ภูมิภาคเอเชียใต้

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอินเดีย ณ เมืองมุมไบ เดือนตุลาคม 2565

ความต้องการสินค้าวัสดุชีวภาพทางการแพทย์ของอินเดียกำลังเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการสินค้าวัสดุชีวภาพทางการแพทย์ของอินเดียกำลังเพิ่มสูงขึ้น เพื่อนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตอวัยวะเทียม รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใส่เข้าไปในร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะการปรับตัวให้สามารถใช้ชีวิตอยู่กับโรคไต หัวใจและหลอดเลือด ข้อเข่า ระบบประสาท ฟัน หู และตา รวมถึงนำมาใช้เป็นไหมสำหรับเย็บแผลและศัลยกรรมเพื่อความงาม ตลอดจนการเลี้ยงเซลล์ทางวิศวกรรมเนื้อเยื่อ และวัสดุนำส่งยารักษาโรค   นอกจากการเติบโตของตลาดวัสดุชีวภาพทางการแพทย์แล้ว อินเดียยังใช้วัสดุชีวภาพเป็นวัตถุดิบขั้นกลางในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะโรงงานที่ต้องการส่งออกไปประเทศพัฒนาแล้วที่ไม่เพียงต้องการลดกระทบในกระบวนการผลิตเท่านั้น แต่ยังมีมาตรฐานใหม่ที่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทานและวงจรชีวิตของสินค้านั้นด้วย ทั้งในกลุ่มสินค้ายานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดส่วนตัว ของใช้ในบ้าน ร้านอาหารและโรงแรม  ข้อคิดเห็นของ สคต. อินเดียมีความต้องการใช้โพลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้ (Polylactic Acid) หรือ PLA เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในขณะที่อินเดียยังไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการ จึงเป็นโอกาสของไทยที่จะขยายตลาดในสินค้าประเภทดังกล่าวโดยสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีภายใต้ ASEAN-India FTA ได้ด้วย รวมถึงพิจารณาเข้าไปร่วมลงทุนเพื่อนำสินค้าขั้นกลางจากไทยผลิตเป็นวัสดุชีวภาพต่าง ๆ รองรับตลาดในอินเดียและส่งออกไปยังคู่ค้าของอินเดียด้วย โดยอาจร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัปด้านวัสดุชีวภาพในอินเดีย เพื่อให้มีพันธมิตร   ที่เข้าใจและเข้าถึงตลาดท้องถิ่น รวมถึงเครือข่ายของอินเดียในการส่งออกสู่ตลาดโลก ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยเป็นแหล่งนำเข้า PLA อันดับ 1 ของอินเดียหลายปีติดต่อกัน ประมาณร้อยละ 70 …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอินเดีย ณ เมืองมุมไบ เดือนตุลาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอินเดีย ณ เมืองมุมไบ เดือนตุลาคม 2565

อินเดียขยายเวลามาตรการภาษีนำเข้าน้ำมันเพื่อบริโภค หวังรักษาระดับราคาและเงินเฟ้อในประเทศ อินเดียขยายเวลาของมาตรการภาษีนำเข้าน้ำมันเพื่อการบริโภค (Edible Oil) จนถึงปลายเดือนมีนาคม 2566 เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาและระดับเงินเฟ้อในประเทศ โดยยกเว้นภาษีนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันถั่วเหลืองดิบ และน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวันดิบ อย่างไรก็ดี ผู้นำเข้าต้องเสียเงินสงเคราะห์เข้ากองทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐานการเกษตร (Agri Cess) เพิ่มในอัตราร้อยละ 5 ของราคา ณ ท่าเรือปลายทาง (CIF) และเงินสงเคราะห์เพื่อสวัสดิการสังคม (Social Welfare Cess) ร้อยละ 10 ของเงินสงเคราะห์ดังกล่าว ทำให้อัตราอากรขาเข้ารวมสำหรับน้ำมันดิบเพื่อการบริโภคอยู่ที่ร้อยละ 5.5 ของราคา CIF  สำหรับอัตราภาษีนำเข้าของน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (RBD Palm Olein) และน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ (RBD Palm Oil) อยู่ที่ร้อยละ 12.5 และเรียกเก็บเงินสงเคราะห์เพื่อสวัสดิการสังคมอีกร้อยละ 10 ของภาษีนำเข้า ทำให้อัตราอากรขาเข้ารวมอยู่ที่   ร้อยละ 13.75 สำหรับอัตราภาษีนำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธ์และน้ำมันดอกทานตะวันบริสุทธ์อยู่ที่ร้อยละ 17.5 เมื่อรวมกับเงินสงเคราะห์เพื่อสวัสดิการสังคมอีกร้อยละ 10 ของภาษีนำเข้า ทำให้อัตราอากรขาเข้ารวม  อยู่ที่ร้อยละ …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอินเดีย ณ เมืองมุมไบ เดือนตุลาคม 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอินเดีย ณ เมืองมุมไบ เดือนกันยายน 2565

อินเดียผลักดันนมและผลิตภัณฑ์ แข่งขันในตลาดโลกระยะยาว                  ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาการผลิตนมของอินเดียขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ต่อปีด้วยกำลังการผลิตปัจจุบันที่ 220 ล้านตันต่อปี ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีอัตราการเติบโตร้อยละ 2.3 สหภาพยุโรป ร้อยละ 1.3 และออสเตรเลีย ร้อยละ 0.5 ตามลำดับ โดยคาดการณ์ว่าอินเดียจะครองส่วนแบ่งในตลาดโลกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20-25 เป็นร้อยละ 45 ในอีก 25 ปีข้างหน้า ด้วยปริมาณการส่งออกประมาณ 111 ล้านตัน                  ในด้านการบริโภคในประเทศ คาดว่าอัตราการขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี โดยมีการส่งออกนมหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในอินเดียสามารถขายนมได้ในราคาสูง สัดส่วนประมาณร้อยละ 80 ของราคาขายปลีก เทียบกับเกษตรกรในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ที่มีรายได้ ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 30-40 ของราคาขายปลีก                      อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมนมในอินเดียเริ่มมีความท้าทายจากแหล่งโปรตีนอื่น ๆ โดยเฉพาะโปรตีนจากพืช รวมถึงการขยายตัวของเมืองรองที่ทำให้คนออกไปทำงานในเมืองมากขึ้นจนส่งผลต่อแรงงานในชนบท นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องโรคระบาดที่ทำให้ผลผลิตนมของอินเดียลดลง เช่น โรค Lumpy Skin …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอินเดีย ณ เมืองมุมไบ เดือนกันยายน 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอินเดีย ณ เมืองมุมไบ เดือนกันยายน 2565

อินเดียปลุกกระแสผ้าทอมือสานต่อสู่ตลาดสากล                 อินเดียกำลังประสบปัญหาขาดแคลนฝ้าย ทำให้ราคาฝ้ายปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 40 สูงกว่าราคาฝ้ายจากต่างประเทศด้วย ส่งผลให้การนำเข้าฝ้ายเมื่อกลางปี 2565 ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 80 ด้วยมูลค่า 96.33 ล้านดอลลาร์ เป็นผลจากการประกาศยกเว้นอากรขาเข้าจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 0 ตั้งแต่เมษายนถึงตุลาคม 2565 ในขณะที่รัฐบาลอินเดียพยายามเร่งผลิตฝ้ายและผ้าทอต่าง ๆ ทดแทนการนำเข้าและต่อยอดสู่การส่งออก                      มาตรการล่าสุดที่อินเดียนำมาใช้ คือ การสร้างพื้นที่ออนไลน์ระหว่างผู้ซื้อผู้ขายและหน่วยงานสนับสนุน (Government eMarketplace Portal: GeM Portal) พร้อมทั้งขอความร่วมมือให้หน่วยงานภาครัฐจัดซื้อผ้าทอมือจากแพลตฟอร์มนี้ ในด้านการผลิตจัดให้มีการประกวดออกแบบผ้าทอ โดยเน้นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม                      สำหรับมาตรการระยะยาว อินเดียกำหนดจัดกิจกรรมส่งเสริมการร่วมลงทุนในสตาร์ทอัปที่เกี่ยวข้องกับผ้าทอมือ โดยจัดประกวดนวัตกรรมและแผนธุรกิจ เพื่อเร่งยกระดับคุณภาพและการออกแบบ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมถึงสร้างจุดเด่นด้านเทคนิคการทอที่แตกต่างจากประเทศอื่นด้วย ข้อคิดเห็นของ สคต.                 แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมผ้าทอมือของอินเดียสามารถนำมาปรับใช้กับบริบทของไทยได้ แม้ว่าอินเดียจะเป็นผู้ผลิตผ้าทอมือรายใหญ่ หากแต่ยังคงนำเข้าจากไทยด้วยเช่นกัน โดยมีคู่แข่งจากเวียดนาม บังกลาเทศ และมาเลเซีย อย่างไรก็ดี ผ้าทอมือของไทยยังมีโอกาสสำหรับตลาดที่มีกำลังซื้อสูง โดยการนำเสนอผ้าทอจากไทย …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอินเดีย ณ เมืองมุมไบ เดือนกันยายน 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอินเดีย ณ เมืองมุมไบ เดือนกันยายน 2565

อินเดียห้ามส่งออกข้าวหัก ดันข้าวไทยส่งออกเพิ่มขึ้น อินเดียประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน 2565 ระงับการส่งออกข้าวหัก และกําหนดอัตราภาษีส่งออกข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวกึ่งขัดสีหรือข้าวขาวที่ร้อยละ 20 (ยกเว้นข้าวนึ่งและข้าวบาสมาติ) เพื่อเพิ่มเสบียงและความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศ และอาหารสัตว์อื่น ๆ รวมทั้งการผลิตเอทานอล เนื่องจากที่ผ่านมา อินเดียขายข้าวราคาถูก จนทำให้สต็อกลดลง แต่ฤดูการผลิตปัจจุบันของอินเดียมีผลผลิตข้าวลดลง รัฐบาลจึงเกรงว่า ราคาข้าวในประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น มีข้าวไม่เพียงพอ จึงใช้มาตรการนี้ลดความร้อนแรงของราคา ทำให้สต็อกข้าวมีเพียงพอ ทั้งนี้ ปริมาณการส่งออกข้าวของอินเดียแตะระดับ 21.5 ล้านตันในปี 2564 มากกว่าการส่งออกข้าวของผู้ส่งออกธัญพืชรายใหญ่ที่สุดของโลก 4 รายรองลงมารวมกัน ได้แก่ ไทย เวียดนาม ปากีสถาน และสหรัฐอเมริกา โดยอินเดียนับเป็นผู้ส่งออกข้าวให้กับประเทศในแอฟริกาหลายประเทศ เช่น ไนจีเรีย เบนิน และแคเมอรูน โดยจีนเป็นผู้ซื้อข้าวหักรายใหญ่ที่สุด โดยเป็นข้าวหักเพื่อเป็นอาหารสัตว์ 1.1 ล้านตันในปี 2564 ในขณะที่ประเทศในแอฟริกา เช่น เซเนกัล และจิบูตีซื้อข้าวหักเพื่อการบริโภคของประชากร ข้อคิดเห็นของ …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอินเดีย ณ เมืองมุมไบ เดือนกันยายน 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอินเดีย ณ เมืองมุมไบ เดือนกันยายน 2565

อินเดียเร่งปลูกข้าวฟ่างเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร กระทรวงเกษตรอินเดียกำหนดให้ปี 2566 เป็นปีแห่งข้าวฟ่าง (Millet) เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวฟ่าง (Millet) มากขึ้น เพื่อรับมือกับภาวะฝนแล้งที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง นอกจากนี้ กระทรวงการคลังอินเดียมีแผนการจัดตั้ง the Millet Value Chain Park เพื่อสนับสนุนการแปรรูปข้าวฟ่างและแป้งจากข้าวฟ่างอย่างครบวงจรต่อไปด้วย ทั้งนี้ แม้ว่าข้าวฟ่างจะให้ผลผลิตต่อไร่น้อยกว่าข้าว แต่สามารถทนทานต่อความแล้ง เติบโตได้รวดเร็ว เก็บรักษาได้นาน และนำมาแปรรูปเป็นขนมปังและคุกกี้ รวมถึงใช้ผสมในการผลิตอาหารสัตว์สำหรับโคนมได้ด้วยปัจจุบันอินเดียปลูกข้าวฟ่างได้ประมาณ 12 ล้านตัน/ปี คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 41 ของผลผลิตจากทั่วโลก โดยอินเดียส่งออกข้าวฟ่างเป็นอันดับ 5 ของโลก มูลค่า 26.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3 ต่อปีในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ประเทศคู่ค้าหลักที่นำเข้าจากอินเดีย ได้แก่ เนปาล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอาระเบีย อินโดนีเซีย และหลายประเทศในภูมิภาคอาหรับ รวมถึงสหราชอาณาจักร เยอรมนี และอิตาลี โดยประเทศผู้ผลิตรายอื่นในตลาดโลก ได้แก่ รัสเซีย ยูเครน โปแลนด์ …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอินเดีย ณ เมืองมุมไบ เดือนกันยายน 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอินเดีย ณ เมืองมุมไบ เดือนกันยายน 2565

อินเดียเร่งส่งออกมะม่วง ช่วงชิงตลาดเก่าขยายตลาดใหม่   ในช่วงปี 2564 – 65 อินเดียส่งออกมะม่วงสดไปตลาดโลก ปริมาณ 27,872.78 ตัน คิดเป็นมูลค่า 44.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผู้นำเข้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ โอมาน คูเวต บาห์เรน ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และสิงคโปร์ นอกจากนี้ อินเดียเตรียมเปิดตลาดใหม่ในจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และรัสเซีย โดยตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป อินเดียต้องแข่งขันกับคู่แข่ง เช่นบราซิล เม็กซิโก และเปรู และตลาดเอเชียตะวันออก อินเดียต้องแข่งขันกับไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย                ปัจจัยที่สนับสนุนให้อินเดียสามารถขยายตลาดในสหรัฐอเมริกาได้ คือ การที่สหรัฐอเมริการับรอง โรงฉายรังสีในอินเดียจำนวน 3 แห่ง ทำให้มะม่วงของอินเดียเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ได้ง่ายขึ้นและได้เปรียบคู่แข่งที่ต้องส่งมะม่วงไปฉายรังสีในสหรัฐฯ ก่อน ในขณะเดียวกัน อินเดียกำลังเร่งพัฒนาระบบการขนส่งด้วยตู้สินค้าแบบห้องเย็น (Reefer Container) ที่ช่วยลดต้นทุนด้วยการขนส่งทางเรือ …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอินเดีย ณ เมืองมุมไบ เดือนกันยายน 2565 Read More »

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอินเดีย ณ เมืองมุมไบ เดือนกันยายน 2565

แนวโน้มผลผลิตข้าวอินเดียลดลง ส่งผลต่อราคาข้าวในตลาดโลก                ราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นจากผลผลิตที่ต่ำกว่าคาดการณ์ เนื่องจากฝนตกน้อยกว่าปกติในหลายประเทศ โดยเฉพาะอินเดียที่ผลิตข้าวได้ประมาณ 128.5 ล้านตันในช่วงปี 2565 – 66 ลดลงร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และถือว่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559 อย่างไรก็ตาม คาดว่าผลผลิตจะยังคงเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศที่มีประมาณ 108.4 ล้านตัน โดยราคาขายส่งข้าวขาว ณ เดือนสิงหาคมอยู่ที่ 1,497 บาทต่อกระสอบ (100 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากปีที่แล้วที่มีราคา 1,395 บาทต่อกระสอบ ขณะที่ราคาขายปลีกอยู่ที่ประมาณ 17 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเพียงร้อยละ 3.09                 นอกจากนี้ ในปี 2564 – 65 อินเดียส่งออกข้าวปริมาณ 21.1 ล้านตัน มูลค่า 9.66 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็นการส่งออกข้าวบาสมาติ 3.9 ล้านตัน และข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติ 17.2 ล้านตัน …

รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐอินเดีย ณ เมืองมุมไบ เดือนกันยายน 2565 Read More »

OMD KM

FREE
VIEW