รายงานสถานการณ์การค้าเคนยา ณ กรุงไนโรบี เดือนมีนาคม 2564

ผลกระทบด้านการค้าของเคนยาจากวิกฤตสงครามระหว่าง ยูเครน-รัสเชีย

ผลกระทบในการส่งออกสินค้าไปรัสเชีย

เคนยามีการส่งออกชา ดอกไม้ กาแฟ และผลไม้ ไปยังรัสเซียประมาณปีละเกือบ 450 ล้านดอลลาร์ ต้องหยุดชะงักจากการที่ผู้ส่งออกสินค้าดังกล่าวของเคนยา ได้รับแจ้งหลังจากสายการเดินเรือและสายการเดินเรือหลักระงับการขนส่งสินค้าไปและกลับจากรัสเซียเป็นการชั่วคราวเพื่อตอบสนองต่อมาตรการคว่ำบาตร ภายหลังการคว่ำบาตรของมอสโกโดยชาติตะวันตกภายหลังการรุกรานยูเครน ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยในท้องถิ่น

ในเรื่องนี้ ยังไม่รวมการที่ การคว่ำบาตรธนาคารรัสเซียจาก SWIFT ระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ และธนาคารกลางจากการดำเนินงานระหว่างประเทศ ทำให้ประเทศชำระเงินค่านำเข้าและรับเงินสดเพื่อการส่งออกได้ยากขึ้น SWIFT เป็นระบบส่งข้อความที่ปลอดภัยซึ่งอำนวยความสะดวกในการชำระเงินข้ามพรมแดนอย่างรวดเร็วการยกเว้นธนาคารรัสเซียจาก SWIFT จะทำให้ผู้ส่งออกของเคนยามีความเสี่ยงและมีราคาแพงกว่า โดยมีผลให้ผู้ส่งออกที่เกี่ยวข้องได้หยุดการส่งออกไปยังรัสเซียแล้ว

ผลกระทบของการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นนี้ มีตัวอย่างที่เห็นได้จากการประมูลการส่งออกชา ที่เมือง Mombasa ซึ่งผู้ซื้อในตลาดรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้นำเข้าชารายใหญ่อันดับห้าของเคนยาในตลาดโลก รองจาก ปากีสถาน อียิปต์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตามลำดับ

โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจของเคนยา คาดการณ์มาตรการทางการค้าที่เกิดขึ้นนี้ ได้ส่งผลกระทบทางการค้าระหว่างเคนยากับรัสเชีย ซึ่งมากกว่า 45,000 ล้านเคนยาชิลลิ่ง หรือประมาณ 450 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (กว่า 15,000 ล้านบาท) รัสเซียถูกมองว่าเป็นตลาดที่เติบโตสำหรับการส่งออกประเทศหนึ่งของเคนยา และเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญของสินค้าแป้งข้าวสาลีของเคนยา เช่นเดียวกับยูเครนที่เป็นผู้ส่งออกสินค้านี้รายสำคัญในตลาดโลกโดยในปี 2021 รัสเซียนำเข้าชาจำนวน 29.61 ล้านกิโลกรัม มูลค่า 625 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากปี 2020 ที่นำเข้าชาจำนวน 25.14 ล้านกิโลกรัม มีมูลค่า 502 ล้านดอลลาร์

สมาคมผู้ส่งออกชาแห่งแอฟริกาตะวันออกซึ่งควบคุมการประมูลที่เมือง Mombasa กล่าวว่า Maersk ยักษ์ใหญ่ด้านการขนส่งของเดนมาร์ก และ CMA CGM ของฝรั่งเศสได้ส่งคำแนะนำไปยังผู้ส่งออกของเคนยาเพื่อแจ้งให้ทราบเรื่องการระงับการขนส่งสินค้าเข้าและออกจากรัสเซียทั้งทางทะเลหรือทางบก

สินค้าดอกไม้ตัดสดของเคนยาซึ่งเป็นหนึ่งรายการสินค้าสำคัญที่เคนยา
จะไม่สามารถส่งออกไปรัสเชียได้จากมาตรการคว่ำบาตรทางการค้า
ที่ส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าของเคนยาไปรัสเชีย

เช่นเดียวกันกับ สมาคมผู้ส่งออกดอกไม้เคนยา ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทดอกไม้ขนาดใหญ่ กล่าวว่าการส่งออก-นำเข้าสินค้าระหว่างเคนยากับรัสเชียได้กลายเป็นความท้าทาย เนื่องจากผู้ส่งออกส่วนใหญ่ พึ่งพาการขนส่งผ่านท่าเรืออัมสเตอร์ตัมของเนเธอรแลนด์ส่งสินค้าต่อไปยังรัสเชีย โดยให้ข้อมูลว่า “ผลผลิตของเรา (ไม้ตัดดอก) ส่วนใหญ่กำลังส่งผ่านอัมสเตอร์ดัมและขนส่งไปยังรัสเซีย ซึ่งมาตรการดังกล่าวทำให้การส่งออกของเราไปยังรัสเชียต้องหยุดชะงักลง” Clement Tulezi ผู้บริหารระดับสูงของสมาคมกล่าวทางโทรศัพท์ “พวกเขาระงับการลงทุนและการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในรัสเซีย ไม่น่าเป็นไปได้ที่เราจะทำธุรกิจกับรัสเซียในอนาคตอันใกล้นี้ จนกว่ามาตรการเหล่านี้จะหมดไป เพราะธุรกิจของเราถูกควบคุมโดยใช้เงินดอลลาร์เป็นสกุลเงินหลัก จากนั้นจึงใช้เงินยูโรหากไม่มี SWIFT ธนาคารรัสเซียสามารถใช้ช่องทางอื่นในการชำระเงิน เช่น โทรศัพท์ แอพส่งข้อความ หรืออีเมล ซึ่งมีประสิทธิภาพและปลอดภัยน้อยกว่า” เขายังกล่าวเสริมอีกว่า “เราไม่มีการส่งออกโดยตรง (ไปยังรัสเซีย) มากนัก อย่างไรก็ดี เราต้องใช้เวลาในการดูว่าเราได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงไรในเรื่องนี้”

Maersk แห่งเดนมาร์ก, MSC ซึ่งตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ และ CMA CGM ของฝรั่งเศสเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (1 มีนาคม 2565) ได้หยุดการขอส่งสินค้าที่ไม่จำเป็นไปยังรัสเซียเป็นการชั่วคราว โดยมีเพียงอาหาร การแพทย์ และด้านมนุษยธรรมเท่านั้นที่เป็นข้อยกเว้น และถือเป็นบริษัทขนส่งทางเครื่องบินที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจาก MSC กล่าวแยกต่างหากว่า จะหยุดการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมดไปและกลับจากรัสเซียเป็นการชั่วคราว

CMA CGM ของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสายตู้คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก ประกาศเมื่อวันอังคาร (1 มีนาคม 2565) ว่าได้ระงับการจองระวางเรือทั้งหมดไปและกลับจากรัสเซียจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม โดยอ้างถึงความกังวลด้านความปลอดภัย

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปตามการตัดสินใจที่คล้ายคลึงกันของ Ocean Network Express ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ และบริษัท Hapag Lloyd ของเยอรมนี ซึ่งส่งผลให้รัสเซียต้องเลิกสัญญากับบริษัทขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ชั้นนำของโลกหลายบริษัทดังกล่าว และเพิ่มความท้าทายในการขนส่งสินค้าเข้าออกประเทศของตนต่อไป

ผลกระทบการในการนำเข้าสินค้าจากรัสเชียและยูเครนมายังเคนยา

เคนยาเป็นประเทศที่นำเข้าแป้งสาลีจากรัสเชียมากที่สุด 5 ลำดับแรก คิดเป็นสัดส่วนในการนำเข้าประมาณ 8-10% ของการนำเข้าในแต่ละปี โดยปี 2021 เคนยานำเข้าแป้งสาลีจากรัสเชียถึง 1,882 ตันซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 6 เท่าต่อผลผลิตที่เคนยาผลิตได้ในประเทศเพียง 350 ตันต่อปี ทำให้การที่เคนยาจะไม่สามารถนำเข้าสินค้าดังกล่าวได้ตามปกติ จะส่งผลให้ ราคาสินค้าแป้งสาลีที่มีความสำคัญในการบริโภคและเป็นอาหารหลักอย่างหนึ่งของผู้บริโภคเคนยานั้น น่าจะมีราคาสูงขึ้น และน่าจะส่งผลกระทบโดยอ้อมต่อราคาอาหารสัตว์เลี้ยงที่ใช้ข้าวโพดและแป้งสาลีเป็นส่วนผสมหลักในทิศทางเดียวกันด้วย

ในด้านของการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง แม้จะโชคดีที่เคนยาไม่ได้นำเข้าน้ำมันจากรัสเชียมากนัก โดยการนำเข้าส่วนใหญ่นำเข้าจากชาอุดิอาระเบีย และ UAE เป็นหลัก แต่ผลกระทบโดยอ้อมก็คือ การที่หลายประเทศมีมาตรการคว่ำบาตรทางการค้ากับรัสเชียนั้น มีผลทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังจะเห็นได้จากที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นจนมาอยู่ที่ระดับมากกว่า 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีการคาดการณ์ว่าอาจมีการปรับเพิ่มขึ้นเป็นระดับ 120-140 ดออลาร์ต่อบารเรลในอีก 2-3 เดือนต่อจากนี้ หากสงครามยังไม่ยุติ ผลที่ตามมาคือ ราคาค่าขนส่งและน้ำมันในประเทศเคนยาเพิ่มขึ้นสูงสุดมากที่สุดในรอบ 8 ปี ที่ผ่านมา (ธ.ค. 64) ส่งผลให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อและค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากกว่า 5.8% ในเดือน ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา และเป็นปัจจัยที่อาจทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเคนยาที่คาดว่าจะสูงถึง 5.5% ในปี 2022 นี้ อาจจะลดลงเหลือเพียง 4.0-4.5% ขึ้นอยู่กับว่า สถานการณ์จะยืดเยื้อนานมากน้อยแค่ไหน

สุดท้ายสินค้าเหล็กก็เป็นอีกสินค้าหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบเนื่องจากยูเครนและรัสเชียต่างเป็นประเทศที่เคนยานำเข้าเหล็กเป็นลำดับที่ 1 และ 2 ตามลำดับ แต่ผลกระทบคงไม่รุนแรงเนื่องจากยังสามารถนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่น เช่น จีน อินเดีย หรือโปแลนด์ทดแทนได้ แต่ในระยะสั้น คงกระทบต่อด้านการผลิตและการก่อสร้างในประเทศได้

นโยบายของรัฐบาลเคนยาต่อกรณีดังกล่าว

รัฐบาลเคนยาถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ออกมาประนามการกระทำของรัสเชียในกรณีดังกล่าว และมีแนวโน้มสนับสนุนการคว่ำบาตรทางการค้าของชาติตะวันตกในกรณีข้างต้น โดยล่าสุดในการลงมติใน UN ที่จะออกมติประนามการกระทำดังกล่าวของรัสเชีย เคนยาเป็นประเทศหนึ่งที่สนับสนุนมติดังกล่าว ทั้งนี้ เคนยายังมุ่งหวังในประเทศคู่กรณีเร่งใช้การเจรจามากกว่าการใช้กำลังเพื่อหาทางออกกับปัญหาดังกล่าว

ในด้านแรงงานเคนยาในยูเครนนั้น รัฐบาลเคนยากล่าวว่า ได้แจ้งให้สถานทูตของเคนยาในรัสเชียและกงศุลกิตตมศักดิ์ในยูเครนเร่งการแจ้งคนเคนยาที่มีจำนวนกว่า 200 คนในยูเครนให้ออกจากยูเครนโดยเคนยาจะให้อำนวยความสะดวกอย่างเร่งด่วนต่อไป

ความเห็นของ สคต.

สคต. เห็นว่า การที่เคนยาไม่สามารถส่งออกสินค้าหลายรายการไปยังรัสเชียได้นั้น จะส่งผลกระทบในด้านรายได้จากการส่งออกในระดับปานกลางอาจไม่มากนัก เนื่องจากตลาดรัสเชียยังมีความสำคัญไม่มากหากเปรียบเทียบกับประเทศยุโรปประเทศอื่นที่เป็นตลาดที่มีมูลค่าการค้ากันมากกว่า อย่างไรก็ดี รัสเชียถือเป็นตลาดดาวรุ่งในการส่งออกที่เคนยามุ่งหวังที่จะขยายตลาดอยู่ ทำให้เคนยาต้องเร่งหาตลาดในการส่งออกแทนต่อไป

ทั้งนี้ ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบค่อนข้างมากคือ ราคาสินค้านำเข้าสำคัญได้แก่ แป้งสาลีและน้ำมันนั้น สถานการณ์ดังกล่าวทำให้เคนยาจะต้องประสบปัญหาราคาสินค้าและค่าครองชีพเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อช้ำเติมปัญหาด้านเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังมีแนวโน้มฟื้นตัวจาก COVID 19 ทำให้อาจส่งผลต่อประชาชนผู้บริโภคทั่วไปให้ต้องมีชีวิตอย่างยากลำบากเพราะทางหนึ่งหลายคนประสบปัญหาไม่มีรายได้จากการตกงานหรือลดค่าจ้างจากปัญหาเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวมากนักจาก COVID 19 และราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่เพิ่มอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะส่งผลให้กำลังชื้อของคนเคนยาในปีนี้ลดลงอย่างมาก และน่าจะทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่คาดการณ์ว่าจะเติบโตประมาณ 5.5% นั้น ต้องมีการปรับลดลง โดยคาดการณ์ว่าอาจจะเหลือประมาณ 4-4.5% อย่างน้อย

สำหรับประเทศไทย อาจจะได้รับผลลบในเรื่องของการนำเข้าสินค้าที่อาจมีการขยายตัวที่ลดลง เนื่องจากกำลังชื้อของเคนยาน้อยลง นอกจากนั้น เนื่องจากเคนยามีปัญหาที่ค่าเงินท้องถิ่นมีการอ่อนค่าลงอย่างมากในปีที่ผ่านมา จะยิ่งอ่อนค่าลงไปอีก ทำให้อาจเป็นปัญหาทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้ายิ่งจะนำเข้าได้น้อยลงแต่มีราคาสูงมากขึ้น จนอาจส่งผลให้การส่งออกของไทยในปี 2565  มาเคนยาขยายตัวน้อยลงจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวประมาณ 5% (มูลค่าประมาณ 6,867 ล้านบาท) เหลือเพียงประมาณ 2-3% (มูลค่าประมาณ 6,736 ล้านบาท) ก็เป็นได้ ซึ่ง สคต. จะได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

นอกจากนั้น สินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับน้ำมันที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออกมาได้แก่ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์น่าจะได้รับผลบวกจากสถานการณ์ดังกล่าว เพราะแม้การนำเข้าอาจมีปริมาณเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ตามสภาพเศรษฐกิจที่ไม่สดในแต่อันเนื่องจากเคนยายังมีความจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากต่างประเทศทั้งหมด ทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้ากลุ่มดังกล่าวที่จะมีราคาสูงขึ้นตามราคาของน้ำมัน ก็น่าจะส่งผลให้มีมูลค่าการนำเข้าที่มากขึ้นตามไปด้วย โดยในปี 2564 เคนยานำเข้าเม็ดพลาสติกจากไทยมูลค่า 484 ล้านบาทเพิ่มขึ้นกว่า 75.93% จากปี 2563

ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke (ที่มา Business Daily)

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW