินาที่นำเข้าข้าวโพดหวานกระป๋อง (HS 2005.80)

บริษัทร้อยละของการนำเข้าเบอร์ติดต่ออีเมล/เว็บไซต์
MAROLIO SA21.28+54 11 4019 6666jcortiz@marolio.com, secretariadecomercio@maxiconsumo.com
BAVOSI SA10.84+54 11 4653 5911mbavosi@bavosi.com.ar
YAGUAR SA10.52+54 299 447 5400gerente.ventas.neuquen@yaguar.com.ar
VITAL / MAYCAR SA8.07+54 11 4014 4500pdescalzo@vital.com.ar
AUTOSERVICIO DIARCO SA7.94+54 11 5082 8000jparodi@diarco.com.ar, EDAMBROGIO@diarco.com.ar
DOS SANTOS PEREIRA SA5.84+54 11 4555 3030dosantos@dosantos.com.ar
REGIONAL TRADE SA5.07+54 342 491 1943jpalermo@regionaltrade.com.ar
SA IMPORTADORA Y EXPORTADORA PATAGONIA5.03+54 11 4489 9100ekoglot@laanonima.com.ar, lmicucci@laanonima.com.ar  
COTO ARGENTINA4.32+54 11 4586 7888jpirrera@coto.com.ar
TOTAL78.91  

โอกาสสินค้าจากประเทศไทย – ความคิดเห็นของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบัวโนสไอเรส

อาร์เจนตินาเป็นหนึ่งในผู้ผลิตข้าวโพดรายใหญ่ และซีเรียลเป็นในสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศ เนื่องจากผู้บริโภคในท้องถิ่นใช้ข้าวโพดหวานในอาหารหลายชนิด นอกจากนี้ การผลิตข้าวโพดในท้องถิ่นยังใช้ทั้งเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออก อาร์เจนตินานำเข้าข้าวโพดหวานส่วนใหญ่จากบราซิล ซึ่งนับเป็นผู้ผลิต/ส่งออกหลัก รองลงมาคือไทย ข้าวโพดหวานของไทยยังมีความแข็งแกร่งในตลาดท้องถิ่นอาร์เจนตินา เนื่องจากมีผู้ส่งออกข้าวโพดหวานกระป๋องไปยังอาร์เจนตินาเพียงไม่กี่ราย แต่เนื่องจากความใกล้ชิดและความได้เปรียบทางการแข่งขันระหว่างอาร์เจนตินา-บราซิลทำให้บราซิลมีส่วนแบ่งตลาดสินค้าข้าวโพดหวานกระป๋องเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม สินค้าข้าวโพดหวานกระป๋องของไทยสามารถรั้งอันดับ 2 ในกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ส่งออกหลักของอาร์เจนตินาโดยมีส่วนแบ่งตลาดสินค้าข้าวโพดหวานกระป๋องจากประเทศต่างๆ ในยุโรปได้

ผู้ประกอบการไทยต้องตระหนักถึงโอกาสที่ดีในอาร์เจนตินา และให้ความสำคัญกับตลาดที่คาดว่าจะเติบโตต่อไปในระยะอันใกล้นี้ ซึ่งข้าวโพดหวานกระป๋องของไทยมีศักยภาพสูงที่จะเข้าสู่ตลาดอาร์เจนตินาในปริมาณที่มากขึ้น แม้ว่าบราซิลเป็นคู่แข่งหลักของไทยและมีส่วนแบ่งตลาดในสินค้าข้าวโพดหวานกระป๋องมากที่สุดก็ตาม โดยปริมาณการส่งออกสินค้าข้าวโพดหวานกระป๋องของไทยมีความเกี่ยวข้องและมีโอกาสที่มากขึ้นในตลาดท้องถิ่นอาร์เจนตินาจากความมุ่งมั่นที่แข็งแกร่งของผู้ประกอบการไทย  ทั้งนี้ ในช่วงเดือนมีนาคม 2564 สคต. ณ กรุงบัวโนสไอเรสได้จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจผ่านระบบออนไลน์ (Online Business Matching) สินค้าผลไม้กระป๋อง ซึ่งมีบริษัทจากอาร์เจนตินาเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก อีกทั้งสคต. ยังทำการเชิญชวนบริษัทผู้นำเข้าสินค้าผลไม้กระป๋อง อาร์เจนตินาเข้าร่วมกิจกรรมฯ ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 มีบริษัทผู้นำเข้าแสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกกรมดังกล่าว ซึ่งจะทำให้มีโอกาสมุ่งเน้นไปที่การนำเข้าข้าวโพดหวานกระป๋องจากประเทศไทยผ่านกิจกรรมนี้ และเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทยสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ของตนได้โดยตรงและตอบสนองความต้องการของผู้นำเข้าหลักของอาร์เจนตินาได้

นอกเหนือจากนี้ จากการประชุมของสคต. ณ กรุงบัวโนสไอเรส กับนาง Ana María Dos Santos Pereira ตำแหน่ง ประธานบริษัท Dos Santos Pereira y Cia ผู้นำเข้าปลาทูน่าและสับปะรดกระป๋องจากไทยผ่านช่องทางออนไลน์ ZOOM ผู้นำเข้าได้ชี้แจงให้กับสคต. ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคด้านราคาขนส่งสินค้าทางทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น อันมีสาเหตุเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จากเดิมราคาขนส่งสินค้าอยู่ที่ประมาณ 1,500-3,000 ต่อตู้คอนเทนเนอร์ ปัจจุบันราคาขนส่งสินค้าอยู่ที่ประมาณ 8,000-12,000 ต่อตู้คอนเทนเนอร์ นอกเหนือจากนี้ บริษัทฯ ยังต้องจ่ายค่าตรวจสอบภาษีการนำเข้า เนื่องไทยไม่ได้จัดอยู่ในประเทศที่มีข้อตกลงกับสาธารณรัฐอาร์เจนตินาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษีกับกรมศุลกากรอาร์เจนตินา บวกกับภาษีนำเข้าที่สูง เมื่อเทียบกับประเทศที่มีข้อตกลงทางการค้ากับสาธารณรัฐอาร์เจนตินา ด้วยเหตุนี้ส่งผลให้ราคาสินค้าที่นำเข้าจากไทยมีราคาสูงกว่าราคาสินค้าจากประเทศอื่นๆ อาทิ เอกวาดอร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น เนื่องจากประเทศดังกล่าวข้อตกลงทางการค้ากับสาธารณรัฐอาร์เจนตินา ทำให้ไม่มีภาษีนำเข้า ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าที่นำเข้าจากไทยมีความสามารถทางการแข่งขันลดลง อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงมีความประสงค์ที่จะทำการค้ากับบริษัทไทยต่อไป เนื่องจากคุณภาพและความหลากหลายของสินค้าไทย

ปัจจุบันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในอาร์เจนตินามีความผันผวนมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจและการปรับโครงสร้างหนี้ภายนอก รวมทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่รัฐบาลยังคงบังคับใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 อนึ่ง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะหดตัว แต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจอาร์เจนตินานั้นอยู่ในภาวะวิกฤต คาดว่าจีดีพีในปี 2563 ลดลงเกือบร้อยละ 13 ซึ่งปัจจุบันอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 13.1 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 39.5 กิจกรรมทางเศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 11.8 และการบริโภคหดตัวร้อยละ 11.1 นอกจากนี้ประเทศอาร์เจนตินายังติดอันดับที่ 4 ในการจัดอันดับอัตราเงินเฟ้อโลก ส่งผลให้ราคาสินค้าในเดือนตุลาคม 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และค่าสกุลเงินเปโซ (Devaluation) ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ  95.49 เปโซ สาเหตุหลักที่ทำให้จีดีพีหดตัว ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ความเปราะบางทางเศรษฐกิจ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อสะสม การขาดเครดิตภายนอก การจำกัดเงินเหรียญสหรัฐฯ ในการนำเข้าสินค้า และความเข้มงวดของมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (DISPO) ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ

นอกเหนือจากนี้การบริหารงานของประธานาธิบดี Alberto Fernandez มีนโยบายที่มุ่งเน้นการขยายเศรษฐกิจด้านสินค้าอุตสาหกรรมและป้องกันสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศ อีกทั้งกระทรวงพัฒนาการผลิตวางแผนที่จะตรวจสอบและป้องกันภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ผ่านใบอนุญาตที่ไม่อัตโนมัติ (LNA) ซึ่งหมายถึงต้องขอใบอนุญาตก่อนนำเข้า โดยกระทรวงฯ ขยายรายชื่อสินค้าบางรายการเพิ่มเติม เนื่องจากนโยบายดังกล่าวถูกยกเลิกในช่วงของการบริหารงานของอดีตประธานาธิบดี Mauricio Macri ซึ่งการขยายรายชื่อสินค้าบางรายการเพิ่มเติมที่ต้องขอใบอนุญาตก่อนนำเข้านั้นมีวัตถุประสงค์ในการหลีกเลี่ยงการแข่งขันจากภายนอกที่จะส่งผลให้อาร์เจนตินาสามารถควบคุมการนำเข้าได้มากขึ้น และเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมและการจ้างงานในประเทศ

ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ประธานาธิบดี Alberto Fernandez คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ (GDP) ปี 2563 นั้นจะเติบโตช้าลง โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตในปี 2564 แต่ในขณะนี้มีการจัดสรรทรัพยากรมากมายเพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์สำหรับโรงพยาบาลและคลินิก เครื่องตรวจวัดและคัดกรอง และเครื่องช่วยหายใจเทียม เป็นต้น นอกเหนือจากนี้รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจรวมไปถึงประชากรที่ได้รับผลกระทบ และลดการจัดเก็บภาษี อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังไม่แน่ใจว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปีหน้าจะเป็นไปทิศทางใด แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจของอาร์เจนตินาในปี 2564 นั้น ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองหนี้ภายนอกซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของตลาดต่างประเทศ และรับประกันว่าการชำระหนี้จะไม่ชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งข้อตกลงที่อาร์เจนตินาบรรลุช่วยให้ประเทศสามารถผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ในปีต่อไปได้

สถานการณ์ทางการค้าและอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมการผลิตของอาร์เจนตินาในปี 2562  หดตัวร้อยละ 6.4 ซึ่งเป็นปีที่สองติดต่อกันที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอเมริกาใต้ นับตั้งแต่ปี 2561  ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่สูง และการบริโภคที่ลดลง ทั้งนี้ตามรายงานของสถาบันสถิติและการสำรวจสำมะโนประชากรแห่งชาติ (INDEC) ชี้ให้เห็นว่าดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเมื่อเดือนธันวาคม2562  ที่ผ่านมา ฟื้นตัวร้อยละ 1.2  เมื่อเทียบเป็นรายปี

จากการรายงานพบว่าอุตสาหกรรมการผลิตของอาร์เจนตินาในช่วงปี 2562  มียอดการผลิตลดลงโดยอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งอื่นๆ มียอดการผลิตลดลงมากที่สุดร้อยละ 36.9 อุตสาหกรรมยานยนต์ลดลงร้อยละ 22.2 และเครื่องจักรผลิตลดลงร้อยละ 14.6 เป็นต้น และในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 มีการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศเพิ่มสูงขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยหลักประการหนึ่งที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของกิจกรรมการผลิต อาทิ การผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรในปี 2563 มีแนวโน้มเติบโตร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับปี 2562 กลุ่มผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ เครื่องสุขภัณฑ์ และเหล็กมียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 อย่างไรก็ดี ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ภาคธุรกิจการแพทย์และซอฟต์แวร์เป็นภาคธุรกิจที่ยังคงดำเนินงานได้ตามปกติส่งผลดีกับหลายบริษัทให้สามารถเพิ่มยอดการผลิตและยอดจำหน่ายได้ถึงสองเท่าในช่วงปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 และบริษัทกระดาษและบรรจุภัณฑ์ก็ได้รับประโยชน์เช่นเดียวกัน ทั้งนี้จากการบังคับใช้มาตรการกักตัวสำหรับทุกคน (Total Quarantine) ของรัฐบาลอาร์เจนตินาทำให้ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ร้านอาหาร และการก่อสร้างเป็นภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ในทางตรงกันข้ามภาคอุตสาหกรรมเกษตร และเคมีเกษตรได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าต่างประเทศประเมินว่าอาร์เจนตินาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการบริโภคสินค้าน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับทั่วโลกเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 16.7  เท่านั้น ซึ่งถูกจัดอยู่ในอันดับท้ายๆ ของโลก รองลงมาจากประเทศซูดาน คิวบา เติร์กเมนิสถาน และบราซิล อีกทั้งปัจจุบันรัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อปรับการควบคุมการนำเข้าเพิ่มเติม ในทางกลับกันรัฐบาลได้ยกตัวอย่าง 1,200 บริษัทรายใหญ่ของอาร์เจนตินา เพื่อวางแผนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศในปี 2563 อีกทั้งยังปรับการควบคุมภาษีถึงร้อยละ 15 หรือคิดเป็นเงินประมาณ 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ผ่านการขออนุญาตนำเข้าสินค้าที่ไม่อัตโนมัติ (LNA) หรือคิดเป็นร้อยละ 80 ของรายการสินค้าที่ต้องขออนุญาตินำเข้า

ตลาดสับปะรดกระป๋องในอาร์เจนตินา

การผลิต บริโภค และนำเข้า

อาร์เจนตินาไม่ใช่ผู้ผลิตสับปะรดรายใหญ่ โดยพื้นที่เพาะปลูกสับปะรดหลักตั้งอยู่ในจังหวัด Misiones ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ พื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดครอบคลุม 180 เฮกตาร์ ให้ผลผลิต 30 ตัน/เฮกตาร์ จังหวัดสามารถ Misiones ผลิตสับปะรดได้ทั้งหมด 5,400 ตันในปี 2562 ในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวสับปะรดครั้งล่าสุดในปี 2562 ร้อยละ 95 จะถูกนำไปจำหน่ายรูปแบบผลไม้สด  และอีกร้อยละ 5 บรรจุกระป๋อง อย่างไรก็ดี สับปะรดกระป๋องยังคงเป็นผลไม้หลักที่อาร์เจนตินานำเข้าจาก การนำเข้าส่วนใหญ่มาจากอินโดนีเซียและไทย เป็นต้น ปริมาณการนำเข้าสับปะรดกระป๋องและสับปะรดสดเท่ากัน แต่ราคาต่างกันถึงร้อยละ 40

ปกติแล้วชาวอาร์เจนตินาจะบริโภคสับปะรดเป็นของหวาน ขนม และผลิตภัณฑ์จากนม อุปสงค์ส่วนใหญ่เป็นการบริโภคภายในประเทศ เฉพาะส่วนน้อยเท่านั้นที่บริโภคในร้านอาหาร โรงแรม บาร์ และห้องอาหาร การบริโภคผลไม้กระป๋องส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เพาะปลูกในประเทศประมาณร้อยละ 59 ส่วนที่เหลือเป็นการบริโภคในกรุง บัวโนสไอเรสและจังหวัดบัวโนสไอเรสซึ่งเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในอาร์เจนตินา การบริโภคสับปะรดสูงขึ้นในช่วงของปลายปีอันเนื่องมาจากการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาส โดยส่วนใหญ่จะใช้ในการประกอบอาหารสลัดและของหวาน อุตสาหกรรมสับปะรดสามารถพบได้ในรูปแบบเนื้อสับปะรดสำหรับทำเครื่องดื่มค็อกเทลและหั่นเป็นชิ้น โดยอินโดนีเซียและไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกหลักไปยังอาร์เจนตินา

การจัดจำหน่ายสับปะรดกระป๋องร้อยละ 57,6 ผ่านช่องทางซูเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้อยละ 42,4 ผ่านช่องทางร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของชำ และร้านขายของชำขนาดเล็ก ตลาดสับปะรดกระป๋องในอาร์เจนตินาเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากราคาไม่เพิ่มขึ้นมากเท่ากับผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มอื่นๆ เช่น เนื้อสับปะรดสำหรับค็อกเทล ไอศกรีม และเครื่องดื่มผลไม้

สับปะรดกระป๋องที่อาร์เจนตินานำเข้าจากไทยและโลก (HS CODE 2008.20)

ปีFOB จากโลก               (เหรียญสหรัฐฯ)FOB จากไทย            (เหรียญสหรัฐฯ)ร้อยละ
25626,910,3611,931,34527.95
25638,401,8932,223,62026.47
25643,509,8101,522,28443.37
ปี.ค. – ธ.ค. 2561.ค. – ธ.ค. 2562เติบโต (ร้อยละ)
มูลค่านำเข้าจากโลก (เหรียญสหรัฐฯ)6,910,3618,401,893+21.58
มูลค่านำเข้าจากไทย (เหรียญสหรัฐฯ)1,931,3452,223,620+15.13
ปี.ค. – มิ.ย. 2563.ค. – มิ.ย. 2564เติบโต (ร้อยละ)
มูลค่านำเข้าจากโลก (เหรียญสหรัฐฯ)4,200,9463,509,810-16.46
มูลค่านำเข้าจากไทย (เหรียญสหรัฐฯ)1,111,8101,522,284+36.91

สับปะรดกระป๋องที่อาร์เจนตินานำเข้าในปี 2562 แบ่งออกเป็นรายประเทศ ดังนี้  (HS CODE 2008.20)

ประเทศ FOB (เหรียญสหรัฐฯ)ร้อยละ
อินโดนีเซีย5,813,67769.19
ไทย2,223,62026.47
โบลีเวีย364,5954.34
รวม8,401,893100.00

สับปะรดกระป๋องที่อาร์เจนตินานำเข้าในปี 2564 แบ่งออกเป็นรายประเทศ ดังนี้  (HS CODE 2008.20)

ประเทศ FOB (เหรียญสหรัฐฯ)ร้อยละ
อินโดนีเซีย1,781,73850.76
ไทย1,522,28443.37
โบลิเวีย138,3203.94
บราซิล67,4681.92
รวม3,509,810100.00

ประเทศไทยจัดอยู่ในตำแหน่งที่ดีในฐานะผู้ส่งออกสับปะรดกระป๋องไปยังอาร์เจนตินา เนื่องจากมีคู่แข่งเพียงรายเดียวคือ อินโดนีเซีย สับปะรดของไทยมีความแข็งแกร่งในตลาดท้องถิ่นอาร์เจนตินา เนื่องจากมีผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไปยังอาร์เจนตินาเพียงไม่กี่รายในปีที่ผ่านมา ในขณะที่การนำเข้าสับปะรดกระป๋องลดลง ร้อยละ 16 แต่ปริมาณการนำเข้าสับปะรดของอาร์เจนตินาจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 37 แสดงถึงการเติบโตอย่างมาก ในทำนองเดียวกัน ไทยจัดอยู่ในอันดับที่สองในกลุ่มผู้ผลิต/ส่งออกหลักไปยังอาร์เจนตินา โดยมีส่วนแบ่งการตลาดจากอินโดนีเซียและไทยเข้าใกล้ตำแหน่งที่หนึ่งผู้ส่งออกสับปะรดไปยังอาร์เจนตินา นอกจากนี้การส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทยยังมีโอกาสอย่างมากในตลาดท้องถิ่นอาร์เจนตินา

ระเบียบการนำเข้า

ตั้งแต่ต้นปี 2563 รัฐบาลชุด Alberto Fernández ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าต่างระหว่างประเทศ ผ่านมติ 1/2020 ออกเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2563 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้ปรับเปลี่ยนระบอบการปกครองการนำเข้าสินค้าในประเทศและขยายรายการสินค้าที่จะต้องขอรับใบอนุญาตก่อนนำเข้า เพิ่มขึ้นจาก 1,200 รายการ เป็น 1,500 รายการ จากทั้งหมด 10,200 รายการ ตามรายชื่อสินค้าของการค้าระหว่างประเทศ อาทิ ผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องใช้ในครัวเรือนและอิเล็กทรอนิกส์ รถจักรยานยนต์ รถยนต์ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนยานยนต์ สิ่งทอ ของเล่นเด็ก รองเท้าและสินค้าอ่อนไหวอื่นๆ เป็นต้น

ใบอนุญาตแบบไม่อัตโนมัติ (LNA) ลดระยะเวลาของการนำเข้าจาก 180 เป็น 90 วัน ในขณะที่บางขั้นตอนยังคงใช้เป็นการนำเข้ารูปแบบเดิม ซึ่งใบอนุญาติดังกล่าวกำหนดไว้เพื่อกีดกันการนำเข้าที่มุ่งเน้นไปยังสินค้าอุปโภคบริโภค แต่ไม่ได้มีไว้สำหรับสินค้าและวัสดุสิ้นเปลืองที่จำเป็นสำหรับการผลิตในท้องถิ่น ใบอนุญาตเหล่านี้จะช่วยเสริมกำลังการควบคุมการนำเข้าสินค้าภายในประเทศ แต่ไม่ได้ห้ามหรือจำกัดการนำเข้าแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม สินค้าสับปะรดกระป๋อง พิกัดศุลกากร HS Code 2008.20 อยู่ภายใต้ระบบใบอนุญาตไม่อัตโนมัติ (Non-Automatic Licensing) ซึ่งหมายความว่าต้องขอใบอนุญาตก่อนนำเข้า มีภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 14

บริษัทอาร์เจนตินาที่นำเข้าสับปะรดกระป๋อง  (HS CODE 2008.20)

บริษัทร้อยละของการนำเข้าเบอร์ติดต่ออีเมล / เว็บไซต์
MAROLIO SA14.57+54 11 4019 6666jcortiz@marolio.com
BAVOSI SA14.26+54 11 4653 5911mbavosi@bavosi.com.ar
DOS SANTOS PEREIRA SA14.16+54 11 4555 3030dosantos@dosantos.com.ar
YAGUAR SA9.57+54 299 447 5400maramirez@yaguar.com.ar
AUTOSERVICIO DIARCO SA6.17+54 11 5082 8000edambrogio@diarco.com.ar
SA IMPORTADORA Y EXPORTADORA PATAGONIA6.12+54 11 4489 9100ekoglot@laanonima.com.ar  
VILLARES SAC5.03+54 11 3221 5919hvillares@alimentosvillares.com.ar
REGIONAL TRADE SA4.22+54 342 491 1943jpalermo@regionaltrade.com.ar
MAKRO SA3.01+54 11 4721 8900elioi@makro.com.ar
MAROLIO SA14.57+54 11 4019 6666jcortiz@marolio.com
BAVOSI SA14.26+54 11 4653 5911mbavosi@bavosi.com.ar
DOS SANTOS PEREIRA SA14.16+54 11 4555 3030dosantos@dosantos.com.ar
TOTAL74.11  

โอกาสของสินค้าไทยและความคิดเห็นของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบัวโนสไอเรส

อาร์เจนตินาไม่ใช่ผู้ผลิตสับปะรดรายใหญ่ แต่ผลไม้ดังกล่าวเป็นที่นิยมมากในประเทศ โดยสับปะรดกระป๋องยังคงเป็นผลไม้หลักที่นำเข้าในอาร์เจนตินา- การนำเข้าส่วนใหญ่มาจากอินโดนีเซียและไทย ประเทศไทยจัดอยู่ในตำแหน่งที่ดีในฐานะผู้ส่งออกสับปะรดกระป๋องไปยังอาร์เจนตินา เนื่องจากมีคู่แข่งเพียงรายเดียวคือ อินโดนีเซีย สับปะรดของไทยมีความแข็งแกร่งในตลาดท้องถิ่นอาร์เจนตินา เนื่องจากมีผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไปยังอาร์เจนตินาเพียงไม่กี่รายในปีที่ผ่านมา ในขณะที่การนำเข้าสับปะรดกระป๋องลดลง ร้อยละ 16 แต่ปริมาณการนำเข้าสับปะรดของอาร์เจนตินาจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 37 แสดงถึงการเติบโตอย่างมาก ในทำนองเดียวกัน ไทยจัดอยู่ในอันดับที่สองในกลุ่มผู้ผลิต/ส่งออกหลักไปยังอาร์เจนตินา โดยมีส่วนแบ่งการตลาดจากอินโดนีเซียและไทยเข้าใกล้ตำแหน่งที่หนึ่งผู้ส่งออกสับปะรดไปยังอาร์เจนตินา

บริษัทไทยควรตระหนักถึงโอกาสดีๆ สำหรับสินค้าสับปะรดกระป๋องในตลาดอาร์เจนตินา เนื่องจากคาดการณ์ว่าตลาดจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะกลาง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลคริสต์มาสของทุกปีที่มีการบริโภคสูงมาก  สับปะรดกระป๋องของไทยมีศักยภาพสูงที่จะเข้าสู่ตลาดอาร์เจนตินาในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น และสามารถครองตำแหน่งอันดับแรกผู้ส่งออกสับปะรดกระป๋องไปยังอาร์เจนตินา แม้ว่าปริมาณการส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทยไปยังอาร์เจนตินาอยู่ในระดับสูง แต่สับปะรดกระป๋องยังมีโอกาสเติบโตอีกมากในตลาดท้องถิ่นอาร์เจนตินา ด้วยความมุ่งมั่นที่แข็งแกร่งของบริษัทไทย อนึ่ง ในช่วงเดือนมีนาคม 2564 สคต. ณ กรุงบัวโนสอเรส ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจออนไลน์ (Online Business Matching) เน้นที่สินค้าผลไม้กระป๋อง มีบริษัทผู้นำเข้าอาร์เจนตินาเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่มีความสนใจเป็นพิเศษในสับปะรดกระป๋อง ดังนั้นบริษัทไทยจึงสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ได้โดยตรงและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้นำเข้าหลักในอาร์เจนตินาผ่านกิจกรรมดังกล่าว

OMD KM

FREE
VIEW