รายงานสถานการณ์การค้าสาธารณรัฐเกาหลี ณ กรุงโซล เดือนธันวาคม 2565

กระแส Ethical Consumption ได้รับความนิยมสูงขึ้นในตลาดญี่ปุ่น

Aeon Group วางจำหน่ายไข่ไก่ที่เลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่ปลอดกรงทั่วประเทศ เนื่องด้วยปัจจุบัน ในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารและการค้าปลีก กระแสตื่นตัวและการเคลื่อนไหวเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) ที่มักกระจายตัวอยู่ในยุโรปและสหรัฐอเมริกาเริ่มเป็นที่นิยมในตลาดญี่ปุ่น ไม่เพียงแต่กระแสเรื่องสวัสดิภาพสัตว์เท่านั้นที่ได้รับความนิยม Ethical Consumption หรือ การบริโภคอย่างมีจริยธรรม ก็ได้รับความนิยมสูงขึ้นเช่นกัน

ผู้บริโภคคนหนึ่งที่เลือกซื้อไข่จากร้าน Aeon ให้เหตุผลในการเลือกซื้อว่า ต้องการซื้อของที่ปลอดภัยให้กับครอบครัว ถึงแม้ราคาจะสูงกว่าไข่ไก่ทั่วไปก็ตาม โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 248 เยน (ไม่รวมภาษี) สำหรับแพ็ค 6 ฟอง ถึงแม้ไข่จะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่อ่อนไหวต่อราคาอย่างมาก แต่ Aeon กล่าวว่าการขายเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และอนาคตจะขยายระบบการผลิตให้มากขึ้น รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ เริ่มมีการใช้วัตถุดิบจากไข่ที่เลี้ยงแบบปล่อย และมีข้อความ “ไข่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระ” บนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งตามข้อมูลของ Nikkei POS แสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีข้อความดังกล่าวมียอดขายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 34 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน 2565 เมื่อเทียบกับ ปีก่อนหน้า    

อย่างไรก็ตาม กระแสนี้ยังมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะทางภูมิศาสตร์ โดยประเทศญี่ปุ่นนั้น มีพื้นที่เล็กกว่าออสเตรเลียและยุโรป การเลี้ยงสัตว์และทำฟาร์มแบบปล่อยโล่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก อีกทั้ง จำนวนประชากรญี่ปุ่นกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว คาดว่าตลาดในประเทศรวมถึงสินค้าเกษตรจะหดตัว บริษัทอาหารจำนวนมากจึงถูกบังคับให้ขยายการส่งออกในอนาคต

ข้อคิดเห็น/เสนอแนะของสคต.

กระแส  Ethical Consumption ถือเป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับตลาดญี่ปุ่น ทั้งเรื่องข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ ประกอบกับประเทศญี่ปุ่นไม่ยึดถือเรื่องศาสนาเท่าใดนัก แต่จากการพิจารณาการส่งออกไปต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศฝั่งยุโรปที่ให้ความสำคัญกับกระแสดังกล่าว ทำให้เกิดกลุ่มที่สนใจผลิตภัณฑ์ที่ลดความโหดร้าย (Less Cruelty) เพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรให้ความสนใจและศึกษากระแสที่กำลังเป็นที่นิยมในตลาดญี่ปุ่น เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาสินค้าของไทย

OMD KM

FREE
VIEW