รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอเมริกา ณ นครลอสแอนเจลิส เดือนมีนาคม 2565

รายงานเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4 ปี 2021

เศรษฐกิจโดยรวม เติบโตร้อยละ 6.9 หรือมีมูลค่าเศรษฐกิจ 24 ล้านล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5

อัตราเงินเฟ้อเติบโตร้อยละ 7 ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลเติบโตร้อยละ 6.4

คาดการณ์สถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2022

ไตรมาสที่ 1 คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 1.7 อัตราเติบโตในปี 2022 คาดว่าจะเท่ากับร้อยละ 3 และร้อยละ 2.3 ในปี 2023

ในเดือนมีนาคม 2022 ธนาคารกลางสหรัฐฯขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25  เป็นร้อยละ 0.50

อัตราเงินเฟ้อในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ที่ร้อยละ 7.9 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 อัตราว่างงานเฉลี่ยทั่วประเทศร้อยละ 3.80

ผลกระทบจากวิกฤตสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน

วิกฤตสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนส่งผลกระทบต่อราคาสินค้า commodities หลายรายการทั่วโลก จุดฉนวนเงินเฟ้อ ก่อให้เกิดวิกฤตห่วงโซ่อุปทานครั้งใหม่ และความตกต่ำของเศรษฐกิจในหลายประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ ปัจจุบันยังไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนถึงระดับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ

คาดการณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2022 ได้ว่า

  1. ในไตรมาสที่ 2  ราคาอาหาร พลังงาน และโลหะที่พุ่งสูงขึ้นคาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อเติบโตมากยิ่งขึ้นและเข้าสู่ระดับรุนแรงสูงสุด
  2. ในไตรมาสที่ 2 และ 3 คาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวรุนแรงที่สุด อัตราเติบโตของเศรษฐกิจจะลดลงระหว่างร้อยละ 0.3 – 0.8  สืบเนื่องมาจากอำนาจการซื้อของคนอเมริกันจะลดลง การซื้อหาสินค้าลดลง  

ผลกระทบจากวิกฤต COVID-19

คาดการณ์ว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากวิกฤต COVID-19 แสดงแนวโน้มลดลง เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อลดลง กฎระเบียบต่างๆที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดถูกยกเลิก อย่างไรก็ดีหากเกิดการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอีกครั้ง

การค้านำเข้าของสหรัฐฯในเดือนมกราคม 2565   

มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญฯ) จากประเทศแหล่งอุปทานนำเข้าสำคัญเดือนมราคม 2565
เปรียบเทียบมกราคม 2564

มูลค่า (ล้านเหรียญฯ) สินค้านำเข้าสำคัญของสหรัฐฯเดือนมกราคม 2565
เปรียบเทียบกับมกราคม 2564

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW