รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐเคนยา ณ กรุงไนโรบี เดือนมิถุนายน 2565

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในแอฟริกาตะวันออก กับ โอกาสด้านการค้าและการลงทุนของไทยอยู่ตรงไหน?

บทนำ

แอฟริกาตะวันออก เป็นภูมิภาคที่ประกอบด้วยหลายประเทศ จำนวน 11 ประเทศ อาทิ เช่น เคนยา แทนซาเนีย ยูกานดา เอธิโปเปีย รวันดา DRC เป็น มีจำนวนประชากรกว่า 500 ล้านคน โดยประเทศไทยมีการส่งออกสินค้ามายังภูมิภาคดังกล่าว ประมาณปีละ 15,000 ล้านบาท (ปี 2564) โดยหากจะมองด้านการค้าและการลงทุนนั้น แอฟริกาตะวันออก มีความสำคัญทางการค้ากับไทย พอสรุปเป็นประเด็นที่สำคัญได้ดังนี้

  1. มีเคนยา ที่มีท่าเรือ Mombasa และแทนซาเนีย ที่มีท่าเรือ Dar Es Salaam เป็นประตูทางการค้าสำคัญในภูมิภาค ซึ่งท่าเรือของ 2 ประเทศนี้ จะเป็นประตูส่งสินค้าไปยังประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล เช่น ยูกานดา รวันดา บูรันดี ซูดานใต้ และ DRC (สป.คองโก)
  2. ประเทศเอธิโอเปีย มีการนำเข้าสินค้าผ่าน 2 ทางคือ ผ่านท่าเรือ Mombasa และ Lamu ของเคนยา และผ่านท่าเรือในประเทศ จิบูติ อย่างไรก็ดี แม้เอธิโอเปีย อาจจะดูเหมือนไม่มีการค้าและการเชื่อมโยงกับประเทศในแอฟริกาตะวันออกมากนัก แต่หากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศต่างๆในแอฟริกาตะวันออกแล้วเสร็จ จะทำให้มีการเชื่อมโยงการขนส่งและการค้าโดยเฉพาะระบบราง ซึ่งจะทำให้เอธิโอเปียจะมีความสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาทางการค้าในภูมิภาคนี้ต่อไป อันเนื่องจากจำนวนประชากรที่มีอยู่ถึงกว่า 115 ล้านคน
  3. ประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก หรือ DRC แม้ปัจจุบัน จะถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดของโลก และตามดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ DRC ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 176 ของโลก (จากการสำรวจ 188 ประเทศ) และมีรายได้ต่อหัวเพียง 843.00 USD ต่อปี แต่การที่ DRC ได้เข้าร่วมในกลุ่มตลาดร่วมการค้าในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก จะทำให้ในอนาคต คาดว่าจะมีการขนส่งสินค้ามากขึ้นจากเส้นทาง Northern Corridor (1,300 KM) ที่ใช้ขนส่งจากเคนยาไปยัง ยูกานดา DRC ซูดานใต้ เอธิโอเปีย บูรันดี และ รวันดา และ Central Corridor (1,700 KM) ที่ใช้คนส่งจากแทนชาเนีย ไปยัง ยูกานดา รวันดา บูรันดี และ DRC ซึ่งบริษัทขนส่งจะต้องคำณวนต้นทุนว่า การขนส่งสินค้าจากเคนยาหรือแทนชาเนีย จากไทยคุ้มค่าและประหยัดมากกว่ากัน ทำให้จะเกิดการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการขนส่งในทั้งสองประเทศ มีผลให้ค่าขนส่งน่าปรับตัวลดลง และ DRC ซึ่งมีท่าเรือที่ Kinshasa จะมีบทบาทในการเชื่อมโยงการค้าระหว่างแอฟริกาตะวันออกและตะวันอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต คาดว่าจะเห็นมากขึ้นในอีก 5-10 ข้างหน้านี้
  4. ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศในแอฟริกาตะวันออกมีการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงกว่าร้อยละ 7-8 % ต่อปี โดยเอธิโอเปียครั้งหนึ่งเคยขยายตัวมากถึงร้อยละ 10.6 ในปี 2011 ทำให้เป็นตลาดการค้าที่มีหลายประเทศต้องการเข้ามาลงทุนและทำการค้ามากขึ้น 
  5. ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในแอฟริกา ภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกเป็นภูมิภาคที่มีการลงทุนมากที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยจะเห็นได้จากที่ ร้อยละ 70 ของเงินกู้ที่จีนให้ประเทศในแอฟริกายืมนั้น มีเงินกู้มูลค่าสูงถึง 70,000 ล้านเหรียญสหรัฐที่จีนได้ให้ประเทศในภูมิภาคนี้กู้มาก่อสร้างโครงการต่างๆ ซึ่งจะได้สรุปให้เห็นภาพการพัฒนาด้านนี้ต่อไป 
  6. สินค้าที่ไทยส่งออกมายังตลาดแอฟริกาตะวันออก ที่มีความสำคัญ 5 ลำดับแรกได้แก่ ข้าว อะไหล่รถยนต์ เม็ดพลาสติก เครื่องจักรทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ยาง โดยมีตลาดที่มีความสำคัญ 5 ลำดับแรก ได้แก่ เคนยา แทนชาเนีย DRC เอธิโอเปีย และ ยูกานดา

ภาพรวมการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานในแอฟริกาตะวันออก (2012-2022) (ปัจจุบันและอนาคต) 

(เฉพาะโครงการที่สำคัญด้านการขนส่งสินค้าและคนจำนวนมาก)

เคนยา

  1. ทางด่วนสะพานลอยฟ้าระยะทาง 27 ก.ม. ในกรุงไนโรบี (Nairobi Expressway)
ภาพ : มุมมองทางอากาศของนักวิ่งที่เข้าร่วมการวิ่งมาราธอนไนโรบีบนทางด่วนสายใหม่ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2022

เส้นทางด่วนไนโรบีจาก Mlolongo ใน Machakos County ผ่านสนามบินนานาชาติ Jomo Kenyatta ไปยังชานเมืองเขต Westlands ของเมือง ถูกสร้างขึ้นเพื่อบรรเทาความแออัดทางจราจรในกรุงไนโรบี มูลค่าการก่อสร้าง 155 ล้านดอลลาร์ เป็นทางด่วนประเภท 4 ช่องจราจร ด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กม.ต่อชั่วโมง ถูกสร้างขึ้นและได้รับทุนจาก China Communications Construction Company มีทางสถานทีหรือจุดทางขึ้น-ลง ต่างๆ 11 แห่ง เช่น Mlolongo, Standard Gauge Railway, JKIA, Eastern Bypass, Southern Bypass, Capital Centre, Haile Selassie Avenue, Museum Hill, Westlands และ James Gichuru Road

  1. สถานีรถขนส่งสาธารณะ (Green Park Bus Terminus)

เป็นสถานทีขนส่งรถสาธารณะแบบมีอาคารถาวรแห่งแรกในเคนยา ที่จะเป็นศูนย์กลางการขนส่งโดยเฉพาะรถโดยสารต่างๆ ตลอดจนมีแผนจะพัฒนาเชื่อมโยงกับระบบขนส่งสาธารณะที่จะมีในอนาคต เช่น rapid transport (BRT) รถบรรทุกในการกระจายสินค้า ซึ่งโครงการดังกล่าวมุ่งหวังจะลดการแออัดของการจราจรในกรุงไนโรบี

green park
ภาพ  : สถานี Green Park Bus Terminus กำหนดเริ่มเปิดใช้งานในเดือนมิถุนายน 2565
  1. โครงการรถโดยสารด่วนในเมือง (Nairobi Bus Rapid Transit (BRT)) 

เป็นโครงการจัดทำรถโดยสาร (รถเมล์) ด่วนในกรุงไนโรบี ระยะทางประมาณ 17 กม. เพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านการขนส่งสาธารณะของเคนยา โดยมีจำนวนเงินลงทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเกาหลีใต้จำนวนกว่า 175 ล้านเหรียญ (ค่าก่อสร้างและค่าจัดหารถบัส และการปรับปรุงเส้นทางถนน) กำหนดเปิดใช้งานปลายปี 2565 ซึ่งจะประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 13 จุดในเขตเมืองชั้นในของกรุงไนโรบี หากโครงการประสบผลสำเร็จ รัฐบาลมีแผนจะ

นำเอารถโดยสารไฟฟ้า (Electric Bus) มาใช้ในการเดินรถดังกล่าว นอกจากนั้น อาจจะรวมถึงการใช้ระบบรถรางในเส้นทางเดียวกันด้วยในอนาคต

Kenya Bus Rapid Transit BRT
ภาพ : การปรับปรุงถนน Tika Road ที่เป็นเส้นทางหนึ่งของโครงการ Nairobi Bus Rapid Transit (BRT)
  1. รถไฟชานเมืองเส้นทาง Nairobi และ Naivasha (Nairobi Commuter Rail Service (NCRS))
Commuter transport in Nairobi set for facelift – Nairobi News
ภาพ: สถานีรถไฟแห่งหนึงซานกรุงไนโรบีที่รัฐบาลเคนยาต้องการจะปรับปรุงเป็น Standard Gauge Railway

รัฐบาลเคนยาจะปรับปรุงเส้นทางรถไฟเก่าให้เป็น Standard Grude Railway (มูลค่าโครงการ 380 ล้าน USD) ที่จะเชื่อมโยง เส้นทางเดิมที่มาจาก ท่าเรือ Mombasa – Nairobi ที่ก่อสร้างเสร็จ โดยการปรับปรุงเส้นทางรถไฟเก่าให้เป็นระบบเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์จะเพิ่มศักยภาพการขนส่งจาก Mombasa ไปสู่ ศูนย์กระจายสินค้าทางบกที่ Naivasha ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงการขนส่งระบบรางที่จะเชื่อมโยงกับประเทศที่ต้องใช้การส่งสินค้าผ่านท่าเรือ Mombasa เช่น ยูกานดา รวันดา บูรันดิ เป็นต้น โดยจะเริ่มต้นจาก สนามบิน JKIA ไปถึง Naivasha โดยมีแผนจะแล้วเสร็จในปี 2025

  1. รถไฟระบบรางมาตรฐาน Standard Gauge Railway เส้นทาง Nairobi –Mombasa

เป็นโครงการที่ก่อสร้างทางรถไฟที่มีรางที่เป็นขนาดมาตรฐานจากท่าเรือ Mombasa มายังไนโรบี ระยะทาง 459 กม. โดยเป็นโครงการสร้างระบบรางเพื่อแก้ปัญหาความล่าช้าในการขนส่งสินค้าในเคนยา ซึ่งได้รับเงินกู้จากจีน และเปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี 2010 โดยมีวัตถุประสงค์ในการขนส่งสินค้าจากท่าเรือมาที่ศูนย์กระจายสินค้าในกรุงไนโรบี ที่เดิมปกติใช้เวลากว่า 9 ซม. ทางรถยนต์ มาเป็น 5 ซม. ในการใช้รถไฟดังกล่าว 

ทั้งนี้ ระบบรางดังกล่าวมีคุณภาพและมาตรฐานเดียวกันกับระบบรถไฟที่จะก่อสร้างใน แทนซาเนีย ยูกานดา และเอธิโอเปีย เพื่อเชื่อมโยงทางรถไฟทั้งหมดเข้าด้วยกัน ตามแผนงานน่าจะทำการเชื่อมโยงกันได้ในอีก 5-8 ปีข้างหน้า เพื่อใช้ทดแทนระบบถนนที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานานมากกว่า

Kenyan court quashes mandatory use of SGR for freight - International  Railway Journal
ภาพ : Standard Gauge Railway เส้นทาง Nairobi –Mombasa
  1. โครงการขยายท่าเรือ Mombasa (Mombasa Port Development Project) 

เป็นการขยายท่าเรือ Mombasa ที่มีความแออัดให้รองรับตู้สินค้าได้ 23 ล้าน TEU จากเติมที่รองรับได้ 20 ล้าน TEU โดยจะมีส่วนขยายท่าเรือที่รับสินค้าได้ 2 จุด (ท่าที่ 20,21) และระบบท่อรับน้ำมันที่จะก่อสร้างเพิ่มเติม เพื่อให้เป็นท่าเรือที่รองรับสินค้าได้มากที่สุดในแอฟริกาตะวันออก พร้อมระบบรับสินค้าทางท่อได้ทันสมัยที่สุด

https://www.kenyanews.go.ke/wp-content/uploads/2022/06/2-1200x630.jpghttp://www.kenyanews.go.ke/wp-content/uploads/2022/06/1-1-300x169.jpg  
ภาพ การขยายท่าเรือ Mombasa ที่พร้อมเปิดใช้งานแล้วในปัจจุบัน

แทนชาเนีย

  1. โครงการสะพานแขวน Tanzanite bridge ในเมือง Dar es Salaam

เพื่อเชื่อมโยงย่านธุรกิจสำคัญของเมือง กับเขตพื้นที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญในเขต Kigamboni, Oysterbay and Masaki เพื่อให้เกิดการขยายเมืองให้สามารถลดความแออัดและคับคั่งทางการจราจรได้ โดยสะพานนี้เป็นสะพานแห่งที่ 2 ของเมือง Dar es Salaam ที่เชื่อมเขตธุรกิจดังกล่าว ทำให้ลดเวลาในการเดินทางได้เป็นอย่างดี

Tanzania bridge.
ภาพ: โครงการสะพานแขวน Tanzanite bridge ในเมือง Dar es Salaam เปิดใช้เมื่อเดือน มี.ค. 2565
  1. โครงการสะพานลอยฟ้า Mfugale Overpass 

เป็นทางด่วนลอยฟ้าที่เชื่อมโยงสนามบิน Julius Nyerere International Airport และตัวเมือง Dar es Salaam กำหนดแล้วเสร็จในเดือน กันยายน 2565

Facts East Africa on Twitter: "FACT: Mfugale Flyover in Dar es Salaam,  Tanzania is Tanzania's first ever flyover. The $45m flyover opened in 2018.  It was named after roads Engineer Patrick Mfugale,
ภาพ: โครงการสะพานลอยฟ้า Mfugale Overpass ที่เริ่มทดลองใช้แล้วในปัจจุบัน
  1. โครงการสะพานแขวน New Selander Bridge (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)

เพื่อเชื่อมโยงย่านธุรกิจสำคัญของเมือง กับเขตพื้นที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญในเขต Kigamboni, Oysterbay and Masaki เพื่อให้เกิดการขยายเมืองให้สามารถลดความแออัดและคับคั่งทางการจราจรได้ โดยสะพานนี้เป็นสะพานแห่งที่ 3 ของเมือง Dar es Salaam ที่เชื่อมเขตธุรกิจดังกล่าว คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566

Construction of Tanzania's Selander Bridge gets financial impetus - CCE l  ONLINE NEWSDAR ES SALAAM| New Salender Bridge| U/C | Page 9 | SkyscraperCity Forum
ภาพ : โครงการสะพานแขวน New Selander Bridge (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)
  1. โครงการรถเมล์ด่วน Dar es Salaam Bus Rapid Transit (BRT) 

เป็นโครงการที่รัฐบาลแทนซาเนียดำเนินการตั้งแต่ปี 2016 เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในเมือง Dar es Salaam โดยเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งที่สามารถขนส่งคนวันละ 1.2 ล้านคน (หากโครงการสมบูรณ์)

Problem Solved: B.R.T. In Dar Es Salaam Is Already Fully Utilised And Plans  Are Underway To Expand The System | ITS South AfricaDar es Salaam's BRT Could Transform Urban Life in Tanzania | Institute for  Transportation and Development Policy
ภาพ: โครงการรถเมล์ด่วน Dar es Salaam Bus Rapid Transit (BRT)
  1. โครงการทางรถไฟ SGR เส้นทาง Dar es Salaam-Morogoro 

เป็นโครงการเส้นทางที่จะใช้ในการขนส่งสินค้าจาก Dar es Salaam ไปเมืองต่างๆ ในแทนซาเนีย โดยในเดือน เม.ย. 2565 เส้นทางแรกคือระหว่างเมือง Dar es Salaam-Morogoro (ระยะที่ 1) ได้ก่อสร้างเสร็จแล้ว จะเริ่มการเดินรถในเดือน ก.ย. 2565 นี้ โดยมีระยะทางประมาณ 362 กม. ซึ่งทั้งโครงการตามแผนงานที่จะเชื่อมโยงไปถึงเมือง Rusumo จะมีระยทางร่วม 1,200 กม. ซึ่งมีแผนจะดำเนินการทั้งหมด 5 ระยะ ซึ่งจะไปเชื่อมต่อกับ SGR ของประเทศยูกานดาต่อไป เพื่อสร้างการขนส่งระบบรางที่สมบูรณ์ในการกระจายสินค้าไปประเทศใกล้เคียง เช่น ยูกานดา รวันดา DRC เป็นต้น คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดในปี 2027 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า

Tanzania Standard Gauge Railway.Blow to Northern Corridor as Tanzania signs deal to link SGR to Burundi,  DRC - TradeMark East Africa
ภาพ : โครงการทางรถไฟ SGR เส้นทาง Dar es Salaam-Morogoro

ยูกานดา

  1. ทางด่วนเส้นทาง Kampala–Jinja Expressway

เป็นทางด่วนระยะทาง 108 กม. ที่เชื่อมโยงระหว่างเมือง Kampala เมืองหลวงและศูนย์กลางธุรกิจของยูกานดา และ Jinja ที่เป็นเมืองรองที่จะเชื่อมต่อกับเส้นทางคมนาคมของประเทศอื่นในแอฟริกาตะวันออก สาย Northern Corridor เช่น เคนยา DRC ตอนเหนือและตะวันออก ซูดานใต้และเอธิโอเปีย

Featured Project: Kampala-Jinja Express Highway, Uganda - Leads 2 Business  Blog
ภาพ : ทางด่วนเส้นทาง Kampala–Jinja Expressway ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
  1. ปรับปรุงเส้นทางรอบนอกเมือง Kampala 

รัฐบาลยูกานดากำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงเส้นทางถนนหลายเส้นทางรอบยูกานดา เช่น  Busega-Mpigi road 23km,  Kampala-Bombo road 32km, และ  Kampala-Busunju road56km เป็นต้น

  1. ทางด่วนเส้นทาง Kampala-Entebbe Expressway
Kampala-Entebbe Expressway in Uganda.Kampala-Entebbe expressway is Uganda first ever toll road.
ทางด่วนเชื่อมระหว่างกรุง Kampala สนามบิน Entebbe ที่เปิดใช้บริการแล้ว

เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางจากสนามบิน Entebbe ที่เดิมใช้เวลาถึง 1.45-2 ชั่วโมง ลดลงเหลือเพียง 45 นาที – 60 นาที ทำให้การเดินทางไปต่างประเทศหรือการขนส่งทางอากาศมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีคนใช้เส้นทางนี้ถึงวันละ 30,000 คันต่อวัน

  1. โครงการทางรถไฟ SGR ของ Uganda

ปัจจุบันโครงการได้มีการศึกษาเส้นทางที่จะทำทั้งหมดแล้ว รอการเปิดประมูลเริ่มสร้างในปีนี้ เนื่องจากยังขาดเงินทุนสนับสนุนที่เพียงพอ โดยล่าสุดรัฐบาลยูกานดาจะใช้การระดมทุนจากการออกพันธบัตรรัฐบาลและขอเงินกู้กับจีน และธนาคารเพื่อการพัฒนาของแอฟริกา เปิดขายในยุโรปและในประเทศเป็นหลัก มีระยะทางทั้งสิ้น 1,200 กม. และจะใช้เวลาก่อสร้างตามแผนแล้วเสร็จในปี 2027 ทั้งนี้ เส้นทางดังกล่าวจะเชื่อมโยงกับระบบรางกับ SGR ของแทนซาเนียและยูกานดาต่อไป

ประเทศอื่นๆ

Ethiopia begins the second filling of the Grand Renaissance Dam in the face  of Sudanese and Egyptian rejection of the project | Atalayar - Las claves  del mundo en tus manosEthiopia-Djibouti Train Services to Double Passenger — Admemo Trading
Push for new Nairobi Electric Train System kicks off | Pulselive KenyaAddis Ababa's rail project keeps Ethiopia on track for transformation |  Global development | The Guardian
ภาพ : ตัวอย่าง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเอธิโอเปีย เช่น ระบบราง รถไฟฟ้าถนนต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและเปิดใช้งานแล้วในกรุง Addis Ababa ของเอธิโอเปีย

ในประเทศอื่นนั้น อาจจะยังไม่มีการพัฒนาในด้านนี้ที่เป็นโครงการใหญ่มากนัก ที่จะเห็นพัฒนามาก็จะมีโครงการรถไฟฟ้าในกรุง Addis Ababa ของเอธิโอเปีย และการก่อสร้าง SGR ในจีบูติและ Addis Abba และโครงการเขื่อนพลังงานไฟฟ้า Grand Ethiopian Renaissance Dam ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้งานแล้ว ซึ่งจะทำให้เอธิโอเปียมีต้นทุนด้านค่าไฟฟ้าต่อหน่วยถูกที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา ส่วนประเทศ รวันดา DRC หรือบูรันดี ก็มีการปรับปรุงถนนหนทาง จากเงินกู้จากจีนเพื่อการพัฒนาเส้นทางถนนให้มีความพร้อมมากขึ้นในการเชื่อมโยงกับประเทศอื่นมากขึ้น

ความเห็นของ สคต. 

สคต. เห็นว่า การที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในแอฟริกาตะวันออกนั้น จะเห็นได้ว่า จีน หรือ แม้แต่ชาติตะวันตกยังให้ความสำคัญประเทศในแถบนี้ในการพัฒนาต่างๆ โดยผ่านการให้เงินกู้ต่างๆ เป็นจำนวนมาก จะเห็นได้ว่า จีนลงทุนในประเทศเหล่านี้ถึงกว่า 70,000 ล้าน USD ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา เพราะยุทธศาสตร์การเมืองและการค้าที่จีนเรียกว่า One Belt initiative นั้น มีกำหนดให้กรุงไนโรบี ของเคนยา และ Addis Abba ของเอธิโอเปีย เป็นประเทศหลักที่มีอยู่ในแผนการดังกล่าวด้วย โดยมีสาเหตุหลายประการได้แก่

  1. ประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีเสถียรภาพทางการเมืองมากกว่าหลายประเทศทางแอฟริกาตะวันออก ทำให้นักลงทุนและภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นมากกว่า
  2. แอฟริกาตะวันออกมีทรัพยากรหลายชนิดที่อุดมสมบูรณ์มากกว่าแอฟริกาตะวันตก เช่น โคบอล ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตตารีรถไฟฟ้า เป็นต้น ทำให้ได้รับความสนใจในการเข้ามาทำธุรกิจและลงทุนมากกว่าภูมิภาคอื่น
  3. แอฟริกาตะวันออกมีสภาพอากาศและทรัพยากรน้ำสามารถพัฒนาไปสู่การศูนย์กลางการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารได้ในอนาคต จะเห็นได้จากการเข้ามาลงทุนในการก่อสร้างและโครงการต่างๆของจีนในภูมิภาคดังกล่าว และประเทศในตะวันออกกลางเริ่มเข้ามาลงทุนด้านปศุสัตว์หรืออาหารมากขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในแทนซาเนีย เอธิโอเปีย ยูกานดา และเคนยา ที่มีความพร้อมในหลายด้านดีกว่าประเทศในแอฟริกาประเทศอื่นๆ
  4. ระยะทางด้านการขนส่งในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกมีระยะทางที่เหมาะสมและใกล้กว่าแอฟริกาใต้หรือ แอฟริกาเหนือ หรือแม้กระทั่งแอฟริกาตะวันออก ที่จะเชื่อมโยงการค้าระหว่างเอเชียกับแอฟริกา ทำให้จีนวางยุทธศาสตร์หลายด้านในภูมิภาคนี้ เช่น การตั้งฐานทัพในประเทศจีบูติ หรือการลงทุนด้านระบบรางที่ต้องการเชื่อมโยงและลดต้นทุนการขนส่งในภูมิภาคตามที่กล่าวมาข้างต้นให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว

ในส่วนของประเทศไทย สคต.มีความเห็นว่า ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย ควรศึกษาและหาโอกาสทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคดังกล่าว เพื่อไม่ให้เสียโอกาสเช่นเดียวกับที่จีนมองตลาดดังกล่าว ซึ่งหากมองในทางปฎิบัติควรรีบมาทำธุรกิจหรือจัดตั้งเครือข่ายทางการค้าภายใน 5 ปีต่อจากนี้ เพราะไม่เช่นนั้น การเข้ามาภายหลังอาจจะมีต้นทุนที่สูงกว่าและอาจมีอุปสรรคคู่แข่งที่มากกว่าและอาจไม่ทันการณ์ได้ โดยมีเหตุผลและความเห็นของ สคต.ดังนี้

  1. การที่ประเทศในแอฟริกาตะวันออกมีส่วนใหญ่มีข้อตกลงการค้าและร่วมมือด้านการเมืองภายใต้กลุ่ม East African Community (EAC) โดยเฉพาะเมื่อมีสมาชิกใหม่คือ DRC (สป.คองโก) จะทำให้เกิดการร่วมมือและการลงทุนที่เร็วขึ้น เพื่อเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนระหว่างแอฟริกาตะวันออกและตะวันตกมากขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เนื่องจากถือเป็นกลุ่มการค้าเดียวที่มีท่าเรือขนส่งสินค้าได้ทั้งสองภูมิภาคคือ ทางตะวันออกท่าเรือ Mombasa ของเคนยา และ ท่าเรือ Dar Es Salaam ของแทนซาเนีย กับ ท่าเรือ Kinshasa ของ DRC ทางแอฟริกาตะวันตก ซึ่งเป็นก้าวที่น่าจับตาของการพัฒนาต่อไป
  2. การที่ประเทศต่างๆในทวีปแอฟริกามีข้อตกลงการค้าคือ African Continental Free Trade Area (AfCFTA) ที่ปัจจุบันมีการตกลงไปแล้ว 53 ประเทศในแอฟริกา ที่จะมีเขตการค้าเสรีต่อกันตั้งแต่ ธันวาคมปี 2564 แต่ในทางปฎิบัติกว่าที่ข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลอาจต้องใช้เวลาถึง 3-4 ปีต่อจากนี้ ซึ่งการรวมกลุ่มดังกล่าวเป็นจริงแล้ว การค้าในแอฟริการะหว่างประเทศในแอฟริกาด้วยกันจะยิ่งมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและจะเกิดการกีดกันทางการค้ากับกลุ่มประเทศที่อยู่นอกกลุ่มมากขึ้นเป็นลำดับในอนาคต ดังนั้น การที่ไทยยังไม่มีข้อตกลงการค้าใดๆกับกลุ่มดังกล่าว อาจเป็นอุปสรรคสำคัญได้ต่อไป ทั้งนี้ใน ปัจจุบัน ประเทศนอกกลุ่ม จะต้องเสียภาษีนำเข้าสูงถึง 25-35% ของสินค้าที่ส่งออกมายังแอฟริกา ทำให้หากไทยไม่มีการลงทุนในภูมิภาคนี้ การที่จะมีการส่งเสริมการค้าในอนาคต อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากขึ้นเป็นลำดับจากสถานการณ์ดังกล่าว
  3. การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของแอฟริกาตะวันออกนั้น น่าจะต้องใช้เวลา 4-5 ปีกว่าที่จะทำให้เห็นผลด้านการลดต้นทุนทางการขนส่ง โดยเชื่อว่า หากระบบรางที่ได้มีการวางแผนไว้จะทำให้ต้นทุนการขนส่งในภูมิภาคนี้ ลดลงถึงร้อยละ 40 จะยิ่งเป็นการยากที่ไทยหากไม่เข้าสูตลาดให้ได้ภายใน 5 ปีต่อจากนี้ อาจมีต้นทุนหรือการเข้าตลาดที่สูงกว่าประเทศหรือ ผู้เล่นที่เข้ามาอยู่ในตลาดก่อนได้
  4. ระบบการเงินและการธนาคารในแอฟริกาตะวันออกมีความน่าเชื่อถือมากกว่าแอฟริกาตะวันตก โดยเฉพาะในเคนยา ที่มีธนาคารต่างชาติหลายแห่งเปิดสำนักงานภูมิภาคอยู่ เช่น Standard Charter, CITI Bank, Barclay Bank เป็นต้น 
  1. แอฟริกาตะวันออกส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายทำให้ปัญหาด้านการสื่อสารกับคนท้องถิ่นมีความง่ายมากกว่า ทางแอฟริกาตะวันตกที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสมากกว่า  

ด้วยเหตุผลข้างต้นที่ว่านี้ สคต. มีความเห็นว่า ผู้ประกอบการไทยควรมองแอฟริกาในมุมมองใหม่ และควรเร่งการขยายตลาดมายังตลาดดังกล่าว ก่อนที่ตลาดจะมีการแข่งขันที่สูงและมีต้นทุนในการเข้ามายังตลาดนี้ในอีก 5 ปี ตามการพัฒนาและเหตุผลที่ สคต. ได้พยายามสะท้อนเรื่องดังกล่าวให้ทุกท่านทราบ

ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke 

(ที่มา East African)

OMD KM

FREE
VIEW