การนำเข้าข้าวในภูมิภาคอเมริกากลางเติบโต 50%

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 อเมริกากลางนำเข้าข้าวโดยมีมูลค่ารวม 206 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มากกว่าช่วงเดียวกันของปี 2562 ถึง 50% โดยเป็นตลาดที่มีรายงานว่า ฮอนดูรัส ปานามา เอลซัลวาดอร์ และกัวเตมาลาเป็นตลาดที่มีการนำเข้าสูงสุด

ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2563 ผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดในอเมริกากลางคือปานามา มูลค่ารวม 58 ล้านเหรียญสหรัฐตามด้วยคอสตาริกา 40 ล้านเหรียญสหรัฐ หัวเตมาลา 33 ล้านเหรียญสหรัฐ

เมื่อเทียบกับการซื้อที่เปลี่ยนแปลงแบบปีต่อปี ประเทศส่วนใหญ่มีการซื้อเพิ่มมากขึ้น การนำเข้าในฮอนดูรัสเพิ่มขึ้น 136% ในขณะที่ปานามา 130% ในเอลซัลวาดอร์ 76% และในกัวเตมาลา 53%

คอสตาริกาและนิการากัวเป็นตลาดที่มีรายงานการนำเข้าข้าวในระดับต่ำ โดยลดลง 2 และ 19% ตามลำดับ

การเติบโตในภูมิภาค :

ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2562 และช่วงเดียวกันของปี 2563 มูลค่าการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นจาก 50% จาก 137 ล้านเหรียญสหรัฐเป็น 206 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นการซื้อจากบริษัทในสหรัฐอเมริกา บราซิล และอุรุกวัย ที่เพิ่มขึ้น 5%, 340% และ 1,213% ตามลำดับ สำหรับช่วงที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบ

ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน 2563 ข้าวที่นำเข้าในอเมริกากลาง 45% มาจากสหรัฐฯ 27% จากอุรุกวัย 17% จากบราซิล 4% จากปารากวัย 1% จากไต้หวัน 1% จากอาร์เจนตินา และ 1% จากกายอานา

โดยอุรุกวัยเป็นซัพพลายเออร์ที่มีการเติบโตสูงสุด ในปี 2557 อุรุกวัยส่งข้าวคิดเป็น 7% ของการซื้อข้าวทั้งหมดในอเมริกากลาง และในปี 2563 ส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นเป็น 27%

ข้อคิดเห็น :

อเมริกากลางเป็นตลาดที่มีประชากร 47 ล้านคนกระจายอยู่ใน 7 ประเทศ ประชากรใน 7 ประเทศในภูมิภาคนี้ถือว่าข้าวเป็นอาหารพื้นฐานสำหรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และเป็นธัญพืชรับประกันความมั่นคงทางอาหาร

การบริโภคข้าวต่อหัวในปานามาสูงที่สุดในภูมิภาค โดยมีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม ตามาด้วยนิการากัว 55 กิโลกรัม และคอสตาริกา 52 กิโลกรัม

ดินในคอสตาริกาเช่นเดียวกับในเม็กซิโก ไม่เหมาะสำหรับการปลูกข้าวและกว่า 70% ของข้าวจะถูกนำเข้าเพื่อใช้ในประเทศ

ผู้บริโภคในอเมริกากลางชาวข้าวเมล็ดยาวไม่เหนียว ยกเว้นในปานามาที่นิยมข้าวชนิดเหนียวเนื่องจากอิทธิพลของจีนและญี่ปุ่นในอาหารปานามา

ณ เดือนธันวาคม 2563 ไม่มีอุปสรรคในการนำเข้าข้าวจากไทย และมีบริษัทในคอสตาริกาและปานามาแสดงความสนใจในการนำเข้าจากซัพพลายเออร์ไทย บริษัทอื่นๆ ในกัวเตมาลาได้เริ่มนำเข้าข้าวไทยตั้งแต่ปี 2562 ด้วยประสบการณ์ที่ดีในด้านคุณภาพและโลจิสติกส์

ตลาดในภูมิภาคอเมริกากลางเปิดโอกาสให้กับบริษัทผู้ส่งออกไทย แต่ผู้ส่งออกจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างความมั่นใจและสร้างเสริมความสัมพันธ์ระยะยาวกับผู้ซื้อในพื้นที่ ทั้งนี้ ผู้ส่งออกจะต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืช (ออกโดยกระทรวงเกษตรของไทย) และในบางประเทศต้องเพิ่มใบรับรองการรมควันและใบรับรองโรคด้วย การไม่มีเอกสารสุขาภิบาลที่ถูกต้องครบถ้วนเป็นสาเหจุที่ทำให้การนำเข้าข้าวในอเมริกากลางลดลง

Source: Business magazine called Central America Data:
https://www.centralamericadata.com/es/article/home/Arroz_Importaciones_regionales_crecen_50

OMD KM

FREE
VIEW