รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตห์ ณ เมืองดูไบ เดือนเมษายน 2565

เรื่องควรรู้ก่อนเปิดร้านอาหารไทยในดูไบ

ธุรกิจ “ร้านอาหารไทย” เป็นธุรกิจยอดนิยมของคนไทยที่สนใจจะเปิดในต่างประเทศ ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าธุรกิจดังกล่าวทำได้ไม่ยาก เพียงแค่มีฝีมือในการทำอาหารก็สามารถปิดร้านได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วธุรกิจการเปิดร้านอาหารนั้นมีขั้นตอนและระเบียบมากกว่านั้นพอสมควร การเปิดร้านอาหารในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยเฉพาะในเมืองดูไบซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของร้านอาหารไทยในประเทศนี้มีกฎระเบียบควบคุม เพื่อให้ร้านมีมาตรฐานความสะอาดคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งมีความปลอดภัย ดังนั้นการจะทำให้ร้านอาหารประสบความสำเร็จประกอบไปด้วยหลายปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณา

(1) เลือกทำเลร้าน

สถานที่ตั้งเป็นสิ่งแรกที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาเปิดร้านอาหาร ควรสำรวจทำเลเป้าหมาย ประเมินกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สำรวจมีอะไรอยู่ในพื้นที่ อาทิ อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม โรงแรม สถานที่ราชการ สถานศึกษา โรงงานและอื่นๆ เพื่อจะได้ประเมินว่ธุรกิจของเราที่จะไปเปิดร้านในพื้นที่นั้น มีความเหมาะสมและมีโอกาสประสบความสำเร็จตรงกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ เพื่อสำรวจว่าลูกค้าในพื้นที่เป้าหมายมีลักษณะอย่างไร ทำอาชีพอะไร รายได้เป็นอย่างไร มีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตอย่างไร กำลังซื้อของคนในพื้นที่เป้าหมาย มีคนพลุกพล่าน ใกล้ร้านอาหารอื่นๆ มีที่จอดรถสะดวก เป็นต้น

เชื้อชาติประชากร

กำหนดเป้าหมายผู้บริโภค เพราะประเทศนี้มีประชากรประมาณ 9.8 ล้านคน เป็นคนยูเออี 11.5% ที่เหลือเป็นชาวต่างชาติจาก 180 ประเทศ อาทิ อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ อิหร่าน และอียิปต์ เป็นต้น คนอาหรับพื้นเมืองมีบ้านพักอยู่ทั่วไป อาทิ Jumeirah, Al Barsha, Mirdif และ Khawaneej ชาวยุโรป และผู้มีรายได้ระดับสูงอาศัยอยู่ในย่าน Arabian Ranches, Marina,Jumeirah และ Dubai Hill ซึ่งย่านดังกล่าวเป็นบ้านเดี๋ยวหรืออพาร์ทเมนท์ที่ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของได้

ย่านที่คนอินเดียอาศัยอยู่หนาแน่น คือ Karama, Burdubai, Al Nahda

คนฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่นิยมอาหารไทย นิยมเซ่า อพาร์ทเมนท์ในย่าน Al Rigqa, Al Muragqabat และย่าน Satwa

นักท่องเที่ยวมักจะเข้าพักที่โรงแรมระดับ 5 ดาวและเลือกสถานที่รับประทานอาหารที่หรูหรามากขึ้น เช่น Downtown Dubai, Marina, JLT และ JBR

ค่าเช่าพื้นที่ร้านในดูไบมีราคาแตกต่างกัน เช่น ในตึกสำนักงาน ในห้างสรรพสินค้าทั่วไป ค่าเช่า Food Court ในศูนย์การค้าขนาดพื้นที่ 460 ตารางฟุตปีละ ตารางฟุตละประมาณ 50.00SUS. ต่อเดือน 20,000 – 40,000 $US. ทั้งนี้ราคาของค่าเช่าขึ้นอยู่กับบริเวณที่ตั้งของศูนย์การค้นั้นๆ สำหรับตัวอย่างคำเช่าพื้นที่เตือนมกราคม 2565 มีดังนี้

(2) ขั้นตอนการชอยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์

ลำดับการเปิดร้านอาหารหลังจากที่เลือกทำเลร้านได้แล้ว จะต้องตรวจสอบกับเจ้าของสถานที่สำหรับการอนุญาตให้เปิดร้านอาหาร รวมทั้งหน่วยงานเทศบาลของเมืองดูไบ (Dubai Municipality,0M) ว่าอนุญาตให้บริเวณดังกล่าวเปิดร้านอาหารได้หรือไม่

การเปิดร้านอาหารจะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (Trade License) โดยสามารถยื่นขอจดจากหน่วยงานเศรษฐกิจการพาณิชย์ (Department of Economic Development: DED), ขอใบรับรองเปิดร้นอาหารจาก Department of Tourism and Commerce Marketing (DTCM) และขอขึ้นทะเบียนธุรกิจอาหาร (Food License) จาก Dubai Municipality

ขั้นตอนการจดทะเบียนพาณิชย์ พอสรุปได้ ดังนี้

1) ระบุลักษณะของกิจการ: ว่าเป็นประเภทการค้า (Commercial)

2) ระบุกิจกรรมของบริษัทที่จะเปิดคือประกอบธุรกิจร้านอาหาร

3) ระบุสถานะทางกฎหมาย (legal status) ของธุรกิจที่จะเปิด เช่น บุคคลธรรมดา (natural person) หรือนิติบุคคล (juristic person)

4) เลือกชื่อร้านและจดทะเบียนใช้ซื่อที่เลือก (เสนอ 5 ชื่อเผื่อให้ DED เลือก)

5) ยื่นคำขอจดทะเบียนโดยยื่นหนังสือสัญญาเช่าร้าน/เช่าพื้นที่ประกอบ

ทั้งนี้สามารถดำเนินการเองหรือจ้างมีบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจซึ่งรับจดทะเบียนเปิดร้านอาหารซึ่งมีอยู่จำนวนมากในเมืองดูไบก็ได้

(3) การขออนุญาตทำการค้าอาหาร (Food License) จาก Dubai Municipality

1. เมื่อจดทะเบียนพาณิชย์เรียบร้อยจะต้องขออนุญาตทำการค้าอาหาร ขั้นตอนนี้ค่อนข้างสำคัญและใช้เวลาเพราะจะต้องดำเนินการต่างๆ ตั้งแต่การก่อสร้างและการติดตั้งอุปกรณ์ภายในร้านให้เป็นไปตามระเบียบ Food Code (www.al-halabi.com/Portals/0/PDF/Food_Code_English_1.pdf) อาทิ ระบบระบายควัน ที่ตั้งเตา ตู้แช่ ตู้เย็น อุปกรณ์ทำอาหาร อุปกรณ์ดับเพลิงห้องสุขา เจ้าหน้าที่จาก Dubai Municipality จะตรวจสอบก่อนอนุญาต

2. นำทะเบียนการค้าไป่ยื่นขอรับใบอนุญาตทำธุรกิจอาหาร (Food License) จาก Food Safety Department หน่วยงานของเทศบาลรัฐดูไบ (Dubai Municipality) เพื่อขออนุญาตการก่อสร้างและตกแต่งร้าน พร้อมแสดงพิมพ์เขียวหรือ blueprint ของร้านที่ระบุทางเข้า-ออกร้าน บริเวณที่เตรียมอาหาร เก็บอาหารและเครื่องปรุง อุปกรณ์ประกอบการปรุงอาหารหน้าต่างและระบบถ่ายเทอากาศ บริเวณวางเครื่องล้างจานและอุปกรณ์

การก่อสร้างร้านอาหารในดูไบ มีระเบียบพอสรุปได้ ดังนี้

– พื้นที่ครัวจะต้องมีขนาด 300-380 ตรางฟุต หรือสัดส่วนร้อยละ 40 ของพื้นที่ร้านอาหารทั้งหมด

– จะต้องมีระบบถ่ายเทอากาศอย่างดี และมีปล่องระบายควันความสูงกว่าตึกด้านข้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร

– พื้น กำแพงและเพดานสามารถทำความสะอาดได้ง่าย ไม่ดูดซับ และทนไฟ

– อ่างล้างจาน ผัก และเนื้อสัตว์ ต้องแยกกัน

– จะต้องมีพื้นที่เก็บอาหารและเครื่องปรุง

– ท่อระบายน้ำจะต้องห่างจากผนังไม่ต่ำกว่า 2 นิ้ว

– ติดตั้งระบบดับเพลิงพร้อมอุปกรณ์ตามมาตรฐาน UAE Fire and Life Safety Code of Practice เพื่อผ่านการรับรองจาก Civil Defense Department, Ministry of Interior บางกรณีร้านอาหารจะต้องยื่นขอใบอนุญาตขนถ่ายอาหาร และรถขนส่งอาหาร

ใบอนุญาตที่อาจต้องขอเพิ่ม

– ใบอนุญาตขายอาหารเนื้อหมู หากต้องการขายอาหารปรุงด้วยเนื้อหมู จะต้องขอใบอนุญาต Pork icense ทั้งนี้ จะต้องแยกห้องครัวส่วนทำอาหารเนื้อหมูและอุปกรณ์ปรุงอาหารแยกออกจากครัวปรุงอาหารทั่วไป และต้องใช้พื้นที่กว้างกว่าครัวปกติ มีความยุ่งยากในการขอใบอนุญาต จึงมักมีแต่ร้านอาหารในโรงแรมเสริฟเนื้อหมู

– ใบอนุญาตขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ Alcoho license เฉพาะร้านอาหารในโรงแมสามารถเสริฟแอลกอฮอล์ได้

– ใบอนุญาตเดลิเวอรี่ หากร้านต้องการบริการส่งอาหาร จะต้องมีใบอนุญาต Permit for delivery

(4) การซออนุญาตนำเข้าคนงานและขอวีซ่า

เมื่อได้รับใบอนุญาตเปิดกิจการแล้ว ผู้ขออนุญาต/เจ้าของกิจการนำใบจดทะเบียนพาณิชย์ยื่นขอโควต้านำเข้าพ่อครัวและพนักงานซึ่งกำกับดูแลโดย Ministry Of Human Resources & Emiratisation: MOHRE โดยมีตัวแทนหรือเอเยนต์เรียก TASHEEL (https://esevices.mohre.gov.ae/tasheelweb) นอกจากนี้ TASHEEL ตั้งอยู่ทั่วไปในย่านธุรกิจ และมีบริการครบวงจรรับเปิดธุรกิจร้านอาหารอีกด้วย ทั้งนี้จำนวนคนงานที่จะอนุญาตขึ้นอยู่กับขนาดของร้านและจำนวนที่นั่ง

ขั้นตอนยื่นขอวีซาอาศัยในประเทศ ทำบัตรประจำตัว และตรวจสุขภาพประกอบการขอวีช่าของพนักงานดูแลโดย The General Directorates of Residency and Foreign Affairs Department หรือ Immigration มีเอเยนต์เรียก Amer247 Center (https://amer247.com) นอกจากนี้มีบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจรับจดทะเบียนเปิดธุรกิจและร้านอาหาร พร้อมจัดหาผู้ร่วมลงทุนธุรกิจ

  • ผู้ประกอบการจะต้องทำการยื่นสำเนาหนังสือเดินทางของคนงานทั้งหมดที่จะเข้าไปทำงานในร้าน แจ้งรายชื่อระบุตำแหน่งงาน พร้อมแนบหลักฐานการศึกษาตัวจริงที่ได้รับการรับรองรองเอกสารจากกระทรวงการต่างประเทศของไทยและรับรองจากสถานทูตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในไทย
  • เมื่อได้รับอนุมัตินำเข้าคนงานจากกระทรวงแรงงานเรียบร้อยแล้ว นำเป็นหลักฐานไปยื่นที่กรมตรวจคนเข้าเมืองเพื่อขอให้ออกวีซ่าทำงานต่อไป (Employment Visa)
  • เมื่อได้ Employment Visa จะต้องเตรียมหลักฐานต่างๆเช่น Employment visa, สัญญาการจ้างงานและใบมอบอำนาจไปให้สถานทูต/สถานกงสุลไทย/สำนักงานแรงไทย รับรองเอกสาร) ก่อนที่จะรับรองเอกสารหน่วยงานไทยดังกล่าวจะไปดูตรวจดูสถานที่จริงพร้อมตรวจสอบการจ้างงาน และมีตำแหน่งงานจริงแล้วส่งกลับไปกระทรวงแรงงานไทยเพื่ออนุมัติและอนุญาตให้คนงานเดินทาง
  • ในขั้นตอนนี้ต้องมีการระบุเงินเดือนคนงาน จะมีระเบียบตั้งเพดานเงินเดือนว่าจ้าง
  • ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่การจ้างงานรวมทั้งพ่อครัว พนักงานเสริฟหรือตำแหน่งอื่นๆในอุตสาหกรรมโรงแรมและร้านอาหารในประเทศยูเออี ผู้ว่าจ้างจะจัดหาที่พัก อาหารพร้อมรถรับส่งลูกจ้างให้ เงินเดือนที่ระบุจึงเป็นเงินเดือนเต็ม (Basic salary) อีกทั้งไม่มีการหักภาษีรายได้
  • หากทุกอย่างถูกต้องได้รับการอนุมัติ นายจ้างจะส่งสำเนาวีซ่า Employment Visa ไปให้ลูกจ้างเพื่อยื่นต่อกระทรวงแรงงานของไทยเพื่ออนุญาตให้เดินทางไปทำงานต่อไป
  • เมื่อลูกจ้างเดินทางถึงยูเออี นายจ้างจะนำคนงานไปตรวจสุขภาพ หากผ่าน นายจ้างนำผลตรวจสุขภาพเป็นเอกสารประกอบไปยื่นกับกระทรวงแรงงานเพื่อออกสัญญาว่าจ้าง (Labour contract) บัตรทำงาน (Labour card) บัตรประจำตัวประชาชน (Emirates ID) เพื่อประทับวีซ่าประเภทพักอาศัย (Resident visa) อายุ 2 ปีในหนังสือเดินทาง
  • เนื่องจากต้องทำงานกับอาหารนายจ้างจะต้องนำคนงานไปตรวจสุขภาพอีกครั้งกับทางเทศบาล หากพบว่าคนงานมีโรคติดต่อร้ายแรง เช่น Virus b, virus c, HIV, TB จะถูกส่งกลับ
  • ตามกฎหมายแรงงานยูเออี นายจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนี้ รวมทั้งค่าธรรมเนียมการต่อวีซ่าและบัตรประจำตัวทำงานที่จะต้องต่ออายุทุก 2 ปี ส่วนค่าบัตรประกันสุขภาพจะต้องต่ออายุบัตรทุกปี
  • ค่าใช้จ่ายการดำเนินการขอวีซ่า/บัตรอนุญาตทำงานข้างต้นมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,200 เหรียญสหรัฐฯ:คน
  • นอกจากนี้ผู้ที่ทำงานในร้านอาหารจะต้องตรวจสุขภาพทุกปีที่สถานีอนามัยของเทศบาลรัฐฯ โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 100 เหรียญสหรัฐฯ และสำนักงานเทศบาลของรัฐจะมีสารวัตรอาหารออกตรวจสอบสภาพความสะอาดร้านอาหาร เครื่องปรุงอาหารที่หมดอายุ เป็นต้น ซึ่งหากพบว่าไม่ถูกต้องจะถูกตักเตือน หรืออาจสั่งปิดร้านได้

(5) ค่าแรงและสวัสดิการ

รัฐบาลยูเออีไม่ได้กำหนดค่าแรงขั้นต่ำไว้ในกฎหมายแรงงาน แต่ระบุกว้างๆ ว่าเงินเดือนลูกจ้างจะต้องครอบคลุมความต้องการพื้นฐาน (Basic Needs ส่งเสริมสุขภาวะความเป็นอยู่ของลูกจ้าง ทั้งนี้อัตราเงินเดือนลูกจ้างจะระบุไว้ชัดเจนในสัญญาจ้างงาน (Employment Contract) ที่ทำระหว่างลูกจ้าง นายจ้าง และกระทรวงแรงงาน รวมทั้งระบุ

สิทธิประโยชน์อื่นๆให้ลูกจ้าง โดยทั่วไปนายจ้างจะต้องเป็นผู้จัดหาที่พัก อาหาร พาหนะเดินทางไป-กลับระหว่างที่พักกับร้านอาหาร ตั๋วเครื่องบินไป-กลับประเทศทุก 2 ปี ให้กับลูกจ้างด้วย

ปัจจุบันคนงานจากไทยมีค่าจ้างสูง บางครั้งเป็นอุปสรรคต่อนายจ้างในต่างประเทศไม่สามารถจ้างแรงงานจากไทยได้

เงินเดือนสำหรับพ่อครัว (จากเอเชีย) ทั่วไปประมาณเดือนละ 900-2,500 เหรียญสหรัฐฯ แต่สำหรับพ่อครัวไทยมีอัตราการจ้างประมาณเดือนละ 1,500-3,500 เหรียญสหรัฐฯ พนักงานต้อนรับและ พนักงานเสริฟ (คนไทย) เดือนละ 800 เหรียญสหรัฐฯ ขึ้นไป ในชณะที่พนักงานเสริฟจากฟิลิปปินส์ได้รับค่าจ้างเดือนละ 950 เดอร์แฮม (260 เหรียญสหรัฐฯ)

การจ่ายเงินเดือนนายจ้างจะต้องจ่ายผ่านบัญชีธนาคารของลูกจ้างตามระเบียบ Wages Protection System (WPS) ของกระทรวงแรงงานยูเออี นายจ้างจ่ายเงินเดือนล่าช้ได้แต่ไม่เกิน 14 วันจากวันที่กำหนดจ่ายในระบบ WPS

(6) การจัดซื้อเครื่องปรุงอาหารไทย

มีบริษัทนำเข้าผัก ผลไม้ อาหารสดและเครื่องปรุงหลายแห่งในดูไบที่นำเข้าอาหารไทยโดยเฉพาะโดยนำเข้าผัก ผลไม้และอาหารสดทางอากาศสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง รวมทั้งในปัจจุบันมีบริษัทจีนปลูกผักสดประเภทคะน้า กวางตุ้ง คืนช่าย ผักบุ้ง ถั่วงอก ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และยังจำหน่ายเครื่องปรุงบางชนิด เช่น เต้าหู้ และเส้นใหญ่สด เป็นต้น และเนื่องจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประเทศบนซายฝั่งทะเล ดูไบจึงมีอาหารทะเลสดอุดมสมบรูณ์จำหน่ายทั่วไปตามซูเปอร์มาร์เก็ต และในตลาดค้าส่งอาหารทะเล (Waterfront Market) ทั้งนี้ รายชื่อผู้นำเข้าเครื่องปรุงอาหารไทย ตามเอกสารแนบ

(7) พฤติกรรมผู้บริโภค

ประชากรยูเออี (ปี 2564) รวมทั้งสิ้นประมาณ 9.9 ล้านคน ประกอบด้วยชาวต่างชาติประมาณ 8.4 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงานจากอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา นอกจากนั้นเป็นชาวอาหรับจากประเทศอื่นที่เข้าไปทำงานเป็นลูกจ้างในหน่วยงานรัฐบาลและบริษัทเอกชน ชาวต่างชาติอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นชาวฟิลิปปินส์และชาวยุโรป เป็นต้น สัดส่วนของชาวอาหรับพื้นเมืองมีจำนวนประมาณ 1.5 ล้านคน

จากการสำรวจผู้บริโภคอาหารไทยในประเทศนี้ได้แก่

– ชาวต่างชาติที่เคยเดินทางมาประเทศไทยรู้จักอาหารไทย และชาวเอเชียตะวันออกที่อาหารลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเชีย สิงคโปร์ เป็นต้น

– ชาวอาหรับพื้นเมืองที่เคยเดินทางมาประเทศไทย ชาวอาหรับพื้นเมืองที่แต่งงานกับคนไทย/คนเอเชีย

– นักท่องเที่ยวจากยุโรป อเมริกา เอเชียตะวันออก

ร้านอาหารไทยในโรงแรมผู้บริโภคนิยมไปรับประทานกันเนื่องในโอกาสพิเศษหรือเป็นการเลี้ยงรับรองแขกนักธุรกิจ การรับประทานในหมู่เพื่อนฝูงนิยมตามร้านอาหารทั่วไป ส่วนกลุ่มผู้บริโภคใน Food Court นั้นเป็นกลุ่มแม่บ้าน หรือคนทำงานที่ต้องการความสะดวกเพื่อรับประทานอาหารมื้อเที่ยง

เมนูอาหาร

ร้านอาหารควรจัดทำเมนูที่สะดวกต่อการเลือก ง่ายต่อการอ่าน พร้อมมีรูปภาพประกอบ ใช้ภาษาอังกฤษและอาระบิก อาหารที่เสริฟควรให้เหมือนกับรูปภาพในเมนูตามที่ลูกค้าคาดหวัง

นอกจากต้มยำกุ้งและผัดไทยซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมและรู้จักกันทั่วไปแล้ว อาหารอื่นๆที่ลูกค้าต่างชาติของร้านอาหารไทยในยูเออีนิยม พอสรุปได้ดังนี้

1. ลูกค้าชาวอาหรับพื้นเมืองชอบอาหารทะเลปรุงแบบไม่เผ็ด อาหารทะเลย่าง นิยมอาหารรสออกเปรี้ยว

2. ลูกค้าชาวอินเดียนิยมอาหารรสจัด อาหารมังสะวิรัต เช่น แกงเขียวหวาน แกงเผ็ด ผัดกระเพรา ส่วนใหญ่รับประทานอาหารปรุงด้วยเนื้อไก่ อาหารทะเล หากเป็นอินเดียฮินดูไม่รับประทานเนื้อวัว

3. ลูกค้าขาวยุโรปและชาวอาหรับอื่นๆนิยมอาหารรสไม่เผ็ดจัด เช่น ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ปลา/กุ้ง เปรี้ยวหวาน และไก่สเต๊ะ เป็นต้น

4. ลูกค้าชาวฟิลิปปินส์นิยมอาหารประเภทเส้น เช่น ผัดไทย ผัดวุ้นเส้น และต้มยำ

(8) ภาษี

ยูเออีก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ร้อยละ 5 ร้านอาหารไทยในโรงแรมจะคิดค่าบริการ (Sevice charge) และค่าภาษีเทศบาล 15-20% ร้นอาหารทั่วไปอาจมีคิดค่าบริการ 10% ส่วนร้านอาหารใน Food Court ไม่คิดค่าบริการ (Service charge)

นอกจากนี้รัฐบาลยูเออี มีแผนจะเริ่มเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ที่อัตรา 9% จากยอดกำไรที่เกินกว่า 375,000 เดอร์แฮม/ปี

(9) เครื่องหมาย Thai SELECT

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศมีโครงการสนับสนุนธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศ ผ่านกิจกรรมส่งเสริมประชาสัมพันธ์เครื่องหมาย Thai SELECT ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ของกระทรวงพาณิชย์ที่มอบให้กับร้านอาหารไทยในต่างประเทศที่ผ่นมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยรัฐบาลมีความเห็นว่าร้านอาหารไทยเป็นช่องทางสำคัญ ในการส่งออกสินค้าอาหารส่วนประกอบและวัตถุดิบในการประกอบอาหารโดยได้ดำเนินการสนับสนุนการพัฒนาและส่งเสริมร้านอาหารไทยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

ในภูมิภาคตะวันออกกลาง สำนักส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) จำนวน 6 แห่ง ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ร้านอาหารไทยที่ได้รับตร Thai SELECT ผ่านช่อง Social Media (Facebook, Instagram และ Twitter และ สคต. ณ เมืองดูไบ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับร้านอาหาร Thai SELECT ในยูเออี เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของธุรกิจร้านอาหารไทยในยูเออีที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากนี้ยังได้จัดทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์ตรา Thai SELECT และร้านอาหารที่ได้รับตรา Thai SELECT ในโอกาสอื่นๆ อาทิ ในระหว่างการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Gulfood ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอาหารที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา ที่จัดขึ้น ณ เมืองดูไบ และในงาน World Expo 2020 ระหว่างวันที่ 17-19 มีนาคม 2565 เป็นต้น

ในยูเออีและประเทศกลุ่มอ่าวอาหรับ GCC ในเขตดูแลของ สคต.ดูไบ มีร้านอาหารไทยที่ได้รับเครื่องหมาย Thai SELECT รวมทั้งสิ้น 22 ร้าน อยู่ในยูเออี 16 ร้าน ประเทศบาห์เรน 4 ร้าน และประเทศคูเวต 2 ร้าน

ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้านอาหารในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจและให้บริการเปิดธุรกิจในยูเออีได้ประมาณการค่าใช้จ่ายการเปิดร้านอาหารแบบครบวงจรไว้ที่ประมาณ 350,000 เหรียญสหรัฐฯ ร้านอาหารขนาดเล็กประมาณ 200,000 เหรียญสหรัฐฯ และร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้านประเภท Ghost Kitchen Nirtual Kitchen ประมาณ 50,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งกลุ่มหลังสุดเป็นโมเดลธุรกิจร้านอาหารที่มีแต่ครัว ไม่มีหน้าร้านให้ลูกค้านั่ง เป็นการปรุงอาหารภายในร้าน เพื่อรับออเดอร์จัดส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นเดลิเวอรี่ต่างๆ เช่น Talabat, Zomato และ Deliveroo เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อมุ่งตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมสั่งอาหารมากินเอง (Food Delivery) มากขึ้น ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19

(10) ข้อเสนอแนะ

1. การทำอาหารไทยต้องคำนึงถึงรสมือ พยายามปรุงให้เป็นรสไทยแท้ให้มากที่สุด เพราะลูกค้าชาว Emirati ส่วนใหญ่เดินทางไปประเทศไทยปีละหลายครั้งจึงคุ้นเคยรสชาติอาหารไทยเป็นอย่างดี

2. การจัดการด้านบุคลากรเป็นหัวใจที่สำคัญของธุรกิจร้านอาหารในต่างประเทศ โดยเฉพาะพ่อครัว/แม่ครัวที่มีส่วนสำคัญต่อรสชาติและคุณภาพของอาหารที่จำเป็นต้องรักษาให้มีความสม่ำเสมอ ร้านอาหารในดูไบบางร้านกำหนดสูตรปรุงอาหารจากครัวกลางซึ่งนอกจากจะควบคุมต้นทุนได้แล้วยังทำให้ได้รสชาติอาหารที่คงที่ ไม่ผิดเพี้ยน

3 . หัวใจสำคัญประการหนึ่งของร้นอาหารปัจจุบันคืออาหารเดลิเวอรี่ นอกจากความสะอาดและรสซาติอาหารที่อร่อยแล้ว การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์จะต้องถูกต้องเป็นไปตามระเบียบของ Dubai Municipality ในเรื่องข้อกำหนดของ Food Contact ความสวยงามสะดุดตาของบรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งที่ควรออกแบบถือเป็นการดึงดูดใจให้ผู้บริโภคสนใจ ทั้งยังสร้างความประทับใจได้ง่าย รวมถึงแสดงออกตัวตนของทางร้านได้อีกด้วย

4. การลงทุนกับการทำ social media เป็นช่องทางที่ช่วยสร้างการรับรู้ได้อย่างมากสำหรับธุรกิจร้านอาหารโดยในยูเออีนิยมใช้ Instagram และ Twitter เป็นหลัก

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW