รายงานสถานการณ์การค้า ชิลี ณ กรุงซันติอาโก เดือน กรกฏาคม 2564

ภาพรวมเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจของชิลีส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น โดยธนาคารกลางชิลีได้รายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจล่าสุดว่า มีการขยายตัวที่ 2.6% ในเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งได้รับปัจจัยหลักมาจากภาคการค้าและบริการ โดยเฉพาะในช่วงมหกรรมลดราคาสินค้าออนไลน์ CYBER DAY ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมค้าปลีกและภาคบริการขยายตัวที่ 51.3% และ 16.8% ตามลำดับ ประกอบกับภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีการขยายตัวได้ดี โดยขยายตัวที่ 15.3% ในขณะที่ภาคอุดสาหกรรมเหมืองแร่หดตัวลงเล็กน้อยที่ 0.3%

1. การบริโภคภาคเอกชน2. การลงทุนในภาคเอกชนและภาครัฐ
การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนในเดือนพฤษภาคม 2564 ถือว่ามีการขยายตัวที่ดีมาก โดยสะท้อนยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ สินค้าในกลุ่มเสื้อผ้า รองเท้าและเครื่องนุ่งห่ม กลุ่มเทคโนโลยีและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และสินค้ายางรถยนต์ ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ 295.7% 211.4% 99.7% และ 51.1% ตามลำดับ  ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่ทำให้การบริโภคในภาคเอกชนมีการขยายตัวที่ดี มาจากมหกรรมลดราคาสินค้าออนไลน์ CYBER DAY ในช่วงปลายเดือน ที่มีมูลค่าการจับจ่ายใช้สอยสูงถึง 640 ล้านเหรียญสหรัฐฯการลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐในเดือนพฤษภาคม 2564 มีการปรับตัวดีขึ้น โดยปริมาณการจำหน่ายสินค้าและอุปกรณ์เพื่อใช้ในการก่อสร้างเพิ่มขึ้นที่ 62.5% และตัวเลขการนำเข้าสินค้าทุน (เครื่องจักรและยานพาหนะเพื่อใช้ในการพาณิชย์) เพิ่มขึ้นที่ 52%        สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจมีการปรับระดับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการปรับเพิ่มจากที่ระดับ 51.4 มาอยู่ที่ 54.9
3. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
อัตราการว่างงานในเดือนพฤษภาคม 2564 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยอยู่ที่ร้อยละ 10.0 ของจำนวนผู้ใช้แรงงานทั้งหมดสำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคม 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้น จาก2.9% มาอยู่ที่ 3.3% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงสุดในรอบ 12 เดือน
4. การส่งออก-นำเข้า (ข้อมูลจาก SUBRIE)
การส่งออกสินค้าของชิลีระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2564 มีมูลค่า 37,932 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 31% โดยเป็นผลหลักมาจากการส่งออกสินแร่, ไวน์, ผลไม้, เยื่อกระดาษและแซลมอน ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ 59.4% 13.5% 4.6% 4.1% และ 2.3% ตามลำดับการนำเข้าของชิลีระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน 2564 มีมูลค่า 30,621 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นที่ 39% โดยเป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค, สินค้าทุน และสินค้าในหมวดพลังงานมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ 59%, 37% และ 30% ตามลำดับ
5. การค้าของชิลีกับไทย และกลุ่มประเทศอาเซียน (ข้อมูลจาก Global Trade Atlas)
ชิลีมีการนำเข้าสินค้าจากไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2564 อยู่ที่ 267.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 47.68%) ซึ่งสินค้าที่ชิลีนำเข้ามากที่สุดเรียงตามลำดับ คือ
-รถยนต์และส่วนประกอบ (106.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 18.69%)
-เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (54.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 99.93%)
-อาหารทะเลกระป๋อง (20.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 13.56%)
-ยางและผลิตภัณฑ์จากยาง (16.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 140.16%)
-เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ (14.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 87.02%)
ชิลีนำเข้าจากเวียดนาม 493.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 74.30%)
ชิลีนำเข้าจากไทย 267.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 47.68%)
ชิลีนำเข้าจากมาเลเซีย 126.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 62.96%)
ชิลีนำเข้าจากอินโดนีเซีย 109.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 91.12%)
สำหรับการส่งออกของชิลีไปยังประเทศไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2564 พบว่ามูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 189.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ลดลง -0.04%) ซึ่งสินค้าที่ส่งออกไปยังไทยมากที่สุดเรียงตามลำดับ คือ
-สินแร่ (85.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง -11.49%)
-เนื้อปลาแซลมอนและอาหารทะเล (33.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง -23.8%)
-เยื่อกระดาษ (30.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 239.06%)
-ผลไม้และผลิตภัณฑ์จากผลไม้และธัญพืช (9.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 6.99%)
-ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ (3.92ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 408.09%)
ชิลีส่งออกไปยังไทย 189.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ลดลง -0.04%)
ชิลีส่งออกไปเวียดนาม 113.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 11.89%)
ชิลีส่งออกไปอินโดนีเซีย 56.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 51.79%)
ชิลีส่งออกไปฟิลิปปินส์ 48.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 40.55%)
OMD KM

FREE
VIEW