ภูมิภาคแอฟริกา

รายงานสถานการณ์การค้าอียิปต์ เดือนมกราคม 2565

อียิปต์ตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2565/2566 ที่ร้อยละ 5.7 โดยกระทรวงการคลังอียิปต์ได้ตั้งเป้าหมายลดการขาดดุลงบประมาณให้เหลือร้อยละ 6.1 ของ GDP ในปีงบประมาณ 2565/2566 รวมทั้งลดอัตราส่วนภาระหนี้ต่อ GDP ให้ต่ำกว่าร้อยละ 90  สำหรับงบประมาณปี 2565/2566 ของอียิปต์มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นและสร้างการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด-19 พร้อมการดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีด้านการลงทุน สนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งการใช้ทรัพยากรจากแหล่งพลังงานสะอาดและยั่งยืน ทั้งนี้ การจัดทำงบประมาณประจำปี 2565/2566 จะเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมมากขึ้น โดยจะรับฟังความคิดเห็นจากหลายภาคส่วน อาทิ สมาพันธ์หอการค้าอียิปต์ สมาพันธ์อุตสาหกรรมอียิปต์ สมาคมนักธุรกิจอียิปต์ สมาคมนักธุรกิจรุ่นใหม่ วุฒิสมาชิก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสภาธุรกิจต่างๆ  ในส่วนของนโยบายสำคัญของอียิปต์ขณะนี้จะเร่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการขยายการลงทุนภาครัฐ ปรับมาตรฐานการให้บริการ และการสร้างงานให้กับแรงงานในประเทศ รวมทั้งการให้โอกาสที่ดีขึ้นสำหรับภาคส่วนที่ด้อยโอกาสทางสังคมให้สามารถเข้าถึงบริการทางด้านสาธารณสุขและการศึกษาได้มากขึ้นเพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ ในด้านการส่งออกของอียิปต์ในปี 2564 ที่ผ่านมา มีมูลค่า 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ซึ่งเป็นมูลค่าการส่งออกที่สูงที่สุดในประวัติการณ์ โดยภาคส่งออกสำคัญ ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ปุ๋ย วัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมอาหาร ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตร และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ทั้งนี้ กระทรวงการค้าฯ ได้ตั้งเป้าหมายขยายการส่งออกในปี 2565 …

รายงานสถานการณ์การค้าอียิปต์ เดือนมกราคม 2565 Read More »

ข้อมูลสำคัญรายประเทศสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (มกราคม – ธันวาคม 2564)

1. ข้อมูลทั่วไปพื้นที่ : 1,001,450 ตร.กม.เขตการปกครอง: 26 เขตประชากร : 100 ล้านคน (2020)  ภาษาราชการ: อาหรับ (ภาษาราชการ) และภาษาต่างประเทศที่ใช้ทั่วไปได้แก่ ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศสทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ : น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เหล็ก ฟอสเฟต ยิปซัม หินปูน แร่ใยหิน ตะกั่ว สังกะสี 2. เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ สินค้าส่งออก : 1. ทอง (10.91%)  2. น้ำมันปิโตรเลียม (10.82%) 3.น้ำมันดิบ (4.47%) 4. ปุ๋ย (3.5%) 5.ผลไม้ (2.99%)ตลาดส่งออก : 1. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (10.7%) 2. ซาอุดีอาราเบีย (6.4%) 3. ตุรกี (6.2%) 4. …

ข้อมูลสำคัญรายประเทศสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (มกราคม – ธันวาคม 2564) Read More »

ข้อมูลสำคัญรายประเทศภูมิภาคแอฟริกา (มกราคม – ธันวาคม 2564)

1. ข้อมูลทั่วไปพื้นที่ : 30.22 ล้านตร.กม.ประชากร : 1,235 ล้านคน (2020)ความสำคัญ: 1) เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ 2) พึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากที่อื่น 3) กำลังพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ 4) มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลกและเป็นทวีปที่มีประชากรวัยทำงานมากที่สุดทรัพยากรธรรมชาติ: น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ทองคำ อัญมณี ป่าไม้เหล็ก ทองแดง ตะกั่ว ดีบุก สังกะสี ยูเรเนียม 2. เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ สินค้าส่งออก : 1. น้ำมันดิบ (20.09%) 2. ทองคำ (8.24%) 3. ก๊าซปิโตรเลียม (4.31%) 4. น้ำมันปิโตรเลียม (3.19%) 5. ทองแดง (2.89%)ตลาดส่งออก : 1. แอฟริกา (2.2 %) 2. แอฟริกาใต้  (0.5 …

ข้อมูลสำคัญรายประเทศภูมิภาคแอฟริกา (มกราคม – ธันวาคม 2564) Read More »

ข้อมูลสำคัญรายประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย (มกราคม – ธันวาคม 2564)

1. ข้อมูลทั่วไปพื้นที่ : 923,773 ตร.กม. (อันดับ 1 ของโลก)ประชากร : 201 ล้านคน (2019)  ภาษาราชการ : อังกฤษทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ : แก็สธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียม ดีบุก แร่เหล็ก ถ่านหิน ตะกั่ว สังกะสี 2. เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ สินค้าส่งออก : 1. น้ำมันปิโตรเลียม (75.42%) 2. ก๊าซปิโตรเลียม (12.88%) 3. เรือและโครงสร้างลอยตัว (3.69%) 4. เรือไฟ (2.28%) 5. เมล็ดพืชและผลไม้ (0.94%)ตลาดส่งออก : 1. อินเดีย (15%) 2. สเปน (10.9%) 3. เนเธอร์แลนด์ (8.6%) 4. แอฟริกาใต้ (7.6%) …

ข้อมูลสำคัญรายประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย (มกราคม – ธันวาคม 2564) Read More »

ข้อมูลสำคัญรายประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ (มกราคม – ธันวาคม 2564)

1. ข้อมูลทั่วไปพื้นที่ : 1,219,912 ตร.กม.ประชากร : 59 ล้านคน (2019)  ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษและภาษาแอฟริกันทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ : ทองคำ เพชร แพลตตินั่ม โครเมียม ถ่านหิน เหล็ก 2. เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ สินค้าส่งออก : 1. แพลตทินัม (12.5%) 2. ทอง (7.89%)  3. แร่เหล็ก (7.12%) 4. รถยนต์ (5.37%) 5. ถ่านหิน (4.56%)ตลาดส่งออก : 1.จีน (11.4%) 2. ประเทศอื่น ๆ (8.5%)  3. สหรัฐอเมริกา (8.3%) 4. เยอรมนี (8.1%) 5. อังกฤษ (4.9%) 38 …

ข้อมูลสำคัญรายประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ (มกราคม – ธันวาคม 2564) Read More »

ข้อมูลสำคัญรายประเทศสาธารณรัฐเคนยา (มกราคม – ธันวาคม 2564)

1. ข้อมูลทั่วไปพื้นที่ : 582,650 ตร.กม.ประชากร : 53 ล้านคน (2019)ภาษาราชการ : อังกฤษ และ Swahiliทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ : ทองคำ หินปูนขาว แร่เกลือ เพชรพลอย แมกนีไซท์ โซดาแอช 2. เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ สินค้าส่งออก : 1. ชา (22.42%) 2. ไม้ดอก (12.85%) 3. กาแฟ(5.17%) 4. ทอง (4.91%) 5. อินทผาลัม (3.81%)ตลาดส่งออก : 1. ยูกันดา (10.7%) 2. สหรัฐอเมริกา (8.7%) 3. เนเธอร์แลนด์ (8.1%) 4. ปากีสถาน (7.6%) 5. อังกฤษ (6.7%)  39. …

ข้อมูลสำคัญรายประเทศสาธารณรัฐเคนยา (มกราคม – ธันวาคม 2564) Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าเคนยา ณ กรุงไนโรบี เดือน ธันวาคม 2564

รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การค้าไทย-เคนยาในปี 2564 และแนวโน้มในปี 2565 1. ความสำคัญด้านการค้าระหว่างไทยกับเคนยา และยุทธศาสตร์ด้านการค้าของเคนยากับทั่วโลก เคนยาถือเป็นประตูทางด้านการค้าที่สำคัญมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก ที่ประกอบด้วยประเทศต่างๆได้แก่ เคนยา ยูกานดา เอธิโอเปีย แทนซาเนีย รวันดา บูรันติ ดีอาร์คองโก เซาท์ซูดาน เซเซล์ หมู่เกาะโคโมรอส และโซมาเลีย ซึ่งมีจำนวนประชากรทั้งหมดรวมกัน ประมาณกว่า 500 ล้านคน ซึงถือเป็นตลาดการค้าและการลงทุนที่สำคัญ ซึ่งประเทศหรือกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ไม่ว่าจะเป็น จีน สหรัฐ อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหภาพยุโรป ต่างให้ความสำคัญในด้านการลงทุนและส่งเสริมการค้าภูมิภาคหนึ่งในแอฟริกา โดยมีประเทศสำคัญ คือ เคนยา แทนซาเนีย และเอธิโอเปีย ที่ได้รับความสนใจมากกว่าประเทศอื่นในกลุ่มแอฟริกาตะวันออก สำหรับประเทศไทยนั้น การส่งออกสินค้าส่วนใหญ่ที่นำเข้ามานั้น จะถูกส่งมาทางเรือผ่านท่าเรือ Mombasa ของเคนยา และส่งต่อไปยังประเทศอื่น ๆ เช่น ยูกานดา รวันดา บูรันดิ ดีอาร์คองโก เป็นต้น โดยมูลค่าการส่งออกของไทยมาเคนยาในปี 2563 มีมูลค่ากว่า 4,136 ล้านบาท …

รายงานสถานการณ์การค้าเคนยา ณ กรุงไนโรบี เดือน ธันวาคม 2564 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าไนจีเรีย ณ กรุงอาบูจา เดือน มกราคม 2565

สถานการณ์เศรษฐกิจไนจีเรียปี 2564 ในปี 2563 เศรษฐกิจไนจีเรียประสบกับภาวะถดถอยที่ลึกที่สุดในรอบสองทศวรรษ แต่การเติบโตกลับมาเริ่มต้นอีกครั้งในปี 2564 เนื่องจากการดำเนินการตอบสนองต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19 ได้ดีและมีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดฯ ราคาน้ำมันฟื้นตัว และรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายที่ดีในการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำโดยได้ดำเนินมาตรการสำคัญ อาทิ (1) เริ่มปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้สอดคล้องกัน (2) เริ่มการปฏิรูปเพื่อขจัดเงินอุดหนุนน้ำมันเบนซิน (3) ปรับอัตราค่าไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่สะท้อนต้นทุนได้มากขึ้น (4) ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และ (5) ปรับปรุงการจัดการหนี้และความโปร่งใสในภาครัฐเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานด้านน้ำมันและก๊าซ อย่างไรก็ดี วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้ว่าขณะนี้จะสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศ ก็ยังคงส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานของไนจีเรียเนื่องจากธุรกิจต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ที่ผ่านมาชะลอการจ้างงานและแรงงานจำเป็นต้องไปทำงานกับกิจการขนาดเล็กซึ่งได้รับค่าจ้างไม่มากจึงไม่ได้ช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้กับแรงงาน อีกทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจของไนจีเรียยังคงไม่แน่นอนซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาการแพร่ระบาดและการคงอยู่ของโควิด-19 รวมทั้งจำนวนประชากรที่ฉีดวัคซีนซึ่งขณะนี้ชาวไนจีเรียเข้ารับวัคซีนเพียงร้อยละ 3.8 นอกจากนี้การฟื้นตัวที่คาดการณ์ไว้เพียงเล็กน้อยอาจได้รับผลกระทบจากความผันผวนของภาคน้ำมันซึ่งรวมถึงราคาน้ำมันที่อาจกลับมาตกต่ำอย่างคาดไม่ถึง และความอ่อนแอในภาคการเงิน ทั้งนี้การตอบสนองนโยบายของทางรัฐบาลก็มีความสำคัญต่อการวางรากฐานสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของไนจีเรีย แนวโน้มเศรษฐกิจของไนจีเรีย ธนาคารพัฒนาแอฟริการายงานสถานการณ์และแนวโน้มเศรษฐกิจไนจีเรียโดยได้สรุปสาระว่ามีหลายปัจจัยจากอดีตถึงปัจจุบันทำให้ได้มุมมองต่อแนวโน้มที่น่าสนใจดังนี้ เศรษฐกิจของไนจีเรียเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2563 สาเหตุสำคัญมาจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงเนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกที่ลดลง และมาตรการกักกันเพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการบิน การท่องเที่ยว งานบริการ ร้านอาหาร การผลิตและธุรกิจการค้าต่าง ๆ แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อภาคการเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีการขยายตัวของอุปสงค์เนื่องจากประชาชนจำเป็นต้องใช้บริการ อย่างไรก็ดี ในปี 2563 จีดีพีที่แท้จริงโดยรวมคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 3 แม้ว่ามาตรการของรัฐบาลในโครงการความยั่งยืนทางเศรษฐกิจช่วยบรรเทาผลกระทบและป้องกันไม่ให้สถานการณ์แย่ลงกว่าเดิมมาก โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ …

รายงานสถานการณ์การค้าไนจีเรีย ณ กรุงอาบูจา เดือน มกราคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าเคนยา ณ กรุงไนโรบี เดือน ตุลาคม 2564

สถานการณ์ด้านการค้าและการลงทุนของสินค้ามันสำปะหลังในตลาดแอฟริกาตะวันออก สคต. ณ กรุงไนโรบี ขอสรุปข้อมูลของสินค้ามันสำปะหลังและมันเส้น ตลาดแอฟริกาตะวันออก (เคนยา, แทนชาเนีย, รวันดา, เอธิโอเปีย และยูกานดา) ในประเด็นสำคัญต่างๆ ดังนี้ปริมาณการนำเข้า 1. ปริมาณการนำเข้า ประเทศต่างๆ ในแอฟริกาตะวันออก มีการนำเข้าสินค้ามันสำปะหลังไม่มากนักเพียงประมาณ 20,000 – 30,000 ตันต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทมันตัดสดและแป้งมัน ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตในประเทศหรือในแอฟริกาเป็นสำคัญ โดยประเทศที่มีการนำเข้าต่อเนื่อง ได้แก่ รวันดา เคนยา และ เอธิโอเปีย อย่างไรก็ดี ปริมาณการนำเข้ามีแนวโน้มลดลงตามลำดับ อันเนื่องจากประเทศในแอฟริกาตะวันออกสามารถผลิตสินค้าดังกล่าวได้เอง ค่อยๆ ลดการพึ่งพาการนำเข้าตามลำดับ จนคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าที่ปริมาณการผลิตมีความเพียงพอจะไม่ต้องมีการนำเข้าสินค้าในต่างประเทศอีกต่อไป หรือ หากจะมีการนำเข้าก็จะเป็นการนำเข้าจากประเทศในแอฟริกาด้วยกันเองมากกว่าประเทศนอกกลุ่ม 2. แหล่งนำเข้าและการผลิตปัจจุบัน อียิปต์ ปากีสถาน อินเดีย (นำเข้าจากไทยเพียง 100-200 ตัน) โดยมีแนวโน้มที่นำเข้าจากอียิปต์มากขึ้นตามลำดับ เนื่องจากไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 20-25 ทั้งนี้ อียิปต์เป็นแหล่งนำเข้าที่มีส่วนแบ่งการตลาดถึงร้อยละ 65.52 ในปัจจุบัน …

รายงานสถานการณ์การค้าเคนยา ณ กรุงไนโรบี เดือน ตุลาคม 2564 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าประเทศอียิปต์ ณ กรุงไคโร เดือนสิงหาคม 2564

Fitch Solutions ประเมิน GDP ของอียิปต์จะเติบโตร้อยละ 5 ในปีงบประมาณปัจจุบัน 2564/2565 ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมและสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 และจะขยายตัวเพิ่มขื้นเป็นร้อยละ 5.5 ในปีงบประมาณ 2565/2566 และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.1 อียิปต์เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่มีอัตราเการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แม้ในปีที่ผ่านมาจะประสบกับปัญหาโควิด 19 ซึ่งหากไม่ประสบปัญหาดังกล่าว เศรษฐกิจน่าจะขยายตัวได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และถึงแม้อียิปต์จะดำเนินการเรื่องวัคซีนค่อนข้างช้า แต่อียิปต์มีข้อกำหนดที่ค่อนข้างผ่อนปรน ทำให้เศรษฐกิจยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้ Fitch ยังประเมินว่า เงินปอนด์อียิปต์จะมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ไปอยู่ที่ระดับ 16.20 ปอนด์อียิปต์/เหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ ธนาคารกลางของอียิปต์จะยังคงอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยที่ร้อยละ 9.25 และการลงทุนทางตรงยังสามารถขยายตัวเนื่องจากการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐบาลและเอกชน สำหรับภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือ (MENA) Fitch คาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของภูมิภาคจะเติบโตที่ร้อยละ 3.6 ในปี 2564 หลังจากที่เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 4 ในปี 2563 โดยอัตราการขยายตัวดังกล่าวสูงกว่าอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยระหว่างปี 2554-2563 ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 …

รายงานสถานการณ์การค้าประเทศอียิปต์ ณ กรุงไคโร เดือนสิงหาคม 2564 Read More »

OMD KM

FREE
VIEW