รายงานสถานการณ์การค้าแคนาดา ณ นครแวนคูเวอร์ เดือนสิงหาคม 2565

ทางเลือกทดแทนถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว

single-use plastic หรือ พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เป็นพลาสติกที่ใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกในเวลาสั้น ๆ แต่กว่าจะย่อยสลายนั้นใช้เวลานานมาก รัฐบาลแคนาดาได้ตระหนักถึงประเด็นดังกล่าวจึงมีนโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเชิญชวนให้ชาวแคนาดาหันมาใช้ทางเลือกอื่นแทนการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง หลังจากที่รัฐบาลกลางประกาศว่าจะสั่งห้ามสินค้าพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งบางรายการ พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งทั้ง 6 ประเภทที่ถูกสั่งห้ามใช้คิดเป็น 3% ของขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นทุกปีในแคนาดา แต่มีข้อยกเว้นบางรายการ เช่น หลอดพลาสติกบางชนิด

ล่าสุดเมืองออตตาวาได้มีการประกาศเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งบางส่วนภายในปี พ.ศ. 2568 ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ต้องการกำจัดขยะพลาสติกให้เป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2573

การศึกษาจากหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของแคนาดา พบว่าในปี พ.ศ. 2559 ชาวแคนาดาได้ทิ้งพลาสติกไปแล้วสามล้านตัน โดยมีของเน่าเสียเพียงร้อยละ 9 เท่านั้น ที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ ส่วนที่เหลือได้นำไปผ่านกระบวนการทำลายในหลุมฝังกลบเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากไม่บริหารจัดการอย่างเป็นระบบจะส่งผลอันตรายต่อผู้คน สัตว์ป่า รวมถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าขยะต่างๆ นั้นใช้เวลาหลายร้อยปีในการย่อยสลาย

ข้อมูลของรัฐบาลระบุว่าชาวแคนาดามีการใช้พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งเพื่อซื้อของชำ และซื้อของประเภทอื่นๆ มากถึง 15 พันล้านใบในทุกปี นอกจากนี้ในปีพ.ศ. 2564 ได้มีการรวบรวมถุงพลาสติกเกือบ 17,000 ใบระหว่างการทำความสะอาดชุมชนต่างๆ โดยพบว่าถุงชนิดดังกล่าวเป็นหนึ่งในแหล่งขยะพลาสติกที่สามารถพบได้ตามชายฝั่งอีกด้วย ซึ่งรัฐบาลได้เดินหน้ารณรงค์ให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการใช้ถุงทดแทน อาทิ ถุงผ้าฝ้าย ถุงกระดาษ ถุงพลาสติกหรือถังขยะแบบใช้ซ้ำได้ รวมถึงถุงย่อยสลายได้ ซึ่งมีจำนวนครั้งเฉลี่ยในการใช้ซ้ำ ดังนี้

อย่างไรก็ตามนายโทนี่ วอล์คเกอร์ รองศาสตราจารย์ด้านการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมที่มหาวิทยาลัยดัลฮูซี ในเมืองแฮลิแฟกซ์ กล่าวว่า เมื่อพิจารณาจากผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้บริโภคก็คือการงดใช้ถุงทุกประเภทเมื่อมีโอกาส

ข้อคิดเห็นจากสำนักงานฯ

ภาคการผลิต และผู้ส่งออกของไทยควรมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับทิศทางโลกโดยจะต้องตื่นตัว และเตรียมตัวปรับให้เข้ากับกฎเกณฑ์การค้าโลกที่เปลี่ยนไป ในขณะนี้สังคม และผู้บริโภคได้ให้ความสำคัญกับการผลิต และการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ผู้ทำการค้าจำเป็นต้องคำนึงถึงประเด็นด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น มีการจัดทำระบบ traceability หรือระบบตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อให้สอดประสานกับยุคการค้าโลกที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะช่วยให้สามารถยกระดับการดูแลสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมธุรกิจสีเขียว และการเพิ่มโอกาสการแข่งขันในเวทีโลกให้มากขึ้นด้วย

OMD KM

FREE
VIEW