รายงานสถานการณ์การค้าสหรัฐอเมริกา ณ นครนิวยอร์ก เดือนสิงหาคม 2565

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการของผู้บริโภคชาวอเมริกันจากสถานการณ์เงินเฟ้อในสหรัฐและสงครามค่าเงิน

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม กระทรวงแรงงานสหรัฐได้เปิดเผย ตัวเลขใหม่ของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค จาก 9.1% ในเดือนมิถุนายน ซึ่ง นับว่าเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีเป็นร้อยละ 8.5 ซึ่งนับว่าเป็นอัตราที่ต่่ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ สาเหตุของปรากฏการณ์เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอุปสงค์และอุปทานที่ไม่สมดุลกันภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19

ในด้านของอุปสงค์ (demand-pull inflation) สถานการณ์โควิด-19 รวมทั้งเงินเยียวยาโควิดของรัฐบาล ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ได้ส่งผลให้เกิดการจับจ่ายที่อัดอั้น ส่วนในด้านอุปทาน (cost-push inflation) ต้นทุนการผลิตได้เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูง เช่น ราคาน้่ามัน ก๊าซธรรมชาติ รวมถึงปัญหาสินค้าขาดแคลน บางประเภท (supply chain disruption) เช่น ชิป เซมิคอนดักเตอร์ และตู้คอนเทนเนอร์ นอกจากนี้ สาเหตุอื่นๆ เช่น ค่าจ้างในตลาดแรงงานที่สูงขึ้น ล้วนเป็นส่วนส่าคัญที่ท่าให้ผู้บริโภคเพิ่มการใช้จ่าย
จึงเป็นการเพิ่มปริมาณเงินในในระบบ และลดค่าของเงินในที่สุด

ด้วยเหตุนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ได้มีนโยบายป้องกันเงินเฟ้อ โดยเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดการใช้จ่ายของ ภาคครัวเรือนโดย โดยได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 2 ครั้ง ในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมที่ผ่านมาในอัตราครั้งละ 0.75% ซึ่งนับว่าเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2537 ทำให้ดอกเบี้ย นโยบายสหรัฐฯ ปัจจุบันอยู่ที่อัตรา 2.25-2.5% ถือว่าเป็นการด่าเนินการเชิงรุกอย่างจริงจังของ FED เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาด Jason Furman ศาสตราจารย์ด้าน เศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มีความเห็นว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED นั้น ส่งผลให้ค่าเงิน ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น อย่างมาก และท่าให้สินค้าที่ซื้อ-ขายด้วยสกุลเงินดอลลาร์ เช่น น้่ามัน ราคาสูงขึ้นส่าหรับทุกประเทศทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เงินเฟ้อในปัจจุบัน ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นทั่วโลก Luca Fornaro ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบาร์เซโลน่า กล่าวว่า สถานการณ์ปัจจุบันก่อให้เกิดภาวะ “สงครามอัตราแลกเปลี่ยนย้อนกลับ” หรือ “reverse currency war” สภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้น เมื่อธนาคารกลางของประเทศต่างๆ แข่งกันท่าให้ค่าเงินของตัวเองแข็งค่าเพื่อที่จะเพิ่มการน่าเข้า ลดจำนวนเงินในระบบ และสกัดเงินเฟ้อภายในประเทศ ซึ่งตรงข้ามกับสงครามค่าเงินปกติ ที่ประเทศต่างๆ จะแข่งกันให้สกุลเงินตัวเองอ่อนค่าลง เพื่อให้สินค้าส่งออกของตนราคาถูก

ด้าน Alan Ruskin จากธนาคาร Deutsche Bank AG กล่าวว่า สงครามค่าเงินลักษณะนี้เป็น Zero-Sum Game หรือ เกมที่ต้องมีผู้แพ้และผู้ชนะ กล่าวคือ ทุกประเทศต้องการสิ่งเดียวกัน คือ ขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อหวังควบคุมอัตราเงินเฟ้อ แต่ไม่มีทางที่ทุกประเทศจะประสบผลตามที่คาดไว้เหมือนกัน จะต้องมีผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์จากสถานการณ์นี้ ทั้งนี้Bloomberg Economics คาดการณ์ว่า สหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้ที่ได้เปรียบที่สุดในสงครามค่าเงินรอบนี้เนื่องจากยุโรปและเอเชียต้องพึ่งพาการน่าเข้าน้ํามันจากภายนอก ท่าให้เปราะบางมากต่อการน่าเงินเฟ้อจากภายนอกเข้าสู่ประเทศ ด้าน Paul Krugman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ มีความคิดเห็นว่า ราคาพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้่ามันดิบได้มีแนวโน้มลดลง ส่งสัญญาณที่จะลดราคาลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับเป็นส่วนส่าคัญที่สะท้อนอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ (Expected Inflation) และอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในปัจจุบันนั้นเป็นเพียงปรากฏการณ์ระยะสั้น


อย่างไรก็ตาม จากรายงานการส่ารวจของ American Psychological Association ของสหรัฐ ซึ่งส่ารวจกลุ่มตัวอย่างชาว อเมริกัน 3012 คน พบว่า ร้อยละ 87 ของกลุ่มตัวอย่าง มีความเครียดเกี่ยวกับเงินเฟ้อและราคาของที่แพงขึ้นในชีวิตประจ่าวันไม่ว่าจะเป็น ค่าน้่ามัน ค่าไฟ และค่าอาหาร โดยมีความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อมากกว่าสงครามในยูเครน และความไม่แน่นอนของโลกในปัจจุบัน

อนึ่ง อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นของสหรัฐอเมริกา ได้ท่าให้ภาคครัวเรือนลดการใช้จ่ายลง รายงานวิจัยการตลาดของ NPD Group พบว่า ผู้บริโภคซื้อสินค้าน้อยลงกว่าร้อยละ 6 ในไตรมาสแรกของปี2022 เทียบกับเมื่อไตรมาสแรกของปีที่แล้ว นอกจากนี้ ความถี่ในการซื้อสินค้านั้น ก็ลดลงกว่าร้อยละ 5 อีกด้วย นอกจากนี้NPD Group ยังพบว่าแปดในสิบของผู้บริโภคคาดว่าจะลดการบริโภคของตนในสามถึงหกเดือนข้างหน้านี้

ทั้งนี้ ธนาคาร Barclays ได้เปิดเผย อัตราใช้จ่ายบัตรเครดิตของผู้ใช้บริการในเดือนที่ผ่านมา โดยอัตราการใช้จ่ายบัตรเครดิตของชาวอเมริกันได้ลดลงกว่า 0.4% ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็น Walmart Target และ Amazon ได้เปิดเผยในท่านองเดียวกันว่า ผู้บริโภคได้เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอย่างเห็นได้ชัด โดยเลือกที่จะซื้อสินค้าแบรนด์ระดับกลางซึ่งมีราคาถูก รวมทั้งลดการใช้จ่ายสินค้าแบบไม่คิด (Impulse shopping)

จากการการสำรวจของ Ipsos ซึ่งส่ารวจกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกัน 1,160 คน ร้อยละ 75 ของผู้ตอบแบบสอบถาม รู้สึกว่าราคาสินค้าอุปโภคบริโภคแพงขึ้นจากเดิม โดยร้อยละ 73 รู้สึกว่าราคาเนื้อสัตว์แพงมากขึ้นและร้อยละ 66 รู้สึกว่าราคานม และผักผลไม้สูงมากขึ้น ทั้งนี้ ร้อยละ 63 ของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยเฉพาะในครัวเรือนที่มีรายได้น้อยกว่า 50,000 ดอลลาร์ กล่าวว่า รายได้ครัวเรือนของตนไม่สามารถรับมือกับราคาที่สูงขึ้นได้

จากผลสำรวจดังกล่าว ร้อยละ 80 ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดว่าจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของตนหากอัตราเงินเฟ้อและราคาสินค้ายังสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ ร้อยละ 42 ของผู้ตอบแบบสอบถามเลือกที่จะบริโภค เฉพาะสินค้าที่ลดราคา ร้อยละ 35 พร้อมที่จะมองหาสินค้าทางเลือกที่มีราคาถูกในตลาด และร้อยละ 26 พร้อมที่จะ บริโภคสินค้าน้อยลง

สำหรับสินค้าฟุ่มเฟือย จากเดิมที่ผู้บริโภคจะซื้อของแพงชิ้นใหญ่ๆ ผู้บริโภคเลือกที่จะซื้อสินค้าชิ้นเล็กๆที่ราคาจับ ต้องได้(affordable luxury) เช่น เทียน น้่าหอม ดอกไม้ ช็อคโกแลต และเครื่องส่าอาง สินค้าในกลุ่มดังกล่าว มียอดขายที่สูงขึ้นในไตรมาสที่ผ่านมาและยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง Priya Raghubir ศาสตราจารย์ด้านการตลาดของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก กล่าวว่า ปรากฎการณ์นี้ เรียกว่า “lipstick effect” หรือการที่ผู้บริโภคยังเลือกที่จะซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยที่ราคาจับต้องได้ในช่วงเศรษฐกิจขาลง เพื่อสร้างความสุขทางใจให้กับตน

ในสถานการณ์เช่นนี้ผู้ประกอบการไทยควรติดตามเศรษฐกิจสหรัฐอย่างใกล้ชิด หาก Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงกว่าปัจจุบัน อาจเสี่ยงท่าให้สหรัฐเข้าสู่สภาวะถดถอยแต่เงินเฟ้อสูง (Stagflation) ซึ่งจะส่งผลต่อการด่าเนินธุรกิจและเศรษฐกิจทั่วโลก อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของชาวอเมริกันจากวิกฤตเงินเฟ้อในสหรัฐ รวมทั้งค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น และสถานการณ์การปิดด่านของจีนเนื่องด้วยนโยบาย “zero Covid” เป็นโอกาสที่จะเพิ่มการสั่งซื้อให้กับผู้ส่งออกสินค้าไทยบางประเภทเนื่องจากสินค้าไทยจะมีราคาถูกลง สินค้าส่งออกไทยประเภท affordable luxury ที่มีศักยภาพในการแข็งขันสูง เช่น เทียนหอม และเครื่องหอม นับว่ามีโอกาสในการขยายตลาดในสหรัฐอเมริกามากขึ้น


ข้อมูลจาก Bloomberg/voxeu/nytimes/CNN/Pewresearch/Ipsos/APA

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

OMD KM

FREE
VIEW