รายงานสถานการณ์การค้า อิตาลี ณ เมืองมิลาน เดือน กรกฏาคม 2564

๑. สถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวม

ธนาคารแห่งชาติของอิตาลีได้ออกแถลงการณ์ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของอิตาลีกำลังอยู่ในช่วงที่แข็งแกร่ง ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการฉีดวัคซีนและระบบสาธารณสุขแห่งชาติที่ดีขึ้น โดยเป็นที่คาดการณ์ว่า GDP ของอิตาลีจะเติบโตขึ้น ๕% ซึ่งจะสามารถทดแทนการสูญเสียได้กว่าครึ่งหนึ่งของปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับ นาย Mario Draghi นายกรัฐมนตรีของอิตาลี ซึ่งได้กล่าวหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า เศรษฐกิจของอิตาลีกำลังกลับมาฟื้นตัว และเติบโตในอัตราที่เร็วกว่าประเทศในสหภาพยุโรปอื่นๆ และยังได้กล่าวกระตุ้นให้ชาวอิตาเลียนเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อลดจำนวนและความรุนแรงของการแพร่ระบาดของเชื้อสายพันธุ์ใหม่ Delta

ทั้งนี้ สถาบันสถิติแห่งชาติของอิตาลี ได้แสดงข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการว่า ในไตรมาสที่สองของปี GDP ของอิตาลีเติบโตขึ้น ๒.๗% หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเติบโตขึ้น ๑๗.๓% หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า และหากในไตรมาสที่เหลือของปีการเติบโตคงที่ จะทำให้ GDP ในปีนี้เติบโตที่ ๔.๘% โดยรวมแล้ว เศรษฐกิจอิตาลีจะเติบโตที่ ๐.๒% เช่นเดียวกับตัวเลขตลาดแรงงาน อัตราการว่างงานลดลง ๙.๗% ในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ และการจ้างงานเพิ่มขึ้น ๑๗.๓% เมื่อเทียบกับระดับต่ำสุดในปีที่ผ่านมา หรือเพิ่มขึ้น ๐.๗% (+๑๖๖,๐๐๐ ราย) เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยรวมแล้ว อัตราการจ้างงานในประเทศอยู่ที่ ๕๗.๙%

๒. ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ

ด้านดัชนีการบริโภค สมาพันธ์การค้าของอิตาลี (Confcommercio) แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าจะมีมาตรการจำกัดด้านการเดินทางการระหว่างประเทศ แต่การกลับมาเปิดดำเนินการของกิจกรรมต่างๆ ได้ส่งผลให้ดัชนีการบริโภคสินค้าและบริการของครัวเรือนในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ เพิ่มขึ้น (๗.๗%) แม้ว่าระดับการบริโภคยังคงห่างจากช่วงก่อนการเกิดการแพร่ระบาด โดยในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ การใช้จ่ายในสินค้าเพิ่มขึ้น ๑.๙% และบริการ เพิ่มขึ้น ๒๖.๗% โดยการใช้จ่ายด้านโรงแรมและการทานอาหารนอกบ้าน เพิ่มขึ้น ๔๘.๑% ด้านนันทนาการ เพิ่มขึ้น ๕.๘% สินค้าและบริการด้านการเดินทาง เพิ่มขึ้น ๔.๘% สินค้าและบริการสำหรับการดูแลส่วนบุคคล เพิ่มขึ้น ๔.๐% สินค้าเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เพิ่มขึ้น ๓.๒% สินค้าและบริการสำหรับที่อยู่อาศัย เพิ่มขึ้น ๓.๒% การใช้จ่ายสำหรับสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม และใบยาสูบ เพิ่มขึ้น ๐.๑% และสินค้าและบริการสำหรับการสื่อสาร ลดลง ๑.๐%

  • ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและบริษัท สถาบันสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงการคาดการณ์ว่า ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๔ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและของบริษัทเพิ่มขึ้นหากเทียบกับเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ โดยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น (จาก ๑๑๕.๑ มาอยู่ที่ ๑๑๖.๖) เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น (จาก ๑๒๖.๙ มาอยู่ที่ ๑๒๙.๖) ความเชื่อมั่นส่วนบุคคล เพิ่มขึ้น (จาก ๑๑๑.๑ มาอยู่ที่ ๑๑๒.๒) ความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ปัจจุบัน (จาก ๑๐๘.๑ มาอยู่ที่ ๑๑๑.๙) และความเชื่อมั่นต่ออนาคต ลดลง (จาก ๑๒๕.๕ มาอยู่ที่ ๑๒๓.๕) ขณะที่ความเชื่อมั่นของบริษัทที่เพิ่มขึ้น (จาก ๑๑๒.๘ มาอยู่ที่ ๑๑๖.๓) เป็นผลมาจากอุตสาหกรรมทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการก่อสร้าง (เพิ่มขึ้นจาก ๑๕๓.๖ มาอยู่ที่ ๑๕๘.๖) การบริการ (เพิ่มขึ้นจาก ๑๐๗.๐ มาอยู่ที่ ๑๑๒.๓) การค้าปลีก (เพิ่มขึ้นจาก ๑๐๗.๒ มาอยู่ที่ ๑๑๑.๐) และการผลิต (เพิ่มขึ้นจาก ๑๑๔.๘ มาอยู่ที่ ๑๑๕.๗)
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) สถาบันสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงตัวเลขคาดการณ์ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๔ ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ๐.๓% หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า จากราคาสินค้าด้านพลังงาน (+๗.๐%) การบริการด้านการเดินทาง (+๑.๑%) การบริการด้านนันทนาการ วัฒนธรรม และการดูแลส่วนบุคคล (+๐.๘%) และสินค้าอาหารที่ยังไม่แปรรูปที่ลดลง (-๐.๓%) ขณะที่หากเทียบกับเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๓ ดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้น ๑.๘% (จาก +๑.๓% ในเดือนก่อนหน้า) เป็นผลมาจากราคาสินค้าด้านพลังงาน (+๒๙.๐% จาก +๑๖.๙% ในเดือนก่อนหน้า) ราคาสินค้าบริโภคแปรรูป (+๐.๔% จาก -๐.๔% ในเดือนก่อนหน้า) ราคาการบริการด้านนันทนาการ วัฒนธรรม และการดูแลส่วนบุคคล (+๑.๓% จาก +๑.๐%) และราคาการบริการด้านการเดินทาง (-๐.๒% จาก -๑.๔%)
  • ดัชนีราคาผู้ผลิตด้านอุตสาหกรรม (Industrial Producer Price) ตัวเลขของสถาบันสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงให้เห็นว่าดัชนีราคาผู้ผลิตด้านอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า เพิ่มขึ้น ๑.๔% โดยราคาในตลาดในประเทศ เพิ่มขึ้น ๑.๗% และตลาดต่างประเทศ เพิ่มขึ้น ๐.๙% ขณะที่หากเทียบกับเดือนมิถุนายน ๒๕๖๓ ดัชนีราคาผู้ผลิตด้านอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น ๙.๑% โดยราคาในตลาดในประเทศ เพิ่มขึ้น ๑๑.๐% และตลาดต่างประเทศ เพิ่มขึ้น ๔.๔%
  • ดัชนีการผลิตด้านอุตสาหกรรม (Industrial Production) สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงตัวเลขคาดการณ์ว่า ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๔ การผลิตด้านอุตสาหกรรม ลดลง ๑.๕% หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากผลิตสินค้าขั้นกลางที่ลดลง (-๐.๘%) สินค้าทุนที่ลดลง (-๑.๘%) และสินค้าด้านพลังงานที่ลดลง (-๕.๒%) ขณะที่หากเทียบกับเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๓ การผลิตด้านอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น ๒๑.๑% จากการผลิตสินค้าขั้นกลางที่เพิ่มขึ้น (๒๘.๘%) สินค้าทุนเพิ่มขึ้น (๒๕.๒%) และสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น (+๑๕.๘%) โดยสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากยางและพลาสติก (+๔๐.๑%) การผลิตยานพาหนะ (+๓๙.๑%) และอุตสาหกรรมการผลิต (+๓๕.๘%) ในทางตรงกันข้าม สินค้าที่มีแนวโน้มลดลง ได้แก่ สินค้าเวชภัณฑ์และเภสัชกรรม (-๓.๖%) และด้านพลังงาน (-๐.๓%)
  • การค้ากับประเทศนอกสหภาพยุโรป สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) แสดงตัวเลขคาดการณ์ว่า ในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ การส่งออกของอิตาลีไปยังประเทศนอกสหภาพยุโรป (EU27) เพิ่มขึ้น ๐.๑% และการนำเข้า เพิ่มขึ้น ๑.๒% หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากสินค้าขั้นกลาง เพิ่มขึ้น ๖.๑% และสินค้าทุนที่ลดลง ๔.๕% ขณะที่การนำเข้าสินค้าบริโภคคงทน เพิ่มขึ้น ๑๓.๒% สินค้าทุน เพิ่มขึ้น ๕.๓% สินค้าขั้นกลาง เพิ่มขึ้น ๑.๘% สินค้าไม่คงทน ลดลง ๑.๒% และสินค้าด้านพลังงาน ลดลง ๒.๘% ขณะที่หากเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า การส่งออกของอิตาลีไปยังประเทศนอกสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้น ๒๓.๓% จากการส่งออกสินค้าด้านพลังงาน เพิ่มขึ้น ๑๙๑.๖% ขณะที่การนำเข้า เพิ่มขึ้น ๓๑.๑% โดยเพิ่มขึ้นในทุกประเภท ยกเว้นจากการนำเข้าสินค้าบริโภคไม่คงทน (-๑๕.๕%) โดยอิตาลีได้เปรียบดุลการค้าเป็นมูลค่า ๔,๗๙๐ ล้านยูโร (เพิ่มขึ้นจาก ๔,๖๗๖ ล้านยูโรในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๓)
  • การค้าปลีก สถาบันสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) คาดการณ์ข้อมูลว่า ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๔ การค้าปลีกเพิ่มขึ้น  (+๐.๒% ในด้านมูลค่า และ +๐.๔% ในด้านปริมาณ) หากเทียบกับเดือนเมษายน ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นผลมาจาก การค้าปลีกสินค้าบริโภคที่ลดลง (-๒.๐% ในด้านมูลค่าและ -๑.๙% ด้านปริมาณ) และสินค้าอุปโภคที่เพิ่มขึ้น  (+๒.๐ ในด้านมูลค่า และ +๒.๒ ในด้านปริมาณ) ขณะที่หากเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า การค้าปลีกเพิ่มขึ้น (๑๓.๓% ในด้านมูลค่าและ ๑๔.๑% ในด้านปริมาณ) โดยการค้าปลีกสินค้าอุปโภคเพิ่มขึ้นทั้งในด้านมูลค่าและปริมาณ (๒๘.๑% และ ๒๘.๐% ตามลำดับ) ขณะที่สินค้าบริโภคลดลง (-๑.๕% ด้านมูลค่า และ -๐.๖% ด้านปริมาณ) ทั้งนี้ การค้าปลีกสินค้าอุปโภคเติบโตในทุกประเภท (ยกเว้นสินค้าด้านเทคโนโลยี) โดยเฉพาะสินค้าเครื่องนุ่งห่มและเครื่องหนัง (+๘๒.๓%) รองเท้า และสินค้าสำหรับการเดินทาง (+๕๙.๗%) ขณะที่หากพิจารณาจากช่องทางการจำหน่ายพบว่า การค้าปลีกในทุกช่องทางเพิ่มขึ้น (ซุปเปอร์มาร์เก็ต/ไฮเปอร์มาร์เก็ต +๘.๓% ร้านค้าปลีกขนาดย่อย +๑๙.๕% การจำหน่ายนอกร้านค้า +๑๙.๔% และช่องทางออนไลน์ +๗.๒%)

๓. สถานการณ์การค้าไทย – อิตาลี

การส่งออกของไทยไปอิตาลี ระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๔ เป็นมูลค่าทั้งสิ้น ๙๗๙.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๖๓ ซึ่งการส่งออกมีมูลค่า ๗๑๕.๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น ๓๖.๙๕

รายการมูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)สัดส่วน (%)
ม.ค.- มิ.ย ๖๓ม.ค. – มิ.ย. ๖๔อัตราขยายตัว (%)
๑. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ๙๐.๕๑๓๐.๐๔๓.๖๑๑๓.๒๘
๒. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ๕๙.๓๙๙.๑๖๗.๒๙๑๐.๑๒
๓. ผลิตภัณฑ์ยาง๔๑.๓๗๓.๓๗๗.๕๕๗.๔๘
๔. อาหารสัตว์เลี้ยง๖๓.๖๗๐.๗๑๑.๑๙๗.๒๒
๕. หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ๒.๖๕๒.๘๑,๙๑๔.๔๗๕.๓๙
๖. อัญมณีและเครื่องประดับ๘๒.๖๕๑.๙-๓๗.๒๑๕.๓๐
๗. รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ๒๙.๔๔๙.๒๖๗.๖๖๕.๐๓
๘. ยางพารา๒๖.๘๔๘.๕๘๐.๐๘๔.๙๖
๙. ปลาหมึก มีชีวิต สด แช่เย็น แช่แข็ง๒๕.๖๔๒.๕๖๖.๓๕๔.๓๔
๑๐. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ๒๒.๖๓๓.๓๔๗.๔๓๓.๔๐

ข้อมูลจาก Global Trade Atlas แสดงให้เห็นว่า ในระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน ๒๕๖๔ อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกมูลค่า ๑๗๓,๓๔๐.๖๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๖๓ ซึ่งการนำเข้ามีมูลค่า ๑๓๕,๙๗๙.๔๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น ๒๗.๔๘% โดยประเทศที่อิตาลีนำเข้าสูงสุดได้แก่ เยอรมนี มูลค่า ๒๘,๕๒๘.๔๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๓๐.๘๗%) ฝรั่งเศส มูลค่า ๑๔,๗๖๘.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๒๘.๑๐%) จีน มูลค่า ๑๔,๓๑๐.๓๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๓๒.๙๓%) เนเธอร์แลนด์ มูลค่า ๑๐,๒๘๕.๔๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๓๐.๓๗%) และสเปน มูลค่า ๙,๓๕๓.๓๙ (เพิ่มขึ้น ๓๕.๒๑%)

ประเทศคู่แข่งอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ อินเดีย มูลค่า ๒,๓๑๑.๔๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๒๔.๘๘%) ญี่ปุ่น มูลค่า ๑,๘๒๓.๕๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๒๕.๙๗%) เกาหลีใต้ มูลค่า ๑,๕๔๗.๑๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๒๔.๔๒%) เวียดนาม มูลค่า ๑,๒๘๓.๒๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๒๖.๑๓%) ไต้หวัน มูลค่า ๘๑๒.๕๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๒๐.๓๒%) อินโดนีเซีย มูลค่า ๗๓๑.๗๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ลดลง ๑๓.๑๓%) และไทย อยู่ในอันดับที่ ๔๑ มูลค่า ๗๔๓.๑๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๓๘.๕๒%)

สินค้าที่คู่แข่งส่งออกไปอิตาลีในระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน ๒๕๖๔ ได้แก่

– อินเดีย ส่งออกเครื่องจักรกลไฟฟ้า อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า ๕๒๒,๒๐๑.๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๑๐๙.๑๔%)   

– ญี่ปุ่น ส่งออกผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม มูลค่า ๑๕๖.๑๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๑๑๒.๘๐%) และอัญมณี มูลค่า ๒๒.๙๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๕๒๐.๒๕%)

– เกาหลีใต้ ส่งออกผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม มูลค่า ๑๗๘.๗๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๗๗๑.๒๐%) และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ๑๑๐.๗๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๑๔๓.๔๙%)

– เวียดนาม ส่งออกเหล็กและเหล็กกล้า ๗๓.๙๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๔๗๗.๑๑%) ยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางพารา ๓๒.๑๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๑๐๓.๐๓%) พลาสติกและเครื่องมือเครื่องใช้จากพลาสติก มูลค่า ๓๐.๑๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๑๙๕.๗๘%) ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์และปลา มูลค่า ๑๘.๕๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๑๒๖.๕๗%) และของเล่นและอุปกรณ์กีฬา มูลค่า ๑๖.๔๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๑๗๓.๒๑%)

– อินโดนีเซีย ส่งออกเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด มูลค่า ๗๕.๕๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๕๙.๗๐%) และยางและผลิตภัณฑ์จากยางพารา ๔๘.๑๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น ๕๕.๓๐%)

การนำเข้าของไทยจากอิตาลี ระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๔ เป็นมูลค่าทั้งสิ้น ๑,๒๕๐.๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๖๓ ซึ่งการนำเข้ามีมูลค่า ๙๗๒.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น ๒๘.๕๕% โดยมีสินค้านำเข้า ๕ อันดับแรก ได้แก่

รายการมูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)สัดส่วน (%)
ม.ค.- มิ.ย ๖๓ม.ค. – มิ.ย. ๖๔อัตราขยายตัว (%)
๑. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ๑๙๘.๐๒๔๗.๖๒๕.๐๖๑๙.๘๑
๒. เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด๗๑.๗๘๘.๐๒๒.๗๔๗.๐๔
๓. เคมีภัณฑ์๗๒.๙๘๔.๐๑๕.๒๕๖.๗๒
๔. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ๕๔.๔๗๕.๔๓๘.๖๖๖.๐๓
๕. ผลิตภัณฑ์โลหะ๔๔.๗๖๓.๘๔๒.๘๕๕.๑๐

การค้าไทย – อิตาลี

รายการมูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ม.ค.- มิ.ย. ๖๓ม.ค. – มิ.ย. ๖๔
มูลค่าการค้า๑,๖๘๗.๕๒,๒๒๙.๓
การส่งออก๗๑๕.๑๙๗๙.๓
การนำเข้า๙๗๒.๔๑,๒๕๐.๐
ดุลการค้า-๒๕๗.๓-๒๗๐.๗

ที่มา: ข้อมูลสถิติการค้าระหว่างประเทศของไทยตามโครงสร้างของกระทรวงพาณิชย์

๔. การคาดการณ์

ด้านการคาดการณ์แนวโน้มสินค้า จากการสำรวจของศูนย์วิจัย FINDOMESTIC ร่วมกับ Eumetra แสดงให้เห็นว่าในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ ความตั้งใจซื้อกลับมาเพิ่มขึ้น (โดยรวม ๖.๗%) หลังจากที่ชะลอตัวในเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้ายานยนต์และการเดินทางท่องเที่ยว จากเงินช่วยเหลือของรัฐบาลและสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ดีขึ้น โดยในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ แนวโน้มการใช้จ่ายสินค้าคงทนของผู้บริโภคในอีก ๓ เดือนข้างหน้าหากเทียบกับเดือนก่อนหน้า รายละเอียดดังนี้

  • พาหนะยานยนต์: การขยายระยะเวลาเงินสนับสนุนด้านการเงินของรัฐบาลในการซื้อรถยนต์ใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปจนถึงสิ้นปี ๒๕๖๔ ส่งผลให้ความตั้งใจซื้อรถยนต์ใหม่และรถมือสองเพิ่มขึ้น(๑๕.๘% และ ๒๗.๗% ตามลำดับ) เช่นเดียวกับแนวโน้มการซื้อรถจักรยานยนต์ โดยเฉพาะสำหรับการใช้เดินทางไปทำงานหลังการพักร้อน และความต้องการ e-bike ที่เพิ่มขึ้น (๒๕.๓% และ ๑๕.๘%) ตามลำดับ
  • ด้านเทคโนโลยี: หลังการซื้อสินค้าในด้านเทคโนโลยีสำหรับการเรียนการสอนทางไกลและการทำงานจากที่บ้านมาเป็นระยะเวลาหลายเดือน ขณะนี้ชาวอิตาเลียนมีความตั้งใจซื้ออุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสำหรับใช้ในการเดินทางและการพักผ่อนนอกสถานที่ โดยความตั้งใจซื้อกล้องถ่ายภาพ/วิดิโอ เพิ่มขึ้น ๑๒% แท็บเล็ต เพิ่มขึ้น ๑๑.๕% โทรศัพท์มือถือ เพิ่มขึ้น ๑๗.๔% และสินค้าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เพิ่มขึ้น ๕.๔%
  • ที่อยู่อาศัย: แนวโน้มความตั้งใจซื้อบ้านหลังใหม่ เพิ่มขึ้น ๑๐.๘% และการซื้อเฟอร์นิเจอร์ เพิ่มขึ้น ๑๔.๕% ในทางตรงกันข้าม แนวโน้มการปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านลดลง ๓.๒%
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน: การเปลี่ยนแปลงระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดินดิจิทัลส่งผลให้แนวโน้มความตั้งใจซื้อ​สินค้าโทรทัศน์/Hi-Fi เติบโตขึ้น ๙.๓% ในทางตรงกันข้าม แนวโน้มการปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านที่ลดลงได้ส่งผลให้แนวโน้มการซื้อสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กลดลงเช่นกัน (๓.๘% และ ๗.๑% ตามลำดับ)
OMD KM

FREE
VIEW