รายงานสถานการณ์การค้า ชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือน พฤศจิกายน 2564

ภาพรวมเศรษฐกิจ

ธนาคารกลางชิลีประกาศตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจล่าสุด โดยระบุว่าตัวเลขในเดือนกันยายน 2564 มีการขยายตัวที่ 15.6% ส่งผลให้การขยายตัวในรอบ 12 เดือนอยู่ที่ 8.5% ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขการขยายตัวประจำเดือนที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่น ๆ ในปี 2564 แต่ยังคงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากภาคค้าปลีกที่มีการขยายตัวที่ 49.9%  ประกอบกับภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีการขยายตัวที่ 4.3% ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจมีการปรับระดับเพิ่มสูงขึ้น

1. การบริโภคภาคเอกชน2. การลงทุนในภาคเอกชนและภาครัฐ
การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนในเดือนกันยายน 2564 มีการขยายตัวที่ดี โดยปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากวันชาติชิลี (18 กันยายน) ตรงกับวันหยุดยาว ส่งผลให้ประชาชนมีการจับจ่ายซื้อของเพื่อฉลองในเทศกาลดังกล่าวเพิ่มขึ้นกว่าปกติ โดยกลุ่มสินค้าที่ขยายตัวสูงขึ้น ได้แก่ (1) เสื้อผ้า รองเท้าและเครื่องนุ่งห่ม  (2) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบ (3) ยาและเวชภัณฑ์ และ (4) สินค้าอาหาร ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ 63.9%, 25.9%, 18.2% และ 15.4% ตามลำดับ        สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่ามีการปรับระดับเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 2 ปี โดยอยู่ที่ระดับ 92.3 ในเดือนกันยายน 2564  การลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐในเดือนกันยายน 2564 พบว่ายังคงมีการขยายตัวในระดับที่ดี โดยตัวเลขนำเข้ายานพาหนะเพื่อใช้ในการพาณิชย์ ยอดจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อใช้ในการก่อสร้าง ตัวเลขการนำเข้าเครื่องจักรสำหรับการก่อสร้าง และยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ เพิ่มขึ้นที่ 97%, 7.9%, 6.3%, และ 1.9% ตามลำดับ      ในส่วนของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ พบว่ามีการปรับระดับเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ระดับ 60.4 ในเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 60.7 ในเดือนกันยายน 2564
3. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
อัตราการว่างงานของชิลีมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ดีขึ้น ส่งผลให้ตลาดแรงงานกลับมาจ้างงานได้ตามปกติ โดยตัวเลขในเดือนกันยายน 2564 อยู่ที่ร้อยละ 8.4 ของจำนวนผู้ใช้แรงงานทั้งหมดในส่วนของอัตราเงินเฟ้อของประเทศชิลีในเดือนกันยายน 2564 อยู่ที่ 5.3% ซึ่งถือเป็นระดับเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปี แสดงให้เห็นถึงค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. การส่งออก-นำเข้า (ข้อมูลจาก SUBREI – www.subrei.gob.cl)
การส่งออกสินค้าของชิลีในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 (มกราคม-กันยายน 2564) มีมูลค่า 68,660 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 29.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลหลักมาจากการส่งออกสินแร่ ปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ ปลาแซลมอน ผลไม้ และไวน์ ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ 47.1% , 17.6%, 14.8%, 8.3% และ 6.4% ตามลำดับการนำเข้าของชิลีระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2564 มีมูลค่า 59,531 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 49% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค สินค้าในหมวดพลังงาน และสินค้าทุนที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ 71%, 48% และ 36% ตามลำดับ      จากการที่มูลค่าการส่งออกของชิลีสูงกว่าตัวเลขการนำเข้าจึงทำให้ชิลีได้ดุลการค้าจำนวน 9,129 ล้านเหรียญสหรัฐ
4. การค้าของชิลีกับไทย และกลุ่มประเทศอาเซียน (ข้อมูลสถิติทางการค้าจาก Global Trade Atlas)
ชิลีมีการนำเข้าสินค้าจากไทยระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2564 อยู่ที่ 539.15 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 46.13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน)  ซึ่งสินค้าที่ชิลีนำเข้ามากที่สุดเรียงตามลำดับ คือ
– รถยนต์และส่วนประกอบ (237.82 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 29.77%)
– เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (98.78 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 101.27%)
– ยางและผลิตภัณฑ์จากยาง (35.84 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 132.26%)
– พลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก (28.30 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 270.45%)
– เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ (28.14 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 29.11%)

– ชิลีนำเข้าจากเวียดนาม 893.28 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 73.81%)
– ชิลีนำเข้าจากไทย 539.15 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 46.13%)
– ชิลีนำเข้าจากมาเลเซีย 220.03 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 48.54%)
– ชิลีนำเข้าจากอินโดนีเซีย 213.34 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 102.07%)

สำหรับการส่งออกของชิลีไปยังประเทศไทยระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2564 พบว่ามูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 368.62 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 36.61% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน)  ซึ่งสินค้าที่ส่งออกไปยังไทยมากที่สุดเรียงตามลำดับ คือ
– สินแร่ (188.63 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 38.21%)
– เยื่อกระดาษ (60.62 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 416.23%)
– เนื้อปลาแซลมอนและอาหารทะเล (51.37 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 8.9%)
– ผลไม้และผลิตภัณฑ์จากผลไม้และธัญพืช (12.86 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.19%)
– ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ (7.98 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 310.47%)

– ชิลีส่งออกไปยังไทย 368.62 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 36.61%)
– ชิลีส่งออกไปเวียดนาม 212.48 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 24.82%)
– ชิลีส่งออกไปมาเลเซีย 147.85 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 158.61%)
– ชิลีส่งออกไปอินโดนีเซีย 97.42 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 37.45%)
อ้างอิงข้อมูลจากธนาคารกลางชิลี , SUBREI และ Global Trade Atlas

มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทย-ชิลี ระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2564 อยู่ที่ 907.77 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 42.11%) โดยชิลีนำเข้าสินค้าจากไทยมากกว่าส่งออกไปยังไทย ทำให้ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าที่ 170.53 ล้านเหรียญสหรัฐ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW